0000098

Cyrtocara moorii (โลมาสีฟ้าแห่งทะเลสาบมาลาวี)

วัสดีครับบทความนี้อาจจะไม่ใหม่นะครับ ผมเขียนไว้นานมาแล้ว หลายท่านก็อาจจะคุ้นๆอยู่เหมือนกันนะครับ ผมเอามาลงเผื่อว่าบางคนยังไม่เคยได้อ่านนะครับ เจ้านี่เป็นปลาหมอสายพันธุ์แท้ธรรมดาๆชนิดหนึ่งแค่นั้นเองครับ แต่มันมีจุดเด่นตรงที่สีสันมีสีน้ำเงินสดใส และก็เป็นปลา 1 เดียวแห่งทะเลสาบมาลาวี ที่มีหัวโหนกครับ แถมค่อนข้างที่จะว่องไวปราดเปรียว ด้วยเหตุนี้มันจึงได้ชื่อเล่นว่า โลมาสีน้ำเงินแห่งทะเลสาบมาลาวี (Malawi Blue Dolphin )(บอกเท่านี้พอจะทราบกันหรือยังครับว่าเจ้าปลาหมอชนิดนี้ชื่อว่าอะไร) ครับเจ้าปลาหมอชนิดนี้มีชื่อว่า Cyrtocara moorii ชื่ออื่นที่ใช้เรียกกันก็มี Blue Moorii, Blue Lumphead

และชื่อที่ส่วนใหญ่รู้จักกันดีคือ Blue Dolphin  ลักษณะโดยทั่วไปของปลาหมอ Cyrtocara moorii ซึ่งต่อไปจะขอเรียกว่าบลูดอลฟินนะครับ จุดเด่นของปลาหมอบลูดอลฟินก็คือเรื่องของสีสรรค์ สีจะมีสีน้ำเงินสดใส มีมาร์กกิ้งบริเวณครีบและหลัง เป็นสีเข้ม จนถึงดำ และจุดเด่นอีกจุดก็คือโหนกบริเวณหัวที่โหนกพองาม บลูดอลฟินเมื่อโตเต็มที่จะใหญ่ได้ถึง 10 นิ้ว (25.4 ซม.) จัดว่าเป็นยักษ์ใหญ่ใจดีที่น่าขบขันแห่งทะเลสาบมาลาวีเลยก็ได้นะครับ อีกทั้งจัดว่าเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายและกินเก่ง แต่ก็ต้องแลกกับการที่มันโตค่อนข้างช้านะครับ คือในระยะเวลา 16 เดือนโตเพิ่มขึ้นได้เพียงแค่ประมาณ 1 นิ้วเท่านั้น

อุปนิสัยของเจ้าบลูดอลฟินนี้มีลักษณะนิสัยที่สุภาพเรียบร้อย ไม่ไล่กัดกันให้ตายกันไปข้างหนึ่งเหมือนอย่างปลาหมอในกลุ่มอเมริกากลาง อีกทั้งบลูดอลฟินเป็นปลาที่มีสังคมคืออยู่รวมกันเป็นฝูง มีอาณาเขตเป็นของตัวเอง อาณาเขตของมันจะกินอาณาบริเวณทั้งตู้คือ บริเวณผิวน้ำ บริเวณกลางน้ำ หรือบริเวณพื้นน้ำ เจ้าพวกนี้ก็ไปหมดดังนั้นตู้ควรทำเป็นตู้โล่งๆเพื่อให้ปลามีพื้นที่ในกา ว่ายน้ำ ในธรรมชาติพวกมันจะมีสังคมแบบ "harem polygyny" (มีตัวเมียหลายตัวอยู่ภายใต้การดูแลของตัวผู้ 1 ตัว). ตัวผู้จะเป็นผู้ดูแลรักษาอาณาเขต ตัวผู้ 1 ตัวจะมีตัวเมียในฝูงได้หลายตัว

ดังนั้นในการเลี้ยงในตู้นั้นควรเลี้ยงโดยจัดให้มี ตัวผู้ 1 ตัว ต่อตัวเมีย 3 ตัวขึ้นไปนะครับ ถ้าหากอยากหาแทงค์เมทให้แก่เจ้าบลูดดอลฟิน แทงค์เมทที่เหมาะที่สุดก็ได้แก่ปลาหมอพีค็อก (peacock cichlids) หรืออาจจะเป็นปลาหมอในกลุ่ม mbuna ซึ่งมาจากทะเลสาบมาลาวีเหมือนกัน แต่หากจะเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นผมแนะนำว่าให้หาปลาที่มีความไวพอๆ กับเจ้าบลูดอลฟิน มิเฉ่นนั้นปลาที่เป็นแทงค์เมทของท่านอาจจะผอมเอาผอมเอาเพราะแย่ง อาหาร ไม่ทันเจ้าบลูดอลฟิน นี้ก็เป็นได้นะครับ

การแยกเพศ

ทำได้ค่อนข้างเป็นเรื่องยากที่จะแยกความแตกต่างระหว่างตัวผู้กับตัวเมีย ต้องรอจนกระทั่งพวกมันพัฒนาโหนกขึ้นมาจึงจะสามารถแยกได้ว่าตัวไหน ตัวผู้หรือ ตัวเมีย โดยที่ตัวผู้จะมีโหนกที่ใหญ่กว่าตัวเมีย และเรื่องของสีสันตัวผู้สีจะสว่างกว่าตัวเมีย แต่วิธีแยกสีก็ไม่สามารถแยกเพศได้ถูกต้อง 100%

แหล่งกระจายพันธุ์

บลูดอลฟินเป็นปลาที่อาศัยอยู่ในทะเลสาบมาลาวีมาในทวีปแอฟริกา ตั้งแต่เริ่มแรก โดยในธรรมชาตินั้นเจ้าบลูดอลฟินจะอาศัยอยู่บริเวณพื้นทราย แถบชายฝั่ง และมีหินเพียงเล็กน้อย ดังนั้นการเลี้ยงในตู้เลี้ยงควรปูพื้นด้วยทราบ และมีหินเล็กน้อยทำเป็นถ้ำเพื่อให้เจ้าบลูดอลฟินใช้เป็นที่อาศัย และหลบภัย อีกทั้งตู้นั้นควรจัดให้โล่งเพื่อให้เมีพื้นที่ในการว่ายน้ำ และไม่ควรมีต้นไม้น้ำอยู่ด้วยเพราะว่าเจ้าบลูดอลฟิน ก็มีนิสัยชอบขุดชอบทึ้งเช่นเดียวกับปลาหมอชนิดอื่นๆครับ

การดูแลและการให้อาหาร

บลูดอลฟินจัดว่าเป็นปลาเลี้ยงง่ายกินได้ทุกอย่างเพราะว่าเจ้าพวกนี้เป็นพวก omnivorous กล่าวคือกินได้ทั้งพืชและสัตว์ ดังนั้นเจ้าบลูดอลฟิน จะสามารถกินอาหารที่มีชีวิตได้ทุกชนิด และก็กินอาหารเม็ดได้เป็นอย่างดีด้วย. ทางที่ดีที่สุดคือให้พวก อาหารที่ให้โปรตีนสูง สลับกับอาหารชนิดเม็ดทุกๆวัน

ค่าน้ำและอุณหภูมิที่เหมาะสม น้ำที่ใช้ควรเป็นน้ำกระด้าง มีค่า pH 7.2 – 8.8 อุณหภูมิ 74-79 องศาฟาเรนไฮท์ หรือ 24-26 องศาเซลเซียส

การเพาะพันธุ์ บลูดอลฟินเป็นปลาหมอในกลุ่ม mouthbrooders (ปลากลุ่มอมไข่)

ตัวเมียจะวางไข่ 20 -90 ฟอง บริเวณหินที่ราบเรียบ หลังจากนั้นจะเก็บขึ้นไปไว้ในปาก และดูแลจนกระทั่งฟักออกมาเป็นตัวและก็จะยังอยู่ภายใต้การดูแลใน ปากต่อไปอีก ซักระยะหนึ่ง ซึ่งจะต่างจากปลาหมออเมริกากลาง หรือครอสบรีดที่เราเลี้ยงกันนะครับ (ซึ่งพวกนี้จะใช้วิธีวางไข่ที่พื้น)

วิดิโอที่เกี่ยวข้อง