0000065

ไรน้ำนางฟ้า (Fairy Shrimps)

ไรน้ำนางฟ้า (fairy shrimps) ซึ่งความจริงมีอยู่ในธรรมชาติ มานานแล้ว คนอีสานเรียกว่า “แมงอ่อนช้อย” หรือ “แมงหางแดง” หรือ “แมงแงว” หรือ “แมงน้ำฝน” ชาวบ้านนำไรน้ำนางฟ้า มาประกอบอาหาร เช่นเดียวกับ ลูกอ๊อดของกบ ซึ่งเมื่อได้ค้นพบและตรวจสอบเปรียบเทียบสกุล ที่มีการ ตั้งชื่อแล้ว ทั่วโลก 58 ชนิด จึงพบว่าไรน้ำนางฟ้าดังกล่าว เป็นชนิดใหม่ของโลก ซึ่งจากการตรวจสอบ เอกสารพบว่า เคยมีนักวิชาการไทย นำไรน้ำนางฟ้ามาเพาะเลี้ยง ในห้องปฏิบัติการแล้ว ตั้งแต่ปี 2530 โดย เรียกสัตว์ชนิดนี้ว่า “อาร์ทีเมียน้ำจืด”

ลักษณะรูปร่างและที่อยู่อาศัย

ลักษณะโดยทั่วไปของไรน้ำนางฟ้าชนิดใหม่มีรูปร่างคล้ายกุ้งขนาดเล็ก แต่ไม่มีเปลือก ตัวใน มีขาว่ายน้ำจำนวน 11 คู่ (กุ้งมีขาเพียง 5 คู่) ตัวยาว 1.1 – 3.9 เซนติเมตร ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่า ตัวเมียเล็กน้อย ขณะมีชีวิตอยู่จะว่ายน้ำหงายท้องโดยใช้ขาช่วยกรรเชียงน้ำ บริเวณหัวมีตาขนาดใหญ่มี่มีก้านยาว 1 คู่ มีหนวด 2 คู่ ส่วนหางแยกเป็นสองแฉกมีสีแดงเข้ม ตัวเมียถุงไข่ 1 ถุงอยู่ทางด้านท้อง หนวดคู่ที่ 2 ของตัวผู้เปลี่ยนแปลงไปใช้สำหรับจับตัวเมียเวลาผสมพันธุ์ หนวดคู่ที่ 2 นี้ใช้ในการจำแนกชนิด

ความหลากหลายของไรน้ำนางฟ้าในประเทศไทย

พบไรน้ำนางฟ้าในประเทศไทย 3 ชนิด ทั้งสามชนิดเป็นสัตว์ชนิดใหม่ของโลกและจัดเป็นสัตว์น้ำประจำถิ่น ที่พบในประเทศไทยเท่านั้น

1. ไรน้ำนางฟ้าสิรินธร ( Streptocephalus sirindhornae Sanoamuang, Murugan, Weekers &Dumont, 2000 ) ตัวในหางแดง ตัวยาว 1.3 – 3.0 เซนติเมตร ตัวผู้มีหนวดยาว ตัวเมียมีถุงไข่ 1 ถุงอยู่บริเวณกลางตัวด้านท้อง ไข่กลมมีลวดลาย คล้ายลูกตะกร้อ เป็นชนิดที่พบแพร่ กระจายอยู่ทั่วไปใน ประเทศไทย ที่สำรวจพบแล้ว ในแหล่งน้ำจาก 38 จังหวัด

2. ไรน้ำนางฟ้าไทย ( Branchinella thailandensis Sanoamuang, Saengphan&Murugan,2002 ) ตัวสีส้มแดงตลอดทั้งตัว ตัวยาว 1.7 – 3.9 เซนติเมตร ตัวเมียมีเข้มกว่าตัวผู้ มีถุงไข่ 1 ถุง ไข่กลมคล้ายกับไข่ของไรน้ำนางฟ้าสิรินธร แต่มีขนาดใหญ่กว่าประมาณสองเท่า สำรวจพบแล้วอยู่ในเขต 11 จังหวัด

3. ไรน้ำนางฟ้าสยาม ( Streptocephalus siamensis Sanoamuanh&Saengphan ) ตัวใส สีตัวบางครั้งเป็นสีฟ้าอ่อน หางสีแดง ตัวยาว 1.1 – 2.0 เซนติเมตร ตัวเมียมีไข่เป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายปิรามิด เป็นชนิดที่หายากมาก ปัจจุบันพบอยู่ 2 จังหวัด

การนำไปใช้ประโยชน์

  • มีศักยภาพ ที่จะใช้ทดแทนอาร์ทีเมีย ในอุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ปัจจุบันคณะผู้ วิจัยสามารถเลี้ยงไรน้ำนางฟ้า และ สามารถผลิตไข่ได้ เป็นปริมาณมาก ซึ่งจะใช้ทดแทนไข่อาร์ทีเมียซึ่งต้องมีการนำเข้าจากต่างประเทศ คิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า ปีละ 500 ล้านบาท

    โดยจะผลิตไข่ไรน้ำนางฟ้าบรรจุกระป๋อง เมื่อต้องการใช้ก็ใส่น้ำให้ไข่ฟักเป็นตัวอ่อน หรือส่งเป็นตัวอ่อน และตัวเต็มไว แล้วนำไปเลี้ยงสัตว์น้ำวัยอ่อน เช่น ลูกกุ้ง ลูกปลา

  • มีศักยภาพที่จะผลิตเป็นอาหารของสัตว์สวยงามน้ำจืดที่มีราคาแพง
  • สามารถนำไรน้ำนางฟ้ามาเลี้ยงเป็นสัตว์สวยงามในอ่างเลี้ยงได้
  • ใช้เป็นสัตว์ทดลองในการศึกษาด้านพิษวิทยาได้
  • ใช้เป็นอุปกรณ์การสอนสำหรับนักเรียนนักศึกษา เช่นการศึกษาเกี่ยวกับวงจรชีวิตของไรน้ำนางฟ้า เป็นต้น
  • เป็นอาหารของคนอีสาน ที่มีโปรตีนสูงถึง 64.94 % โดยนิยมใส่ในห่อหมก แกงอ่อมและแกงหน่อไม้ดอง เป็นต้น

    คุณค่าทางอาหาร

    โปรตีน 64.94% ไขมัน 5.07% เถ้า 8.40% คาร์โบไฮเดรท 17.96%

    พันธุ์ที่มีขายในขณะนี้คือ ไรน้ำนางฟ้าไทย ขนาดของไรน้ำนางฟ้าไทย

    ไข่ 240 – 310 ไมครอน ราคา ยังไม่ได้ผลิต ตัวอ่อน 440 – 1000 ไมครอน ราคา 400 บาท หรือต่ำกว่า ตัวเต็มไว 1 – 1.5 มิลลิเมตร (อายุ 15 วัน) ราคา 60 – 70 บาท

วิดิโอที่เกี่ยวข้อง