Skip to content

ปรับปรุง เว็บไซต์ เยอะแยะเลย ลองกดเข้าไปเล่นดูสิ ตอนนี้ มีหมอตั้ม มาประจำที่ โรงพยาบาลแล้วนะครับ ใครมีปัญหาปลาป่วย ปรึกษาได้ครับ

โลกปลาหมอสีสายพันธุ์ แท้ๆ ทั้งจาก ทะเลสาบมาลาวี, ทังแกนยิกา, หรือ ปลาหมอสี สายพันธุ์ แท้ จาก ทวีปอเมริกา ตลอดจน ปลาหมอแคระ ชนิดต่างๆ อยากให้เว็บบอร์ด นี้ มีส่วนช่วยให้คนรักปลา รู้จัก ไม่ลืม ในสายพันธุ์ ดั้งเดิม ตามธรรมชาติของปลาในครอบครัว Cichlidae

0008920

ถามระบบกรอง moving bed

tyong
tyong
20
[2012-01-31 18:32:57]

อยากถามว่า นำมาใช้ทดแทน ระบบกรองข้างในตู้ปลาเลยจะได้มั๊ยครับ

โดยให้ส่วนบนสุด ยังมีใยกรองอยู่ ส่วนชั้น2-3 เป็น moving bed ทั้งหมด

แต่ก็ยังสงสัยช่องที่มีปั๊มน้ำ เพราะจะมีช่องว่างด้านล่างด้วย

อาจทำให้มันวิ่งเข้าไปได้

ขอคำแนะนำด้วยครับ อยากเปลี่ยนมาใช้บ้าง แต่ไม่มั่นใจว่าจะมีประสิทธิภาพเท่าเทียม

พวกปะการัง+หินพัมมิส หรือปล่าว

ความคิดเห็นที่ 1

watermonkey
watermonkey
449
[2012-01-31 18:58:21]

Moving bed เหมาะกับกรองล่างมากกว่าครับ กรองข้างไม่ค่อยเหมาะเท่าไหร่

ความคิดเห็นที่ 2

Simplex
Simplex
43
[2012-01-31 20:23:22]

กรองข้างก็ทำได้ครับ กรองข้างส่วนใหญ่จะแบ่งเป็น 3 ส่วน เราเอาพวกปะการัง พัมมิส หรือ เซรามิคริง ไว้ช่องล่างสุด แล้วกั้นช่องนั้นไว้ แล้วใส่ moving bed ที่ช่องที่สองครับ เอาหัวฟู่วางไว้ที่ช่องนี้ แค่นี้ตัว moving bed มันก็ไม่วิ่งหนีไปช่องปั๊มแล้วครับ หรือถ้าให้ชัวร์ผมจะเอาฟองน้ำยัดไว้ระหว่างช่องมีเดียกับช่องปั๊มครับ ช่วยกรองน้ำไปอีกทีด้วย แล้วช่องบนสุดก็เป็นใยกรองไปตามปกติ ผมทำอยู่ 2 ตู้ที่บ้านครับ

ความคิดเห็นที่ 3

Chanin09
Chanin09
2080
[2012-01-31 21:19:06]

จริงๆ แล้ว เราสามารถเพิ่มประสิทธิภาพห้องกรองของเราให้ทำงานได้มากกว่าเดิมหลายเท่าตัวด้วยการปรับเปลี่ยนรูปแบบ หรือวัสดุกรองครับ อย่างเช่นหากของเดิม เราใช้พวกใยไนล่อน + ฟองน้ำ + ปะการัง หรือ Bio Ring, Bio Ball รุ่นบ้านๆ แบบที่ชอบแถมมาในช่องกรอง เราก็แค่เปลี่ยมาใช้ทำระบบ Moving Bed ในช่องกรองข้างอันเดิมเท่านั้นเองครับ ที่พูดนี่ไม่ใช่ยกเมฆเอาเอง แต่มีเรื่องของค่าพื้นที่ผิวจำเพาะมาให้ลองพิจารณากันดูตามด้านล่างครับ

ส่วนเรื่องการควบคุมไม่ให้เม็ด Moving หลุดไปช่องอื่น ก็ง่ายๆ ครับ หาพวกแผ่นตาข่ายพลาสติกที่มีตาถี่เล็กกว่าเม็ด Moving ตัดมามากั้นไว้ เหมือนกรงล้อมเลี้ยงไก่ชน แค่นี้มันก็ไม่หนีไปไหนแล้วครับ

และต่อไปนี้คือข้อมูลที่ผมค้นมาจากเวบเกี่ยวกับวัสดุกรองชีวภาพชนิดต่างๆ ที่ส่วนใหญ่ใช้กันในบ่อกรองปลาคาร์ฟ ว่าค่าพื้นที่ผิวจำเพาะ ของวัสดุกรองแต่ละอย่างมีมากน้อยต่างกันเช่นไร เรียงรำดับจากค่าพื้นผิวน้อยสุด ไปหามากสุด ดังนี้

- ปะการัง พื้นที่ผิวจำเพาะ มีค่าประมาณ 100 m2/m3

- หินพัมมิส หรือหินถูเขาไฟ พื้นที่ผิวจำเพาะ มีค่าประมาณ 100-200 m2/m3 (เม็ดยิ่งเล็ก ยิ่มีพื้นที่มาก)

- แปรงพู่ พื้นที่ผิวจำเพาะ มีค่าประมาณ 160 m2/m3

- โครงสร้างพลาสติกรังผึ้ง Bee Comb มีค่าประมาณ 200 m2/m3

- BIO BALL พื้นที่ผิวจำเพาะ มีค่าประมาณ 200-500 m2/m3 (แล้วแต่ยี่ห้อ และรูปทรง อย่างของจีนแดงถูกๆ มีซี่ห่างๆ ย่อมมีพื้นที่น้อยกว่าพวกลูก Bio Ballอย่างเทพของเยอรมันที่มีโครงสร้างเป็นชั้นๆ ซับซ้อนหลายเท่า)

- แผ่นใยกรอง FILTER MAT (ธรรมดา) พื้นที่ผิวจำเพาะ มีค่าประมาณ 300 m2/m3 ขนาดที่ขายกัน 1แผ่น มีค่าพื้นที่ผิว 12 ตร.ม.

- แผ่นใยกรอง JAPANEESE FILTER MAT พื้นที่ผิวจำเพาะ มีค่าประมาณ530 m2/m3 ใยแบบสีฟ้าๆ ของญี่ปุ่นแท้เดี่ยวนี้หายาก มีแต่ของจีนแดง แต่ก็ใกล้เคียง ทว่าใยจะผุหมดอายุเร็วกว่า ขนาดที่ขายกัน 1 แผ่นมีค่าพื้นที่ผิว 42.4 ตร.ม.

- แผ่นข่ายพลาสติกถัก MATALA พื้นที่ผิวจำเพาะ มีค่าประมาณ200-550 m2/m3 สีฟ้า หรือเทาให้พื้นที่สูงที่สุด ขนาดที่ขายกันในบ้านเรา 1 แผ่น มีค่าพื้นที่ผิวเฉลี่ยประมาณ 44 ตร.ม.

- Moving bead อย่างเช่นของ BCN 009 ถ้าวางแบบนิ่งๆ ในช่องกรองเฉยๆ เป็นระบบ Fixed Bead มีค่าพื้นที่ผิว 900 sq.m./cu.m. โดยประมาณ

แต่ถ้าเป็นทำเป็นแบบ Moving Bead เป่าด้วยฟองอากาศ ให้เคลื่นที่ไปมาในช่องกรอง จะมีค่าพื้นที่ผิวที่ดูน้อยลงคือ =500 sq.m./cu.m. โดยประมาณ ซึ่งอันนี้เค้าคิดเฉพาะพื้นที่ผิวด้านในตัวโครงเม็ดพลาสติกที่มีค่าความถ่วงจำเพาะพิเศษ ส่วนผิวด้านนอกที่ถูกแรงฟองอากาศ หรือปั๊มน้ำพากระแทกกันไปมา จะไม่เกิด Bacteria colony

แต่ทว่าด้วยการการที่มันเคลื่อนที่ไปทั่วๆ ห้องกรองนี้เอง จึงทำให้มันสามารถทำงานได้ทวีคูณอีกเป็นหลายเท่าตัว จึงเสมือนว่ามันมีประสิทธิภาพการกรองที่สูงสุดในบรรดาวัสดุกรองทุกชนิดครับ


ส่วนพวกแผ่นฟองน้ำ ใยไนล่อน หรือตาข่ายซาแรน เราไม่นับ เพราะถือเป็น วัสดุตัวกรองกายภาพ แค่ให้ทำหน้าที่ดักตะกอนหยาบ คือขี้ปลา และเศษอาหารเหลือออกไปก่อนมาผ่านวัสดุกรองชีวภาพ ที่เมื่อเซ๊ตระบบสมบูรณืแล้ว จะมี colony ของแบคทีเรียช่วยย่อยมาสร้าง "เมือกชีวภาพ" หรือ Biofilm ที่คอยทำหน้าที่ย่อยสลายของเสียต่างๆ ในน้ำนั่นเอง

ความคิดเห็นที่ 4

chogun999
chogun999
803
[2012-01-31 22:23:27]

เฮียป้อง จัดหนักในเนื้อหาและสาระ คารวะ1จอก
ตู้บ้านผมก็ติดเป็นตัวเสริม ดีนะขอบอก

ความคิดเห็นที่ 5

rome
rome
2515
[2012-02-01 00:21:01]

เฮียป้อง อธิบายได้ชัดเจนดีจริง ๆเลยครับ

ความคิดเห็นที่ 6

Chanin09
Chanin09
2080
[2012-02-01 07:42:55]

ลื๊ม ลืม...ข้อมูลสำคัญ !

ก็คือ เค้าคำำนวนกันออกมาว่า พื้นที่ผิววัสดุกรอง 1 ตารางเมตรที่มี Biofilm หรือบ้านของแบคทีเรียช่วยย่อยมาเกาะอาศัยคอยย่อยของเสียที่ละลายในน้ำอยู่จนเต็มดีแล้วนั้น จะมีความสามารถในการรองรับ "ของเสีย" ต่างๆ ที่เกิดจากสารตั้งต้น ซึ่งก็คือ "อาหาร" ในปริมาณ ประมาณ 3 กรัม

ซึ่งถ้าดูจากข้อมูลอย่างนี้แล้ว เราอาจนึกกระหยิ่มใจ ว่าโห กรองในตู้เรามันก็ดูเหลือเฟือ แต่จริงๆ มันมีปัจจัยอื่นๆ มาเกี่ยวข้อง หรือเป็นอุปสรรคขัดขวางการทำงานของจุลินทรีย์ช่วยย่อยให้ลดลงมากมาย

ที่สำคัญสุดเลย หาใช้สิ่งใดไม่ นั้นก็คือปริมาณอ็อกซิเจน ที่ละลายในน้ำ เพราะเนื่องจากกระบวนการในการย่อยสลายพวกสารพิษต่างๆ ที่เป็นอนุภัณฑ์จากขี้ปลา และอาหารเหลือ อันได้แก่แอมโมเนีย ไนไตรท์ นั้น แบคทีเรียต้องใช้อ็อกซิเจนจากน้ำปริมาณมากพอควร หากน้ำเราไม่มีอ็อกซิเจนมากพอ ปลาเราก็อาจจะเดี้ยง เพราะโดนแบคทีเรียแย่งอากาศเอาไปใช้ได้เช่นกัน

และอย่าลืมว่า ยิ่งอุณหภูมิสูงมากขึ้นเท่าใด ปริมาณอ็อกซิเจนที่จะสามารถละลายลงไปในน้ำ ก็จะน้อยลงไปเท่านั้น

นี่คือสาเหตุหลักที่ปลาหมอหลายชนิดชอบน้ำเย็น! ซึ่งหากวิเคราะห์ดีๆ จะพบว่าไอ้เจ้าพวกนี้ส่วนใหญ่คือพวก "ปลาทราย" หรือปลาน้ำลึกๆ ที่ในธรรมชาติมันได้ผ่านกระบวนการวิวัฒนาการมาเพื่ออยู่ในบริเวณที่ๆ น้ำลึกกว่า และเย็นกว่า ซึ่งแน่นอน มีอ็อกซิเจนละลายอยู่เพียงพอมากกว่าน้ำที่อุณหภูมิสูง

นอกจากนี้ สิ่งที่หลายคนมองข้าม ก็คือ "ตะกอน" ไอ้ตัวนี้แหล่ะครับ ที่ในระบบกรองแบบเทพๆ เค้าต้องหาวิธีการขจัดมันออกไปให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะมากได้ ก่อนที่มันจะหลุดเข้าสู่ "ห้องกรองชีวภาพ" เพราะพวกตะกอนต่างๆ มันจะไปปกคลุมหุ้มจับบดบัง Biofilm หรือบ้านของแบทีเรียช่วยย่อยซึ่งเกาะอยู่ตามพื้นผิวของวัสดุกรองจนไม่สามารถทำงานได้นั่นเอง

ดังนั้น เราจึงต้องมีการกรองกายภาพ คือใช้พวกใยไนล่อน ใยสก๊อตไบรท์ หรือฟองน้ำ ฯลฯ มาดักตะกอนไว้ก่อนที่น้ำจะไปผ่านการบำบัดในช่องกรองชีวภาพครับ

และการใส่พวกสารเคมี เกลือ ยาฆ่าเชื้อ อะไรต่อมิอะไร ก็จะไปมีผลต่อการทำงานของแบคทีเรียช่วยย่อยด้วยทั้งสิ้น ดังนั้นจึงต้องระมัดระวังด้วยนะครับ

ความคิดเห็นที่ 7

uptooyou
uptooyou
169
[2012-02-01 09:07:33]

มาศึกษาครับ

ความคิดเห็นที่ 8

northwind
northwind
960
[2012-02-01 10:20:50]

ต้องไปลองทำดูบ้าง

ความคิดเห็นที่ 9

verdantleaf
verdantleaf
445
[2012-02-02 10:54:48]

มาเก็บข้อมูลครับ

ด้านบน

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนทำรายการ

เข้าระบบ