0000002 2021-04-15 18:25:56

ปลาหมอฟรอนโตซ่า (Frontosa) (Cyphotilapia frontosa)

ปลาหมอฟรอนโตซ่า (Frontosa)

Cyphotilapia frontosa

แหล่งที่อยู่อาศัย
ทะเลสาบทังกายิกา อัฟริกา
ขนาดโตเต็มที่
1 ฟุต
อาหาร
กินปลาเป็นอาหาร
การสังเกตุเพศ
ส่วนหัวเพศผู้โหนกนูนกว่า
วิธีการสืบพันธุ์
อมไข่
เมื่อกล่าว ถึงตำแหน่ง ของราชินีปลา ในตระกูลปลาหมอสี (Cichlid) ปลาปอมปาดัวร์ ดูจะเหมาะสม กับตำแหน่งดังกล่าว แต่ถ้าหาก กล่าวถึงตำแหน่งของ ราชา ปลาหมอสี แล้วหล่ะก็ นายเก๋า ต้อง ขอยกตำแหน่งนี้ ให้กับปลาหมอ ฟรอนโตซ่า เนื่องด้วยรูปร่าง ลำตัว สีขาว ที่งดงาม คาดด้วยแถบสีดำ 6 แถบ หัวที่โหนกนูน การแหวกว่าย ที่ค่อนข้าง สุขุม ช้า เหมือน ยานตรวจการณ์ ใต้ท้องทะเล ปลาหมอฟรอนโตซ่า ปลาหมอชนิดนี้ ได้แพร่หลาย เข้ามาในบ้านเราเป็นเวลา หลายสิบปีแล้ว แต่ราคา ณ. เวลา นั้นก็สูงเกิน กว่าที่ ด.ช. เก๋าน้อย จะมีปัญญา หามาเชยชม ชนิดที่เข้ามาในบ้านเรา ในระยะแรก ก็ได้แก่ สายพันธุ์ บูรันดี Burundi ซึ่งเป็น ตัวที่พบแพร่หลายที่สุด เนื่องจากเป็นชนิดแรกๆ ที่มีการค้น พบและนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม จริงๆ แล้ว ปลาหมอฟรอนโตซ่า ทุกสายพันธุ์ ย่อยๆ ก็คือปลาชนิดเดียวกัน ชื่อ Genus และ Species เดียวกัน แต่เนื่องจาก สภาพภูมิประเทศ ของทะเลสาบ ทังกายิกา Tangayika ที่เป็นหมู่เกาะ ที่ทำให้แหล่งน้ำ ชายฝั่ง หนึ่ง แยกจากอีกแหล่งหนึ่ง อย่างขาดกัน จึงทำให้ฟรอนโตซ่าจะแต่ละแหล่งน้ำที่พบ มีลักษณะ เด่น ที่แตกต่างกันออก ไป ดังแผนที่

ภาพอื่นๆ

ปลาหมอฟรอนโตซ่า (Frontosa)
เราจะสามารถจำแนก ชนิดชองฟรอนโตซ่าได้ ถึง 6 ชนิด หลักๆ แต่จริงๆ แล้วอาจแบ่งได้มากกว่านี้ แต่ที่นำมาเสนอ เป็นสายพันธุ์ ที่นิยม และเป็นที่แพร่หลาย ในวงการปลาสวยงาม หลังจาก ทราบชนิดสายพันธุ์ ของปลาหมอฟรอนโตซ่า กันไปแล้ว ทีนี้ เรามาพูดถึงวิธีการเลี้ยงดู ปลาชนิดนี้ กันดีกว่า ปลาหมอฟรอนโตซ่า เป็นปลาหมอที่ค่อนข้างขี้อายย ในระยะแรก อาจจะชอบหลบซ่อนตัว จนกว่าจะคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมดีแล้ว จึงจะออกว่ายให้เราได้ชมโฉมกันอย่างชัดๆ ปลาชนิดนี้ต้องการสภาพน้ำที่เป็นด่าง มีพีเอช สูงเกินกว่า 7.0 ขึ้นไป ดังนั้น หากเพื่อนๆ เลี้ยงปลาชนิดนี้ ก็ควรทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำ บ่อยๆ อย่าปล่อยให้ น้ำในตู้มีพวก ขี้ปลาหรือเศษอาหาร หมักหมม มากจนเกินไป เพราะนั่นจะทำให้ พีเอชของน้ำ ต่ำลง เป็นกรด ปลาหมอฟรอนโตซ่าเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย ถึงแม้ จะกินอาหารยาก ในตอนแรกที่เรานำเค้ามาเลี้ยง ปลาชนิดนี้ในธรรมชาติ จะกินปลาอื่นๆ เป็นเวลา ในเวลาเช้ามืด ยามที่ปลาชนิดอื่นยังหลับไหล ละเมอขี้ตา ปลาหมอฟรอนโตซ่า จะฉวยจังหวะนี้ ในการออกล่าเหยื่อ เพื่อเป็นอาหารอันโอชะ ของมัน อาหารที่เราสามารถใช้เลี้ยงปลาหมอฟรอนโตซ่า สามารถใช้อาหารสำเร็จคุณภาพดี ปลาอาจจะอายให้ระยะแรก กับการที่ขึ้นมากินบนผิวน้ำ ดังนั้น เราอาจต้องให้อาหารประเภทกึ่งจมกึ่งลอย แก่ปลา เมื่อปลาปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในตู้ได้แล้ว จะกล้าขึ้นมากินจากผิวน้ำ ควรเลี้ยงเค้าสลับด้วยอาหารสด พวก หนอนแดง ไรทะล รวมทั้ง ไส้เดือนน้ำ จะทำให้ปลาชนิดนี้ สมบูรณ์ และโตเร็ว การเพาะพันธุ์ปลาหมอฟรอนโตซ่า จะใช้เวลา 3-4 ปี ในการเจริญเติบโต จากขนาด 1 นิ้ว จนถึงขนาดที่ผสมพันธุ์ได้ ปลาหมอชนิดนี้ เป็นปลาที่สืบพันธุ์ โดยปลาเพศเมียจะอมไข่ทันที หลังจากที่ได้รับการปฎิสนธิจากปลาตัวผู้ ไข่จะใช้เวลาในการฟักเป็นตัว เกือบ 4 อาทิตย์ ลักษณะที่ใช้ในการแยกเพศ คือ ส่วนหัวที่โหนก ปลาเพศผู้จะมีหัวที่โหนกนูนกว่าปลาเพศเมีย อย่างเห็นได้ชัด รวมทั้งการสังเกต พฤติกรรมของปลาในกลุ่ม ปลาตัวผู้ จะมีขนาดที่ใหญ่กว่าปลาเพศเมียมาก อาจถึง 1 ฟุตแต่ในขณะที่ปลาตัวเมีย ถ้า ขนาดถึง 10 นิ้ว ก็นับว่าเป็นตัวเมียที่มีขนาดใหญ่มากแล้ว ปลาหมอฟรอนโตซ่าเป็นปลาที่น่าเลี้ยงมาก เนื่องด้วยอุปนิสัย ที่ไม่ดุร้ายมากนัก เมื่อเทียบกับปลาหมอสีชนิดอื่นๆ หากคุณมีตู้ขนาด 48 นิ้ว ขึ้นไป ภายในจัดให้สภาพแวดล้อมเป็นโขดหิน แนะนำให้ลองซื้อปลาชนิดนี้ สักฝูง เล็กๆ 4-6 ตัวมาเลี้ยงดู ภายในตู้ก็สามารถ เลี้ยงรวม กับปลาหมอที่มาจาก ทะเลสาบทังกายิกา อาทิ ลีลีอูปี้ แซงแซว มูริอาย คาวาส ตู้ของคุณก็จะมีชีวิต ชีวา ด้วยสีสรร อันหลากหลาย ที่ บรรจง แต่งแต้ม ให้ลายขาวดำ ของปลาหมอฟรอนโตซ่า ดูเด่นขึ้นมาอย่างน่าชม
ผู้ใช้ตกลงที่จะผูกพันตามข้อกำหนดในการให้บริการของ YouTube ด้วย Terms of Services | Privacy policy