Skip to content

ปรับปรุง เว็บไซต์ เยอะแยะเลย ลองกดเข้าไปเล่นดูสิ ตอนนี้ มีหมอตั้ม มาประจำที่ โรงพยาบาลแล้วนะครับ ใครมีปัญหาปลาป่วย ปรึกษาได้ครับ

โรงพยาบาลสัตว์น้ำ บ่อยครั้ง ที่ปลาเราป่วย ด้วยโรคภัยไข้ เจ็บต่างๆ ย่อม นำความไม่สบายใจ มาสู่ ผู้ เป็นเจ้าของ อย่างหลีกเลี่ยง ไม่ได้ วัตถุประสงค์ ของ section นี้ เพื่อเป็น ที่พึ่ง ทางด้านข้อมูล เกี่ยวกับโรค และ อาการผิด ปกติต่างๆ ที่พบได้บ่อย ให้เพื่อนๆ ได้อ่าน และ ใช้เป็นแนวทาง รักษา โรคปลาอย่างถูกวิธี

0002330

โรคครีบและหางเปื่อย งงครับเข้ามาอ่านที่ครับ

figo1987
figo1987 [2010-02-06 23:08:27]

จากที่ผมได้หาข้อมูลมา งงมากครับ ตกลงเค้าใช้ยาไรรักษากันแน่ครับ จะเป็น ฟอร์มาลิน หรือเตตร้าซัยคลิน ครับ ยังไงกันแน่ครับ

โรคครีบและหางเปื่อย ลักษณะ : ครีบและหางของปลาจะขาดแหว่งคล้ายถูกกัด บริเวณปลายครีบและหางจะมีสีขาวขุ่นหรือแดง และจะค่อย ๆ ลุกลามกินลึกเข้าไปเรื่อย ๆ จนครีบและหางของปลาจะขาดหายไป ซึ่งจะทำให้ปลาตายในที่สุดโรคนี้เกิดจากการที่ปลาได้รับเชื้อจำพวกแบคทีเรีย

อาการ : ปลามีอาการเซื่องซึมไม่ค่อยยอมกินอาหาร และมักว่ายสั่นกระตุกเป็นพัก ๆ ในช่วงนี้ปลาจะว่ายน้ำช้ากว่าปกติ การป้องกัน : ใส่ยาเหลือง 10-20 ppm. ลงในน้ำที่เลี้ยงปลา หรืออาจใช้ตัวยาปฏิชีวนะ เช่น คลอเตตร้าซัยคลิน อ๊อกซี่เตตร้าซัยคลิน หรือ คลอแรมเฟนิคอล ในอัตราส่วน 10-20 ppm.

การรักษา : นำปลาไปแช่ไว้ในน้ำที่ละลายด้วยยาเหลืองในอัตราส่วน 500 ppm. แช่เป็นเวลานาน 20 นาที หรืออาจผสมยาปฎิชีวินะลงในอาการสำเร็จรูปเพื่อให้ปลากินในอัตราส่วน 55 มิลลิกรัม / น้ำหนักตัวปลา 1 กก. หรือถ้าต้องการสะดวกอาจใส่ยาปฏิชีวนะลงในน้ำที่ใช้เลี้ยงปลาในอัตราส่วน 10-20 ppm ------------------------------------------------- โรคครีบและหางเปื่อย อาการ : ปลาจะมีอาการเซื่องซึมไม่ค่อยกินอาหารและมักจะว่ายน้ำสั่นกระตุกเป็นพัก ๆ ครีบและหางจะขาดแหว่งคล้ายถูกกัด บริเวณปลายครีบและหางจะมีสีขาวขุ่นหรือแดง และค่อย ๆ ลุกลามไปเรื่อย ๆ จนครีบและหางของปลาหดหายไป ซึ่งจะทำให้ปลาตายในที่สุด โรคนี้เกิดจากปลาได้รับเชื้อโปรโตซัว และมีการติดเชื้อแบคทีเรียรวมด้วย การรักษา : แช่ปลาป่วยด้วยฟอร์มาลิน 25 - 45 ซีซี/ น้ำ 1,000 ลิตร แช่ปลานาน 2 วัน :ใช้ยาปฏิชีวนะจำพวกไนโตรฟูราโซน ในอัตราส่วน 1-2 กรัม ต่อน้ำ 1,000ลิตรแช่ปลานาน 2-3 วัน --------------------------------------------------- โรคครีบเปื่อยและหางเปื่อย โรคนี้เกิดจากเชื้อโปรโตซัว และบางครั้งอาจมีเชื้อราร่วมด้วย ปลาที่เป็นโรคนี้จะมีอาการเซื่องซึม ไม่ค่อยกินอาหาร มักว่ายน้ำสั่นกระตุกเป็นพักๆ ครีบและหางของปลาจะขาดแหว่งคล้ายถูกกัด บริเวณปลายครีบและหางจะมีสีขาวขุ่นหรือแดง และค่อยๆลุกลามไปเรื่อยๆ จนครีบและหางของปลาหดหายไป การรักษา ใช้ ร๊อตสต๊อป (Rot Stop) ร่วมกับ ฟีชฟิตโกลด์ ( Fish Fit Gold) ในอัตรา 1 กรัมต่อน้ำ 50 ลิตร ติดต่อกัน 3 - 4 วัน สำหรับการป้องกัน ให้ใช้ ร๊อตสต๊อป (Rot Stop) ทุก 7 วัน และทุกครั้งที่เพิ่มปลาใหม่ในตู้หรือเปลี่ยนน้ำตู้ปลา

ชื่อสายพันธุ์
เพื่อนร่วมตู้
ที่เลี้ยง
ขนาดที่เลี้ยง
นิ้ว
ระบบกรองน้ำ
อาหารที่ให้
การรักษาที่ทำอยู่
สังเกตเห็นอาการเมื่อ
% การเปลี่ยนถ่ายน้ำ

ความคิดเห็นที่ 1

RoF
RoF
125
[2010-02-08 23:16:30]

เป็นเพราะ ความเข้าใจผิดคิดว่า อาการครีบและหางเปื่อย เป็น ชื่อของโรค ทำให้คุณไม่สามารถจับประเด็นอะไรได้เลย เมื่อได้รับข้อมูลจากทีต่างๆมา

เมื่อใดที่คุณทำความเข้าใจได้ว่า

ครีบเปื่อย หางเปื่อย นั้น เป็น อาการ ไม่ใช่ ชื่อโรค เมื่อนั้น คุณก็จะแยกแยะการใช้ยาได้ถูกต้องครับ

เพราะว่า โรคต่างๆหลายโรค เชื้อต่างๆหลายเชื้อ ต่างก็แสดงอาการออกมาได้เหมือนๆกัน คือ อาการเปื่อย แต่การรักษาตลอดจนสาเหตุ ต้นเหตุนั้นต่างกันมากมาย

และที่สำคัญ ข้อมูลต่างๆนั้น มี่ทั้งเก่า ใหม่ จากผุ้รู้จริง ผู้ไม่รู้ ผู้มีประสบการณ์ ผู้ไม่มีประสบการณ์แต่อ่านเอาจากตำราเก่าๆ ตลอดจนผู้ที่ให้ข้อมูลผิดๆมากมาย เราต้องแยกแยะให้ออกด้วยครับ

ด้านบน

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนทำรายการ

เข้าระบบ