Skip to content

ปรับปรุง เว็บไซต์ เยอะแยะเลย ลองกดเข้าไปเล่นดูสิ ตอนนี้ มีหมอตั้ม มาประจำที่ โรงพยาบาลแล้วนะครับ ใครมีปัญหาปลาป่วย ปรึกษาได้ครับ

โลกปลาหมอสีสายพันธุ์ แท้ๆ ทั้งจาก ทะเลสาบมาลาวี, ทังแกนยิกา, หรือ ปลาหมอสี สายพันธุ์ แท้ จาก ทวีปอเมริกา ตลอดจน ปลาหมอแคระ ชนิดต่างๆ อยากให้เว็บบอร์ด นี้ มีส่วนช่วยให้คนรักปลา รู้จัก ไม่ลืม ในสายพันธุ์ ดั้งเดิม ตามธรรมชาติของปลาในครอบครัว Cichlidae

0008537

เครื่องทำโอโซน (Ozonizer) มันมีประโยชน์จริงๆ นะครับเพื่อนๆ

Chanin09
Chanin09
2080
[2011-11-02 22:03:35]

สมัยก่อนเมื่อนมนานกาเลมาแล้ว ผมเปิดร้านขายปลาทะเลสวยงามอยู่แถวย่าน อตก
เป็นรุ่นแรกๆ ตอนนั้นเราจะมีอุปกรณ์สำหรับใช้บำบัดรักษาโรค รวมทั้งเพิ่มคุณภาพน้ำ
นั่นก็คือ เครื่องทำก๊าซโอโซน (Ozonizer) ที่จะผลิตก๊าซโอโซน (O3)
ใช้พ่วงกับเครื่องฟอกน้ำ คือ "Protein Skimmer"

เนื่องจากก๊าซโอโซน เวลาแตกตัวจะให้ก๊าซอ็อกซิเจนบริสุทธิ์ และมีคุณสมบัติในการ
อ็อกซิไดซ์ ฟอกฆ่าเชื้อโรครวมทั้งสลายพิษสารต่างๆ ในน้ำได้อย่างมหัศจรรย์
ผมจึงยังคงนำมันมาใช้ในการดูแลเลี้ยงปลาตู้สวยงามต่างๆ มาจนถึงปัจุบัน

โดยนอกจากจะใช้เป็นตัวเพิ่มอ็อกซิเจนในน้ำอย่างทันทีทันใดในยามฉุกเฉินแล้ว
ยังเอาไว้ใช้ฟอกฆ่าเชื้อโรครักษาปลาป่วย จากการติดเชื้อต่างๆ หรือใช้พักฟื้นปลา
ที่บอบช้ำจากการขนย้าย
หรือรักษาอาการพวกที่โดนพิษแอมโมเนีย พวกขาดอ็อกซิเจน ฯลฯ

อย่างสมมุติจู่ๆ ให้อาหารปลาหนักมือไปหน่อย หรือลืมล้างกรองจนมีอาหารเหลือค้างในตู้
และเริ่มก่อสารแอมโมเนียขึ้นในน้ำมากเกินกว่าที่แบทีเรียในระบบกรองจะสลายทัน
เราก็สามารถเปิดก๊าซโอโซนลงไปในระบบ เพื่อไปสลายแอมโมเนียได้ทันที
ปลาที่เริ่มหอบเพราะขาดอ็อก และโดนพิษแอมโมเนีย ก็จะหายแทบจะทันที
ที่ก๊าซโอโซนเริ่มแตกตัวทำงาน

อย่างไรก็ตาม ก๊าซนี้ก็มีพิษได้เช่นกัน หากใช้ในปริมาณมาก หรือฟองโอโซนสัมผัสโดนกับปลาโดยตรง หรือใช้ต่อเนื่องเป็นระยะเวลาติดต่อนานเกินไป โดยไม่ผ่านเครื่องอุปกรณ์ฟอก!

ดังนั้น หากจะซื้อมาใช้ก็ควรศึกษาข้อมูล และอ่านคู่มือการใช้ให้เข้าใจชัดเจนก่อนด้วยครับ
ในตลาดอุปกรณ์ปลาบ้านเรามีผู้นำเข้ามาขายหลายยี่ห่ออยู่ครับ มีทั้งที่ตั้งเวลาได้ และแบบที่เปิดตลอด แล้วแต่วัตถุประสงค์การใช้ครับ ลองไปศึกษา สอบถามดูครับ

ความคิดเห็นที่ 1

keekie
keekie
578
[2011-11-03 01:01:48]

ความคิดเห็นที่ 2

Chanin09
Chanin09
2080
[2011-11-03 07:03:57]

อย่างตอนเมื่อวานช่วงหัวค่ำ ผมสังเกตเห็นปลาในเลคแทงตู้ 60" ของผม
ที่ผมดันโปรยอาหารสองรอบ เพราะว่าหยุดทำงานอยู่กับบ้าน เลยหนักมือไปหน่อย
มันหายใจแรงกันทั้งตู้ และฟรอน Samazi ก็สีจืดลงจนเห็นได้ชัด
ก็เลยไปรื้อเอา Ozonizer ตัวเก่าอีกเครื่อง ที่เก็บไว้ในห้องเก็บของออกมาใช้
โดยเปิดอัดผ่านเข้าไปกับตัวเจ๊ตพ่นน้ำในตู้ ตั้งเปิดสุดรอบตัวตั้งเวลา 30 นาที

เห็นผลทันทีภายในชั่วอึดใจครับ คือปลามีอาการหายใจไม่หอบ
และสีของฟรอนก็กลับมาเข้มเหมือนเดิมแบบนี้ เป็นไปได้ว่าปลาอิ่มๆ ต้องการอ็อกซิเจนสูง
นอกจากนั้น การที่ตู้นี้เป็นระบบกรองชีวภาพพื้นล่าง (Under gravel filtration)
ที่น้ำต้องผ่าน substrate ปะการัง ที่แบคทีเรียทำงานช่วยย่อยของเสียในน้ำ
ต้องใช้อ็อกซิเจนสูงมาใช้ในกระบวนการย่อยสลาย จำพวกแอมโมเนีย และไนไตรท์
ก็เลยไปแย่งอ็อกซิเจนจากในน้ำมาใช้มากขึ้น กับปริมาณของเสียที่มากกว่าเดิม
ทำให้ปลามีอาการหายใจแรงขึ้นนั่นเองครับ


ความคิดเห็นที่ 3

verdantleaf
verdantleaf
445
[2011-11-03 08:48:27]

เยี่ยมไปเลยครับ
ตวามรู้ใหม่:)

ความคิดเห็นที่ 4

phatphon
phatphon
1113
[2011-11-03 09:32:47]

ช่วงนี้ไม่ค่อยได้เปลี่ยนน้ำ สงสัยเสาร์นี้ ต้องอัดโอโซน บ้างแล้ว

ความคิดเห็นที่ 5

modifycom
modifycom
3125
[2011-11-03 09:56:13]

เอามั่งครับ จะเเคะกระปุกไปซื้อเครื่องอัดโอโซนมั่ง

ความคิดเห็นที่ 6

phatphon
phatphon
1113
[2011-11-03 10:04:00]

น้าเทพ กระปุกแม่ หรือ กระปุกลูกครับ

ความคิดเห็นที่ 7

mootoy
mootoy
1122
[2011-11-03 11:24:03]

แจ๋วเลยครับพี่

ว่าแต่ใช้นาน ๆ และมาก ๆ นี่ต้องขนาดไหนหรือครับพี่
กับหน้าตาเครื่องฟอกเป็นยังไงครับ

ความคิดเห็นที่ 8

rome
rome
2515
[2011-11-03 11:26:47]

เอามั่ง ๆ

ความคิดเห็นที่ 9

chairau
chairau
733
[2011-11-04 08:50:03]

เอาเรือมารับไปซื้อด้วยคน

ความคิดเห็นที่ 10

fonns
fonns
344
[2011-11-04 19:59:54]

ขอบคุณครับพี่

ความคิดเห็นที่ 11

Chanin09
Chanin09
2080
[2011-11-05 15:59:28]

ที่เฮียหมูถามว่าเครื่องฟอกน้ำ (Protein Skimmer) เป็นยังไง ผมก็เลยไปหาภาพจากเวบร้านขายอุปกรณ์ในบ้านเรามาให้ดูเป็นตัวอย่างครับ หน้าตาจะประมาณนี้

มีหลายหลายรูปแบบ ตั้งแต่ขนาดเล็กใช้แค่ฟองสวนกระแสน้ำที่ดึงเข้ากระบอกโดยอาศัยไซฟอนแบบใช้ลมดัน สามารถติดตั้งเข้าไปในตู้เลี้ยง

หรือแบบ Super Skimmer ที่ใช้พวกปั๊มเจ๊ตมาเป็นตัวดึงน้ำเข้ากระบอก และปั่นหมุนวนไปพร้อมๆ ฟองอากาศ มีทั้งแบบติดในตู้ได้ และแบบแขวนข้างตู้อย่างในภาพตัวอย่าง

แล้วก็แบบขนาดใหญ่พิเศษ ที่บางอันสูงเท่าตัวคนยืน ต้องตั้งวางนอกตู้ หรือที่นิยมกันก็คือติดตั้งในตู้กรองล่างครับ

ทำงานโดยอาศัยหลักการให้ฟองอากาศ (หรือฟองโอโซนในกรณีต่อกับเครื่องทำโอโซน) ทำหน้าที่แยกเมือกและสารละลายในน้ำ ตลอดจนแลกเปลี่ยนก๊าซกับน้ำที่ไหลผ่านกระบอกฟอกน้ำ ถ้าใช้ก๊าซโอโซนก็จะสามารถเป็นเครื่องมือทำความสะอาดน้ำโดยช่วยฆ่าเชื้อโรคต่างๆ ได้ด้วย

เครื่อง Protein Skimmer จะแยกของเสียออกจากน้ำ โดยของเสียที่เป็นสารละลายอยู่ในน้ำจะค่อยๆ จับตัวเป็นฟองเมือกและถูกดันออกไปรวมตัวเป็น "น้ำเสีย" สีเข้มๆ อยู่ในถ้วยเก็บด้านบน ซึ่งเราก็จะถอดไปเททิ้งเมื่อมันมีปริมาณมากพอครับ

ถือเป็นวิธีการรักษาคุณภาพน้ำที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดอย่างหนึ่งในระบบการกรองน้ำในตู้เลี้ยงปลา ครับ แต่ที่ผ่านมาจะนิยมทำกันในตู้เลี้ยงน้ำเค็มเป็นส่วนใหญ่ครับ ทว่าปัจจุบันพวกนักเลี้ยงปลาน้ำจืดระดับเทพๆ อย่างอะโรวาน่า กระเบน ฯลฯ ก็เริ่มนำ Protein Skimmer มาใช้บ้างแล้ว

ความคิดเห็นที่ 12

Chanin09
Chanin09
2080
[2011-11-05 16:11:00]

แล้วก็เลยไปค้นข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ก๊าซโอโซนรักษาคุณภาพน้ำในตู้เลี้ยงปลา
โดยแก้ไขปรับปรุง เพิ่มเติมเนื้อหาบางส่วนเข้าไปให้ครบถ้วนมากยิ่งขึ้น เพื่อมาให้เพื่อนๆ ลองศึกษากันดูครับ

"...เครื่องผลิตก๊าซโอโซน (Ozonizer)

หลายคนเมื่อไปเที่ยวชายทะเลหรือภูเขามักจะบอกว่าจะไปสูด "โอโซน" ทั้งนี้เพราะเราจะพบก๊าซโอโซนอยู่ตามพื้นที่ที่มีสภาพอากาศที่มีความบริสุทธ์ิสูง โดยเกิดขึ้นจากการที่อ็อกซิเจนในอากาศถูกผ่านด้วยกระแสไฟฟ้าพลังมหาศาลจากฟ้าผ่าในชั้นอากาศ จนทำให้โมเลกุลเพิ่มมาหนึ่ง คือเปลี่ยนจากอ็อกซิเจน (O2)กลายเป็นก๊าซโอโซน (O3) ก๊าซโอโซนที่ได้นี้ จะไม่เสถียร และจะพยายามแตกตัวออก ซึ่งขณะที่ทำปฏิกิริยาดังกล่าวนี้จะทำให้เกิดกระบวนการ Oxidation ที่มีคุณสมบัติกัดกร่อนเนื้อเยื่อสิ่งมีชีวิต รวมทั้งเปลี่ยนองค์ประกอบของก๊าซมลพิษต่างๆ ให้สลายลงเป็นสิ่งที่ไม่ก่อพิษได้ด้วย

ฟังดูอาจน่ากลัว ทว่าก๊าซโอโซนที่เกิดขึ้นตามธรรมชาตินี้มีความเข้มข้นต่ำมากๆ โดยมันจะเจือจางอยู่ในบรรยากาศที่มีก็าซอื่นๆ เป็นส่วนประกอบอยู่ด้วย ก็จึงไม่เป็นอันตรายต่อการหายใจของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ อีกทั้งยังเป็นองค์ประกอบสำคัญของชั้นบรรยากาศที่ช่วยห่อหุ้มโลกไว้ โดยทำหน้าที่ป้องกันรังสียูวีไม่ให้แผ่ลงมาทำลายสิ่งมีชีวิตบนพื้นโลกนั่นเอง

แต่เมื่อก๊าซโอโซนถูกสร้างขึ้นด้วยวิธีการผ่านกระแสไฟฟ้าแรงสูงผ่านอากาศภายในเครื่องผลิตก็าซโอโซน ที่จำลองสภาพการเกิดโอโซนจากฟ้าผ่า ก็จะได้เป็นก็าซโอโซนบริสุทธิที่มีความเข้มข้นสูง ก๊าซดังกล่าวเป็นก๊าซอันตรายมีฤทธ์ิในการทาลายเนื้อเยื่อสิ่งมีชีวิตที่บอบบางได้ ดังนั้นก๊าซโอโซนที่ผลิตขึ้นจากเครื่องทำโอโซนแบบต่างๆ นี้ จึงถูกนำมาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมต่าง โดยหลักๆ ก็คือการนำมาเป็นเครื่องมือฆ่าเชื้อโรค และขจัดสารพิษในอุตสาหกรรมอาหาร และน้ำดื่ม

เมื่อโอโซนสามารถช่วยเชื้อโรคในน้ำอย่างมีประสิทธิภาพสูงกว่าการใช้คลอรีน โดยไม่เหลือสารตกค้างนอกจากกลายสภาพเป้นอ็อกซิเจนบริสุทธิแล้ว มันจึงเหมาะนำมาใช้ในการรักษาคุณภาพน้ำในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงปลาสวยงามอย่างยิ่ง ด้วยการปล่อยกาซโอโซนลงไปผสมในน้ำโดยให้มีปริมาณความเข้มข้นมากเพียงพอที่จะทำลายแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา และตัวอ่อนของโปรโตซัวที่ก่อโรคชนิดต่างๆ แต่หากใช้โดยไม่ระวังจนมีปริมาณสูงเกินไปก็สามารถที่จะอันตราย และฆ่าสัตว์น้ำขนาดใหญ่ อย่างปลา และสัตว์น้ำอื่นๆ ที่เราเลี้ยงในตู้เลี้ยงได้เช่นกัน...

เนื่องจากก๊าซโอโซนเป็นก๊าซที่มีประสิทธิภาพสูงในการทำลายเนื้อเยื่อสิ่งมีชีวิตขณะที่ก่อปติกิริยาอ็อกซิเดชั่น ดังนั้น
ผู้ใช้ก๊าซโอโซนในการเลี้ยงปลาสวยงามต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยเราไม่ควรใส่ก๊าซโอโซนแบบเข้นข้นที่เกิน 500ml/h ติดต่อกันเกินกว่า 1 ชั่วโมงลงไปในตู้เลี้ยงโดยตรง

ควรแยกออกมาต่างหากและให้อยู่ในบริเวณที่ฟองโอโซนไม่ไปสัมผัสกับสิ่งมีชีวิต หรือลงไปสัมผัสกับวัสดุกรองในเครื่องกรองทางชีวภาพที่มีแบคทีเรียชนิดดีสร้าง colony อาศัยอยู่ ควรใส่ฟองก๊าซโอโซนผ่านหัวทรายที่ให้ฟองละเอียดสุดลงไปในช่องกรองที่ว่างอยู่ และไม่อยู่ติดกับวัสดุกรองชีวภาพ หรือที่เหมาะที่สุดเราควรใช้ร่วมกับเครื่องฟอกน้ำ "Protein Skimmer" ที่นอกจากจะช่วยแยกโปรตีนแฝงลอยจากซากปลาตาย ขี้ปลา และเศษอาหารเหลือที่จะเป็นตัวก่อแอมโมเนีย ไนไตรท์ และมลพิษอื่นๆ ในตู้เลี้ยงออกไปอย่างมีประสิทธิภาพตั้งแต่ต้นทางแล้ว ยังเป็นการฟอกฆ่ากำจัดเชื้อโรคต่างๆ และยังเพิ่มปริมาณก็าซอ็อกซิเจนสู่น้ำอย่างมหาศาล ทำให้คุณภาพน้ำดีเยี่ยม ไร้เมือกผิวน้ำ จึงไม่จับตัวเป็นฟอง และน้ำใสเป็นพิเศษอีกด้วย


เครื่องผลิตกาซโอโซน ที่จำหน่ายอยู่ในบ้านเรามีหลายขนาดให้เลือกใช้ การเลือกใช้ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ผลิตอย่างเคร่งครัด เพราะก๊าซโอโซนที่มีความเข้มข้นมากเกินไปในน้ำจะทำลายเหงือกและเนื้อเยื่ออ่อนของปลาสวยงาม และสามารถฆ่าปลาได้หากใช้เกินความเข้มข้นที่กำหนด

ข้อควรระวังอีกประการหนึ่งของผู้ใช้ คือก๊าซโอโซนเป็นก๊าซพิษ ไม่ควรสูดดมก๊าซที่ผลิตออกมาจากเครื่องผลิตโดยตรง เพราะจะทำอันตรายกับเยื่อบุโพรงจมูกและปอดได้

อย่างไรก็ตาม การเลือกจะใช้หรือไม่ใช้เครื่องผลิตก๊าซโอโซนนั้นในการเลี้ยงปลาสวยงานนั้น คงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจ และววิธีการเลี้ยงปลาของผู้เลี้ยงแต่ละท่าน เช่นเดียวกับการใช้เครื่องฆ่าเชื้อด้วยแสงยูวีนั่นเอง

ความคิดเห็นที่ 13

Chanin09
Chanin09
2080
[2011-11-05 16:16:40]

และอยากจะบอกว่า หนึ่งในเคล็ดลับที่ไม่ค่อยมีใครรู้กันในการพักปลาเทวดา "Altum" ที่โคม่ามานั้น Ozonizer กับ Super Skimmer คืออีกหนึ่งทางเลือก ที่พวกระดับเทพๆ นำมาใช้ให้ "เอาอยู่" ในปริมาณมากๆ กันครับ

ความคิดเห็นที่ 14

tded99
tded99
79
[2011-11-10 17:09:08]

ต่าง กับ UV ยังไง ครับ

ความคิดเห็นที่ 15

Chanin09
Chanin09
2080
[2011-11-10 18:01:54]

ที่เพื่อนสมาชิกสงสัยเกี่ยวกับข้อแตกต่างกับหลอดยูวีนะครับ
อันนี้บังเอิญเซฟเก็บไว้ เป้นคำตอบจากกูรูด้านการดูแลปลาสวยงามท่านหนึ่งเคยตอบไว้ในกระทู้อะไรก็จำไม่ได้แล้ว เกี่ยวกับเรื่องนี้ จึงขอนำมาให้เพื่อนๆ ในห้องนี้ได้อ่านด้วยครับ ดังนี้ ...

"...ทั้งสองอย่าง มีหลักการทำงานที่แตกต่างกันครับ มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป

เริ่มจาก UV ก่อน

หลอดกำเนิดแสง UV ที่ใช้ในการฆ่าเชื้อโรคในตู้ปลา จะให้รังสี UV-C ออกมา
ซึ่งโดยปกติแล้ว รังสี UV-C จากแสงอาทิตย์ตามธรรมชาติ จะถูกดูดกลืนโดยโอโซน ในชั้นบรรยากาศของโลก ทำให้ไม่สัมผัสกับมนุษย์โดยตรง

UV-C มีอันตรายต่อเซลล์ของสิ่งมีชีวิตบนโลก หากมนุษย์สัมผัสกับแสงโดยตรง ก็อาจจะทำให้เกิดการไหม้เกรียมของผิวหนัง หรือหากมองด้วยตาเปล่า ก็อาจจะทำให้เกิดอาการเยื่อบุตาอักเสบ และสามารถทำลายเซลล์ต่างๆของสิ่งมีชีวิตได้อย่างรุนแรง

ดังนั้น หลอดยูวีที่ใช้ในตู้ปลา จึงต้องบรรจุอยู่ในกระบอกทึบ เพื่อป้องกันอันตรายจากตรงจุดนี้

เวลาใช้งาน ก็ทำได้โดยการส่งน้ำให้ไหลผ่านเข้าไปในกระบอกอย่างช้าๆ ไข่หรือตัวอ่อนของปรสิต แพลงตอน เชื้อโรค หรือแบคทีเรียต่างๆ เมื่อสัมผัสกับแสงยูวี เซลล์ก็จะถูกทำลายและตายไป จึงถือเป็นการฆ่าเชื้อในน้ำที่มีประสิทธิภาพวิธีหนึ่ง แต่ก็ต้องเลือกขนาดของยูวี และอัตราการไหลเวียนของน้ำให้เหมาะสมกับขนาดปริมาณน้ำในตู้ด้วย (หากน้ำไหลผ่านเร็วเกินไป เชื้อต่างๆจะมีเวลาสัมผัสกับแสงน้อย อาจจะทำให้ไม่ตาย)

การใช้ยูวีฆ่าเชื้อในน้ำ เป็นวิธีที่ปลอดภัยต่อสิ่งมีชีวิตในตู้ อาจจะใช้เวลามากหน่อย แต่ก็ถือว่ามีประสิทธิภาพ

หลอด UV ก็มีอายุการใช้งาน เช่นเดียวกับหลอดไฟทั่วๆไป เมื่อใช้งานไปซักระยะหนึ่ง หลอดจะค่อยๆเสื่อม ทำให้ประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคลดลง โดยทั่วไปแล้ว จึงควรจะมีการเปลี่ยนหลอดทุกๆ 1 ปีครับ


ส่วน โอโซน (Ozone)

โอโซน (O3) เป็นก๊าซที่ไม่เสถียร สลายตัวได้ค่อนข้างเร็ว มีคุณสมบัติเป็น oxidizing agent (สารที่ทำให้สารอื่นรวมตัวกับอ็อกซิเจน)
ใน ความเป็นจริงแล้ว โอโซนคือก๊าซพิษ หากมีปริมาณมากพอก็อาจจะเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตต่างๆได้ แต่หากใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ก็สามารถนำไปทำประโยชน์ได้มหาศาล

ดังนั้น โอโซนจึงมีคุณสมบัติในการช่วยฆ่าเชื้อโรคในน้ำ และยังทำลายสารพิษ สี กลิ่น สารเคมี ฯลฯ ในน้ำด้วย

การ ใช้โอโซนในปริมาณที่เหมาะสม และมีความแรงเพียงพอ จึงช่วยฆ่าเชื้อโรค และตัวอ่อนของปรสิตต่างๆในน้ำได้อย่างรวดเร็วโดยที่ไม่เป็นอันตรายกับปลา หรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ แถมยังช่วยบำบัดคุณภาพน้ำ กำจัดของเสีย สี และสารเคมีต่างๆในน้ำอีกด้วย

แต่การใช้โอโซนโดยไม่มีตัววัดค่า หรือตัวควบคุมค่า(ORP Controller) ก็มีข้อเสียคือ หากใช้ในปริมาณน้อยเกินไป เชื้อโรคหรือปรสิตต่างๆก็อาจจะไม่ตาย หรือหากใช้ในปริมาณมากเกินไป ก็อาจจะเป็นอันตรายต่อปลา หรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆในตู้
อุปกรณ์ในการวัด หรือควบคุมค่าโอโซน ส่วนใหญ่ก็จะมีราคาค่อนข้างสูง
ดังนั้น การจะใช้โอโซนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด จึงสามารถทำได้เฉพาะผู้ที่มีตัวควบคุมค่าโอโซนเท่านั้น
แต่ หากใช้เปิดโดยการกะระยะเวลา หรือคาดคะเนเอา โดยไม่มีตัวควบคุม ก็อาจจะได้ประโยชน์ในแง่การช่วยบำบัดคุณภาพน้ำ แต่การฆ่าเชื้อโรคอาจจะทำได้ไม่เต็มที่นัก

เมื่อรู้จักคุณสมบัติ และหลักการทำงานของทั้งสองตัวแล้ว ก็ลองตัดสินใจด้วยตัวเองดูครับ ว่าจะเลือกใช้อันไหน หรือจะใช้ทั้งสองตัวเลย

ไม่ มีใครตอบหรือกำหนดได้ ว่าตู้ต้องคุณต้องมี หริอไม่มี อุปกรณ์อะไรบ้าง เพราะแต่ละตู้ หรือผู้เลี้ยงแต่ละคน ก็ย่อมมีปัจจัยต่างๆ ที่แตกต่างกัน แต่เมื่อเราเข้าใจถึงประโยชน์และหลักการทำงานของมันแล้ว ก็ควรจะตัดสินใจได้ด้วยตัวเองครับ ว่าเราเหมาะสมที่จะเลือกใช้อุปกรณ์ชิ้นไหน

โดยคุณ AwayG [3 ส.ค. 53 1:26]

ด้านบน

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนทำรายการ

เข้าระบบ