Skip to content

ปรับปรุง เว็บไซต์ เยอะแยะเลย ลองกดเข้าไปเล่นดูสิ ตอนนี้ มีหมอตั้ม มาประจำที่ โรงพยาบาลแล้วนะครับ ใครมีปัญหาปลาป่วย ปรึกษาได้ครับ

ปลาทอง ปลาสวยงาม ชนิดแรกๆ ที่ เชื่อว่า หลายคน คงมีโอกาสได้สัมผัส ได้เลี้ยงดู ได้หลงเสน่ห์ ความน่ารัก ความอุ้ยอ้าย ของปลาชนิดนี้ กว่าร้อย สายพันธุ์ ที่เกิดจาก ความพากเพียร พยายาม ของมนุษย์ เรา

0009403

ช่วยด้วยครับน้องปลาเป็นจุดดำๆ

suthep59
suthep59
2
[2016-07-21 17:38:56]

ช่วยด้วยครับน้องปลาเป็นจุดดำๆ อย่างนี้จะรักษายังไงดีครับ ยังกินอาหารได้ มือใหม่มากๆ ครับตอนนี้ได้แต่ผสมเกลือลงในบ่อเลี้ยง อย่างอื่นยังไม่กล้าใส่ครับ ช่วยแนะนำหน่อยน่ะครับ
ขอบคุณล่วงหน้าครับ

ความคิดเห็นที่ 1

wissip
wissip
1
[2016-10-07 21:24:18]

สีดำบนตัวปลา “ราดำ” หรือ “เม็ดสี”

โดย หมอแก้ว (ผศ. น. สพ. สมโภชน์ วีระกุล)

มักจะพบคำถามเสมอว่า "ปลามีอาการตัวเป็นสีดำ เกิดจากอะไร"

และมักจะมีคำตอบว่า เกิดจาก “ราดำ” เกือบจะทุกกระทู้ ทุกเว็บของคนรักปลาทั้งหลาย


แต่ความเป็นจริงจะใช่หรือไม่?!

ราที่มักพบก่อโรคในปลาน้ำจืดนั้น ส่วนใหญ่จะพบเป็นก้อนปุยขาวด้านนอกผิว ส่วนใหญ่เป็นพวกฉวยโอกาส เมื่อมีบาดแผล เช่น Achya spp. แต่ก็มีบางตัวที่แทรกเข้าไปในตัว พบเส้นใยในเนื้อเยื่อชั้นลึก เช่น Aphanomyces spp." ราดำนั้นแทบจะไม่พบมีรายงานในปลาน้ำจืด " ที่พบส่วนใหญ่จะเป็นเฉพาะในปลาน้ำเค็ม ปู และกุ้ง เป็นเชื้อราพวก Imperfect fungi และมีลักษณะสีดำเมื่อเพาะเลี้ยงบนอาหารเลี้ยงเชื้อจึงเรียกว่าราดำเฉยๆเป็นชื่อเรียกเฉพาะในการทำการทดลองเพาะเลี้ยงเชื้อทำให้คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิด

การเกิดสีดำบนตัวปลา

ร่างกายสัตว์น้ำส่วนใหญ่ หมายถึงปลาด้วย จะมีระบบภูมิคุ้มกัน เมื่อเกิดสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย เช่น เชื้อโรค ปาราสิต บาดแผล ความเครียด ก็จะมีการขนส่งเม็ดเลือดขาวชนิดแมคโครฟาสจ์ออกมาต่อต้าน เม็ดเลือดขาวชนิดนี้มีอยู่แล้วในกระแสเลือด (ร่างกายคนเราก็เหมือนกัน) และต้องสร้างมาให้พอเพียงที่จะต่อต้านความผิดปกตินั้นๆ มันจะทำหน้าที่เขมือบกินสิ่งแปลกปลอม หรือแม้กระทั่งเม็ดเลือดแดงหรือเนื้อเยื่อของสัตว์ที่มีสิ่งแปลกปลอมนั้นๆ ติดอยู่ แต่เม็ดเลือดขาวชนิดนี้ไม่ได้มาอย่างโดดเดี่ยว ภายในตัวมันจะมีองค์ประกอบของเม็ดสี “Pigment” หลายชนิด จึงมักเรียกเม็ดเลือดขาวชนิดนี้ในบางครั้งว่า “Pigment-containing cells” ได้แก่ ไลโปฟุสซิน ฮีโมซิเดอริน และเมลานิน แต่ส่วนมากจะเป็นเม็ดสีเมลานิน ซึ่งเป็นเม็ดสีดำ จึงมีเรียกชือใหม่ที่เหมาะสมในปลาว่า “เมลาโน-แมคโครฟาสจ์ เซนเตอร์”


เมื่อร่างกายมีบาดแผลหรือจุดเลือดออก จึงมักจะพบเมลานินเข้ามาเกาะที่บริเวณรอยโรคอยู่เสมอ จึงมักพบอาการตัวดำ จุดดำ อาจจะร่วมหรือไม่ร่วมกับตัวเปื่อย พบได้ทุกส่วนของปลา เช่นลำตัว ครีบต่างๆ แม้กระทั่งหัววุ้น จะมากหรือน้อยขึ้นกับความรุนแรงของโรค หรือบาดแผลที่เกิดขึ้น จริงๆ แล้วในอวัยวะภายใน เช่น ม้าม ไต ก็มีเม็ดสีพวกนี้เช่นกันเมื่อเกิดโรค แต่เรามองไม่เห็น


เมื่อรักษาปลาหายเป็นปกติแล้ว เม็ดสีเหล่านี้จะค่อยๆ เลือนหายไปอย่างช้าๆ บางตัวก็จะยังคงอยู่ได้นาน การจะเอาออกในกรณีเม็ดสีที่คงอยู่ไม่ยอมเลือน ทำได้โดยการทำศัลยกรรมปลา หรือแคะออกในกรณีขนาดเล็ก โดยวิธีปลอดเชื้อ เพื่อลดขบวนการอักเสบ และการเข้ามาใหม่ของเม็ดเลือดขาวเจ้าปัญหาต้องทำโดยสัตวแพทย์เฉพาะทางเท่านั้น


การป้องกันและรักษา...

ไม่อยากให้ปลาป่วยต้องเป็นสีดำตามมา ในกรณีเป็นโรคตัวด่าง ตัวเปื่อย หางกร่อนต่างๆ ที่รุนแรงแล้ว ยอมรับว่ายาก แต่ไม่ใช่จะไม่มีวิธี เป้าหมายในการรักษาคือ กำจัดเชื้อก่อโรคให้เร็วที่สุด หยุดยั้งความรุนแรงของโรค ลดการรุกล้ำของมาโครฟาสจ์และเมลานินที่ก่อให้เกิดการอักเสบ และเม็ดสีดำตกค้าง

1.เปลี่ยนน้ำสะอาดไม่มีครอลีน
2.เพิ่มอ็อกซิเจนในน้ำ
3.เติมเกลือในอัตราส่วนที่เหมาะสมกรณีใส่เกลือในน้ำอัตราส่วนก็1กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร
4.รักษาระบบกรองน้ำให้สะอาดแยกปลาป่วยออกมารักษาและเปลี่ยนน้ำสม่ำเสมอ
5.ติดฮีตเตอร์เพื่อรักษาอุณภูมิของน้ำที่เหมาะสมประมาณ 26-29 c องศาเซลเซียส

มาถึงเรื่องเกลือ...

เกลือในความหมายในการรักษา ก็คือ โซเดียมคลอไรด์ มีทั้งในเกลือทะเล และเกลือสินเธาว์ ปริมาณมากน้อยขึ้นอยู่กับสารประกอบผสมอื่นๆ เจือปน นิยมใช้เกลือทะเล ปัจจุบันมีการใช้ Artificial salt หรือโซเดียมคลอไรด์โดยตรง (เหมือนเกลือที่อยู่ในกระปุกน้ำเกลือ) ทั้งในการรักษาและในห้องทดลอง เตรียมอาหารเลี้ยงเชื้อจุลชีพ เกลือมีประโยชน์ต่อปลาหลายประการ... โดยเฉพาะปลาน้ำจืด...


เกลือช่วยในกรณี Osmoregulatory stress หมายถึงความเครียดที่เกี่ยวกับความเข้มข้นของอิเลกโตรไลต์หรือเกลือ ซึ่งจะทำให้กลไกร่างกายผิดปกติได้ การใส่เกลือจะช่วยลดปัญหาความเครียดในเรื่องนี้ เช่น หลังจากการขนส่งปลา เปลี่ยนถ่ายน้ำ หรือการกระทำอะไรที่มีผลทำให้ปลาเครียด

เกลือช่วยกำจัดและยับยั้งโปรโตซัว เชื้อรา ปาราสิต และแบคทีเรีย (ได้ผลน้อยในแบคทีเรีย หากจะกำจัดแบคทีเรียต้องใช้ความเข้มข้นสูง แต่ปลาจะทนไม่ได้)...

แค่นี้ก็เห็นว่ามันครอบจักรวาลพอดู (แต่มันก็ไม่ใช่พระเอกแบบข้ามาคนเดียวนะ ขอเตือนกันไว้ก่อน)


การให้เกลือปริมาณการให้ที่ถูกต้องเป็นดังนี้

ส่วนใหญ่จะแช่กันทั้งวัน ที่เรียกว่า Indefinite ในขนาด 1-5 กรัมต่อลิตร กรณีแบบนี้เพื่อกำจัดเชื้อบางส่วน รวมทั้งปรับสภาวะธำรงดุลในปลา จะช่วยลดปัญหาความเครียดจากการขนส่ง และการลงปลาใหม่ได้เช่นกัน หากจะใช้สำหรับ supportive care หรือใส่ได้เรื่อยๆ ควรจะใช้ในระดับต่ำคือไม่เกิน 3 กรัมต่อลิตร


@ 10-30 กรัมต่อลิตร แช่นาน 30 นาที แล้วเอาปลาออก ความเข้มข้นสูงๆ แบบนี้ มักจะใช้ในการกำจัดโปรโตซัว และปาราสิตบางชนิดที่เกาะบนตัว ปลาที่อ่อนแอควรใช้ปริมาณต่ำๆ และทำซ้ำในอีก 24 ชั่วโมง


@ 30 กรัมต่อลิตร แช่นาน 10 นาที สำหรับปลาที่มีน้ำหนักมากกว่า 100 กรัม


@ ปลาทองและคาร์พค่อนข้างจะทนกับเกลือ สามารถใช้ขนาดสูงได้ถึง 30-35 กรัมต่อลิตร แต่ภายใน 4-5 นาทีเท่านั้นนะ (ถ้าแช่นาน 1 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร)


@ ข้อควรระวัง... ปลากลุ่มแคทฟิสบางชนิดไม่ทนต่อเกลือ... การให้เกลือในปริมาณสูงเกินไป ทำให้ปลาตายได้ และเป็นการเพิ่มความอ่อนแอ



ในสภาวะของโรค แม้แต่ความเครียดจากการขนส่ง การเตรียมน้ำ การให้ยา สารเคมีต่างๆ อาจจะส่งผลทำให้ร่างกายปลาอ่อนแอ การทำหน้าที่ของร่างกายขาดสมดุล หรือทำหน้าที่ไม่ดี เรียกว่า สภาวะธำรงดุลผิดปกติ มักจะเกิดปัญหาเกี่ยวกับกลไกเรื่องของเกลือไปด้วย


หนังสือประกอบ... Fish Medicine และ Exotic Animal Formulary

และ Fish Immunology คลินิคสำหรับสัคว์เลี้ยงชนิดพิเศษ


ด้านบน

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนทำรายการ

เข้าระบบ