0000328

ตามรอยกระเบน

สวัสดีครับ สมาชิกเว็บ ninekaow ทุกท่าน

ภายหลังจากที่บทความชิ้นแรกของกระผม ได้เป็นที่ประจักษ์แก่เพื่อนๆ พี่ๆ และน้องๆ ในวงการกระเบนมาเป็นเวลาเกือบ 2 ปี จากวันนั้น จวบจนถึงวันนี้ กระผม เอิร์ธ ( Aqua53 ) ขออนุญาต กลับมาประจำตำแหน่งเพื่อรับหน้าที่ ถ่ายทอดประสบการณ์เล็กๆ น้อยๆ และสิ่งดีๆ ให้ทุกๆ ท่านอีกครั้งนึงครับ

หลังจากบทความก่อนหน้านี้ของผม

http://www.ninekaow.com/scoops/view.php?id=199

ได้กล่าวถึงพัฒนาการในการเลี้ยง, ความชอบส่วนตัว ในสายพันธุ์ปลากระเบน crossbreed และทิ้งท้ายไว้ด้วยความ ใฝ่ฝันในการเพาะพันธุ์กระเบนของผม มาถึงวันนี้ ผมขออนุญาตสมาชิกทุกท่าน เขียนบทความใหม่อีกเรื่องหนึ่ง เพื่อต่อยอดจากบทความดังกล่าวและเพื่อแบ่งปัน ผลงานของนักเพาะเลี้ยงปลาคนหนึ่ง เผื่ออาจจะเป็นแนวทางสำหรับนักเลี้ยงปลารุ่นใหม่ที่สนใจครับ บทความชิ้นล่าสุดนี้ส่วนใหญ่จะเป็นรูปภาพซะเยอะนะครับ อย่างไรก็ตาม รบกวนผู้อ่านค่อยๆ ติดตามอ่านดูเรื่อยๆ เพื่อง่ายต่อการอ่านและทำความเข้าใจ ผมได้แยกหัวข้อต่างๆ ไว้ชัดเจนแล้ว ทั้งนี้หากเป็นการไม่สมควรสำหรับผู้ที่มีความรู้อยู่แล้ว ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ

กระแสปลากระเบนในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

จากมุมมองของนักเพาะเลี้ยงคนหนึ่ง ช่วงระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา น่าจะเป็นช่วงที่วงการกระเบนได้เดินทางมาถึงจุดสูงสุด ไม่ว่าในแง่ของความสนใจของผู้เลี้ยงมือใหม่ รวมถึงในแง่ของการตลาด (ราคา) ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าจากอดีต ปลากระเบนสวยงามสนนราคาหลักพันปลายๆ หรือหลักหมื่นต้นๆ เนื่องด้วยปัจจัยหลายๆอย่างส่งผลให้ราคาปลากระเบนสวยงามบางพันธุ์อาทิ Potamotrygon pearl และ Potamotrygon leopoldi (Polkadot) จะมีราคาสูงถึงคู่ละ 100,000 บาทได้

ทั้งนี้อาจเกิดจากประเทศแหล่งกำเนิดเจ้ากระเบนสวยงามเหล่านี้ มีอันต้องปิดน่านน้ำชั่วคราว ทำให้ชนพื้นเมืองไม่สามารถจับจากแหล่งธรรมชาติ เพื่อส่งออกไปยังประเทศต่างๆ (รวมทั้งไทย) ได้ รวมทั้ง ความต้องการของตลาดต่างประเทศซึ่งในช่วง 1-2 ปีนี้ มีสูงมาก แหล่งเพาะพันธุ์ปลากระเบนสายพันธุ์ดังกล่าว ภายในประเทศไทย ถูกจับตามองมากยิ่งขึ้น อีกทั้งวิธีการเลี้ยงและอนุบาลลูกปลา (โดยเฉพาะ Polkadot) นั้น ขึ้นชื่อว่า "ยาก" และต้องการความเอาใจใส่อย่างสูง ส่งผลให้ราคาปลากระเบนสายพันธุ์สูงทั้งสองสายพันธุ์ มี ราคาสูงสุด และอย่างที่ผมเคยกล่าวไว้ก่อนหน้านี้ “คุณภาพ” ของปลากระเบนที่เพาะได้บ้านเรา ไม่ว่าจะเป็น ความสวยงามหรือความแข็งแรง เป็นจุดที่ “ขาย” ตัวเองได้ดีที่สุดครับ

กระเบนกลุ่ม crossbreed

สำหรับปลากระเบนกลุ่ม crossbreed หรือ sp. (ที่ผมเรียก) รวมทั้ง Hybrid ต่างๆ นานา บ้านเรามีการพัฒนากัน อย่างต่อเนื่อง สายพันธุ์ปลาที่ถูกนำมาพัฒนาอาจแตกต่างกันไป ทั้งนี้ยังคงเป็นความลับสำหรับแต่ละฟาร์มและ แต่ละผู้ผลิตซึ่งแตกต่างกัน แต่ต้องยอมรับตรงกันอย่างหนึ่ง ว่าปลาตระกูลปลาพื้นดำ หรือ Polkadot ยังคงเป็นที่ นิยมในหมู่นักเพาะเลี้ยงชาวไทยและต่างชาติบางประเทศ โดยในประเทศ Polkadot ที่ทำงานได้แล้ว ถูกค้นหาอย่างหนัก เนื่องด้วยมนต์เสน่ห์แห่งปลาดำ จุดสีขาว รวมทั้งปลายหางที่สั้น คล้ายใบพาย เหล่านี้ คือ สเน่ห์ที่เย้ายวนและดึงดูดให้นักเลงปลากระเบนทั้งหลาย หันมาให้ความสำคัญกับเจ้า Polkadot พันธุ์นี้เป็นสายตาเดียวกันครับ

ภายหลังจากผ่านมุมมองโดยรวมแบบกว้างๆ ไปแล้ว มาฟังอีกหนึ่งมุมมองเล็กๆ ของนักเพาะเลี้ยงปลาคนหนึ่งบ้างครับ

ด้วยใจที่รักปลาสาย Cross ผมยังคงตั้งใจพัฒนาสายพันธุ์ปลากระเบน ที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง ด้วยความหวังว่าจะเห็น ผลผลิตลูกปลากระเบน ที่มีลวดลาย pattern และ สีสันแปลกๆ สวยงาม โดยตั้งใจจะพัฒนาทั้งในด้านสายพันธุ์ที่สูง อย่าง Pearl และ Polkadot (leopoldi และ Henlei) โดยไม่ได้หยุดนิ่งและมิได้ปฏิเสธปลาสายพันธุ์กลางๆ อย่าง sp.สาย Motoro ซึ่งผมคลุกคลีและเติบโตขึ้นมาพร้อมๆ กับมัน จากพ่อแม่พันธุ์ปลาที่ไม่ได้มากมายภายในบ้านครับ หลักสูตรในการเลี้ยงกระเบน ไม่ว่าจะเป็นการคัดเลือกปลา การเลี้ยงดู การเพาะพันธุ์ การอนุบาลและการรักษาโรค ทุกวันนี้พูดได้เต็มปากเต็มคำเลยครับ ว่ายังมีอะไรให้ศึกษาอีกเยอะและไม่มีวันจบสิ้นจริงๆ ครับ ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ยังคงมีให้ตามแก้อยู่เสมอ ผมขออนุญาตออกตัวก่อนนะครับ ว่าตัวเองไม่ได้เป็นผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญด้านนี้โดยตรง เพียงแค่อยากจะให้กำลังใจคน ที่อาจจะย่อท้อต่อปัญหาต่างๆ ในการเพาะเลี้ยงปลากระเบนที่พวกเรารักครับ...


" ก้าวแรก "

จาก [Motoro+Pearl] ในวันนั้น

มาดูพัฒนาการและเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงของลูกปลาที่เคยนำมาโพสต์ ในบทความก่อนหน้านี้กันครับ (ขออนุญาตดึงมาบางรูปเพื่อประหยัดเนื้อที่ครับ)

ตัวแรกครับ ขนาดปัจจุบัน 14 นิ้วครับ(รูปทางด้านขวาคือปัจจุบันครับ)

อีกตัวหนึ่งครับ (ปัจจุบันเป็นแม่ปลาเรียบร้อยแล้วครับ)

ผลงานรุ่นต่อๆมา

ผลงานของพ่อ Pearl แม่ Motoro ครอกสุดท้ายเมื่อเกือบ 2 ปีก่อนครับ

เปรียบเทียบ Motoro+Pearl ไซส์เล็ก-ใหญ่

เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างลูกปลาขนาด 5 นิ้วทั้งคู่ (รูปขวาคือPearl แท้) ส่วนบนขวานั่นไม่ใช่ครับ(sp. Motoro)

ภาพเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง Pearl แท้ (พ่อปลา) ด้านบน และ Motoro_Pearl (ลูกปลา) ด้านล่าง ตอนโต

Motoro+Pearl ชัดๆ อีกซักรูปครับ


[Pearl + sp.]

ในรูปคือลูกปลาถ่ายตอนแรกเกิดครับ

ข้อเสียอย่างหนึ่งสำหรับลูกผสม Pearl กับ sp. คือ โดยส่วนใหญ่การพัฒนาในด้านสีสันมักจะเด่นชัดในปลา ขนาด 7-8 นิ้วขึ้นไปแล้ว เรียกว่า" สวยตอนโต " ตามสไตล์ ลูกผสม Pearl ครับ


" ก้าวปัจจุบัน " (ปฐมบทแห่ง sp. ในฝัน)

ภายหลังการยกระดับ Motoro+Pearl ของผมประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ นี่คืออีกหนึ่งก้าวสำคัญสำหรับ นักเพาะเลี้ยงกระเบนอย่างผม ณ ปัจจุบันผมได้ค่อยๆ ก้าวไปสู่เส้นทางแห่ง " sp.ในฝัน " ของผมอย่างเต็ม รูปแบบแล้วครับ

พัฒนาการขั้นสูงสุดเท่าที่สายพันธุ์ปลาบ้านผมพึงมีและสามารถทำได้

ผมเรียกมันว่า " Pearl-kadot " [Pearl + Polkadot]

ผลผลิตครอกแรกเมื่อช่วงต้นปีก่อนครับ.

ช่วงเดือนแรกภายในตู้ครับ

Pearl + Polkadot รุ่นต่อๆ มาครับ

สำหรับรูปปลาที่นำมาประกอบบทความ ผมขอเรียกเป็นรุ่นไปนะครับ (ไม่ขอใช้คำว่าครอกครับ) เนื่องจากในการ ตั้งท้องรุ่นๆ หนึ่ง จะมีแม่ปลา Polkadot มากกว่า 1 แม่ ที่ตั้งท้องพร้อมๆ กัน ผมคัดเอาลูกปลาที่พอดูได้ในแต่ละ รุ่น นำมาเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงทั้งในตัวเดียวกัน และความแตกต่างในแต่ละรุ่นครับ

เปรียบเทียบพัฒนาการปลาตัวเดียวกัน จากบนลงล่างนะครับ ตัวเลขคือรุ่นครับ

- รุ่นที่ 1 (ภาพซ้าย) รูปบนสุดคือรูปตอนแรกเกิดครับ ตรงกลางคือ ปลาประมาณ 5-6 นิ้ว และ ล่างสุดคือเกือบ 10 นิ้ว สังเกตลักษณะที่เปลี่ยนแปลงคือ สีเนื้อ เริ่มเป็นสีทองของ Pearl เรื่อยๆครับ

- รุ่นที่ 2 (ภาพขวา) จากที่เห็นในภาพ ปลาในรุ่นที่ 2 นี้ มีแนวโน้มที่ดีและเด่นชัดมากยิ่งขึ้น ภาพ บนสุดถ่ายตอนอายุประมาณ 1 เดือน สังเกตลายเส้นบนตัวมีความหนาค่อนข้างมาก จากนั้นภาพกลาง คือถ่ายตอนประมาณ 8-9 นิ้ว สีสัน และลวดลาย ทองอร่ามชัดเจน โดยที่พื้นยังไม่ดำสนิท ความหนา ของเส้นยังคงไม่ได้เล็กลง และภาพล่างสุดถ่ายตอน 12-13 นิ้ว เรียกได้ว่าเป็นรุ่นที่ทำให้ผมมีกำลังใจ ในเพาะพันธุ์และรอคอยความสำเร็จในรุ่นต่อๆมามากยิ่งขึ้นครับ ปลารุ่นนี้สร้างความประทับใจให้ผม 2 สิ่งคือ ลวดลายที่ไม่ได้เล็กลง เมื่อปลาโตขึ้นและสีพื้นที่ดำเกือบสนิท ซึ่งตัดกับลวดลายบนตัวอย่างชัดเจน

ภาพในปัจจุบันของปลารุ่น 2 ครับ ขนาดเกิน 12 นิ้วแล้ว ความเห็นส่วนตัวของผม ด้วยความกว้างของจาน ที่ใหญ่ขึ้นแต่ความหนาของเส้นบนตัวไม่เล็กลง ผมถือว่าประสบความสำเร็จในขั้นต้น ผลที่ได้เป็นที่น่าพอใจ ในระดับหนึ่งครับ


มาดู Pearl-kadot รุ่นที่ 3 กันบ้างครับ ลวดลาย และความหนาของเส้นยังดุดันเหมือนรุ่นก่อนไม๊ครับ?

รูปถ่ายตอนแรกเกิด รุ่นที่ 3 ทายาทเจ้า Polkadot Benz ครอกเดียวกันทั้งหมดครับ

1 ในแก๊งค์ of 4 ข้างบนครับ ภาพตอน 7-8 นิ้ว

เปรียบเทียบกับลูกผสมอีกสายพันธุ์หนึ่งที่บ้านครับ(ตัวบน)

ไม่ค่อยสามัคคีกันเท่าไรนะครับ....

สำหรับ Pearl-kadot ในรุ่นที่ 3 นี้ พัฒนาการมีแนวโน้มไปในทางที่ดีและค่อนข้างรวดเร็วมากครับ เมื่อเทียบกับรุ่นก่อนๆ ไม่น่าเชื่อว่าแม่ปลา Polkadot จุดเล็กๆ อย่างเจ้า Benz จะถ่ายทอดลักษณะออกมายังลูกผิดแผกไปจาก ตัวเอง ลูกปลาที่ได้มีจุดที่ใหญ่ และเส้นที่หนามากๆครับ ลูกปลาในรุ่นที่ 3 นี่ค่อนข้างเด่นตั้งแต่ปลายังไม่ถึง 8 นิ้ว ดีเลยครับ


มาดูลูกปลา รุ่นที่ 4 กันบ้างครับ

ถ่ายตอนแรกเกิดครับ...

เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างแสงแฟลชกล้องกับแสงธรรมชาติครับ (ขนาด 5 นิ้ว)

เปรียบเทียบความแตกต่างกับ Pearl ray แท้ ครับ

สำหรับปลาในรุ่นที่ 4 นี้ ลักษณะเด่นคือ สีสัน ลวดลาย ขนาดจุดที่ใหญ่และเส้นที่หนา ปรากฏขึ้นให้เห็น อย่างเด่นชัดตั้งแต่ปลาอายุประมาณ 2 เดือน (5 นิ้ว) ซึ่งหากนำไปเปรียบเทียบกับปลารุ่นก่อนๆ (1, 2 และ 3) ถือว่าเป็นที่โดดเด่นตั้งแต่ยังเล็กและหากมองโลกในแง่ดี อาจจะมีโอกาสสวยเพิ่มได้อีกมากในอนาคต ซึ่งยัง คงต้องเฝ้าติดตามพัฒนาการกันต่อไปครับ...

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ ภายหลังจากที่ได้ยลโฉมเจ้า sp.ในฝัน ของผมซึ่งพยายามปรับปรุงพัฒนาจาก Motoro+Pearl ก้าวแรกที่จุดประกายให้ผมในวันนั้น จนถึงก้าวที่สองในปัจจุบัน Pearl-kadot ภายหลัง จากที่ประสบความสำเร็จดังกล่าวแล้ว ช่วงแรกๆ ยอมรับจริงๆ ครับว่า หมดความท้าทายไปเยอะเหมือนกันครับ ผม แต่ยังดีครับที่ผมยังมีสิ่งจูงใจอีก 2 สิ่งที่เป็นแรงผลักดันและเป็นแรงบันดาลใจให้นักเพาะเลี้ยงอย่างผม ต้องค้นหาและพัฒนาต่อไป เพื่อเป็นบันไดสู่ ก้าวที่ 3 แรงบันดาลใจที่ว่านี้คือ Polkadot แท้และ sp.from Motoro ที่ไม่มีวันตายครับ


ถอดรหัส Leopoldi + Henlei อีกหนึ่งความเป็นไปได้ที่ไม่น่าจะเป็นไปได้

ช่วงปีก่อน ลูกผสมปลาดำสายพันธุ์หนึ่งได้รับความนิยมอย่างสูงในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ในนานของ "Pol-Henlei" ซึ่งผู้ที่ตั้งชื่อนี้อาจนำชื่อของปลาทั้งสองชนิดในตระกูลเดียวกันคือ Polkadot มา cross กันคือ

Potamotrygon leopoldi และ Potamotrygon henlei มาผสมกัน

แต่สำหรับผมส่วนใหญ่จะเรียกปลาที่นำมา cross กันโดยใช้หลักตัวผู้เป็นชื่อหน้า เช่นหากใช้พ่อปลาเป็น Henlei และแม่ปลาเป็น Polkadot (leopoldi) ก็น่าจะเรียกชื่อลูกปลาที่ได้ว่า Henlei-Polkadot (ซึ่งในประเทศเราส่วนใหญ่จะใช้พ่อเป็น Henlei) แต่รายละเอียดปลีกย่อย ในการเรียกชื่อนี้คงไม่สำคัญเท่าความยากง่าย ในการจับคู่ผสมพันธุ์และผลงานลูกปลาที่ได้ครับ

อย่างที่ได้เรียนไว้ในบทความก่อนๆครับว่าผมเป็นคนค่อนข้าง "โชคดี" ในการเพาะพันธุ์ปลาครับ ซึ่งปลาที่บ้านสามารถนำมาเพาะพันธุ์กันได้หมด รวมทั้ง case ดังกล่าวที่ว่าด้วยการสลับเพศพ่อปลากับที่ฟาร์มส่วนใหญ่ทำกัน กล่าวคือผมใช้พ่อพันธุ์ Leopoldi แท้ และแม่เป็น Henlei ซึ่งจำนวนน้อยนักที่จะหาแม่ปลาที่เป็น Henlei สามารถตั้งท้องได้ ความยากและยาวนานในการรอคอยแม่ Henlei ตั้งท้องนั้น เพื่อนๆ พี่ๆ หลายท่าน "หันหลัง" ให้ตามๆ กันแล้วครับ

ภาพเปรียบเทียบพ่อปลา Potamotrygon leopoldi (ซ้าย) และ Potamotrygon henlei แม่ปลาขวามือครับ

ผลผลิตลูกปลาที่บ้านครับ (ปีละครอกครับซึ่งถือว่านานมาก)

ตัวในรูปได้มาตั้งแต่สมัยเด็กๆ ปัจจุบัน 24 นิ้วแล้วครับ

ภาพเปรียบเทียบ Leopoldi-Henlei กับ Leopoldi แท้ๆ ขนาด 9-10 นิ้วครับ

ผลผลิตลูกปลาพ่อ Leopoldi แม่ Henlei ครอกแรก จากรูปด้านบนครับได้มา 2 หน่อ(ถ่ายตอน 10-11 นิ้ว)


ครอกสอง ได้มา 5 ตัวครับ ตัวในรูปคือตัวที่ผมเก็บไว้ 1 ใน 5 ตัวครับ ขนาดตอนถ่ายภาพประมาณ 10 นิ้ว สีสัน และ ลวดลาย "เปรอะ" ดีจังเลยครับ

ผลผลิตล่าสุดจากแม่ปลาตระกูลปลาดำครับ

การยืนระยะของขนาดจุดเป็นสิ่งสำคัญครับ ข้อเสียข้อหนึ่งของลูกผสมชนิดนี้คือ ตอนเล็กๆแรกเกิด ขนาดจุดของ ลูกปลามีขนาดใหญ่มาก (จากเลือดของ Henlei) ครับ แต่พอเริ่มโต จุดกลับมีขนาดเล็กลง (มิได้เป็นเช่นนั้นเสมอ ไปนะครับ) ทั้งนี้ยังคงพิสูจน์ไม่ได้ครับว่าเพราะสาเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น และจะนำมาเปรียบเทียบกันคงไม่ได้ว่า ใช้ Henlei เป็นพ่อปลา หรือแม่ปลา จะทำให้จุดที่ได้มีขนาดเล็กลงเมื่อตอนโตครับ.


มาดูเจ้าดำจุดขาวกันบ้างครับ

"Polkadot" อีกหนึ่งแรงบันดาลใจที่ "Classic ตลอดกาล"

หากให้คนซึ่งไม่เคยเลี้ยงปลาหรือเห็นปลากระเบนสวยงามมาก่อน ได้เห็นปลาชนิดนี้ "Polkadot" ผมเชื่อว่าน้อยคนนักที่จะปฏิเสธความสวยงามของมัน ผมเองก็เช่นเดียวกัน ด้วยพื้นที่ดำสนิทและจุดที่ขาวจั๊วะ คือเสน่ห์ส่วนตัวของเจ้าปลาสายพันธุ์นี้ชนิดที่ "หาตัวจับยาก" ชนิดที่ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือนครับ

จากวันนั้น

ลูกปลา Polkadot แท้ๆ ครอกแรกของที่บ้านเมื่อ 2 ปีก่อน

จนถึงวันนี้

ผมยังคงยืนหยัดและตั้งใจที่จะ Breed เจ้าปลาสายพันธุ์อมตะนี้ให้คงความสวยงามและพยายามพัฒนาอยู่ตลอดเวลา

ผลงานลูกปลา Polkadot แท้100% ครอกล่าสุดผลผลิตจากที่บ้านครับ

ด้วยบรรดาแม่ปลาที่มีอยู่เหล่านี้ ต้องขอบคุณเจ้าฝูงดำจุดขาวข้างบนเหล่านี้จริงๆครับ ที่ยังคงทำให้ผมได้มีแรงบันดาลใจในการเพาะพันธุ์ต่อไป ทั้งๆที่เกือบจะหยุดไว้ที่เจ้า Pearl-kadot แล้วครับ


"sp. from Motoro" จากเล็กจนโต ไม่มีวันตาย

ที่จั่วหัวไว้ข้างบน ไม่มีอะไรมากนะครับ เพียงแค่อยากจะอธิบายให้ทุกๆ ท่านเข้าใจครับ คือ ผมเริ่มต้นมาจากการ เพาะพันธุ์ปลากระเบนสาย cross โดยใช้พ่อปลาเป็น sp. ซึ่งพัฒนามาจาก Motoro เป็นหลัก มาผสมกับแม่ปลา ที่เป็น Motoro sp. ส่วนหนึ่ง และ sp. อีกส่วนหนึ่ง

ลักษณะลูกปลาที่เพาะได้ ตั้งแต่ในยุคบุกเบิกครับ

พัฒนาการ 4-5 ปีที่ผ่านมา(ลองเปรียบเทียบจากรูปด้านล่างครับ) จากการลองถูกลองผิดไปเรื่อยๆ เพื่อค้นหาหนทางที่จะทำอย่างไรก็ตาม เพื่อที่เราจะ breed ลูกปลาที่ได้มีความสวยงาม เด่นชัด ลวดลายแปลกๆ สีสันสดๆ “ตั้งแต่ แรกเกิด” และอีกสิ่งหนึ่งคือการ “ยืนระยะ” ให้คงทนและพัฒนาขึ้นมากกว่าเดิม(หรือไม่น้อยไปกว่าเดิม) เมื่อ โตขึ้น

บนซ้ายและขวา ปลาขนาด 5 นิ้ว ด้านซ้ายจะอิงไปในทางของ Motoro ค่อนข้างเยอะครับ ส่วนด้านขวา จะเป็นลักษณะของ sp. ซึ่ง pattern สวยงาม สีเนื้อไม่เข้มหรืออ่อนเกินไป และสังเกตการตัดสีระหว่างเส้นกับพื้นตัวครับ ล่างซ้าย ความแตกต่างของเนื้อ และสีผิวลูกปลา ซึ่งไม่สว่างจนซีด และไม่คล้ำจนเนื้อดำครับ ล่างขวา ลักษณะลูกปลาที่ดี จากการพัฒนาสายพันธุ์ กล่าวคือมีความโดดเด่นทั้งในเรื่อง ลวดลาย สีสัน ความ คมชัดและ pattern ครับ(ในรูปถ่ายตอนแรกเกิดครับ)

หลายๆ ท่านที่เพาะปลา sp. คงเคยเจอปัญหาดังกล่าว คือ ลูกปลาที่คลอดแรกเกิด สีสันไม่เด่น ลวดลายไม่ชัด ลายเส้นตามลำตัวขาด ไม่เต็ม เป็นต้น ที่กล่าวมานั้นคือปัญหาข้อแรกๆ จริงๆ ที่พบ คือลูกปลาที่ได้ไม่สวยอย่าง ที่หวังและตั้งใจ ปัญหาที่ตามมาคือ ลูกปลาที่ได้มีความสวยแค่บางตัวและปัญหาสุดท้ายคือ เล็กๆ สวย แต่โตมา ไม่ได้พัฒนาอย่างที่ควรจะเป็น

ด้วยปัญหาต่างๆ ที่กล่าวด้านบน ทำให้ผู้เพาะเลี้ยงกระเบนสายพันธุ์ sp.from motoro ถอดใจไปหลายท่าน

ความเห็นส่วนตัวของผม ผมยังคงยืนยันในเรื่องของ สายเลือด พ่อแม่ปลาครับ จากที่ผ่านๆ มาปลาที่มีสายเลือดดี เป็นปลา cross ซึ่งเลือดนิ่ง เรียกได้ว่าแค่เห็นลักษณะพ่อปลา ก็พอที่จะ สามารถคาดเดา ลักษณะเบื้องต้น ของลูกปลาว่าออกมา หน้าตาจะเป็นอย่างไร หรือบางครั้งแค่เห็นลูกปลาก็บ่งชัดได้ว่า เกิดจากพ่อปลาที่มีลักษณะเป็นเช่นใด พ่อปลาบางตัวไม่จำเป็นต้องสวยเด่นครับ ขอให้สายเลือดดีและทำงานเป็น ผมเองต้องเสียเวลากับพ่อปลาสวยมานักต่อนักแล้วครับ เพราะมองข้ามจุดเล็กๆตรงนี้ไป

ภาพเปรียบเทียบการ "ยืนระยะ" ของปลาตัวเดียวกันจากบนลงล่างคือรูป แรกเกิด, 5 นิ้ว และล่างสุดคือปลา ไซส์ฟุตครับ

โฉมหน้าลูกปลารุ่นใหม่ๆครับ

sp.ที่ดี ควรจะยืนระยะให้ได้ไปจนโต ในรูปเป็นการแสดงพัฒนาการในด้านของสีสันซึ่งคงความสดไว้ตลอดเวลา ลวดลาย ลายเส้น สามารถเกิดเพิ่มขึ้นได้เรื่อยๆครับ

"มหัศจรรย์ sp. Motoro" อีกหนึ่งความงดงามแห่ง sp.from Motoro ที่มิได้ผ่านปลาสายพันธุ์อื่นมาเลย.

ภายหลังจากที่ได้เห็นพัฒนาการลูกปลา sp. ผมในแต่ละยุคแล้ว ลองมาชมลูกปลาในยุคใหม่ๆ กันบ้างครับ (แล้วทุกท่านจะทราบครับว่าทำไม? ผมถึงยังมั่นคงกับมันไม่แปรเปลี่ยน)

ผลผลิต sp. from motoro ในปัจจุบันครับ

ลักษณะลูกปลาที่ได้มีความก้ำกึ่งระหว่าง Motoro หรือ sp. ซึ่งส่วนใหญ่ลูกปลาที่บ้านในยุคปัจจุบันของผม จะเป็นลักษณะดังกล่าวซะเยอะครับ ในรูปคือถ่ายตอนปลาอายุ 2 เดือน ขนาด 5 นิ้วครับ ผมคัดเอาปลาในครอกเดียวกัน ที่มีลักษณะต่างกันมาเพื่อเปรียบเทียบสีสันระหว่างปลาเนื้อสว่างและปลาเนื้อเข้มครับ รวมทั้งลักษณะจุดและลักษณะพื้นสีดำครับ ซึ่งปลาชุดดังกล่าว มิได้ผ่านสายพันธุ์ Polkadot มาแต่อย่างใด มีหลายๆท่านมักเข้าใจผิดว่าปลาของผมเป็นลูกผสมระหว่าง Polkadot+Motoro หรือ Polkadot+sp. ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดนะครับ และโดยส่วนตัวของผมแล้วคิดว่า เจ้า sp. from Motoro เนี่ย มีความสวยงามมิได้ยิ่งหย่อนไปกว่าปลาลูกผสมดังกล่าวเลย และเหตุจูงใจที่สำคัญที่สุดอีกอย่างคือ เจ้า sp. from Motoro ยังมีความเปลี่ยนแปลงให้ลุ้นตลอดเวลาตั้งแต่เล็ก จนโตครับ


เป็นอย่างไรกันบ้างครับ หลังจากที่ร่วมเดินทาง" ตามรอย sp.ในฝัน " กับผมตั้งแต่ต้นจนถึงบรรทัดนี้ ท่านผู้อ่านเกิดไอเดียอะไรใหม่ๆบ้างไม๊ครับ? ผมได้ลำดับภาพเป็นขั้นตอนต่างๆ เริ่มจาก Motoro_Pearlในก้าวแรก แล้วตามด้วยก้าวที่สองคือ Pearl_Polkadot โดยที่แทรกความรู้ในเรื่องของ Polkadot_Henlei เข้าไป โดยมีปลา classic อย่าง polkadot แท้ และ sp. from Motoro ที่เป็นแรงบันดาลใจสองสิ่งสำหรับผม ที่จะก้าวไปสู่ ก้าวที่สาม ในอนาคต นั่นคือปลาที่มี 3 หรือ 4 สายเลือดในตัวเดียวกัน

บทความชิ้นนี้เป็นชิ้นที่ต่อเนื่องจากบทความแรก ผมหวังเป็นอย่างยิ่งครับว่า การถ่ายทอดประสบการณ์อันน้อยนิด ของนักเพาะเลี้ยงกระเบนอย่างผมในครั้งนี้ จะมีประโยชน์และเป็นแนวทางต่อท่านผู้อ่านบ้าง ไม่มากก็น้อยนะครับ ซึ่งผมขออนุญาตยืนยันอีกครั้งหนึ่งครับว่า ไม่ได้ทำบทความชิ้นนี้เพื่อสร้างกระแสหรือสร้างเครดิตให้ตัวเอง ผมเพียงแค่อยากให้เพื่อนๆ ที่สนใจในการเพาะเลี้ยงปลากระเบน ได้ซึมซับความสุขจากการเลี้ยงเจ้าจานบินลำน้อยเหล่านี้ โดยเฉพาะการเพาะพันธุ์ ได้พอจะมีแนวทางใหม่ๆ และได้ตื่นเต้นกับการที่เพาะลูกปลาได้เป็นของตัวเอง ผมอยากจะแบ่งปันความรู้สึกดีๆเหล่านั้นให้กับทุกท่าน ในฐานะของนักเพาะเลี้ยงปลาคนหนึ่งครับ และถ้าหากสามารถทำให้ วงการปลากระเบนในบ้านเราขับเคลื่อนไปข้างหน้า ผมยินดีรับหน้าที่สื่อกลางในการขับเคลื่อนนั้นครับ....


ขออนุญาตส่วนตัวเล็กน้อยครับ ทิ้งท้ายไว้ด้วยบุพการีทั้งสองท่านครับผู้ซึ่งเป็นทั้ง

- ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จทั้งปวงครับ - ผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการ และสุดท้าย ขาดไม่ได้เด็ดขาดครับ = =>" สำนักงบประมาณ " ครับ


ท้ายสุดครับ

ลากันไปด้วย ก้าวที่ 3 ก้าวแห่งอนาคตของการเพาะพันธุ์ปลากระเบนล่าสุดของที่บ้านครับ

ปลา 3 สายเลือดครับ [ (leopoldi+henlei) + Pearl ]

* ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด * อีก 3-4 เดือน เราจะได้เห็นหน้าค่าตา ลูกปลาจากพ่อแม่คู่นี้พร้อมๆ กันครับ

- ขอบพระคุณจากใจที่ติดตามครับ

" Earth Aqua53 "

ขอให้มีความสุขในการเลี้ยงปลาที่ท่านรักครับ