0000272

เทคนิคการตัดแต่งครีบปลา

เทคนิคการตัดแต่งครีบปลา จากผ่านมาหลายๆ ครั้งที่ได้สังเกต และพบเห็น ปลาครอสบรีดที่มีคุณลักษณะ ถูกต้องและสวยตามที่ตลาดต้องการ จำนวนไม่น้อยมีการสืบทอดทางพันธุ์กรรม มาแบบผิดปกติแบบเล็กๆน้อย และบางครั้งเราสามารถแก้ไขปรับปรุงได้ เช่น ครีบ หาง ตะเกียบ ครีบหู และขอบเหงือกอ่อน บริเวณแก้มทั้งซ้ายและขวา สิ่งเหล่านี้เราสามารถตัดแต่งได้

ถ้าความพิการ อยู่ในตำแหน่ง ที่ไม่ยากมากนัก หลังการตัดแต่งไปแล้ว ในครั้งที่ หนึ่ง สอง และ สาม หรือรอจนกว่าสรีระส่วนต่างๆ งอกออกมาจนครบ หรือ เสมอ มองดูสมส่วน และ เป็นธรรมชาติ ที่สุด บางครั้งสามารถขายได้ราคา แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เราจะต้องเป็นคนช่างสังเกต ปลาของเราตั้งแต่ขนาดยังเล็กๆอยู่ ถ้าพิการมากต้องรีบจัดการเสียตั้งแต่เล็กๆ บางครั้งไม่คุ้มเสียเวลาในการเลี้ยง

ถ้าพิการไม่มาก พอจะตัดแต่งได้ อยู่ในไซร์ 2-6 นิ้ว ถ้าเกินจากนี้ อวัยวะส่วนต่างๆจะงอกช้าไม่ค่อยทันใจ หลังจากตัดแต่งแล้ว ระยะนี้ ต้องดูแลเรื่องน้ำให้สะอาดหรือไม่ก็ใช่ ยาแช่ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ป้องกันการติดเชื้อไว้ก่อน

  • ครีบกระโดง บน-ล่าง ส่วนมากจะมีปัญหากับครีบกระโดงบนเป็นส่วนใหญ่ พบเห็นบ่อยๆเกิดจากแนวกระดูกครีบ บิดเบี้ยว หรือล้ม ไป ล้มมา ไม่เป็นไปในแนวเดียวกัน ถ้าไม่ลึกมากสามารถตัดแต่งได้ง่าย และได้หลายๆครั้ง วิธีตัด เราต้องใช้กรรไกร คมๆ ตัดในลักษณะ สวนทางจากหลังมาหน้า ตัดให้กินลงไปถึงตำแหน่งพิการ ที่ต่ำที่สุดด้วย ตรวจสอบ โดยการปล่อยลงน้ำ ดูปลายืนน้ำ ทำแบบนี้จนกว่าเสมอและสวยพอใจ หลังจากนั้นนำไปแช่ยาเหลือง ทิ้งไว้สักระยะ และรอคอยปล่อยให้ครีบที่ตัด งอกออกมาดูสวยงาม และที่สำคัญต้องดูให้เป็นธรรมชาติที่สุด หาง ในส่วนนี้ไม่ค่อยพบเห็นบ่อยนัก เป็นส่วนที่ตัดแต่งได้ง่ายที่สุด ส่วนมากพบว่ามีการงอกยาวออกมา แบบผิดปกติของกระดูซี่หางบางเส้น เกินขอบโค้งแนวหางทั่วไป หรือบางคนเรียกว่าหางดาบ กรณีนี้ตัดแต่งได้ง่ายหรือไม่ตัดก็ดูเก๋ไปอีกแบบ ปลาบางตัวบางชนิด สามารถ พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสได้ และบางครั้ง มีราคาสูงได้
  • ตะเกียบคู่ล่าง หรือ ครีบอก อยู่ในบริเวณใต้ท้องปลาในบางครั้งเราจะเห็นว่าครีบอกส่วนล่าง ซ้ายและขวา สองข้างอาจมีรูปทรงที่แตกต่างกันไป หรือยาวสั้นไม่เท่ากัน ในส่วนของรูปทรงของครีบต่างกัน เราต้อง ตัดแต่งข้างที่เล็ก หรือ ข้างที่สั้นที่สุด พิการที่สุดก่อน ให้ดูสวยงามจนเป็นที่พอใจก่อน หลังจากนั้นให้รอสักระยะปล่อยให้ตะเกียบงอกออกมาดูสมส่วน จึงค่อยตัดแต่ง อีกข้างหนึ่งให้เท่ากัน ซึ่งเป็นข้างที่ดีที่สุดในภายหลัง กรณีนี้ขอย้ำ ว่าข้างที่ดีที่สุดต้องตัดแต่งทีหลัง อวัยวะส่วนนี้จากประสบการณ์ที่ผ่านมา จะงอกช้าที่สุด ครีบหู เป็นอวัยวะส่วนหนึ่งที่บ่งชี้คุณลักษณะทางพันธุกรรม หรือ เลือดชิด ได้จุดหนึ่ง คือจะมีลักษณะแนวเส้นครีบบิดๆ บางครั้งสองข้างเล็กใหญ่ไม่เท่ากันอวัยวะส่วนนี้จะสามารถตัดแต่งได้คือ สั้นหรือยาว เท่านั้น หรือในกรณีปลา ที่เทียบคู่ผสมพันธุ์ ส่วนมากครีบหู เกิดการฉีกขาดไม่เท่ากัน เราต้องตัดแต่ง ให้สวยงาม อย่าปล่อยทิ้งไว้
  • เหงือกอ่อน อยู่บริเวณส่วนปลายของขอบเหงือก หรือ ขอบแก้ม ทั้งซ้าย และ ขวา เราสามารถพบเห็นได้ จะมีลักษณะบิด หรือ ปลิ้น หรือบางครั้งที่เราเรียกกันว่า เหงือกปลิ้น กรณีนี้เรา สามารถเล็มแต่ง เฉพาะส่วนที่เป็นหนังนิ่มๆได้ เพื่อมองดูด้วยความสบายตา

สรุปในเรื่องโรคยอดฮิต โรคขี้ขาว และเทคนิคการตัดแต่งครีบปลาสิ่งเหล่านี้ เป็นเรื่องใกล้ชิดกับคนเลี้ยงปลา แทบทุกท่านต้องได้พบ และบางเรื่องเราสามารถแก้ไขและป้องกันได้ ในเรื่องของโรค ที่เกิดกับปลาของเรา สามารถวิเคราะห์โรคได้อย่างถูกต้อง รู้จักยาและวิธีการใช้ยา อย่างถูกต้องด้วย ในส่วนของเรื่องการตัดแต่ง หรือปรับปรุงความพิการของอวัยวะภายนอก ของปลาครอสบรีด ซึ่งอาจจะเกิดอะไรขึ้นก็ได้ ของความไม่แน่นอนไม่นิ่งในพันธุกรรม ให้ดูดีและมีราคา เป็นการเพิ่มมูลค่า

ขอขอบคุณ Uncle จากเวปเพื่อนบ้านที่นำข้อมูลมาให้ได้รับทราบกัน

วิดิโอที่เกี่ยวข้อง