0000083

อยากเริ่มเลี้ยง frontosa ทำไงดี...

\

ฟรอนโตซ่า เป็นปลาหมอสายพันธุ์แท้ที่มีแหล่งกำเนิดมาจากทะเลสาปแทงแกนยีกา ในทวีปแอฟริกา ด้วยความสวยงามของปลาชนิดนี้ ซึ่งมีสีฟ้าอมม่วงที่แปลกตา ประกอบกับลายดำคาดตลอดลำตัว และ ครีบต่างๆ ของตัวปลา จึงได้มีการนำปลาชนิดนี้มาเลี้ยงเป็นปลาสวยงามในปัจจุบัน แต่เนื่องด้วยตลาดของปลาชนิดนี้ที่ค่อนค้างแคบในบ้านเรา และราคาของปลาที่ค่อนค้างสูง ทำให้ยังไม่มีผู้เลี้ยงปลาชนิดนี้มากเท่าที่ควร

อย่างไรก็ตามความนิยมของเจ้าฟรอนโตซ่าในประเทศไทยเรานี้ ก็เริ่มมีมากขึ้นเรื่อยๆ ดังจะเห็นได้จากพี่ๆ เพื่อนๆ หลายๆ ท่านได้โพสถามมาถึงวิธีการเลี้ยงเจ้าฟรอนโตซ่านี้อยู่เนืองๆ ในเวปนายเก๋าของเรานั่นเอง

ผมก็เป็นอีกคนหนึ่งที่หลงไหลในเสนห์ของเจ้าปลาชนิดนี้เอามากๆ จึงได้ทำการเลี้ยงลองผิดลองถูกมาเป็นเวลาพอสมควร ผมจึงอยากขอเสนอแนวทางเบื้องต้นในการเลี้ยงปลาชนิดนี้ให้ เพื่อนๆ พี่ๆ ได้ลองนำไปปฎิบัติกันดูน่ะครับ

ชนิดของฟรอนโตซ่าแบ่งตามแหล่งที่อยู่อาศัย
 

ชนิดของฟรอนโตซ่า

ฟรอนโตซ่า ที่จริงแล้วมีอยู่หลายชนิดมากทีเดียว แบ่งตามถิ่นอาศัยที่กระจายอยู่รอบๆ ของทะเลสาปแทงแกนยีก่า แต่สำหรับ ชนิดของฟรอนโตซ่าที่แพร่หลายอยู่ในประเทศไทยนั้น ก็สามาแบ่งได้ประมาน 5 ชนิดด้วยกัน แต่ต่างกันไปตามลักษณะและความสวยงามของปลา เรามาทำความรู้จักกับพวกมันกันเลยดีกว่า...

ฟรอนโตซ่า บูรันดี ฟรอนชนิดนี้มีลักษณะเด่นอยู่ที่ลายดำที่ขาดยาวผ่านดวงตาและหัวที่โหนก ที่สุดในฟรอนพันธุ์ต่างๆ ลายดำคาดลำตัวค่อนค้างเข้ม แต่สีของครีบจะเป็นสีฟ้าอ่อนๆเท่านั้น อาจจะมีสีเเหลือบเหลืองอยู่บ้างแต่ไม่มากนัก ฟรอนบูรันดีเป็นฟรอนที่แผร่หลายมากที่สุดในประเทศไทย เนื่องจากนำเข้ามาก่อนฟรอนพันธุ์อื่นๆ และมีราคาถูก

ฟรอนโตซ่า คิโคม่า ฟรอนคิโคม่ามีลักษณะเด่นที่สุดคือจะมีลายดำคาดทั้งหมด 7 แถบ (ฟรอนชนิดอื่นๆจะมีแค่ 6 แถบ) จะมีลายดำบริเวณแก้มของปลา สีสันจะคล้ายกับฟรอนบูรันดีแต่จะมีสีเหลือบเหลืองมากกว่า ลำตัวค่อนค้างยาว


ในรูปเป็นฟรอนทั้ง 5 สายพันธุ์ที่กล่าวมาครับ


ฟรอนโตซ่า บลูเอ็ม ฟรอนบลูเอ็มมีลักษณะเด่นที่สีสันของปลาที่มีสีฟ้าอมม่วง ไม่มีแถบคาดที่ใบหน้า แต่จะมีหน้ากากเป็นสี่ม่วงคลุมบริเวณใบหน้าแทน แถบดำที่ขาดบริเวณลำตัวจะมีสีอ่อนเมื่อเทียบกับฟรอนพันธุ์อื่นๆ

ฟรอนโตซ่า บลูแซมเบีย ฟรอนแซมเบียมีลักษณะโดดเด่นที่รูปร่างของตัวปลา ซึ้งจะค่อนค้างสั้นและป้อมกว่าฟรอนพันธุ์อื่นๆ ดูน่ารัก ครีบจะมีสีฟ้าชัดเจน แถบดำบรเวณใบหน้าไม่ชัดเจน แต่จะมีลายดำคาดลำตัวเป็นสีดำชัดเจนและหนากว่าพันธุ์อื่นๆ

ฟรอนโตซ่า บลูแซร์ ฟรอนบลูแซร์นั้นสามารถแบ่งออกได้อีก 3 สายพันธุ์ ได้แก่ คาปัมป้า คิทุมป้า และ โมบ้า แต่ผมจะขอพูดรวมๆกันไปเลยน่ะครับ ฟรอนบลูแซร์นั้น มีลักษณะโดดเด่นที่สีของครีบต่างๆ ที่มีสี่ฟ้าอมม่วงที่ชัดเจน แถบดำบนลำตัวจะมีสีดำเข้ม มีมาร์คบนหน้าเป็นรูปสามเหลี่ยมคาดผ่านดวงตา ถ้าเทียบกับฟรอนพันธุ์อื่นๆจะสามารถแยกได้อยากชัดเจนด้วยสีสันที่โดด เด่นของมัน และ ด้วยเหตุนี้ก็ทำให้เจ้าฟรอนบลูแซร์เป็นฟรอนที่มีราคาสูงที่สุดอีกด้วย



 

เริ่มเลี้ยงเจ้าฟรอนน้อย

สำหรับการเริ่มเลี้ยงฟรอนนั้น ผมแนะนำให้ลองเริ่มจากฟรอนบูรันดีก่อน เพราะมีแพร่หลาย ราคากำลังดี และเลี้ยงได้ไม่ยากนัก แต่ถ้าชอบและอยากเลี้ยงพันธุ์อื่นๆก็สามารถทำได้ด้วยเช่นกัน ฟรอนเป็นปลาที่อยู่เป็นฝูงในธรรมชาติ การเลี้ยงเป็นฝูงดูจะเหมาะที่สุด จะทำให้เราได้เห็นถึงนิสัยใจคอของพวกมันเป็นอย่างดี ในหนึ่งฝูงจะมีปลาที่เป็นจ่าฝูงอยู่หนึ่งตัว จ่าฝูงส่วนมากแล้วจะเป็นปลาตัวผู้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มันจะทำหน้าที่ปกครองปลาตัวอื่นๆในฝูง ถ้าเรามีจ่าฝูงที่ดีปลาของเราก็จะอยู่ดีมีสุข ไม่กัดกันกระเจิงเหมือนปัญหาที่หลายๆคนประสบอยู่ ปลาฝูงหนึ่งควรมี 5 ตัวขึ้นไป

สำหรับตู้ที่จะใช้เลี้ยงนั้น อาจจะเป็นตู้กันกรองหรือตู้กรอง ใต้กรวดก็ได้ไม่มีปัญหาเพราะฟรอน เป็นปลา ที่ขับถ่ายน้อย ฟรอนเป็นปลาที่ชอบความด่างของน้ำสูงเหมือนกับสภาพน้ำของทะเลสาป ซึ้งเราก็สามารถทำได้โดยใช้ประการังเป็นวัสดุกรอง ส่วนกรองไต้กรวดนั้น ก็สามารถปูพื้นตู้ด้วยประการังได้ด้วยเช่นกัน วัสดุกรองอื่นๆเช่น คาร์บ่อน นั้นไม่จำเป็น ใช้แค่ ใยแก้ว ไบโอบอล และประการังก็พอแล้ว การจัดสภาพตู้นั้น ผมแนะนำให้จัดเลียนแบบธรรมชาติดีที่สุด มันจะทำให้ตู้ของคุณดูมีชิวิตชีวาเข้ากับเจ้าฟรอนของเรามากๆ ซึ้งก็สามารถทำได้โดย การปูพื้นตู้ด้วยทรายหรือประการังก็ได้ แต่ถ้าใช้ประการังขอแนะนำว่าให้ใช้ประการังเบอร์เล็กๆ ฟรอนเป็นปลาที่ชอบขุดชอบย้าย ประการังที่ใหญ่เกินไปอาจจะทำให้ปากของมันเบี้ยวเสียรูปได้ จากนั้นก็อาจจะหาก่อนหินขนาดต่างๆมาจัดให้สวยงามแบบธรรมชาติ ซึ้งเรื่องนี้แนะนำว่า อย่าจัดบ้านเจ้าฟรอนให้มีซอกหรือถ่ำมากนัก เพราะอาจจะทำให้เกิดการหวงถิ่นและกัดกันได้ แต่ถ้าต้องการจัดเป็นซอกเป็นถ่ำจริงๆ ก็ขอให้แน่ใจว่ามีซอกมีถ่ำมากพอสำหรับปลาทุกๆตัวไว้หลบหลีกกัน (กลาวคือควรจัดตู้ให้โล่งๆ หรือไม่ก็ให้รกๆไปเลย) กระแสน้ำก็เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับฟรอนด้วยเช่นกัน ฟรอนเป็นปลาที่อยู่น้ำลึกในทะเลสาป เพราะฉะนั้น ฟรอนมันจึงไม่ชอบกระแสน้ำที่ไหลแรงเกินไป กระแสน้ำแรงๆอาจทำให้ฟรอนของเราว่ายน้ำลู่หรือเสียรูปทรงไปเลยก็ได้ ซึ้งเรื่องกระแสน้ำนั้น ตู้กรองใต้กรวดคงไม่มีปัญหา แต่ตู้กันกรองนั้นมีปัญหาแน่นอน วีธีแก้ไขคือ หันท่อน้ำออกเข้าพนังตู้หรือไม่ก็ลงพื้น หรือไม่ก็จัดแนวหินต่างๆในตู้ให้บังกระแสน้ำเอาไว้ครับ


เลปโตโซม่าและเวนทราลิสครับ

อีกคำถามที่หลายๆ คนสงสัย คือ ฟรอนโตซ่าเลี้ยงรวมกับปลาอารายได้บ้าง

ความจริงแล้วฟรอนโตซ่าสามารถเลี้ยงรวมกับปลาอื่นๆที่ไม่ดุร้ายได้หลาย อย่าง เช่นพวกปลาหมูหรือปลาหมอต่างๆ แต่ถ้าจะให้แนะนำกันจริงๆ ผมอยากให้เลี้ยงรวมกับพวกปลาหมอจากเลคแทงแกนยีก่าเหมือนกันจะ ดีกว่า เพราะว่าปลาจะต้องการสภาพน้ำ อาหาร ที่คล้ายคลึงกัน อีกทั้งจะได้ความเป็นธรรมชาติมากกว่า ปลาที่แนะนำคือ คาวาส เลปโตโซม่า หรือเวนทราลิส ปลาพวกนี้จะอยู่กลางน้ำและว่ายน้ำค่อนค้างดี ทำให้เข้ากับเจ้าฟรอนของเราได้เป็นอย่างดี เรื่องจำนวนอาจจะทัมได้โดย ฟรอน 5 ตัว / เลปโต 3 ตัว/ เวนทราลิส 3 ตัว/ และคาวาส 2 ตัว ในตู้ 36 ขึ้นไป จะทัมให้ดูมีชีวิตชีวามากๆ (ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับขนาดของปลาด้วย)

เรื่องอาหารการกินของเจ้าฟรอนของเรา ในปลาขนาดเล็ก ผมแนะนำให้ใช้ของ TetraBits เพราะมีขนาดเล็ก ปลาจะกินได้ดี สลับกับอาหารสดเช่น ไรทะเล หรือ หนอนแดงแช่แข็งก็ได้ สำหรับปลาที่มีขนาดขึ้นหน่อย ขอแนะนำให้ใช้ของ Hikari Cichlid Complete สำหรับปลาหมอซึ้งจะเป็นชนิดที่จมน้ำ แต่ราคาค่อนค้างสูงซักหน่อย เราจึงอาจเลี้ยงมาใช้ Hikari Cichlid Bio-Gold ได้เช่นกัน แต่ก็ควรนำไปแช้น้ำให้นิ้มก่อน ให้อาหารพวกนี้สลับกันรวมทั้งสลับกับอาหารสดที่กล่าวค้างต้น รับรองเจ้า ฟรอนของคุณจะกินดีอยู่ดีอย่างแน่นอน อ้อ..อย่าลืมว่า ฟรอนโตซ่าไม่ใช่ ปลาที่กินมากมายจนท้องกาง เพราะฉะนั้น ควรหลีกเลี่ยง การให้อาหาร ที่มากเกินไป เพราะอาจจะทำให้เจ้าฟรอนของเราท้องอืดมาก ควรให้อาหารแต่น้อยแต่ให้บ่อยครั้ง ซัก 3 ครั้งต่อวันก็ได้ครับ

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เป็นเพียงแนวทางเบื่องต้นในการ เลี้ยงปลาชนิดนี้ ซึ้งขอมูลทั้งหมดนี้นำมาจากประสบการณ์ตรงของผมเอง อาจจะเหมือนหรือแตกต่างกับวิธีของนักเลี้ยงท่านอื่นๆอยู่บ้าง ซึ้งเพื่อนๆพี่ๆนักเลี้ยงก็ต้องไปลองเลี้ยงและศึกษากันดูน่ะครับ อย่างไรก็ดี ผมหวังว่าบทความบทนี้นี้จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย สำหรับผู้ที่สนใจเริ่มเลี้ยง เจ้าปลาที่มีเสนห์ชนิดนี้ ฟรอนโตซ่า!!!

วิดิโอที่เกี่ยวข้อง