Skip to content

ปรับปรุง เว็บไซต์ เยอะแยะเลย ลองกดเข้าไปเล่นดูสิ ตอนนี้ มีหมอตั้ม มาประจำที่ โรงพยาบาลแล้วนะครับ ใครมีปัญหาปลาป่วย ปรึกษาได้ครับ

โลกปลาหมอสีสายพันธุ์ แท้ๆ ทั้งจาก ทะเลสาบมาลาวี, ทังแกนยิกา, หรือ ปลาหมอสี สายพันธุ์ แท้ จาก ทวีปอเมริกา ตลอดจน ปลาหมอแคระ ชนิดต่างๆ อยากให้เว็บบอร์ด นี้ มีส่วนช่วยให้คนรักปลา รู้จัก ไม่ลืม ในสายพันธุ์ ดั้งเดิม ตามธรรมชาติของปลาในครอบครัว Cichlidae

0004455

รบกวนเพื่อนๆ หน่อยคับ เกี่ยวกับค่าเค็ม อัลคาไลน์ ฮาร์ดเนส

phatphon
phatphon
1113
[2008-12-04 09:29:13]
เนื่องจากกระทู้นี้อะคับ
ความคิดเห็นที่ 2
ผมลองสรุปเพื่อชี้ทางเบื้องต้นก่อนดูนะครับ
สิ่งที่ต้องตรวจสอบ และการแก้ไขเบื้องต้น

1. คลอรีน ถ้าคุณใช้น้ำพัก หรือน้ำกรอง ก็หมดปัญหา ถ้าใช้น้ำประปาสดๆ ก็รันกรอง เปิดฝาตู้ไว้ 2 วันก็หมด สรุปก็ไม่ต้องวัด

2. ออกซิเจน ไม่ต้องไปวัดครับ เครื่องวัดแพง แค่มีฟองอากาศในตู้ แรงๆหน่อยสักจุดก็พอ ขึ้นกะว่าจะเลี้ยงปลาอะไร

3. ของเสีย พวก แอมโมเนีย ไนไตทร์ มีน้ำยาวัด ยี่ห้อ Tetra ซื้อมาวัดได้ แต่ถ้าน้ำใหม่ ไม่มีแน่นอนของเสีย ไม่ต้องวัด น้ำเก่าปลาแน่นๆ ของเสียเยอะๆ ไนเตรท์เยอะแน่ แต่ก็ไม่ต้องวัดอยู่ดี ใช้สังเกตุและเปลี่ยนน้ำเอา ง่ายกว่า

4. ความเค็ม อัลคาไลน์ ฮาร์ดเนส เป็นเรื่องของปลาทะเล และปลาจากทะเลสาบบางแห่ง เช่น ทังกายินก้า

5. pH ถ้าใช้น้ำประปาพักหรือกรอง จะอยู่ที่ 7-8 อยู่แล้วแน่นอน ในกทม. เลี้ยงปลาได้ครอบจักรวาล ไม่ต้องวัดหรือทำอะไร เว้นแต่คุณจะเลี้ยงปลาบางชนิดที่ต้องการ pH ที่แตกต่าง ซึ่งมือใหม่คงยังไปไม่ถึงครับ เอาง่ายๆก่อน สรุป ก็ไม่ต้องวัด อยู่ดี

สรุปอีกครั้งว่า ไม่ต้องวัด ครับ ถ้าคุณเข้าใจ
และถ้าจะวัด แสดงว่าคุณเลี้ยงปลาแอดวานซ์ไปอีกขั้นแล้ว ถึงขั้นลงรายละเอียดครับ แต่นี่ ยังไม่บอกเลยว่าจะเลี้ยงปลาอะไรแค่ไหน อย่างไร คำถามเลยกว้างมากครับ ลองอ่านและศึกษาดูสักหน่อยครับ จะได้ประโยชน์ต่อตัวคุณเอง
โดย: RoF (เจ้าบ้าน ) [3 ธ.ค. 51 11:30] ( IP A:58.9.147.240 X: )

ที่มา http://www.pantown.com/board.php?id=2888&area=4&name=board17&topic=849&action=view

ข้อ 4 อะคับ ค่าที่เหมาะสมควรจะเท่าไร ใครพอมีข้อมูลบ้างคับ
ขอบคุณคับ

ความคิดเห็นที่ 1

keekie
keekie
578
[2008-12-04 09:59:24]
มีอีกตัววัดค่าความกระด่างของน้ำ GH

ความคิดเห็นที่ 2

Jubsy
Jubsy
253
[2008-12-04 10:07:10]
ข้อ 4 นะครับ
เรื่องค่าความเค็ม ถ้าไม่เลี้ยงปลาทะเล ก็ไม่ต้องไปสนใจ เราคงไม่ใส่เกลือแบบว่า 30 เปอร์เซนต์อะไรทำนองนั้นครับ

เรื่องความกระด้างของน้ำ ผมก็จำไม่ค่อยได้ คิดว่าความกระด้างมี 2 อย่าง คือ ความกระด้างชั่วคราว และความกระด้างถาวร สองอย่างนี้เกิดขึ้นจากอิออนต่างชนิดกันครับ ประมาณว่า กระด้างชั่วคราวเป็นนิสัย กระด้างถาวรเป็นสันดาน 555 มั่วดีไหม

แต่ก่อนจะไปถึงตรงนั้น ถามก่อนว่าจะเลี้ยงปลาอะไร ถ้าเลี้ยงพวกอเมริกาใต้ หรือหมอแคระ พวกนี้ไม่ชอบน้ำกระด้างครับ (หรือเรียกง่ายๆ ว่า น้ำอ่อน) ส่วนเลคแทงหรือมาลาวีนี่ ชอบน้ำกระด้าง

ถ้าต้องการน้ำอ่อน ก็ใช้สับสเตรท, สิ่งของตบแต่งตู้ และสารกรองที่เป็นกลาง (ไม่ควรใช้ปะการัง หรือพวกหินปูนมาอยู่ในระบบ) หรือทำให้น้ำอ่อน มีผลิตภัณฑ์หลายอย่างที่ใส่ในกรองนอก แล้วทำให้น้ำอ่อนได้ ผมเพิ่งซื้อมาลอง ปรากฏว่าพีเอชลงต่ำกว่า 7 ได้แฮะ หรือถ้าท่านมีดินปลูกต้นไม้เก่าๆ ลองเอามาปูพื้นดูสิ ให้พวก eartheater มันถุยเล่น คงฟุ้งดี แต่มันชอบนะ

ส่วนเรื่องน้ำกระด้าง ก็ทำตรงกันข้ามกับที่กล่าวมา ให้คนอื่นมาตอบแล้วกัน ส่วนผมเพิ่งลองใช้สับสเตรทสำเร็จรูปแบบใหม่ ที่ทำให้น้ำกระด้าง และพีเอช มากกว่า 8 มาลองใช้ดู ก็ดีนะ ไม่ต้องคิดมากให้ปวดหัว

ความคิดเห็นที่ 3

Jubsy
Jubsy
253
[2008-12-04 10:09:16]
เห็นคุณกีกี้ตอบแล้วนึกได้ ว่าความกระด้างชั่วคราวคือ KH ส่วนความกระด้างถาวรคือ GH
ถ้าจำไม่ผิด
GH = General Hardness
KH = Kik Hardness (อันนี้ล้อเล่น จำไม่ได้) ลองไป กูเกิ้ลดูสิ

ความคิดเห็นที่ 4

Jubsy
Jubsy
253
[2008-12-04 10:12:57]
เอาไปอ่านดู เห็นว่าเข้าใจง่ายดี

http://www.thetropicaltank.co.uk/hardness.htm

ความคิดเห็นที่ 5

phatphon
phatphon
1113
[2008-12-04 10:44:03]
ว้าว ขอบคุณคับคุณ Jubsy อิอิ เยี่ยมไปเลย

จิง ๆ แล้วผมไม่ได้ไปกังวลอะไรมากมายกับค่าพวกนี้หรอกคับ

พวกตระกูลปลาหมอไม่ใช่ปลาที่เลี้ยงยากอะไร แค่ดูแล คุณภาพน้ำ

ระบบกรอง และการให้อาหาร ที่ดีและเหมาะสมมันก็ ok แล้วคับ

ส่วนค่าต่าง ๆ ที่พูดมา จัดหา substate ที่เหมาะสม วัสดุปูพื้นที่

เหมาะสม ก็สุดแจ่มแล้ว ในความคิดผมนะคับ หุหุ

ปล.ขอบคุณมากจิง ๆ คับสำหรับข้อมูล ท่านอื่นมีอะไรเสริมไหมคับ

ความคิดเห็นที่ 6

plaraberd
plaraberd
753
[2008-12-04 11:05:22]
เชื่อไม๊ เรื่องพวกนี้ผมอ่านแล้วไม่เคยจำได้เลย

เพิ่งจะมากระจ่างก็คราวนี้แหละ

ผมเริ่มนับถือพี่วู๊ดดี้ อีกแล้วครับ เฮียนี่แน่จริงๆ

ความคิดเห็นที่ 7

Nyassae
Nyassae
826
[2008-12-04 11:05:26]
เสริมนิดนึงว่า Kh ไม่ค่อยมีบทบาทอะไรกับการเลี้ยงปลาจาก 2 ทะเลสาบนี้เท่าไร เพราะ Kh จากน้ำประปาก็เหมาะสมกับการเลี้ยงปลาพวกนี้อยู่แล้ว

มีผลแค่ว่า ถ้า Kh สูง (>3) ซึ่งก็คือระดับของ KH ปกติในน้ำประปานั่นแหละ จะทำให้เปลืองน้ำยาเพิ่มค่า PH มากขึ้น กว่าจะได้ค่า PH ที่ต้องการ

แต่ถ้าไม่อยากเปลืองน้ำยา ลองใช้น้ำ RO เลี้ยงปลา KH =0 แล้วใส่เพิ่มค่า PH ดู หุหุ รับรอง PH ขึ้นกระฉูด ประหยัดน้ำยาได้เยอะ แต่ไปเสียตังค์ค่าน้ำ RO แทน (คุ้มป่าวหว่า)

หมายเหตุ จริงๆ ถ้าไม่ใช่ปลาหมอแคระ ไม่แนะนำให้เลี้ยงด้วยน้ำ RO หรอก เพราะแร่ธาตุที่จำเป็นแทบไม่มี



ความคิดเห็นที่ 8

AlfaMale
AlfaMale
1513
[2008-12-04 11:13:16]
ไม่รู้เรื่องเลยครับ เข้ามาอ่าน และจากไปเหมือนเดิม

ความคิดเห็นที่ 9

bergkit17
bergkit17 [2008-12-04 12:42:22]
สรุป ท่านที่เลี้ยงปลาเพาะ ในไทย แค่ดูแล น้ำให้ สะอาดก็พอ ไม่ต้องกังวลเรื่องค่า ต่างๆมากมาย .... แต่ถ้าท่านใดที่เลี้ยงปลา ป่าหรือปลานอก ก็ควรศึกษาเรื่อง ค่าต่างๆให้ละเอียด

ความคิดเห็นที่ 10

Jone500
Jone500
5
[2008-12-04 12:55:21]
ไม่ต้องซีเรียสครับ ปลาถ้าไม่ใช่จับมาจากธรรมชาติ โดยมากอยู่ในน้ำประปาที่ไม่มีคลอรีนได้ทั้งนั้น เพราะถ้าจะหาแหล่งเพาะพันธุ์ที่ปรับค่าน้ำตามแหล่งที่มาของปลาโดยมากหายาก แหล่งเพาะส่วนใหญ่ใช้น้ำตามสะดวกทั้งนั้นแหละครับ

ความคิดเห็นที่ 11

Nyassae
Nyassae
826
[2008-12-04 13:44:03]
ล๊อกอิน Jone500 ผมไม่ได้เห็นมา5 ปีแล้วมั๊ง

สวัสดีครับพี่ ดีใจที่ได้เจออีก

ความคิดเห็นที่ 12

RoF
RoF
125
[2008-12-04 13:49:27]
Carbonate Hardness (KH) ครับ
เอานี่ไปอ่านดูครับ

http://www.chelonia.org/Articles/waterchemistry.htm

และไม่ต้องคิดมากครับ

แต่คุณ จุ๊บซี่ แก เต็มที่กับเรื่องพวกนี้ครับ เก็บรายละเอียดทุก
อย่าง ปลาแกเลยสวยครับ ใครที่เคยไปนั่งกินเบียร์หน้าตู้
คงเคยเห็น

ความคิดเห็นที่ 13

Jubsy
Jubsy
253
[2008-12-04 14:00:44]
เสริมข้อมูลของคุณแพนอีกนิดนะครับ...

ค่า KH ถ้ามีมาก หมายถึงน้ำมีความสามารถต่อการเปลี่ยนแปลง pH ได้มาก คือ มีความเป็นบัฟเฟอร์สูงนั่นเอง น้ำแบบนี้ ค่า pH จะเสถียร ใส่อะไรลงไปมันก็ไม่ค่อยแกว่ง

กลับกัน ถ้า KH น้อยๆ อย่างที่คุณแพนว่า ใส่กรดลงไปหน่อย หรือด่างลงไปนิด ค่า pH ก็จะขึ้นลงได้มากเลย

ดังนั้น การใช้น้ำ RO นั้นผมว่าเหมาะกับผู้ที่มีประสพการณ์ (ทางการเลี้ยงปลา) มาก และรู้จริง เท่านั้น ไม่อย่างนั้นอาจเกิดสภาพ pH Crash เอี๊ยดๆๆๆ ในตู้ของท่าน และปลาจะเดี้ยง หอบๆ ว่ายกระตุกๆ ท้ายสุด มันก็จะเอียงตัวมองฟ้าครับ

ความคิดเห็นที่ 14

Jubsy
Jubsy
253
[2008-12-04 14:10:30]
ความคิดเห็นที่ 6

เชื่อไม๊ เรื่องพวกนี้ผมอ่านแล้วไม่เคยจำได้เลย

เพิ่งจะมากระจ่างก็คราวนี้แหละ

ผมเริ่มนับถือพี่วู๊ดดี้ อีกแล้วครับ เฮียนี่แน่จริงๆ

plaraberd

อย่างที่คุณ RoF ว่าไว้ครับ อยากรู้ก็อ่านเอา แต่อย่าพยายามจำ มันปวดหัว

ตอนนี้ผมเปลี่ยนน้ำตู้เลคแทงก็ใส่เกลือครับ แต่เป็นเกลือทำน้ำทะเลนะ ไม่ใช่เกลือแกง เพราะคิดว่ามันเพิ่ม GH ได้ดี แหล่มไหมล่ะ

คุณ RoF ไว้มาดูตู้เลปโตผมอีกสิครับ วานนี้เพิ่งยกฝาตู้ออก แล้วเอาเมทัลฮาไลด์ลงไป 70 วัตต์ 8100 K สีเหมือนแดดตอนสายๆ ส่องผ่านน้ำเลย นี่เตรียมหลอดบลูไว้เปลี่ยนสีแก้เซ็งด้วย แหล่มอีกแล้วพี่น้อง

ความคิดเห็นที่ 15

phatphon
phatphon
1113
[2008-12-04 14:21:26]
ว้าว ว่าง ๆ ถ่ายมาลงให้ชมบ้างนะคับ สำหรับแสงแดดตอนสาย ๆ อะ หุหุ

ความคิดเห็นที่ 16

bergkit17
bergkit17 [2008-12-04 15:52:51]
ใส่เกลือทะเลได้ด้วยหรอครับ แล้ว พี่ Jubsy ใส่ในปริมาณยังไงครับ พอดีเกลือทะเลที่บ้านเหลือ พอดี จะได้ใช้ประโยชน์ได้บ้าง
ผมเลี้ยงปลาเลคแทง ครับ

ความคิดเห็นที่ 17

Jubsy
Jubsy
253
[2008-12-04 16:15:35]
เรื่องการใส่เกลือทะเลนี่ผมมั่วเอาเองครับ เพราะเห็นว่ามันมีอิออนหลายๆ ตัวที่ต้องการเพื่อเพิ่มความกระด้างถาวร เช่น แมกนีเซียม และแคลเซียม ใส่ก็ใส่เท่าๆ กับเกลือปรกตินั่นแหละครับ อีกอย่าง เลคแทงนี่จำได้ว่าเคยเป็นทะเลมาก่อน น้ำมันก็เลยเป็นแบบนั้นน่ะ
แต่เกลือที่ใช้ควรใช้เกลือดีๆ หน่อยนะ ละลายเร็ว ผมเองใช้ Reef Crystal ละลายเร็ว และอิออนที่ต้องการมันเยอะดี

ด้านบน

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนทำรายการ

เข้าระบบ