0000201

เปิดโลกปลาหมอเเคระ ( Apistogramma )

เปิดโลกปลาหมอแคระ ( Apistogramma )

ปลาหมอที่คนทั่วๆ ไปรู้จักและเข้าใจกันว่า เป็นปลาที่มีนิสัยก้าวร้าว ดุร้าย ชอบทำลายต้นไม้น้ำในตู้ปลาที่ผู้เลี้ยงตั้งใจจัดตกแต่ง ให้ตู้ปลาของตนเองดูสวยงาม และเป็นธรรมชาติ ที่สำคัญคือ มักจะขอบไล่กัดกันเอง เพราะปลาหมอเป็นปลาที่หวงที่อยู่อาศัย ของตัวเองมาก ด้วยเหตุนี้ผู้เลี้ยงมักจะเข้าใจพฤติกรรมของปลาหมอไปในทางเดียวกัน แต่อย่าเพิ่งรีบด่วนตัดสินใจเชื่อนะครับ เนื่องจากปลาหมอที่มีนิสัยไม่ดุร้าย และไม่ชอบทำร้ายข้าวของก็ยังมี เดี๋ยวผมจะพาไปทำความรู้จักกับบรรดาปลาหมอสีที่น่ารักเหล่านี้

ปลาหมอแคระ เป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ลุ่มแม่น้ำอเมซอน ทวีปอเมริกาใต้เป็นแม่น้ำที่ไหลผ่านหลายๆประเทศ และยังเป็นแม่น้ำที่หลายๆคน แค่ได้ยินชื่อก็ขยาดในความน่ากลัวและความลึกลับของแม่น้ำในป่าอเมซอนแล้ว แต่คุณทราบไหมว่าในแม่น้ำอเมซอนที่ทุกคนกลัวกันนั้น มีสิ่งที่สวยงามและมหัศจรรย์ซ่อนอยู่มากมาย หนึ่งในนั้นคือปลาหมอแคระนี่เองครับ ปลาหมอแคระมีมากมายหลายสกุล แต่ที่ผมอยากจะชวนคุณมาทำความรู้จักกันในวันนี้คือ ปลาหมอแคระในตระกูลสกุลอพิสโตแกรมมา ( Genus Apistogramma ) เป็นปลาหมอแคระที่ได้รับความนิยมสูงสุดในบรรดาปลาหมอแคระที่อยู่ในลุ่มแม่น้ำนี้

ตู้ที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงปลาหมอแคระนี้ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นตู้ที่มีขนาดใหญ่มาก ๆ แต่ถ้าจะให้ดีก็อย่าให้เล็กกว่า 24 นิ้วสำหรับเลี้ยงปลา 1 คู่เป็นใช้ได น้ำที่จะใช้เลี้ยงอพิสโตแกรมมา หากเป็นน้ำที่มาจากแหล่งน้ำ ธรรมชาติไม่มีส่วนผสมของคลอรีนก็สามารถที่จะนำไปใส่ตู้ปลาได้ แต่ถ้าน้ำที่จะใช้เลี้ยงปลาเป็นน้ำประปาที่มีคลอรีนเป็นส่วนผสม อาจจะต้องพักน้ำไว้ก่อนประมาณ 1 – 2 วัน หรือซื้อยาปรับสภาพน้ำมาใส่ลงไปในน้ำทิ้งไว้ประมาณ 1– 2 ชั่วโมง จึงจะสามารถนำปลาใส่ลงไปได้อย่างไรก็ตามสิ่งที่จะต้องคำนึงถึงมากที่สุดก็คือเรื่องความ สะอาดของน้ำที่จะใช้เลี้ยงปลา โดยเฉพาะน้ำที่มาจากแหล่งน้ำธรรมชาติ

หมอแคระสกุลอพิสโตแกรมมามีสายพันธุ์มากกว่า 60 สายพันธุ์ และเป็นปลาที่มีขนาดเล็กเพียง 5 - 12 ซม. เท่านั้น วิธีการเลี้ยงปลาหมออพิสโตแรมมามีวิธีเลี้ยงที่เรียกได้ว่าเกือบจะตรงกันข้ามกับการ เลี้ยงปลาหมอสีทั่วๆไป เช่นปลาอพิสโตแกรมมาจะชอบพื้นที่ที่มีต้นไม้น้ำมากๆคุณสามารถที่จะสร้างสรรค์ ตู้ปลาของคุณให้เป็นเหมือนป่าดงดิบขนาดเล็กๆ ในตู้ปลาของคุณได้โดยที่ไม่ต้องกังวลว่าต้นไม้น้ำของคุณจะถูกปลาทำลาย

อย่างที่กล่าวมาตั้งแต่ต้นว่าปลาหมออพิสโตแกรมมา เป็นปลาที่ไม่ดุร้าย แต่เมืออยู่ในช่วงผสมพันธุ์ปลาตัวผู้จะมีอาการดุร้ายบ้างนิดหน่อย เพื่อเป็นการอวดตัวเองให้ปลาตัวเมียเห็น ในช่วงผสมพันธุ์ปลาจะมีสีสันสวยงามเป็นพิเศษ ตัวผู้ก็จะคอยรำแพนครีบสวยอวดตัวเมีย ส่วนตัวเมียก็จะง่วนอยู่กับการหาสถานที่วางไข่

อาหารของปลาอพิสโตแกรมมาจเป็นอาหารที่มีขนาดค่อนข้างเล็ก เช่น พวกไรแดง ไรทะเล เป็นต้นในการให้อาหารปลาของคุณจะต้องนำไปล้างน้ำให้สะอาดก่อนจึงจะให้ปลากิน เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้มีสิ่งสกปรกลงไปปะปนอยู่กับน้ำ อาจทำให้ปลาเป็นโรคหรือ ทำให้น้ำในตู้เน่าเสียง่ายและเร็วขึ้น นั่นเองครับ อาหารประเภทอาหารสำเร็จรูปสำหรับปลาหมอคุณก็สามารถที่จะนำไปให้ปลากินได้เช่นกัน แต่ต้องเป็นอาหารของปลาที่มีขนาด เล็กนะครับ การให้อาหารปลาคุณควรจะให้อาหารปลา วันละประมาณ 2-3 มื้อ เพื่อให้ปลาชินกับเวลาให้อาหาร

วิธีการเลี้ยงปลาหมอสกุล Apistogramma

ปลาหมอสีเป็นปลาที่มีวิธีการเลี้ยงง่าย ๆ ไม่ต้องพิถีพิถันมากเหมือนพวกปลาทองที่จะมีความยุ่งยากมากกว่าคนส่วนใหญ่ที่เลี้ยง ปลามักจะนิยมเลี้ยงปลาในบ่อหรืออ่างบัว แต่ปลาจำพวกปลาหมอสีนั้นในการเลี้ยงจะต้องเลี้ยงในพื้นที่ที่มีความกว้างสักหน่อยใน การเลี้ยงปลาหมอสิ่งที่ผู้เลี้ยงจะต้อคำนึงถึงก็คือ

1. น้ำสะอาด เป็นสิ่งที่จะต้องคำนึงถึงเป็นอย่างแรก เนื่องจากน้ำที่นำมาใช้เลี้ยงปลา บางครั้งอาจจะมีสิ่งสกปรกปะปนมากับน้ำด้วยก็ได้ หากนำปลาลงไปใส่อาจจะทำให้ปลาเป็นโรคหรืออาจจะตายได้ ดังนั้นน้ำที่จะนำมาใช้สำหรับการเลี้ยงปลานั้นจะต้องมั่นใจว่าเป็นน้ำสะอาดจริง ๆเช่น หากจะเลี้ยงปลาโดยใช้น้ำประปา จะต้องนำน้ำมาพักไว้อย่างน้อย 2 – 3 วัน เพื่อให้คลอรีนที่ผสมมากับน้ำมีความเจือจางลง

2. อาหาร ในการเลี้ยงปลาจะต้องทราบว่าปลาชนิดไหนชอบกินอะไรเป็นอาหาร ปลาหมอเป็นปลาที่กินอาหารสดที่ยังมีชีวิต เช่น กุ้งฝอย ไรทะเลหรือหนอนแดง เป็นต้น เนื่องจากปลาหมอเป็นปลาที่มาจากที่ต่าง ๆ ของโลกและในแต่ละสายพันธุ์ก็มีความต้องการในเรื่องของอาหารที่แตกต่างกันด้วย หากเป็นปลาหมอแคระหรือปลาหมอที่มีขนาดเล็กก็จะกินอาหารจำพวกพืชขนาดเล็กหรือ ตะไคร่น้ำที่เกาะอยู่ตามก้อนหิน ดังนั้น อาหารที่เหมาะสมกับปลาหมอชนิดหนึ่งอาจจะไม่เหมาะสมกับปลาหมอสีอีกชนิดหนึ่งก็ได้ ส่วนอาหารสำเร็จรูปก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้เลี้ยงปลาหมอสีอาหารบางชนิดทำจากอาหารที่มีชีวิต แต่นำมาอบแห้งให้ปลากินซึ่งคุณค่าทางอาหารก็ยังมีอยู่ครบถ้วน เช่น หนอนแดงอัดเม็ดหรืออาจจะเป็นอาหารที่เหมาะสมกับประเภทและชนิดของปลาโดยเฉพาะ อย่างไรก็ตามจะต้องคำนึงถึงความสะอาดเป็นหลักด้วยโดยเฉพาะอาหารประเภทอาหารสด เช่น พวกลูกน้ำหรือไรแดงที่ไปช้อนหรือตักตามแหล่งน้ำสกปรกต่าง ๆ จะต้องนำไปล้างน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้งก่อนที่จะนำไปให้ปลากิน ถ้าหาอาหารที่นำไปให้ปลากินสกปรก มีเชื้อโรคปะปนอยู่ ปลาอาจจะเป็นโรคหรือตายได้

3. อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงปลาหมอ ในการเลี้ยงปลาหมอผู้เลี้ยงจะต้องคำนึงถึงอุณหภูมิที่เหมาะสมด้วยทั้งภายในและภายนอกตู้ปลา เนื่องจากปลาหมอเป็นปลาที่มาจากหลาย ๆประเทศทั่วโลก ซึ่งอุณหภูมิของแต่ละประเทศจะมีความใกล้เคียงกันหรืออาจจะมีความแตกต่างกันก็ได้ปลาหมอส่วนใหญ่จะ มีถิ่นที่อยู่อาศัยอยู่ใกล้บริเวณ เส้นศูนย์สูตร ซึ่งมีอากาศและอุณหภูมิที่ใกล้เคียงกับอุณหภูมิในประเทศไทย ดังนั้นปลาหมอจึงไม่ชอบอาศัยอยู่ในน้ำที่เย็นจัดปลาหมอสีจะอาศัยอยู่ในน้ำที่มีอุณหภูมิระหว่าง 24 – 30 องศาเซลเซียส ที่สำคัญคือจะต้องควบคุมน้ำให้มีอุณหภูมิคงที่อยูตลอดเวลาหรือให้มีความแตกต่างกันน้อยที่สุด หาอุณหภูมิของน้ำมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยจะส่งผลให้ปลาจะต้องปรับสภาพร่างกายตามอุณหภูมิของ น้ำที่เปลี่ยนแปลงบางครั้ง อาจจะทำให้ปลาช็อคตายได้ ปัจจุบันมีเครื่องมือที่ช่วยวัดอุณหภูมิของน้ำในตู้ปลาเพื่อให้ทราบถึงอุณหภูมิของน้ำในขณะนั้น

การเลือกซื้อปลา

ปลาหมอเป็นปลาที่มีสายพันธุ์มากมายหลายสายพันธุ์อีกชนิดหนึ่ง บางครั้งอาจจะทำให้เกิดความสับสนว่าปลาหมอสีชนิดนี้มาจากสายพันธุ์อะไรบ้าง ก่อนที่จะเริ่มเลี้ยงปลาหมอสีจะต้องทำความรู้จักกับสายพันธุ์ต่าง ๆ ของปลาหมอสีเสียก่อน รวมทั้งอุปนิสัยใจคอและการดำรงชีวิตของปลาหมอสีต่าง ๆ เหล่านี้ด้วย หลังจากที่ได้ทำการศึกษาชีวิตของปลาหมอสีแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือการเลือกซื้อปลาหมอ

วิธีการเลือกซื้อปลาหมอให้ได้ปลาที่ดีมีคุณภาพนั้น มีวิธีการเลือกซื้อกันดังนี้

1. อาการของปลา ปลาที่จะซื้อจะต้องสังเกตปลาให้ดีว่ามีอาการหงอยเหงาหรือไม่ ร่าเริงดีรึเปล่า สีซีดหรือคล้ำผิดปกติหรือไม่ หากปลามีอาการหงอยเหงา ไม่ร่าเริง แสดงว่าปลาตัวนั้นอาจจะกำลังเป็นโรคอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ก็ไม่ควรซื้อถึงแม้ว่าคนขายจะมา บอกว่าเป็นโรคที่สามารถรักษาได้ก็ตาม เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เชื้อโรคไปติดปลาตัวอื่นที่กำลังเลี้ยงอยู่

2. ลักษณะและรูปทรงของปลา ปลาหมอที่มีลักษณะรูปทรงที่ดีจะต้องมีครีบหลังตั้งสวยงามครีบหางจะต้องแผ่สวย ครีบปลาต้องไม่คดหรือฉีกขาด ปากเป็นเส้นระนาบขณะที่ปลาว่ายน้ำจะต้องไม่ว่ายเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง ตาของปลาจะต้องไม่ขุ่นขาวและเหงือกปลาจะต้องไม่เปิดอ้าอยู่ตลอดเวลาทั้งหมดนี้เป็น คุณสมบัติของปลาที่มีคุณภาพจะต้องมี

3. สีของปลา ปลาหมอถึงแม้ว่าจะมีสีสดก็จริง แต่จะต้องดูด้วยว่าสีนั้นสดเกินความเป็นจริงหรือไม่ เช่น ลูกปลาตัวเล็กนิดเดียว แต่มีสีสดเหมือนกับปลาตัวใหญ่หรือสีที่ลำตัวนั้น มีความแตกต่างกับสีปลาตัวอื่นที่เป็นปลาชนิดเดียวกัน ให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าสีของปลาตัวนั้นอาจจะเกิดจากทางผู้เลี้ยงหรือ เจ้าของร้านได้นำสีฉีดเข้าไปหรืออาจจะใช้สารเคมีอย่างใดอย่างหนึ่งใส่ให้ปลาเพื่อเป็นการเร่งสีปลา สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้อาจจะเข้าไปสะสมอยู่ในตัวปลาทำให้ปลาเป็นโรคและตายในที่สุดก็ได้

4. ร้านขายปลา ร้านขายปลาที่จะไปเลือกซื้อปลานั้น จะต้องดูสภาพแวดล้อมภายในร้านว่ามีความสะอาดมากน้อยเพียงใด ตู้ปลาที่เขานำมาใส่ปลาโชว์หน้าร้านนั้นมีความสะอาดหรือไม่เพราะปลาที่อยู่ในตู้ปลานั้นจะ มีสุขภาพดีหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับตู้ปลาที่ใช้เลี้ยงด้วย หากตู้ปลาสกปรกมีเศษผงหรือตะไคร่น้ำมากเกินไปก็จะกลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคชั้นดี ปลาที่อยู่ในตู้ก็จะพลอยติดโรคต่าง ๆ ไปด้วย หากร้านขายปลาร้านไหนที่มีสภาพแวดล้อมภายในร้านที่ดีก็จะทำให้ปลาที่อยู่ในร้านมีสีสันสวยงาม สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงไม่เป็น โรคให้ต้องมานั่งรักษาเมื่อนำกลับไปเลี้ยงที่บ้าน

ในการเลือกซื้อปลาหมอก่อนที่จะนำปลาที่ซื้อมาลงไปปล่อยในตู้นั้นจะต้องให้ปลาที่ซื้อมาทำการปรับ สภาพของตัวมันเองให้เข้ากับ อุณหภูมิของน้ำในตู้ปลาเสียก่อน โดยที่จะต้องนำปลาไปใส่ในตู้ทั้งถุงที่ซื้อมาประมาณ 20–30นาที แต่จะต้องดูก่อนด้วยว่าถุงที่ใส่ปลามานั้นเลอะอะไรหรือเปล่า เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้สิ่งสกปรกปะปนกับน้ำที่อยู่ในตู้ปลาเทปลาลงในตู้จากนั้นก็ไม่ต้องไปสนใจปลามากนัก เนื่องจากปลาจะต้องทำการปรับสภาพของตัวมันเองให้เข้าสิ่งแวดล้อมใหม่ หากไปยุ่งกับมันมาก ๆ ก็จะทำให้ปลาตกใจจนสีซีดได้ปล่อยให้ปลาค่อย ๆ ปรับตัวเองไปตามธรรมชาติของมันสักพักปลาก็จะค่อย ๆ รู้สึกดีขึ้นเมื่อปลาเริ่มชินกับน้ำใหม่และสภาพแวดล้อมใหม่แล้ว มันก็จะออกมาว่ายโชว์ความงามให้ได้ดูเอง

การจัดตู้ปลา

ปลาหมอสีส่วนใหญ่ของแต่ละสายพันธุ์จะเป็นปลาที่มีขนาดเล็ก บางตัวไม่มีนิสัยดุร้ายสามารถ ที่จะนำมาเลี้ยงรวมกันในตู้ปลาใบเดียวกันได้ ส่วนปลาหมอที่มีขนาดใหญ่มักจะเป็นปลาที่มีนิสัยดุร้าย หวงถิ่นที่อยู่อาศัยจึงเป็นปลาที่ไม่ชอบให้ใครเข้ามาใกล้หรือล่วงล้ำอาณาเขตเข้ามา ปลาหมอสีประเภทนี้จึงไม่สามารถที่จะนำมาเลี้ยงรวมกันหลายตัวได้ปลาอาจจะไล่กัดกันจนตายหรือ อาจจะทำให้ปลาได้รับบาดเจ็บได้ ดังนั้นจึงต้องแยกตู้เลี้ยง หากตู้ปลาที่มีเป็นตู้ปลาที่มีขนาดใหญ่ ก็สามารถที่จะนำกระจกมากั้นเป็นช่อง ๆ และเลี้ยงปลาได้ช่องละตัวเท่านั้นสำหรับผู้ที่เลี้ยงปลาหมอสีขนาดเล็กตู้ปลาที่ควรจะใช้ในการเลี้ยงนั้น ควรเป็นตู้ปลาที่มีขนาดประมาณ 36 นิ้ว เป็นอย่างต่ำ และสามารถที่จะเนรมิตตู้ปลาของได้ตามแต่ใจต้องการ เพราะปลาหมอสีขนาดเล็กจะไม่ทำลายต้นไม้น้ำที่นำไปใส่ไว้ในตู้ ตรงกันข้ามต้นไม้น้ำต่าง ๆ ที่ใส่ลงไปจะกลายเป็นที่หลบซ่อนและเป็นที่อยู่อาศัยชั้นดีให้กับบรรดาปลาหมอสีทั้งหลาย ตู้ปลาที่นำมาเลี้ยงปลานั้นถ้าจะให้ดีจะต้องมีฝาปิดตู้ปลาด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่นละอองหรือเศษผงสิ่งสกปรกต่าง ๆ หล่นลงไปในตู้ปลา สิ่งสกปรกเหล่านี้จะทำให้น้ำในตู้ปลาเกิดการเน่าเสียเร็วขึ้นทำให้ต้องเปลี่ยนน้ำบ่อยมากขึ้น ที่สำคัญปลาก็จะต้องทำการปรับสภาพร่างกายให้เข้ากับน้ำใหม่ที่เปลี่ยนอยู่เสมอ อาจจะทำให้ปลาเกิดความเครียดและติดโรคได้ง่ายขึ้น สีของไฟที่ติดอยู่กับฝาตู้ปลาก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะทำให้ตู้ปลาและปลาของคุณดูสวยงามขึ้น การเลือกสีของไฟนั้นหากเป็นปลาหมอขนาดใหญ่ที่ผู้เลี้ยงต้องการจะเน้นให้ปลามีสีแดงก็จะต้อง ใช้หลอดไฟที่มีสีแดงอมชมพูเพื่อ ให้ปลาปรับสภาพของสีผิดให้แดงตาม สีของหลอดไฟแต่ ปลาหมอขนาดเล็กจะมีสีเข้มสดอยู่แล้ว ดังนั้นหลอดไฟที่จะใช้อาจจะเป็นหลอดไฟนีออนสีขาวนวลธรรมดาก็ได้ เพื่อทำให้ตู้ปลาสว่างไสวสีของต้นไม้น้ำและสีของปลาจะตัดกัน ตู้ปลาจะดูมีชีวิตชีวา ทำให้รู้สึกผ่อนคลายได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะซื้อตู้ปลาจะต้องคิดก่อนว่าจะซื้อปลาประเภทไหนมาเลี้ยง โดยเฉพาะปลาหมอสีซึ่งมีนิสัยดุร้าย จะต้องทราบก่อนว่าปลาหมอที่คุณจะซื้อมาเลี้ยงนั้นสามารถเลี้ยงรวมกันหลาย ๆ ตัวได้หรือไม่มีนิสัยอย่างไรเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาซื้อปลามาแล้วไม่มีตู้เลี้ยงปลา

ปัญหาต่างๆ

ปัญหาต่าง ๆ ของปลาหมอสีผู้ที่เพิ่งจะเริ่มเลี้ยงปลาหมอสีจำเป็นที่จะต้องทราบ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาทีหลังได้ ปัญหาเกี่ยวกับปลาที่มักจะเกิดขึ้นมีดังนี้

1. ความดุร้าย ความดุร้ายเป็นลักษณะนิสัยที่มีมากับปลาหมอแทบทุกสายพันธุ์ เนื่องจากปลาหมอเป็นปลาที่หวงแหนถิ่นที่อยู่อาศัยของตนเองเป็นอย่างมากและยิ่งปลาหมอบาง สายพันธุ์มีถิ่นที่อยู่อาศัยอยู่ในบริเวณที่ขาดแคลน อาหารจึงทำให้พฤติกรรมความดุร้าย ของปลาหมอบางชนิดมีเพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ปลาตัวอื่นเข้ามาแย่งอาหารของตนเองและป้องกันไม่ให้ปลาตัวอื่นรุกล้ำ เข้ามาในอาณาเขตของตนด้วย แต่ก็ยังมีปลาหมอบางชนิดที่มีนิสัยไม่ดุร้าย โดยเฉพาะพวกปลาหมอสีตัวเล็ก ๆ ดังนั้นก่อนที่จะซื้อปลาหมอสีมาเลี้ยงสักตัวจะต้องทำการศึกษานิสัยใจคอของปลาชนิดนั้น ๆ ก่อน

2. อาการสีตกหรือสีซีด ปลาที่เห็นตามร้านขายปลาหมอทั่ว ๆ ไป บางตัวจะมีสีสันสดในเข้มสวยจึงตัดสินใจซื้อมาเลี้ยงไว้ที่บ้าน แต่เมื่อมาถึงบ้านปรากฏว่าปลาสีสวยที่ซื้อมากลับกลายเป็นปลาหมอธรรมดา ไม่มีสีที่เห็นเมื่อตอนที่อยู่ที่ร้านไม่รู้หายไปไหน สาเหตุของปัญหานี้อาจเกิดได้จากหลายกรณี ดังนี้

- คุณภาพของปลาหมอที่ซื้อมา ปลาหมอที่ซื้อมาอาจเป็นปลาที่ไม่มีคุณภาพ คือ อาจจะเกิดจากสายพันธุ์ของพ่อแม่พันธุ์ไม่ดี ไม่มีคุณภาพ บางร้านมีการนำปลาหมอสีธรรมดามาฉีดสีใส่เข้าไปทำให้ปลาดูมีสีสันสวยงาม แต่เมื่อผ่านไปหลายวันเข้าสีที่ฉีดเข้าไปจะค่อย ๆ เลือนหายไปสารเคมีหรือสีที่ฉีดเข้าไปในตัวปลานั้นย่อยจะก่อให้เกิดผลเสียต่อตัวปลา คือ ทำให้ปลาเกิดโรคต่าง ๆ อายุปลาก็จะสั้นลง ปลาจะตายเร็วขึ้นนั่นเอง

- สุขภาพและความแข็งแรงของปลา ปลาก็เหมือนกับคนหรือสัตว์อื่น ๆ ทั่วไปต้องมีอาการเจ็บไข้ได้ป่วย ก่อนที่จะซื้อปลามาเลี้ยงจะต้องสังเกตให้ดีว่า ปลาที่หมายตาเอาไว้นั้นมีอาการเซื่องซึมไม่ค่อยว่ายน้ำหรือบางตัวอาจจะมีสีซีดลง หรือเป็นลายดำที่บริเวณลำตัวดูไม่ร่าเริง นั่นก็หมายความว่าปลากำลังป่วย ซึ่งจะต้องรีบทำการรักษาก่อนที่ปลาที่ซื้อมาจะตาย ที่สำคัญคือ จะต้องทำการแยกปลาตัวที่เป็นโรคออกมาจากปลาตัวอื่นก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาตัวอื่นติดโรคตามไปด้วย

- อารมณ์ของปลา บางครั้งการที่ไปรบกวนปลามาก ๆ เช่น เปลี่ยนน้บ่อย ๆ เคาะกระจกตู้ปลาหรือพยายามที่จะจับปลานั้นก็เป็นการทำให้อารมณ์ของปลาเกิด ความแปรปรวนและจะส่งผลให้สีของปลาซีดจางลง หากปลาตกใจมาก ๆ ปลาบางตัวนอกจากจะมีอาการสีซีดแล้วยังอาจจะพยายามว่ายน้ำพุ่งชน กระจกจนปลาอาจจะตายได้ทางที่ดีคือ อย่าไปรบกวนปลา หากสังเกตว่าปลาของมีสีซีดลงเมื่อปล่อยลงตู้ปลาใหม่ ๆ ขอแนะนำให้ปล่อยมันไว้อย่างนั้นสักพักให้ปลาค่อย ๆ ปรับตัวให้เข้ากับน้ำใหม่และสภาวะแวดล้อมใหม่ปลาก็จะค่อย ๆ มีอาการดีขึ้น สีก็จะกลับมาสวยเหมือนเดิม

3. อยู่ ๆ ก็ตายโดยไม่รู้สาเหตุ ปลาที่ซื้อมานั้นหากไม่สังเกตอาการต่าง ๆ ของปลาให้ดี ๆ ก่อนปลาที่ซื้อมาอาจจะตามได้ภายในเวลาเพียงไม่กี่วัน แต่การที่ปลาตาย โดยที่พบสาเหตุไม่นั้น อาจจะเป็นเพราะเวลาที่เปลี่ยนน้ำในตู้ปลาใหม่ปริมาณคลอรีนที่ผสมมาในน้ำอาจจะทำ ให้ปลาเกิดอาการแพ้คลอรีนได้ เนื่องจากปลาบางตัวไม่ชินกับคลอรีนที่ผสมอยู่ในน้ำ โดยเฉพาะปลาที่มาจากแหล่งน้ำธรรมชาติจะต้องมีความ ระมัดระวังเป็นพิเศษคือ จะต้องพักน้ำเอาไว้ก่อนประมาณ 2 – 3 วัน เพื่อให้คลอรีนที่ผสมอยู่ในน้ำมีความเจือจางลงหรือเวลาที่เปลี่ยนน้ำใหม่แล้วใส่น้ำยา ปรับสภาพน้ำมากจนเกินไป ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่อาจจะทำให้ปลาของตายได้เพราะสารเคมีต่าง ๆ เหล่านี้อาจจะเข้าไปสะสมอยู่ในตัวปลา เมื่อถึงจุดหนึ่งที่ปลาทนไม่ไหวก็จะทำให้ปลาตายได้ในที โดยที่หาสาเหตุไม่เจอนั่นเอง

ตัวอย่างชนิดของปลาหมอแคระ ( Apistogramma )

ถ้าจะให้หาข้อมูลของทุกชนิดคงจะไม่หมดแน่ๆจิงขอยกตัวอย่างบางสายพันธุ์นะครับ

ปลาหมออากาซซิส ( Apistogramma agassizii )

ชื่อของปลาหมออากาซซิสเป็นการให้เกียรติกับผู้ที่ค้นพบปลาหมอชนิดนี้ นั่นคือ โปรเฟสเซอร์ เอช อาร์. อากาซีส ปลาหมออากาซิสเป็นปลาหมอที่มีความสวยงามและมีสีสันหลากหลายเฉดสีขึ้นอยู่กับสภาวะ แวดล้อมของถิ่นที่อยู่อาศัย รวมไปถึงการพัฒนาสายพันธุ์ของผู้เลี้ยงด้วย

ลักษณะของปลาหมออากาซซิส

จุดเด่นของปลาหมอสีอากาซีสจะอยู่บริเวณหางของปลาที่จะมีลักษณะเหมือนกับปลายหอก บางคนอาจจะมองเป็นเปลวเทียน ปลาตัวผู้จะใหญ่กว่าเพศเมียเกือบเท่าตัว ส่วนของครีบกระโดงหลังและหางอาจจะมีสีแดงออกส้ม บริเวณลำตัวจะมีแถบสีดำๆจางๆพาดยาวตามลำตัว เกล็ดปลาจะออกเงาๆเห็นเด่นชัด ปลาตัวผู้เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดความยาวประมาน 10 ซ.ม. ส่วนตัวเมียเมื่อโตเต็มที่จะมีความยาว 6 ซ.ม.เท่านั้น

ปลาหมออากาซซิส ( Apistogramma agassizii )

ปลาหมออากาซซิส ( Apistogramma agassizii )

ปลาหมออากาซซิส ( Apistogramma agassizii )

ปลาหมอสีโบเรลอาย ( Apistogramma borelli Regan )

ผู้ค้นพบปลาชนิดนี้คือ ดร. เอ โบเรล (Doctor A. Borell) จึงได้ตั้งชื่อปลาตามชื่อของผู้ค้นพบเป็ยคนแรก ปลาหมอโบเรลอายเป็นปลาที่มีขนาดค่อนข้างเล็กและมีสีสัน สดใสออกจะหวานนิดๆด้วยซ้ำ

ลักษณะของปลาหมอสีโบเรลอาย

จุดเด่นของปลาหมอสีโบเรลอายคือ ครีบหลังของปลาจะมีลักษณะเป็นแผงตั้งชันเสมอกันดูสวยงามมาก สีของปลาหมอสีโบเรลอายส่วนใหญ่จะออกโทนสีเหลือง อาจจะเป็นสีเหลืองอ่อนๆ ทั่วทั้งตัวหรืออาจจะเหลืองเฉพาะส่วนหัวครีบและลำตัวอาจจะเป็นสีฟ้าก็ได้ ตัวผู้เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดประมาณ 7 ซม. ส่วนตัวเมียเมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดประมาณ 4.5 ซม. เม่านั้น จึงนับว่าเป็นปลาหมอสีที่ที่มีขนาดเล็กมากอีกชนิดหนึ่ง

น้ำที่ใช้เลี้ยงปลาหมอสีโบเรลอายจะต้องมีอุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ 24-25 องศาเซลเซียส เนื่องจากปลาหมอสีโบเรลอายเป็นปลาที่ชอบน้ำอุ่น และค่า ph ของน้ำจะต้องไม่เกิน7.0 จึงจะสามารถเลี้ยงปลาชนิดนี้ได้ครับ

ปลาหมอสีโบเรลอาย ( Apistogramma borelli Regan )

ปลาหมอสีโบเรลอาย ( Apistogramma borelli Regan ) __________ปลาหมอสีโบเรลอาย ( Apistogramma borelli Regan )

ปลาหมอสีนิจเซนอาย ( Apistogramma nijsseni )

ชื่อของปลาถูกตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ ดร. เอช นิจเซน (Dr. H. Nijssen) ซึ่งเป็นหัวหน้าภัณฑารักษ์ของพิพิธภัณฑ์สัตว์กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นปลาหมอสีอีกชนิดหนึ่งที่มีความสวยงามในเรื่องสีสันของปลา ปลาหมอสีนิจเซนอายมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศเปรู

ลักษณะของปลาหมอสีนิจเซนอาย

จุดเด่นของปลาหมอสีนิจเซนอายจะอยู่ที่บริเวณส่วนปลายของหางจะมีสีแดงสด เป็นที่สะดุดตาแก่ผู้พบเห็นมากที่สุด ลำตัวจะมีขนาดค่อนข้างสั้นและป้อม ตัวผู้กับตัวเมียจะมีสีสันที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงตัวผู้จะมีบริเวณ ลำตัวจะมีสีเหลืองอมน้ำตาล ด้านข้างลำตัวจะมีเกล็ดสีฟ้าแวมไปจนถึงส่วนแก้มครีบท้องจะมีสีเหลืองสด หางแผ่เหมือนรูปพัดและที่สำคัญคือ จะมีขอบเป็นสีแดงสดเมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดความยาวประมาณ 8 ซม. ส่วนตัวเมียนั้นจะมีสีพื้นที่บริเวณลำตัวเป็นเหลืองจะมีปานสีดำขึ้นที่บริเวณก้นและกลางลำตัว ครีบกระโดง ครีบท้องและโคนหางจะมีปานดำเช่นกันปานที่บริเวณท้องและโคนหางอาจจะหายไปเองบางก็ได้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพอารมณ์ของปลาด้วยเมื่อโตเต็มที่ปลาตัวเมียจะมีขนาด ความยาวของลำตัวประมาณ 6 ซม.

อุณหภูมิของน้ำที่ใช้เลี้ยงปลาจะมีอุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ 24 – 25 องศาเซลเซียส และค่า pH ของน้ำ คือ จะต้องไม่เกิน 7.0

ปลาหมอสีนิจเซนอาย ( Apistogramma nijsseni )

ปลาหมอสีนิจเซนอาย ( Apistogramma nijsseni )

ปลาหมอสีนิจเซนอาย ( Apistogramma nijsseni )

ปลาหมอสีฮองสโลอาย ( Apistogramma hongsloi Kullander )

ชื่อของปลาหมอสีชนิดนี้ได้มาจากผู้ที่ค้นพบเป็นคนแรกคือ ที เอช ฮองสโล (th. Hongslo) ปลาหมอฮองสโลอายมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศโคลัมเบีย

ลักษณะของปลาหมอสีฮองสโลอาย

ปลาหมอสีฮองสโลอายเป็นปลาที่มีสีสันไม่ค่อยฉูดฉาดมาก บริเวณลำตัวจะมีสีเหลืองอ่อนๆหรือสีครีมเจือสีขาวนวล จุดเด่นของปลาหมอสีฮองสโลอายจะอยู่บริเวณฐานของครีบก้นไปถึงโคนหางจะมีสีแดง ใต้คางปลาก็จะมีสีแดงแต่จะเป็นลายๆ ถ้าเป็นปลาตัวเมียจะไม่มีสีแดง บริเวณกลางลำตัวจะมีแถบสีดำพาดขนานกับลำตัว ปลาตัวผู้เมื่โตเต็มที่จะมีขนาดความยาวของลำตัวประมาณ 8 ซม. ปลาตัวเมียเมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดประมาณ 5 ซม.

อุณหภูมิของน้ำที่ใช้เลี้ยงปลาที่เหมาะสมจะต้องอยู่ที่ประมาณ 25-27 องศาเซลเซียส ค่า ph ของน้ำจะอยู่ที่ประมาณ 7.0 ที่สำคัญคือ จะต้องเป็นน้ำสะอาดด้วยครับ

ปลาหมอสีฮองสโลอาย ( Apistogramma hongsloi Kullander )

Species ของปลาหมอแคระ ตระกูล Apistogramma

วิธีการดู Apistogramma คือชื่อตระกูล จะตามด้วยชื่อปลา ชื่อผู้ค้นพบ และปีที่ค้นพบ

ตัวอย่าง

Apistogramma agassizii (Steindachner, 1875) Apistogramma (ชื่อตระกูล) agassizii (ชื่อปลา) Steindachner (ผู้ค้นพบ) 1875 (ปีที่ค้นพบ)

Apistogramma acrensis Staeck, 2003 _________________Apistogramma agassizii (Steindachner, 1875)

Apistogramma alacrina Kullander, 2004

Apistogramma ambloplitoides Fowler, 1940 __Apistogramma amoena Cope, 1872

Apistogramma angayuara Kullander & Ferreira , 2005

Apistogramma arua Romer & Warzel, 1998 __Apistogramma atahualpa Romer, 1997

Apistogramma baenschi Romer et al., 2004

Apistogramma bitaeniata Pellegrin, 1936 ___Apistogramma borellii Regan, 1906

Apistogramma brevis Kullander, 1980 ___Apistogramma cacatuoides Hoedeman, 1951

Apistogramma caetei Kullander, 1980______Apistogramma commbrae Regan, 1906

Apistogramma cruzi Kullander, 1986 ______Apistogramma diplotaenia Kullander, 1987

Apistogramma elizabethae Kullander, 1980

Apistogramma eremnopyge Ready & Kullander, 2004

Apistogramma eunotus Kullander, 1981 ___Apistogramma geisleri Meinken, 1971

Apistogramma gephyra Kullander, 1980 ___Apistogramma gibbiceps Meinken, 1969

Apistogramma gossei Kullander, 1982 ___Apistogramma guttata Antonio C et al., 1989

Apistogramma hippolytae Kullander, 1982 ___Apistogramma hoignei Meinken, 1965

Apistogramma hongsloi Kullander, 1979 ___Apistogramma inconspicua Kullander, 1983

Apistogramma iniridae Kullander, 1979 ___Apistogramma inornata Staeck, 2003

Apistogramma juruensis Kullander, 1986 ___Apistogramma linkei Koslowski, 1985

Apistogramma luelingi Kullander, 1976 ___Apistogramma maciliense Hasemen, 1911

Apistogramma macmasteri Kullander, 1979

Apistogramma martini Romer et al., 2003

Apistogramma meinkeni Kullander, 1980 ___Apistogramma mendezi Romer, 1994

Apistogramma moae Kullander, 1980 ____Apistogramma nijsseni Kullander, 1979

Apistogramma norberti Staeck, 1991 ____Apistogramma ortmanni Eigenmann, 1912

วิดิโอที่เกี่ยวข้อง