Skip to content

ปรับปรุง เว็บไซต์ เยอะแยะเลย ลองกดเข้าไปเล่นดูสิ ตอนนี้ มีหมอตั้ม มาประจำที่ โรงพยาบาลแล้วนะครับ ใครมีปัญหาปลาป่วย ปรึกษาได้ครับ

Arowazone เว็บบอร์ด สำหรับ เพื่อนๆ ที่รักการเลี้ยงปลาในครอบครัว Osteoglossidae ไม่ว่าจะเป็นอะโรวาน่าจากทวีปเอเชีย อเมริกาใต้ ออสเตรเลีย หรือ อัฟริกา ไว้พูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

0009315

มังกรเขียว เป็นตุ่มมีหนองขึ้นที่โคนหางรอบตุ่มเริ่มแดงเป็นแผล

(180.180.111.217) [2012-05-26 18:35:57]

รบกวนปรึกษา มังกรเขียวของผมเป็นตุ่มที่โคนหางตรงด้านล่างสุด {โคนที่เป็นเกล็ด ไม่ใช่ปลายหางสุดนะครับ} มีหนองด้วย รอบตุ่มแดงเป็นแผล บวมคล้ายๆจะอักเสบเป็นแค่จุดเดียว เพิ่งสังเกตุเห็น เมื่อ3วันก่อนผมยังดูอยู่ก็ไม่เห็นเป็นแผลอะไร ป.ล. ต้องท้าวความก่อนว่าเมื่อวันเสาร์ที่แล้วปลาในตู้ป่วย ตาปลามีอาการตาเป็นฝ้าขาวขุ่น ผมจึงได้เปลี่ยนถ่ายนำ้ในตู้ปลาออก 50% แล้วใส่ยาแอมม๊อกซี่ 30 มก.ต่อนำ้้ 10 ลิตรเกลือแกง 1%ครั้งแรก และครั้งต่อไปถ่ายนำ้ และใส่ยา 30% ทุกวัน อาการตาขุ่นดีขึ้นแล้ว แต่ยังใส่ยาและถ่ายนำ้อยู่เพราะเสือตอที่เลี้ยงรวมกันยังไม่หายดี ตอนนี้มังกรเริ่มไม่กินอาหารแล้วครับ เวลาว่ายนำ้ดูเหมือนจะเจ็บหาง สงสาร ผมควรจะทำไงดีครับ รบกวนผู้รู้ ชี้แนะด้วยครับ ขอบคุณครับ รอคำชี้แนะอยู่เน้อ ตู้ 60 นิ้วคร๊าบบบ

ความคิดเห็นที่ 1

tensun
tensun
49
[2012-05-27 23:51:13]

เปลี่ยน น้ำ ก่อน ครับ ดูว่าเป้นแผลไหม ถ้าแผล ก้ดูว่าเป้นแบบไหน ศึกษา เรื่องนาประติชีวนะด้วยครับ

ความคิดเห็นที่ 2

nueng666
nueng666
111
[2012-05-28 16:13:13]

ผดปลา เกิดจากเชื้อไวรัส โดยทั่วไปเจ้าเชื้อไวรัสจะพบอยู่ในเซลล์ของปลาและสภาพแวดล้อมทั่วไปอยู่แล้ว แต่จะแสดงอาการออกมา เมื่อปลาอยู่ในสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม ปลาเกิดอาการเครียด เป็นผลให้ปลาที่เลี้ยงสุขภาพอ่อนแอลง ภูมิต้านทานต่ำลง เจ้าไวรัสจะแทรกซึมผ่านรอยแผลที่เกิดจากการถูไถของปลา เป็นเหตุให้เกิดติดเชื้อและเป็นโรคผดปลาในที่สุดจะพบตุ่มหรือคราบสีขาวตามลำตัวของปลา ใบหางและครีบปลา จนหลายคนอาจเข้าใจผิดว่าเป็นโรคจุดขาว อาการที่แตกต่างกันของผดปลากับจุดขาว คือ ผดปลาจะเป็นตุ่มขนาดใหญ่กว่าโรคจุดขาว และไม่ได้กระจายทั่วไปตามตัวเหมือนโรคจุดขาว ดังนั้นเราสามารถสังเกตุความแตกต่างได้ด้วยตาเปล่าคือผดปลาจะเป็นตุ่มหรือก้อนเนื้อคล้ายๆหูดขึ้นมา บางจุดเป็นมากจะมีอาการคล้ายๆเนื้องอกงอกขึ้นมา
สำหรับปลาอโรวาน่าแล้วส่วนใหญ่ที่พบบ่อยจะเป็นบริเวณใบหาง เนื่องจากตู้เลี้ยงปลาอาจมีขนาดเล็กเกินไป ทำให้เวลาปลาว่ายกลับตัว ใบหางไปสัมผัสกระจกตู้ปลา หรืออุปกรณ์ในตู้ปลา (ในที่นี้ไม่ได้เป็นเฉพาะใบหาง แต่จะพบตามตัวและครีบปลาได้เช่นกัน)เกิดเป็นรอยขีดข่วน ทำให้ไวรัสเข้าแทรกซึมตามรอยแผล และเกิดการติดเชื้อขึ้นได้ โดยหลักๆปัจจัยเรื่องขนาดตู้เล็กไป หรือจำนวนปลาแออัดไป เป็นองค์ประกอบรองลงมา สาเหตุหลักๆอยู่ที่คุณภาพน้ำไม่สะอาดนั่นเอง
วิธีการรักษา

ตอนนี้เท่าที่ทราบยังไม่มีตัวยารักษาโดยตรง ดังนั้นวิธีรักษาคงเป็นการคุมปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคนี้ขึ้น บวกกับวิธีการบรรเทาอาการของโรคลง ด้วยการเปลี่ยนน้ำสม่ำเสมอถี่ๆหน่อย ทุกวัน ในปริมาณไม่มากนัก ใส่เกลือด้วย หากระบบกรองไม่ได้ล้างนานแล้ว ก็ขยับสักนิด ล้างสักหน่อย ปรับสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น หากตู้เล็กเกินก็อาจจะปรับเปลี่ยนขนาดของตู้ หรือลดจำนวนปลาในตู้ลง เมื่อทำได้ตามนี้ อาการผดปลาที่เกิดขึ้นก็จะดีขึ้นตามลำดับจนหายไปเอง แต่บางกรณีอาจพบเป็นก้อนเนื้อ หรือตุ่มขนาดใหญ่ จำเป็นต้องขูดหรือเฉือนออก และใส่ยาบริเวณรอยแผลที่เฉือนออก ตัวอย่างยา เช่น เบตาดีนหลักๆอยู่ที่การรักษาความสะอาดน้ำและระบบกรองในตู้ปลา เพื่อไม่ให้เกิดเชื้อไวรัสแพร่กระจายในน้ำมากไป และหมั่นทำความสะอาดถูกระจกในตู้ปลาอยู่เป็นประจำ รวมจึงปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมใหม่ หากที่เลี้ยงเล็กเกินไปก็ให้ขยับขยายหรือมีความแออัดของปลามากเกินไป ให้ลดจำนวนปลาลง

ความคิดเห็นที่ 3

Thongtang
Thongtang
1
[2012-05-29 00:08:37]

ขอบคุณทุกท่านที่ให้คำชี้แนะครับผม จะนำสิ่งที่ท่านแจงไปปฎิบัติต่อ ตอนนี้ก็ถ่ายนำ้ ลดยา ใส่เกลือ ล้างกรอง รอดูอาการสัก 2 วันก่อน ถ้ายังไงจะรายงานเป็็นระยะนะครับ ขอบคุณมากครับ

ด้านบน

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนทำรายการ

เข้าระบบ