0000402

ทะเลสาบแทนแกนยิกา (Lake Tanganyika) แหล่งกำเนิดราชาปลาหมอสี

ทะเลสาบแทนแกนยิกา (LakeTanganyika) แหล่งกำเนิดราชาปลาหมอสี

ทะเลสาบแทนแกนยิกา (LakeTanganyika) ทะเล สาปแอฟริกากลางแห่งนี้ มีความยาวกว่า 640 กม. และมีส่วนที่กว้างที่สุด 80 กม. เป็นทะเลสาบ ที่ยาวกว่าปกติ และเป็นทะเลสาบ ที่อยู่เหนือระดับน้ำทะเล 773 เมตร ลึกถึง 1470 เมตร หรือ 4700 ฟุต ง่ายๆ คือความสูงของ Sears Tower ถึง 3 เท่า ทำให้เป็นทะเลสาปน้ำจืด ที่ลึกเป็นอันดับสองของโลก รองจากทะเลสาปไบคาล (Lake Baikal) นักวิทยาศาสตร์ได้ประมาณว่าอายุของทะเลสาบ แห่งนี้มีอายุระหว่าง 9 ถึง 12 ล้านปี ซึ่งทะเลสาบแทนแกนยิกานี้ถูกล้อมรอบด้วยหลายๆ ประเทศ เช่น ประเทศบูรันดี (Burundi) ทางด้านเหนือ ด้านตะวันออกเป็นประเทศแทนซาเนีย (Tanzania) ประเทศแซมเบียทางด้านใต้ และประเทศซาอีร์ (Zaire) ทางด้านตะวันตก



ประเทศทางด้านเหนือ และด้านใต้เท่านั้น ที่มีพอมีสาธารณูปโภค บูรันดีมีถนนลาดยางจากเมืองหลวง Bujumbura ถึงเมือง Nyanca Lac ทางด้านใต้ ในเมืองหลวงพอจะมี สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ อยู่บ้าง ถึงแม้จะไม่ครบถ้วนก็ตาม อย่างไรก็ตามความตึงเครียด ของสงครามพิ้นเมืองระหว่างพวก Turtis กับ Hutus ก็ยังคงมีปัญหาอยู่

ส่วนแซมเบีย ซึ่งเป็นประเทศที่ค่อนข้างจะพัฒนาแล้ว มีการเมืองที่ค่อนข้างสงบ และต้อนรับนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี มีที่พักหลายแห่ง ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวก โดยที่พักเหล่านั้นก็ อยู่บริเวณริมทะเลสาบ สำหรับนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะท่านที่ชอบการดำน้ำต้องไม่พลาด
Kalambo Fall Lodge ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของ Mpulungu ที่นั่นมีอุปกรณ์การดำน้า และเรือพร้อมสำหรับต้อนรับนักท่องเที่ยว และท่านยังมีโอกาสได้เห็น ฟาร์มปลาตระกูล cichlids ของ Rift Valley Tropical อีกด้วย ซึ่งเป็นฟาร์ม ที่มีการจัดการดีมากแห่งหนึ่ง

นอก จากนั้นยังมีที่พักดีๆ อีก 3-4 แห่งบริเวณฯ ใกล้เคียงกัน และทางด้านใต้ของ Mpulungu ก็ยังมีที่พักที่ทันสมัยอีกแห่งหนึ่ง ชื่อ Tanganyika Lodge ซึ่งท่านสามารถเดินทาง ไปได้โดยเรือเฟอร์รี่ นอกจากนั้นตามแนวชายฝั่งของประเทศซาอีร์ ก็ยังมีที่พักเล็กๆ อีกหลายแห่ง แต่การเดินทางท่องเที่ยวจะค่อนข้างลำบาก และตารางการเดินเรือก็ไม่ค่อยจะแน่นอน

จากเดือนกุมภาพันธุ์ถึงเดือนเมษายนเป็นฤดูฝน น้ำตกต่างๆ จะมีน้ำมาก ทำให้ปริมาณน้ำจากแม่น้ำสูง ซึ่งจะส่งผลให้พื้นที่ทะเลสาบบริเวณที่ใกล้กับปากแม่น้ำเหล่านั้น ทัศนวิสัยในการดำน้ำไม่ค่อยดี ช่วงเดือนมิถุนายน ถึงสิงหาคมอากาศรอบทะเลสาบ จะค่อนข้างเย็น อุณหภูมิของน้ำจะอยู่ประมาณ 23 -24 องศาเซลเซียสซึ่งก็เป็นอุณหภูมิ ที่พอจะดำน้ำได้ ในบางพื้นที่จะมีพืชจำพวกสาหร่าย เกิดขึ้นจำนวนมาก แต่น้ำจะค่อนข้างใส

ช่วง ที่ทัศนียภาพใต้น้ำดีที่สุดคือ ระหว่างเดือนกันยายนถึงเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงที่อากาศค่อนข้างร้อน และฤดูฝนก็กำลังจะเริ่มขึ้น และความชื้นจะมีมาก ทางด้านตอนเหนือของทะเลสาบ ซึ่งในบูรันดี และซาอีร์อาจจะมีฝนตกบ้าง ช่วงที่เป็นฤดูร้อนนี้ ในช่วงเดือนธันวาคม กับ มกราคม ทางด้านใต้จะค่อนข้างร้อนและแล้ง แต่ทางด้านบน จะค่อนข้างชื้นและอบอุ่น อย่างไรก็ตามสภาพอากาศโดยรวม จะไม่ค่อยแน่นอน คาดเดาได้ยาก

ความใสของน้ำในทะเลสาบส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ และสภาพแวดล้อมตรงบริวณนั้นๆ บริเวณที่เป็นเนินหิน จะมีความใสของน้ำมากกว่าบริเวณที่เป็นส่วนน้ำตื้น ซึ่งพื้นปกคลุมด้วยทราย กรวดหิน หรือโคลน ปกติช่วงหน้าฝน น้ำจากแม่น้ำมักพัดพาตะกอนปกคลุมไปทั่วทะเลสาบ เช่นบริเวณแถบ Kalombo น้ำมักจะขุ่น หลังจากที่มีฝนตกอย่างหนัก การมองเห็นใต้น้ำ อาจจะเห็นแค่ประมาณ 5-8 เมตร แต่ถ้าขึ้นไปทางเหนือ อีกไม่กี่กิโลเมตร น้ำอาจจะใสโดยมองได้เห็นถึง 20 เมตร จริงๆแล้ว ความแตกต่างของความใส ของน้ำในทะเลสาบนี้ อาจจะขึ้นอยู่กับกระแสน้ำ และกระแสลม แม้จะห่างกันแค่ 10 กิโลเมตรก็ตาม ในช่วงฤดูฝนลมเหนือที่แรงจะพัดพาเอาตะกอนมาทางด้านใต้ของ Kolombo แม้น้ำสายใหญ่อื่นๆ ที่ไหลลงสู่ทะเลสาบ ได้แก่ แม่น้ำ Rusisi ทางตอนเหนือ ของประเทศบูรันดี แม่น้ำ Malagarasi ทางด้านใต้ของ Kigoma ในประเทศแทนซาเนีย และแม่น้ำ Lukaga ใกล้ๆ กับ Kalemie ซึ่งไหลมารวมกับแม่น้ำ Lualaba จนกลายเป็นแม่น้ำ Zaire ในที่สุด

เป็นที่เข้าใจกันว่าผู้ที่นิยมการเลี้ยงปลาส่วนใหญ่ไม่ค่อย ให้ความสนใจกับการมองเห็นหรือความใสของน้ำมากนั้ก แต่สนใจในคุณภาพของน้ำ เช่นอุณหภูมิของน้ำ บนพื้นผิวน้ำอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 23 ถึง 28 องศาเซลเซียส โดยขึ้นอยู่กับสภาพของฤดูกาลนั้นๆ ซึ่งยิ่งลึกลงไปอุณหภูมิน้ำก็จะเริ่มเย็นลงตามลำดับ ซึ่งถ้าลึกกว่าระดับ 200 เมตร ปริมาณของออกซิเจน จะมีน้อย และจะไม่ค่อยพบสิ่งมีชีวิตใหญ่ถ้าลึกกว่า 250 เมตร

นอกจากอุณหภูมิ ของน้ำ ส่วนประกอบทางเคมี ก็เป็นสิ่งที่ได้รับความสนใจ น้ำในทะเลสาบแทนแกนยิกานี้ มีส่วนประกอบของเกลืออยู่มาก และมี carbonate hardness และ total hardness อยู่ค่อนข้างสูง โดย carbonate hardness ของน้ำที่ใช้เลี้ยง ควรจะอยู่ที่ 15 และ dGH อยู่ที่ระหว่าง 9-11 โดยมีค่า pH เกินกว่าระดับเป็นกลาง ค่อนข้างกระด้าง เพราะน้ำในทะเลสาบมี Ph เกินกว่า 9 ซึ่งปลาจากทะเลสาบแห่งนี้ ไม่ควรเลี้ยงในน้ำที่มีค่าเป็นกรด หรือต่ำกว่าค่ากลาง แต่พอรับสภาพที่เป็นด่าง หรือกระด้างอ่อนได้เช่น pH 8-9

สภาพภูมิศาสตร์ภายในทะเลสาบมีความหลากหลาย ทั้ง แบบผาหิน พื้นทราย สุสานหอย ปลาแต่ละสายพันธุ์ ก็จะอยู่ในเขตพื้นที่ที่ตัวเองจะสามารถหากินและขยายพันธุ์ได้ ปลาในทะเลสาบทังแกนยิกา จะมีลักษณะทางกายภาพที่หลากหลายมาก บางชนิดก็สวยงาม บางชนิดก็ไม่มีสีสันเลย ชาวบ้านพื้นเมือง จะชอบจับปลาในทะเลสาบกินเป็นอาหาร เพราะว่ากันว่า มีรสชาติอร่อย ( โดยเฉพาะปลาหมอ ฟรอนโตซ่า )

และเนื่องจากปัจจุบัน ประเทศที่อยู่ รายล้อมทะเลสาบนี้เป็นประเทศปิด มีเพียงบางประเทศเท่านั้นที่ให้นักท่องเที่ยวเข้าไปเยี่ยมชมได้ ทำให้นักท่องเที่ยวที่สนใจจะเข้าไปดำน้ำดูปลานั้น ทำได้ค่อนข้างยาก จะมีก็ ประเทศบูรันดีที่นักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปเยี่ยมชมได้บ้าง แต่สิ่งอำนวยความสะดวก รวมถึงที่พักจัดว่า อยู่ในระดับที่ไม่น่าพอใจเท่าไหร่นัก ก็ต้องยอมแลกกัน

Lake Tanganyika Frontosa variant_MAP ที่เห็นเป็นสายพันธุ์หลักๆ ที่นิยมกันนะครับ แต่ปัจจุบันมีค้นพบเพิ่มขึ้นอีกมากมายหลายชนิด เลยหละ