0000078

Amateur Story ถึงเรื่อง ของเต่าบก

Radiata in MadagascarStar Tortoise (hatchling - Indian)Radiated เป็นเต่าที่มีความสวยงามเป็นที่นิยมของนักเลี้ยงหลายๆ

 

ในบทความนี้ก็จะพูดถึงเรื่อง ของเต่าบกกันนะครับ ไม่ว่าจะเป็น วิธีการเลือกซื้อ การเลี้ยงดู อาหารการกิน ที่อยู่อาศัย สถานที่เลี้ยง ฯลฯ โดยข้อมูลที่นำมาเขียนนั้นได้มาจากประสบการณ์ ที่เคยเลี้ยงมาบ้าง จากหนังสือบ้าง ตามเวปต่างๆ บ้าง รวมถึงข้อมูล และรูปภาพจาก ในกระทู้ต่างๆ ที่มีการถาม - ตอบในเวปนายเก๋า และบทความบางส่วน บางตอนของ คุณ Chelonian ที่ได้เขียนไว้ในกระทู้ ซึ่งผมได้เอามา รวบรวมเอาแบบย่อๆ สำหรับนักเลี้ยงมือใหม่ ที่อยากจะเลี้ยงเต่าบก เพื่อใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการเลี้ยงนะครับ ต้องขอขอบคุณ คุณChelonian และเจ้าของภาพต่างๆ ที่นำมาลง มา ณ ที่นี้ด้วยครับ ความนิยมใน การเลี้ยงเต่าบก ในบ้านเรา เริ่มมีมากขึ้นกว่าสมัยก่อนมาก เต่าบกนั้น นอกจากจะมีความสวยงามแล้ว ยังมีอุปนิสัยที่น่ารัก กินง่ายอยู่ง่าย รักสงบ เดินต่วมเตี่ยมๆ เตาะแตะไปเรื่อยๆ ชิวๆ อิอิ และแถมยังมีอายุที่ยืนยาวอีกด้วย (ถ้าไม่เลี้ยงตายซะก่อนนะครับ 555) เรียกได้ว่าเลี้ยงกันไปจน เป็นมรดกตกทอด ไปยังรุ่นลูกรุ่นหลาน ให้เลี้ยงต่อกันเลยก็ว่าได้ เต่าบกที่เข้ามาในบ้านเราที่เลี้ยงๆ กันอยู่นั้นก็มีอยู่มากมายหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น ดาวอินเดีย ดาวพม่า ดาวศรีลังกา เรเดียต้า Red Foot เรียวพาร์ด ซูคาต้า Aldabra ฯลฯ

ส่วนในบทความนี้ผมคงจะไม่ลงลึกไปถึงรายละเอียดในแต่ละ สายพันธุ์นะครับ แต่ถ้าอยากจะทราบลายละเอียดก็ลองค้นๆ ตาม กระทู้เก่าๆ ที่คุณ Chelonian เขียนไว้ดูนะครับ ส่วนผมก็คงจะพูดถึงโดยรวมๆ ละกันนะครับ เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เรามาเริ่มกันเลยดีกว่าครับ
ลวดลายของเต่าในแต่ละตัวจะมีความสวยงามแตกต่างกันไป

วิธีการเลือกซื้อ

  1. เต่าที่สมบูรณ์นิ้วเท้าต้องครบ ขาหน้า 5 เล็บ ขาหลัง 4 เล็บ เนื่อจากในธรรมชาติ เต่าจะมีการเดิน การขุดโน่นขุดนี่ หรือระหว่างการขนส่ง เต่าถูกส่งมาในจำนวนมากๆ เต่าอาจจะทะเลาะเบาะแว้ง กัดกันทำให้นิ้วขาดหายหรือกุดไปได้
  2. ความสมบูรณ์ของกระดอง เพราะถือเป็นจุดเด่นและเป็นสิ่งที่ทำให้เต่าที่เราจะเลือกนั้นสวย แตกต่างจาก เต่าตัวอื่นๆ จึงถือเป็นสิ่งที่ต้องตรวจตราเป็นพิเศษ ให้ดูลวดลายที่ละเอียดชัดเจน เป็นระเบียบ ยิ่งมีสีเหลืองมากๆก็จะยิ่งดี เต่าที่มีลักษณะสีเหลืองมากๆ นี้เราจะเรียกว่า (hi yellow)
  3. ถ้าดูจากด้านบนและด้านข้าง ของกระดองแล้วนั้นจะต้องไม่เอียง ซ้อน บิ่น แตก ถลอก บิดเบี้ยว ความบิดเบี้ยวหรือความDouble ของScuteกระดองก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ต้องตรวจตรา โดยปรกติแล้ว เต่าจะมีScuteที่แถวกลาง 5 Scute และแถวข้างแถวละ 4 Scute ดูแล้วต้องสมดุลย์กัน ถ้ามองด้านข้างก็ควรเลือกกระดองที่มีลักษณะ นูนๆ สูงๆ เต่าที่กระดองแตก(แล้วยังไม่ผสานสนิทดี) ก็เป็นเต่าที่ควรหลีกเลี่ยงนะครับ
  4. ดูที่ดวงตาของเต่าแล้วจะต้องใสแจ๋ว ใสซื่อบริสุทธิ(เกี่ยวกันไหมเนี่ย 55) ต้องเป็นเต่าที่ไม่ขี้แง ไม่มีน้ำตาหรือขี้ตา จมูกต้องไม่มีน้ำมูกเฉอะแฉะ และต้องไม่หดหัวอยู่ในกระดองตลอดเวลา เป็นเต่าขี้ขลาด 555
  5. ถ้าเกิดเลือกได้ตัวที่ถูกใจแล้ว สวยเท่ากัน แต่กำลังทรัพย์มีความสามารถได้แค่ตัวเดียว555 ตัดสินใจไม่ถูก รักพี่เสียดายน้อง ก็ให้ลองเปรียบเทียบจากขนาดและน้ำหนักดูนะครับ ในกรณีที่มีขนาดเท่าๆกัน ควรเลือกตัวที่มีน้ำหนักมากกว่าครับ
  6. สถานที่เลี้ยง ถ้ามีอุณภูมิสูงหรืออากาศร้อน ไม่มีความชื่นมาก ในขณะ ที่เต่าตัวอื่นๆ ก็เคลื่อนไหวกัน ก็ควรเลือกตัวที่มีการเคลื่อนไหว เรียกง่ายๆว่า เต่าไฮเปอร์ 555
  7. ถ้าตอนในขณะที่เลือกอยู่นั้น การได้เห็นเต่ากินอาหารกับตา ก็จะช่วยเป็นหลักประกันในเรื่องสุขภาพ ของเต่าได้ดีใน ระดับนึงนะครับ

การแยกเพศ

สังเกตได้ว่าหางตัวผู้จะยาวกว่าหางของตัวเมีย และใต้ท้องตัวเมี

เต่าบกโดยส่วนมากจะใช้วิธีแยกเพศจากการสังเกตที่บริเวณหาง เป็นหลักครับ

  • เพศผู้ ใต้กระดองจะเว้า หางจะมีลักษณะยาวและแหลม เนื่องจากเมื่อถึงเวลาผสมพันธุ์ตัวผู้จะขึ้นคร่อมตัวเมีย ใต้กระดองจึงต้องเว้าเข้าไปเพื่อรับกับกระดองส่วนบนของตัวเมีย และอวัยวะเพศที่อยู่บริเวณโคนหางก็จะต้องยื่นลงมาหาอวัยวะเพศของ ตัวเมียด้วย ทำให้ลักษณะทางกายภาพจึงเป็นเช่นนั้น แหม๋! ธรรมชาตินี่ชั่งสรรสร้างสิ่งมีชีวิตต่างๆได้อย่างลงตัวจริงๆ
  • เพศเมีย ใต้กระดองจะแบนเรียบ หางจะมีลักษณะอ้วนและสั้นกว่า

    ในกรณีที่เต่ายังเล็ก จะใช้วิธีการสังเกตที่หางเป็นหลักนะครับ แต่ถ้าเล็กมากๆก็ดูยากนะครับส่วนกรณีของใต้กระดองนั้นควจจะเป็น เต่าที่มีขนาดสัก 5-6 นิ้ว จึงจะเริ่มเห็นได้ชัดเจนครับ

เต่าเป็นสัตว์ที่กินง่าย พืช ผัก ผลไม้หลายชนิด

อาหารการกิน :

เต่าเป็นสัตว์ที่กินง่ายครับกินได้หลายอย่าง การที่เต่าที่ได้กินอาหารที่หลากหลายนั้นก็จะยิ่งได้สารอาหารที่หลาก หลายเช่นกัน เต่าก็จะมีสุขภาพแข็งแรง ทำให้กินอาหารได้มาก ไม่เบื่ออาหาร ส่งผลให้เต่ามีการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว ส่วนอาหารได้แก่ผักหลายชนิดเช่น ผักบุ้งจีน ยอดมะระ ผักคะน้า ผักหวานบ้าน (อันนี้เจอในท็อป ซุปเปอร์ แคลเซียมสูงดี) กวางตุ้ง ใบองุ่น ใบและดอกดาวเรือง อาหารเม็ดเต่าบก กระบองเพชรเสมา หญ้ามาเลย์ สารพัดผัก ฯลฯ แต่ควรงดเว้นพวกผักใบม่วงๆ เช่นกระหล่ำปลีม่วง

ก่อนจะนำมาให้เต่ากินนั้นควรล้างให้สะอาดซะก่อน จากนั้นสับเป็นฝอยๆรวมกันแล้วแช่เย็นไว้ ให้ได้ซัก สาม-สี่ วันแล้วเสริมด้วย ผลไม้หลากหลายชนิด ผักกาดหอมนี่ไม่ต้องให้บ่อยหรือ อย่าให้เลยก็ได้ครับ เพราะไม่มีคุณค่าอะไรเลย ให้เฉพาะตอนที่เต่าไม่ค่อยจะกินก็พอครับ จะช่วยกระตุ้นการกินได้ พวกเต่านี่ไม่รู้เป็นอะไร ของที่ไม่มีประโยชน์นี่ชอบกินกันจัง อิอิ

การให้อาหารหลายๆ อย่าง ทำให้เต่าได้รับสารอาหารครบถ้วน

  • พืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วแขก ถั่วฝักยาว ก็นานๆให้ทีก็ได้ครับ ส่วนแครอท ฟักทอง มะเขือเทศ เสริมให้บ้าง แต่นานให้ที อย่าให้บ่อยเพราะ พวกผักผลไม้ ที่มีสีเหลือง สีแสดๆ แดงๆ จะมีฟอสฟอรัสสูง กินมากไปก็จะไปดูดซึมแคลเซียมไปซะหมด ให้เป็นผักใบเขียวเป็นหลักน่าจะดีกว่า

    ส่วนอาหารสุนัขอาหารแมวอาหารนกขุนทองเม็ดกลมเขียวๆ แนะนำให้ทานได้ครับ (แต่ควรเลือกแบบที่มีไขมันต่ำๆ) จึงไม่ส่งผลต่อสุขภาพไตและตับ ให้เดือนละครั้ง 2 ครั้ง แต่อย่าบ่อยนัก ให้ไม่ต้องมากไขมันจะช่วยทำให้เต่าขับถ่ายได้สะดวกขึ้น แต่ถ้าหากเต่าได้รับอาหารที่มีโปรตีนสูงเป็นระยะเวลานาน ก็อาจส่งผลถึงสุขภาพไตหรือกระทั่งการเกิดก้อนนิ่วขึ้นได้ หรืออาจส่งผลกระทบในเรื่องของกระดองที่เติบโตผิดรูปร่างได้

ยิ่งมีพื้นที่มากได้ออกกำลังมาก เต่าก็จะกินอาหารได้มากขึ้นด้ว

  • น้ำก็ให้เผื่อไว้บ้าง บางคนเชื่อว่าการที่เต่าได้รับน้ำจากผักผลไม้เพียงพอแล้ว แต่ความเป็นจริงก็คือ แม้ว่าเต่าจะดื่มน้ำเพียงเล็กน้อยก็ตาม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเต่าจะไม่ดื่มน้ำเลยนะครับ

    ให้เผื่อไว้ในกรณีที่น้ำในผักผลไม้ไม่เพียงพอครับ นอกจากนี้ สำหรับผู้ที่เลี้ยงเต่าในกรงดิน การที่เต่ากินอาหารบนพื้นดินแล้วกลืนกินทรายหรือกรวดเม็ดโตๆ ปะปน ลงไป ด้วยนั้น ถือว่าเป็นอันตรายที่ไม่ควรมองข้ามนะครับ

    เนื่องจากทรายหรือกรวดเม็ดโตๆก้อนใดก้อนหนึ่ง อาจจะเข้าไปอุดตันลำไส้หรืออาจเป็นสาเหตุของภาวะนิ่วหรือภาวะเกี่ยว กับไต ที่จะตามมา ในภายหลังได้ครับ

อาหารเสริม

ก่อนให้อาหารในแต่ละครั้ง ควรจะขูดผงกระดองปลาหมึก หรือลิ้นทะเล ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายอาหารนก ราคาประมาณอันละ10-20 บาท นำมาขูดๆเป็นผงๆ

โรยลงบนอาหาร ให้บ่อยๆเพื่อเสริมแคลเซียม (Calcium Carbonate) เพียงเท่านี้ก็จะทำให้เต่าน้อยของเราโตไวขึ้น เป็นการเสริมแคลเซียม ในแบบประหยัด ราคาถูก สบายกระเป๋าใช่ไหมหละครับ ส่วนวิตามินที่จะเสริมให้แก่เต่านั้นก็ให้ใช้แบบรวม (Multivitamin) ของคนบดโรยนิดเดียวก็พอนะครับ

 

สถานที่เลี้ยง

การจัดเตรียมสภาพแวดล้อมของเต่านั้น เป็นไปได้ทั้งการเลี้ยงแบบ Indoor และOutdoor แต่ไม่ว่าจะเป็น การเลี้ยงในรูปแบบใดก็ตามต้องคำนึงถึงปัจจัยพื้น ฐานที่เต่าบก ต้องการ ไว้เป็นอันดับแรก ไม่ว่าจะเป็น จุดให้ความร้อน, แสงแดดธรรมชาติ, วัสดุรองพื้นกรงที่เหมาะสม, พื้นที่เดินออกกำลังกายและบ้านสำหรับพักผ่อนและหลบภัยของเต่า

ดูแลความสะอาด ความชื่นวัสดุปูพื้น และนำเต่าออกไปรับแสงแดด

  • เลี้ยงในร่ม Indoor เต่าที่ยังเล็กอาจจะเลี้ยงในร่มก่อนได้ครับ โดยวัสุดที่ใช้ไม่ว่าจะเป็น หญ้าเทียม หนังสือพิมพ์ ฯลฯ ควรมีจุดที่ให้แสง อาจจะใช้สปอตไลท์ หลอดไส้ธรรมดา หรือถ้าได้หลอด UV ก็จะยิ่งดีครับ ส่องให้ความอบอุ่นตลอดเวลา ระวังเรื่องความชื่น หมั่นคอยดูแลความสะอาดและความชื่นของวัสดุปูพื้นที่ใช้เลี้ยง นำออกไปตากแดดบ้างเพื่อฆ่าเชื้อโรค และควรนำเต่าออกไปรับแสงแดดธรรมชาติด้วยนะครับ เพื่อจะได้รับรังษี UV จากธรรมชาติ

ควรจะมีรั้วรอบขอบชิด เพื่อกันสัตว์เลี้ยงอื่นๆมาทำร้ายรังแก

เลี้ยงกลางแจ้ง Outdoor ในกรณีที่เต่าโตพอสมควร อาจจะให้เต่าอยู่ในสวนหน้าบ้าน ในสนามหญ้ากลางแจ้ง ยิ่งพื้นที่ยิ่งกว้างก็จะยิ่งดี ควรจะมีรั้วรอบขอบชิด เพื่อกันสัตว์เลี้ยงอื่นๆมาทำร้ายรังแก ควรระวังเรื่องฝนด้วยนะครับ มีร่มเงาต้นไม้ให้เต่าได้หลบแดดหลบฝนได้บ้าง อาจจะเป็นพุ่มไม้เตี้ยๆ แต่ไม่ต้องถึงกับกระท่อมร้างกลางป่านะครับ 555 ข้อดีของการเลี้ยงกลางแจ้ง ก็คือ เต่าได้รับแสงจากธรรมชาติ ได้เดินออกกำลังกายในพื้นที่มากๆ ทำให้ยิ่งหิวบ่อย กินอาหารได้ ดีขึ้นมากขึ้น โตเร็วและแข็งแรง

Aldabran Tortoise

หรืออาจจะ เลี้ยงสลับระหว่างกลางแจ้ง กับในร่มก็ได้นะครับ ในกรณีที่เวลากลางคืน ช่วงฤดูหนาว หรือในช่วงฤดูฝน อากาศอาจจะเย็นจัด ก็อาจจะเอามาเลี้ยงไว้ในที่ร่มเปิดไฟกก ให้ความอบอุ่นก็ได้ครับ

คือไม่ว่าจะเลี้ยงกลางแจ้งหรือ ในร่มก็ตาม ที่ควรระวังนั่นก็คือเรื่องความชื่นและอากาศเย็นนะครับ

Leopard + Radiated + Star Tortoise (Burmese)

อุณหภูมิ

เต่าบกโดยส่วนใหญ่จะเป็นเต่าที่ชอบอุณหภูมิสูง ควรจะอยู่ที่ ประมาณ 30 องศาเซลเซียสในตอนกลางวัน และไม่ต่ำกว่า 21 องศาเซลเซียส ในตอนกลางคืนน่าจะเป็นการดีที่สุด โดนแดดทุกวันก็จะยิ่งดี แนะนำให้โดนแดดในช่วงเช้านะครับ จะช่วยทำให้กระดองแข็งแรง ไม่เปราะนิ่ม ถ้าเต่าที่ไม่ค่อยกิน ไม่ค่อยเคลื่อนไหว เต่าก็จะไม่ค่อยแข็งแรง สาเหตุหนึ่งอาจเกิดจากอากาศเย็น อากาศชื่นอาจทำให้เต่าไม่สบายได้

การเป็นหวัดของเต่ามักเกิดจากการที่เต่าได้สัมผัสกับอากาศชื้นเป็น เวลานานๆ ดังนั้นในฤดูฝนควรมีการกกไฟเพื่อไล่ความชื้นในสถานที่เลี้ยงแม้ว่า อุณหภูมิจะ ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ อยู่สบายของเต่าก็ตาม แต่ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศนั้นก็สูงเกินกว่าปอดของเต่าจะรับได้ อีกทั้งการเพิ่มอุณหภูมิความร้อน ยังจะทำให้เต่ากินได้มากขึ้น เคลื่อนไหวมากขึ้นอีกด้วย หากเต่าที่เลี้ยงไว้มีอาการผิดปกติ และผู้เลี้ยงไม่เคยพบประสบมาก่อน ควรนำไปพบสัตวแพทย์น่าจะเป็นการดีที่สุด

ยาถ่ายพยาธิ

สิ่งที่ต้องกระทำเป็นประจำอย่างน้อยปีละ2ครั้งก็คือการถ่ายพยาธิ เนื่องจากเต่าเป็นสัตว์ที่หากินอยู่ตามพื้นจึงมีโอกาสสูงที่จะติดพยาธิได้ พยาธิที่จะต้องถ่ายออก มีอยู่ 2 ชนิด คือ พยาธิตัวกลม และ พยาธิตัว แบน Madagascar Ploughshare Tortoise

ยาถ่ายพยาธิตัวกลมให้ใช้ของ albendazole หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปรึป่าวไม่รู้ 555 ให้ในจำนวน 50mg/น้ำหนักตัว(kg) หรือจะใช้ของ mebendazole ก็ดีครับ ให้ครั้งเดียวบดโรยบนอาหารสุนัขที่แช่น้ำแล้วจำนวนน้อยๆ ก็ได้ครับ จะได้ช่วยให้เต่ากินยาได้หมด

ส่วนตัวพยาธิตัวแบนก็ให้ใช้ของ praziquantel 6 mg/น้ำหนักตัว (kg) พยาธิแบนนี่ ให้ 3 ครั้ง ห่างกันทุกๆ 2 สัปดาห์ ครับ

Sulcata Tortoise Albino

ทำความสะอาด

เต่าที่เลี้ยงกลางแจ้ง ในสวน หรือ สนามหญ้า ย่อมสกปรกกว่าเต่าที่เลี้ยงในตู้หรือ หญ้าเทียม ควรอาบน้ำให้เต่าบ้างโดยเอาผ้าชุบน้ำอุ่นเช็ด ตามที่ต่างๆ เช่น กระดอง ขาตามนิ้วต่างๆ หาง ตามซอกข้อพับต่างๆ อย่าจับเต่าลงอ่างนะครับ 555

ส่วนกระดองของเต่าอาจจะใช้วาสลีน หรือครีมบำรุงผิวอ่อนๆ ทาเพื่อให้เงางามและเพิ่มความชุ่มชื่นให้กับกระดองครับ

ความผิดปกติ

น้ำหนักลด โดยปกติแล้วเต่าที่เราเลี้ยง ควรมีน้ำหนักและขนาดที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็ตามนะ ครัล โดยเราอาจจะจดบันทึก ขนาด และน้ำหนักของเต่าไว้ เป็นระยะเพื่อเปรียบเทียบดูการเจริญเติมโต ถ้าเต่ามีน้ำหนักลดลงจากเดิม ก็น่าจะมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับเต่าที่เราเลี้ยงแล้วหละครับ

การที่เต่ามีน้ำตาบ่งบอกได้สองสาเหตุครับ

  • ประการแรก เต่ากำลังปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ ซึ่งเป็นช่วงก้ำกึ่งกับการเป็นหวัดหรือไม่เป็นหวัด ในช่วงนี้เราอาจเห็นเต่ามีน้ำมูกด้วย ดังนั้นการกกไฟและตากแดดเป็นการช่วยเต่าที่สุดที่สุด อย่ารบกวนเต่าอย่างอื่น เพราะอาจทำให้เต่าเครียดและเป็นหวัดใน ระยะยาวๆได้
  • ประการที่สอง หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทั้งด้านอากาศ,อุณหภูมิและ ความชื้น ให้ดูว่าเต่าขาดวิตามินเอหรือไม่โดย recheckว่าที่ผ่านมาอาหารเต่าที่เราให้ขาดวิตามินเอมาเป็นเวลานาน หรือเปล่า ส่วนใหญ่เต่าที่มีน้ำตาในช่วงนี้น่าจะเป็นประการแรกนะครับ เนื่องจากอากาศกำลังเปลี่ยนแถมเปลี่ยนไปในทางที่เต่าไม่ชอบเสียด้วย คืออากาศกำลังเย็นลงทุกวัน

Red Foot Tortoise

เต่าที่มีขี้ตาหรือเต่าที่เริ่มมีน้ำตาไหลมากๆ (เต่าร้องไห้ขี้แง น้อยใจอะไรรึป่าว?)

อาจแสดงถึงอาการติดเชื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากขี้ตาเหนียวๆเยอะเนี่ย ลองใช้ยาหยอดตาคนพวก Genta หยดวันละสองเวลาเช้าเย็นข้างละหยดดูครับ หยอดติดต่อกันอย่างน้อยประมาณ 5วันแต่ไม่ควรเกิน14 วัน หากมีน้ำมูกก็หยอดจมูกด้วยก็ได้ หากเต่าไม่กินอาหารเลย ให้ระวังภาวะขาดน้ำแทรกซ้อนด้วยครับ แต่ถ้าเป็นน้ำตาไหลแบบใสๆ ก็ให้ตรวจสอบว่า เกิดอะไรขึ้นกับเต่าน้อยของเรา เพราะเต่าบางพันธุ์เวลาโดนแสงจ้าๆ ก็มีน้ำตาไหลพรากๆได้ครับ ควรใส่แว่นกันแดด 5555 คือโดยปกติไม่อยากให้ใช้ยากับเต่าโดยไม่จำเป็น หรือก็อาจเกิดได้จากการได้รับอาหารที่ขาดวิตามินเอหรือเปล่า? วิตามินเอ มักอยู่ในผักผลไม้ที่มีสีเหลืองเช่นฟักทอง

อุจจาระเหลว โดยปกติเต่าไม่ควรจะมีอุจจาระที่เหลวมากนักหรือเป็นน้ำ แสดงว่าเต่าอาจจะท้องเสีย

รูปร่างกระดองที่บิดเบี้ยวเปราะนิ่ม สาเหตุอาจเกิดจาก ไม่ได้รับรังษี UV ไม่ได้รับแสงแดดจากธรรมชาติ การขาดแคลเซี่ยม หรือได้รับแคลเซี่ยมมากเกินไปก็อาจทำให้ การเจริญเติบโตของกระดองบิดเบี้ยวได้เหมือนกันครับ

หมายเหตุ เต่าดาวอินเดีย เรียวพาร์ด ซูคาต้า สามารถเลี้ยงรวมกันได้ครับ คือความต้องการแดด(ภาวะอากาศร้อน)มากพอๆ กัน ไม่ทนความชื้นเหมือนกัน ส่วนเรเดียต้าควรแยกออกเพราะทนชื้นได้แต่ไม่ชอบแดดหรือภาวะ ความ ร้อนมากๆ

แต่ก็ไม่จะเป็นเสมอไปนะครับ คือเราสามารถประยุกต์เอาเองได้ว่าพันธุ์ไหนสามารถเลี้ยงได้กับ พันธุ์ไหน โดยศึกษา ข้อมูลพื้นฐานของเต่าที่ เราเลี้ยงแต่ละชนิด แล้วมาประยุกต์เลี้ยงในสภาพที่ใกล้เคียงกันได้ครับ

เรื่องโรคก็ไม่แตกต่างกันมากนักในเต่าแต่ละชนิด เพียงแต่ว่าความอดทนต่อโรคไม่เท่ากันเท่านั้นเอง ดังนั้นเขาจึงแนะนำให้แยกเลี้ยง แต่ในความเป็นจริงที่เราต้องการเลี้ยงหลากหลายชนิดโดยมีเนื้อที่จำกัด

เขียนมาซะยืดยาวเชียว หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์ ได้ความรู้เบื้องต้นในการเลี้ยงพอสมควรไม่มากก็น้อยนะครับ งั้นผมขอจบบทความเพียงแค่นี้ก่อนละกันนะครับ หากมีข้อความตอนไหนช่วงไหนผิดพลาดไปประการใดก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย เอาเป็นว่าอ่านไว้เป็นอีกหนึ่งข้อมูลไว้ใช้ประกอบกับข้อมูลอื่นๆละกัน นะครับ ขอให้ทุกๆคนมีความสุขในการเลี้ยงครับ