0000035

ในตอน “รวมกันเราอยู่ แยกหมู่ฟอร์มเดี่ยว”


ก่อนอื่นต้องขอสวัสดีเพื่อนๆ ชาวเพทแมกก่อนอื่นใดน่ะครับ หวังว่าทุกคนคงสบายดี ในวันที่เขียนเรื่องนี้อยู่ก็ผ่านพ้นวันแม่แห่งชาติไปแล้ว ผมหวังว่าเพื่อนๆๆทุกท่านคงไม่ได้รักคุณแม่น้อยลงตามระยะเวลาที่ผ่าน ไปน่ะครับ ขอให้รักท่านให้มากๆๆ อย่ารอให้ถึงพรุ่งนี้ค่อยบอกรักท่าน เพราะบางครั้งอาจจะสายไปนะครับ เพื่อนๆๆหลายคนส่งคำถามมาถามผมอยู่เสมอว่า การเลี้ยงปลาหมอสีต้องเลี้ยงเดี่ยว หรืออย่างที่พวกเราเรียกอยู่เสมอว่า ฟอร์มเดี่ยว คงไม่ใช่เดี่ยวไมโครโฟน หรือศิลปินเดี่ยวเป็นแน่แท้นะ ครับ ก่อนอื่นขอทำความเข้าใจคำว่าฟอร์มเดี่ยวเสียก่อนเผื่อเพื่อนๆ บางท่านอาจจะ งง กับความหมายในคำๆๆนี้


คำว่าฟอร์มเดี่ยว หมายถึงลักษณะ การที่เราเอาปลามาเลี้ยงอยู่ในที่เฉพาะเพียงตัวเดียว มีห้องหับเป็นของตัวเองครับ ลองนึกสภาพตามดูนะครับ อย่างเช่นพวกคอนโดมิเนียมหรือ อพาร์ตเมนต์ ทำนองนั้นครับ ดังนั้นบางครั้งพวกเราจะได้ยินคำว่า คอนโดปลาอยู่เสมอ ยกเว้นแฟลตปลาทองอันโด่งดังเมื่อหลายสิบปีก่อนนะครับ อันนั้นไม่ใช่ครับ คอนโดปลาอย่างที่เราพบเห็นจะพบว่ามีลักษณะและรูปแบบที่แตก ต่างกันพอ สมควร


“รวมกันเราอยู่” เพื่อนๆๆหลายๆๆคนถามผมเสมอว่าปลาหมอสีสามารถเลี้ยงรวมกัน ได้หรือเปล่า สายพันธุ์ไหนเลี้ยงกับสายพันธุ์ไหนได้บ้าง แล้วถ้าเลี้ยงรวมกันแล้วปลาจะกัดกันไหม เพราะขนาดปลาหมอสีที่เลี้ยงฟอร์มเดี่ยวบางครั้งหลุดไปเจอกัน ยังกัดกันซะขนาดบางตัวส่ง ห้องไอเลิฟยู( อิอิ ต้องไอซียู สินะครับ )แทบไม่ทันเลย จากประสบการณ์ของผมในการเลี้ยงปลาหมอสี ทั้งฟอร์มเดี่ยวและเลี้ยงรวม ต้องขอบอกอย่างนี้ครับ ปลาหมอสีสามารถเลี้ยงรวมกันได้ครับ ไม่จำกัดสายพันธุ์ แต่ทุกอย่างต้องมีขั้นตอนและวิธีการที่เพื่อนๆๆควรต้องคำนึงถึงน่ะครับ

1. ก่อนอื่นเพื่อนๆ คงต้องศึกษานิสัยใจคอของเจ้าพวกนี้ให้ดีเสียก่อนครับ ที่บอกมานี่มีที่มาที่ไปครับ เพราะปลาแต่ละท้องถิ่นมีนิสัยไม่เหมือนกันครับ บางตัวค่อนข้างก้าวร้าว บางตัวสุภาพนุ่มนวล ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำในที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติก็มีส่วนสำคัญ สำหรับ ปลาที่ไม่ได้เกิดในนี้ แต่ถ้าเป็นปลาที่เกิดในนี้โดยส่วนใหญ่แล้วจะคุนเคยกับสภาพน้ำของบ้าน เราแล้วครับ เพราะจะคุ้นเคยกับสภาพในน้ำอย่างดีแล้วครับ ปลาที่มีแหล่งกำเนิดต่างกันก็ไม่แนะนำให้เอามาเลี้ยงรวมกันนะครับ ยกตัวอย่างเช่น ปลาหมอสีที่มาจากทะเลสาบมาลาวีหรือแทงกายิก้า ก็ไม่ควรเอามาเลี้ยงรวมกับปลาหมอสีใหญ่ที่มาจาก ทวีปอเมริกา นะครับ เพราะจะมีความก้าวร้าวแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเจนครับ

2. ขนาดของปลา ปลาที่เพื่อนๆ จะทำการเลี้ยงรวมควรจะต้องมีขนาดที่ใกล้เคียงกันครับ เพราะถ้ามีขนาดที่แตกต่างกันมากเกินไป ตัวที่เล็กกว่าจะถูกกันหรือถูกขับไล่ให้ออกไปจากอาณาเขต

3. ขนาดของตู้หรือที่เลี้ยง ไม่ควรมีขนาดเล็กเกินไป ขนาดตู้ที่แนะนำควรมีขนาดตั้งแต่ 60 นิ้วขึ้นไป แต่ถ้าปลาที่เลี้ยงรวมมีขนาดความยาวลำตัวใหญ่มาก ขนาดตู้ก็ควรจะต้องมากกว่า 60 นิ้ว ขนาดที่ผมแนะนำอย่างน้อยในการเลี้ยงรวมสำหรับปลาใหญ่ ควรจะมีขนาดตู้ตั้งแต่ 72 นิ้วขึ้นไปครับ โดยส่วนตัวตู้ที่ใช้เลี้ยงรวมปลาขนาดใหญ่ ตั้งแต่ 8 นิ้วขึ้นไป ที่บ้านผมใส่รวมอยู่ในตู้ 120*30*30 ซึ่งเป็นขนาดที่ผมใช้เลี้ยงอยู่ครับ จะพบว่าปลาสามารถอยู่รวมกันได้อย่างไร้ปัญหาครับ

4. เพศของปลา ในการเลี้ยงปลารวม สิ่งหนึ่งที่อยากให้เพื่อนๆ คำนึงถึง ก็คือ ลักษณะเพศของปลาที่จะปล่อยลงไปรวมกัน ในธรรมชาติปลาตัวผู้จะมีนิสัยก้าวร้าวมากกว่าตัวเมีย มีการสร้างอาณาเขตอย่างชัดเจน ดังนั้นอัตราการใส่ปลารวม ควรให้มีจำนวนของตัวเมียมากกว่าจำนวนปลาตัวผู้ เพื่อลดความก้าวร้าวของปลาลง แต่ข้อควรระวัง ในขณะที่ปลาจับคู่จะทำให้ปลาคู่นั้นๆๆ เกิดความก้าวร้าวมากขึ้น จึงควรมีตู้สำรองสำหรับกันตัวเมียที่กำลังจะไข่ออกนอกตู้ปลารวม

5. อาหาร เมื่อเราปล่อยปลารวมกันลงไปแล้ว อาหารเป็นส่วนสำคัญที่ต้องคำนึงถึง ต้องไม่ให้เกิดสภาวะขาดแคลนอาหารเป็นอันขาด เพราะเมื่อปลาเกิดสภาวะดังกล่าว จะทำให้เกิดการแย่งอาหารและเพิ่มความก้าวร้าวให้กับตัวปลา ซึ่งนำมาซึ่งสาเหตุในการกัดกัน

6. การรักษาคุณภาพน้ำ เมื่อปลาถูกเลี้ยงรวมกันอยู่เป็นจำนวนมาก การขับถ่ายของเสียก็ต้องมากตามเป็นของธรรมดา ดังน้ำเพื่อนๆๆที่จะเลี้ยงปลาหมอสีในตู้รวม ควรจะต้องมีการดูแลเรื่องความสะอาดของน้ำอยู่เสมอ ควรระวังค่าไนเตรดที่อาจจะเพิ่มขึ้นโดยฉับพลันนะครับ

7. ปริมาณออกซิเจนในน้ำ เพื่อนๆๆควรจะหมั่นสังเกตุถึงปริมาณอ๊อกซิเจนที่มีอยู่ในตู้รวม ดูว่าเพียงพอกับความต้องการของปลาหรือไม่ วิธีสังเกตง่ายๆ มีดังนี้ครับ ลองดูที่เหงือกปลาว่ามีอัตราการหายใจเร็วหรือช้า หายใจถี่หรือไม่ ถ้ามีอาการดังกล่าว เราควรจะหาทางเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำโดยด่วนครับ คราวนี้ลองมาดู “เทคนิคในการเลี้ยงปลารวม “ รวมถึงเมื่อมีการนำปลาตัวใหม่มาลงในตู้เพื่อให้สามารถเข้าฝูงได้โดย ปลอดภัย


ขั้นตอนง่ายๆ ในการเลี้ยงปลาหมอสีแบบรวม

1. เมื่อเพื่อนๆๆเลือกขนาดตู้ที่จะทำการเลี้ยงปลาหมอสีรวมได้แล้วให้ทำการ เตรียมน้ำและปูพื้นตู้ด้วยหิน สาเหตุในการปูพื้นตู้ด้วยหินจะมีข้อดีทำให้เมื่อปลาเวลาขับถ่ายของเสีย ออกมา จะไม่ฟุ้งกระจาย และยังเป็นที่อยู่ของแบคทีเรียที่จำเป็นใน การย่อยสลายของเสียที่ปลาขับ ออกมา และยังช่วยให้ปลาสามารถปรับตัวให้เข้ากับบรรยากาศ ของตู้ใหม่ได้โดยง่าย

2. ห้ามใส่ขอนไม้ หรือกระถางดินเผาหรืออะไรก็ตามที่จะเป็นตัวบ่งชี้ให้ปลาสามารถ สร้างเขตแดนของตนเอง ในช่วงระยะเวลาแรกๆๆของการปล่อยปลาไปเลี้ยงรวมกัน ในระยะเวลาการเลี้ยงรวมในอาทิตย์แรก เมื่อปล่อยปลาไปเลี้ยงรวมกันโดยไม่มีอาณาเขตใดๆๆในตู้เป็นเครื่องบ่งชี้ ปลาจะเริ่มคุ้นกันมากขึ้นและจะมีการแบ่งลำดับขั้นในตัวปลาแต่ละตัวใน ฝูงนั้นๆ โดยไม่จำกัดว่า ปลาจะมาจากสายพันธุ์ไหน แต่ถ้าเพื่อนๆๆใส่สิ่งใดก็ตามที่ปลาสามารถเอามาเป็นเส้นเขตแดนได้ ในระยะเริ่มแรกจะมีการต่อสู้กันเพื่อแย่งอาณาเขต เพราะจากที่พวกเราทราบกันอยู่ ปลาหมอเป็นปลาหวงถิ่น มีอาณาเขตเป็นของตนเอง หลังจากที่ปลาเริ่มคุ้นกันและสามารถปรับตัวให้เข้ากันได้แล้ว เราจึงสามารถเริ่มที่จะใส่ขอนไม้กระถางหรือก้อนหินลงไปตกแต่งตู้ปลา ให้สวย งามเพิ่มขึ้นได้

3. ในระยะการปล่อยปลาเลี้ยงรวมกันให้สังเกตปลาแต่ละตัว และอุปนิสัย ถ้าตัวใดมีนิสัยก้าวร้าวเราควรจะแยกเจ้าตัวนั้นออก เพราะจะเริ่มเป็นตัวก่อปัญหาที่สร้างความวุ่นวายภายในตู้นั่นเอง

4. เวลาในระยะการปล่อยปลารวม ควรจะเป็นตอนเย็นหรือค่ำมืด แต่ถ้าเพื่อนๆๆปล่อยปลาลงในตอนที่มีแสงสว่างตามปกติก็สามารถทำได้ครับ แต่อยากจะให้เพื่อนๆๆลองใช้เทคนิคที่เมื่อปล่อยปลา ลงไปเลี้ยงรวมกันแล้ว ให้ปิดตู้ทั้ง4ด้านให้สนิทอย่าให้แสงลอดผ่านได้ วันรุ่งขึ้นถึงจะทำการเปิดให้แสงสว่างเข้าตามปกติ เพราะ เมื่อไม่มีแสงสว่าง ปลาจะเคลื่อนไหวน้อยลง โอกาสที่จะทำร้ายกันก็จะน้อยลงตาม เมื่อช่วงระยะเวลาผ่านไป เจ้าปลาเหล่านี้จะสามารถปรับตัวให้เข้ากันได้ง่ายขึ้น

5. แล้วถ้าเกิดเราต้องการจะเพิ่มปลาหมอสีตัวใหม่ลงไปในตู้รวมควร จะทำยังไงดี อันนี้ง่ายมากครับ เพียงแต่เพื่อนๆๆ เมื่อทำการปล่อยปลาตัวใหม่ลงไปแล้ว ให้ขยับหรือจัดตู้เสียใหม่ อาจจะมีการเปลี่ยนหรือเคลื่อนย้ายขอนไม้หรือกระถางออกจากตำแหน่งเดิม ปลาจะเริ่มทำการปรับขบวนการสร้างอาณาเขตและลำดับชั้นกันใหม่ แต่อย่าลืมคอยสังเกตเจ้าปลาใหม่นะครับ เพราะอาจจะถูกเป็นเป้าโจมตีจากปลาเก่าในตู้ได้ครับ

เป็นไงครับ เทคนิคและวิธีการเล็กๆ น้อยๆ ที่ทำให้วิธีการเลี้ยงปลาหมอสีแตกต่างไป จากเดิมอย่างสิ้นเชิง ลองทำดูสิครับแล้วจะรู้ว่าชีวิตของการเลี้ยงปลาหมอสีจะสนุกขึ้นอีกเยอะ นะครับ อ๋อเกือบลืมบอกไปครับ “วันนี้เพื่อนๆๆมอบความรักให้กับคนรอบข้างแล้วหรือยังครับ ถ้ายังรีบๆๆเข้าน่ะครับ และจะค้นพบว่า การให้ความรักกับคนอื่นก่อนมีความสุขมากกว่าการรอคอยความรัก จากคนอื่น จริงๆ นะครับ” ขอให้มีความสุขในการเลี้ยงปลานะครับ บายทุกคนครับ

วิดิโอที่เกี่ยวข้อง