Skip to content

ปรับปรุง เว็บไซต์ เยอะแยะเลย ลองกดเข้าไปเล่นดูสิ ตอนนี้ มีหมอตั้ม มาประจำที่ โรงพยาบาลแล้วนะครับ ใครมีปัญหาปลาป่วย ปรึกษาได้ครับ

วาไรตี้ คนรักปลา ทุกหัวข้อ การพูดคุย การสนทนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เกี่ยวกับ ปลาสวยงาม กลุ่มต่างๆ คุณยังจำวันแรกที่คุณเลี้ยงปลาได้มัย้ปลาตัวแรกที่คุณเลี้ยง ประสบการณ์เลี้ยงปลาที่คุณอยากจะถ่ายทอดให้ เพื่อนๆ ได้รับฟัง

0032401

มีความรู้มาฝาก ( 9 รัชกาลไทย )

MuszimmoBighorn
MuszimmoBighorn
22
[2007-05-13 07:47:51]
รัชกาลที่1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

รัชกาลที่ 1 พ.ศ. 2325-2352 ครองราชย์ 27 พรรษา
พระชนมายุ 74 พรรษา องค์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี
เสด็จพระราชสมภพ วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 ตรงกับ วันพุธแรม 5 ค่ำ เดือน 4 ปีมะโรง ได้
รับราชการ ตั้งแต่สมัย กรุงศรีอยุธยา เป็นหลวงยกกระบัตร เมืองราชบุรี เป็น พระยาราชนรินทร ในกรม พระตำรวจ เจ้าพระยาจักรี และสมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก สมุหนายก และแม่ทัพใหญ่ ในสมัยกรุงธนบุรี

ทรงปราบดาภิเษก ขึ้นครองราชย์ เป็นพระเจ้าแผ่นดิน แห่งกรุงสยาม เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 ทรงย้าย เมืองหลวง จากกรุงธนบุรี มาเป็น กรุงเทพมหานคร

เริ่มสร้างพระบรม มหาราชวัง และสร้างวัดพระ ศรีรัตนศาสดาราม เป็น ที่ประดิษฐาน พระแก้วมรกต เสร็จ ในปี พ.ศ. 2327 ทรงเป็นนักรบ และตรากตรำการสงคราม มาตั้งแต่ปลายสมัย กรุงศรีอยุธยา ตลอด สมัย กรุงธนบุรี และในรัชสมัย ของพระองค์เอง

ในด้านการศาสนา ได้โปรด ให้มีการสังคายนา ชำระ
พระไตรปิฎก พร้อมทั้งอรรถกถา ฎีกา ฯลฯ ณ วัดมหาธาตุ โปรดเกล้า ฯ
ให้สร้าง หอ มณเฑียรธรรม ขึ้นในบริเวณวัดพระแก้ว พระบรมมหาราชวัง สำหรับ เป็นที่เก็บคัมภีร์ ทางพระพุทธศาสนา และทรง จัดการปกครองคณะสงฆ์ให้ เรียบร้อย พระราชานุกิจ (กิจวัตรประจำวัน) ของพระองค์ ตลอดรัชสมัย เป็นที่น่าประทับใจ พระองค์ ทรงงานตั้งแต่เช้าตรู่ จนดึกดื่นทุกวัน มิได้ขาด เริ่มตั้งแต่ ทรงบาตร ถวายภัตตาหารพระสงฆ์ ฟังรายงาน จากพระคลังมหาสมบัติ ออกรับพระ บรมวงศานุวงศ์ และขุนนาง ฟังรายงานและ วินิจฉัยคดีจาก จางวาง และปลัดกรมตำรวจ วินิจฉัยเหตุการณ์บ้านเมือง ทั้งข้าราชการจากฝ่ายทหาร และพลเรือน แล้วจึงเสวยพระกระยาหารเช้า แล้วพบข้าราชการฝ่ายใน หลังพระกระยาหารค่ำ ทรงฟังพระธรรมเทศนา ฟังรายงานการใช้จ่ายเงินคลัง การก่อสร้าง เสร็จแล้วเสด็จออกรับขุนนาง ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน กรมท่า นำใบบอกหัวเมืองมากราบทูล ทรงวินิจฉัย ปัญหาต่าง ๆ
อยู่จน 4 ทุ่ม หรือดึกกว่านั้น แล้วจึงเสด็จขึ้น บรรทม เป็นพระราชกริยาวัตร ตลอดมา

พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๑
เป็นรูปปทุมอุณาโลม มีอักขระ "อุ" อยู่กลาง ล้อมรอบด้วยกลีบบัวอันเป็น พฤกษชาติที่เป็นสิริมงคลในพุทธศาสนา ตราอุณาโลมมีรูปร่างคล้ายสังข์เวียนขวา อยู่ในกรอบลายกนก เริ่มใช้คราวพระราช พิธีบรมราชาภิเษก เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๘

ความคิดเห็นที่ 1

MuszimmoBighorn
MuszimmoBighorn
22
[2007-05-13 07:50:30]
รัชกาลที่2พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
รัชกาลที่ 2 พ.ศ. 2352-2367 ครองราชย์ 15 พรรษา
พระชนมายุ 58 พรรษา
เสด็จพระราชสมภพ เมื่อ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310
พระนามเดิมว่า ฉิม

เป็นพระราชโอรสใน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราช ก่อนขึ้นครองราชย์ ทรงดำรงพระยศเป็น เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ตำแหน่งพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระองค์มีความสามารถทางอักษรศาสตร์เป็นอย่างดี ทรงร่วมนิพนธ์วรรณคดี กับสมเด็จพระราชบิดาไว้หลายเรื่อง ได้แก่ อุณรุท รามเกียรติ์ อิเหนา และดาหลัง ซึ่งเรียกว่า พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1

นอกจากนี้ยังได้ทรงนำบทละครเก่ามานิพนธ์ขึ้นใหม่ ได้แก่ ไกรทอง คาวี ไชยเชษฐ์ สังข์ทอง มณีพิไชย ฯลฯ ด้านดนตรี ทรงเป็นเอตทัคคะในทาง สีซอสามสาย ด้านศิลปะ โปรดการเขียนลวดลายอันวิจิตรงดงาม ตัวอย่างที่เด่นชัดปรากฎที่บานประตูวัดสุทัศน์เทพวราราม เมื่อปฐมวัยได้ ทรงติดตามพระราชบิดาไปในงานสงครามแทบทุกครั้ง

ตั้งแต่พระชมมายุได้ 8 พรรษา ทรงผนวช เมื่อพระชนมายุ 22 พรรษา ทรงจำพรรษา ณ วัดราชาธิวาส (วัดสมอราย) เป็นเวลา 1 พรรษา ลาผนวชแล้ว ทรงอภิเษกสมรสกับพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าหญิงบุญรอด ซึ่งต่อมา ได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ในรัชสมัยของพระองค์ ประเทศโปรตุเกส และประเทศอังกฤษ ได้ส่งผู้แทนทางการทูต มาเจริญสัมพันธไมตรี เป็นครั้งแรก ในสมัยรัตนโกสินทร์ คือ ได้ส่งมา เมื่อ พ.ศ. 2361 และ พ.ศ. 2363 ตามลำดับ ด้านกฎหมาย ทรงปรับปรุง และออกกฎหมาย ต่าง ๆ ได้แก่ กฎหมายห้ามขายฝิ่น สัญญาเกี่ยวกับการซื้อขายที่ดิน พินัยกรรม และกฎหมายอาญาอื่น ๆ เช่น ความผิดเกี่ยวกับการลงโทษ ทั้งฝ่ายอาณาจักร และพุทธจักร สุนทรภู่ กวีเอกของไทย มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในรัชกาลนี้

ความคิดเห็นที่ 2

MuszimmoBighorn
MuszimmoBighorn
22
[2007-05-13 07:52:23]
รัชกาลที่3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 3
ครองราชย์ 26 ปี (พ.ศ. 2367-2394) พระชนมายุ 64 พรรษา
พระชนมายุ 58 พรรษา
เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2330
พระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าทับ

เป็นพระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และเจ้าจอมมารดาเรียบ ก่อนขึ้นครองราชย์ ทรงดำรงพระยศ เป็น
กรมหมื่น เจษฎาบดินทร์ ได้ทรงเคยว่าราชการ มาหลายตำแหน่ง
เช่น กรมท่า (กระทรวงการต่างประเทศ) กรมพระคลังมหาสมบัติ
กรมตำรวจ และผู้ว่าความในศาลฎีกา ในรัชสมัยของพระองค์ เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ เอาใจออกห่าง กระด้างกระเดื่อง เป็นกบฎไปเข้ากับญวณ แล้วฉวยโอกาส ยกทัพเข้าตีเมืองอุบล ร้อยเอ็ด ตัวเจ้าอนุวงศ์เอง ยกทัพจากเวียงจันทน์ลงมาตี เมืองนครราชสีมาได้ แล้วให้ทัพหน้าเข้าตีสระบุรี พระองค์ได้จัดทัพ ใหญ่ เตรียมรับศึก
ในกรุงเทพ ฯ ได้จัดการป้องกันพระนคร วางกำลัง รายรอบเมือง ตั้งแต่ทุ่งบางเขนถึงทุ่งหัวลำโพง จัดกำลังทหารไปตั้งรับที่สระบุรี ทัพเจ้าอนุวงศ์ได้ กวาดต้อนผู้คนไปเวียงจันทร์ทุกวัน คุณหญิงโม
ภรรยาปลัด เมืองนครราชสีมา เป็นหัวหน้ารวบรวมพวกเชลยไทยต่อสู้ พอทัพจากกรุงเทพ ฯ ยกขึ้นไปช่วย เจ้าอนุวงศ์ จึงถอยทัพกลับไปเวียงจันทน์โดยวางกำลัง คอยต้านทานกองทัพไทย ที่ยกไปตีเวียงจันทร์ไว้ที่เมืองหล่มเก่า และ เมืองภูเขียว โปรดให้กรมพระราชวังบวร เป็นแม่ทัพ ยกทัพผ่านนครราชสีมา ขึ้นไปตีเวียงจันทร์สายหนึ่ง อีกสายหนึ่ง ให้กรมหมื่นสุรินทร์รักษ์เป็นแม่ทัพ ยกไปตีฝ่ายเจ้าอนุวงศ์ ที่มายึดเมืองอุบล และเมืองร้อยเอ็ด แล้วไปบรรจบกับ กองทัพใหญ่ที่เวียงจันทร์ อีกสายหนึ่งให้ เจ้าพระยาอภัยภูธรเป็นแม่ทัพ ยกไปตีฝ่ายเจ้าอนุวงศ์ที่เมืองหล่มสัก แล้วไป บรรจบทัพใหญ่ที่เวียงจันทร์ กองทัพไทย ปราบกบฎเจ้าอนุวงศ์ได้ราบคาบ ตีกรุงเวียงจันทร์แตก จับเจ้าอนุวงศ์ได้
ในปี พ.ศ. 2371 เสร็จศึกแล้ว ได้โปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งคุณหญิงโม เป็นท้าวสุรนารี

ในรัชกาลของพระองค์ ประเทศไทย ได้เริ่มเปิดประเทศรับชาวยุโรป อย่างกว้างขวาง อังกฤษ
และ สหรัฐอเมริกา ส่งทูตเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับไทย การค้าขาย กับ อังกฤษรุ่งเรืองมาก บางคราวมี
เรือสินค้าเข้ามาจอดในแม่น้ำเจ้าพระยาถึง 50 ลำ ทาง สหรัฐอเมริกา ได้ส่งมิชชันนารี เข้ามาสอนศาสนา และนำเอาวิชาการแพทย์ แผนใหม่ โรงพิมพ์หนังสือพิมพ์ และสอนภาษาอังกฤษให้คนไทย ผู้ที่ ควรได้รับเกียรติใน
ผลงานนี้ คือ หมอบรัดเลย์ ทรงโปรดให้มีประกาศห้ามนำฝิ่น เข้ามาขายในประเทศ และให้เก็บ ฝิ่นที่มีอยู่ในประเทศ นำไปเผาทั้งหมด ด้านพระศาสนา ทรงทำนุบำรุงพุทธศาสนา สร้างวัดใหม่ 9 วัด บูรณะวัดเก่า 60 วัด โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระนอนใหญ่ที่วัดโพธิ์ และในรัชกาลนี้ ได้มีกวีแก้วแห่งกรุงรัตนโกสินทร์เกิดขึ้น คือ สมเด็จกรม
พระปรมานุชิตชิโนรส (พระองค์ วาสุกรี พระราช โอรสในรัชกาลที่ 1)

พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๓
เป็นรูปปราสาท เป็นพระราช สัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธย ว่า "ทับ"
อันหมายถึง ที่อยู่ หรือ เรือน

ความคิดเห็นที่ 3

MuszimmoBighorn
MuszimmoBighorn
22
[2007-05-13 07:55:50]
รัชกาลที่4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 4
ครองราชย์ 16 ปี (พ.ศ. 2394-2411)
พระชนมายุ 66 พรรษา
เสด็จพระราชสมภพ วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347
พระนามเดิมว่า เจ้าฟ้ามหามาลา

เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย และสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้ามหามาลา เมื่อพระชนมายุได้ 9 พรรษา ได้รับสถาปนาเป็นเจ้าฟ้ามงกุฎ มีพระราชอนุชาร่วมพระราชมารดา คือ เจ้าฟ้าจุฬามณี ซึ่งต่อมาได้รับสถาปนาเป็น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อพระชนมายุได้ 21 พรรษา ได้ออกผนวชตามประเพณี และอยู่ในเพศบรรพชิต ตลอดรัชสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อรัชกาลที่ 3 สวรรคตจึงได้ลาสิกขามาขึ้นครองราชสมบัติ ระหว่างที่ทรงผนวช ประทับอยู่ที่วัดมหาธาตุ แล้วทรงย้ายไปอยู่วัดราชาธิวาส (วัดสมอราย) พระองค์ได้ทรงตั้ง คณะสงฆ์ ชื่อ " คณะธรรมยุตินิกาย " ขึ้น ต่อมาทรงย้ายไปอยู่ วัดบวรนิเวศวิหาร ได้รับแต่งตั้งเป็น พระราชาคณะ และได้เป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศองค์แรก ทรงรอบรู้ ภาษาบาลี และแตกฉานในพระไตรปิฎก
นอกจากนั้น ยังศึกษาภาษาลาติน และภาษาอังกฤษจนสามารถใช้งานได้ดี ในรัชสมัยของพระองค์ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส ต่างก็ส่งทูตมา ขอทำสนธิสัญญาในเรื่อง สิทธิสภาพนอกอาณาเขต ให้แก่คนในบังคับของตน และสิทธิการค้าขายเสรี ต่อมาไทยได้ทำสัญญาไมตรีกับประเทศนอร์เวย์ เบลเยี่ยมและอิตาลี และได้ทรงส่ง คณะทูตออกไป เจริญพระราชไมตรีกับต่างประเทศ นับเป็นครั้งที่สองของไทย นับต่อจากสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยไปยัง ประเทศอังกฤษ และฝรั่งเศส ทรงจ้าง ชาวยุโรปมารับราชการในไทย ในหน้าที่ล่ามแปลเอกสารตำรา ครูฝึกวิชา ทางทหารและตำรวจ และงานด้าน การช่าง ทรงตั้งโรงพิมพ์ของรัฐบาล ตั้งโรงกษาปณ์เพื่อผลิตเงินเหรียญ แทนเงินพดด้วง และเบี้ยหอยที่ใช้อยู่เดิม มีโรงสีไฟ โรงเลื่อยจักร เปิดที่ทำการศุลกากร ตัดถนนสายหลัก ๆ ได้แก่ ถนนบำรุงเมือง ถนนเฟื่องนคร ถนนเจริญกรุง และถนนสีลม มีรถม้าขึ้นใช้ครั้งแรก ขุดคลองผดุงกรุงเกษม คลองมหาสวัสดิ์ คลองภาษีเจริญ คลองดำเนินสะดวก และคลองหัวลำโพง

ในปี พ.ศ.๒๓๙๔ (พระชนมายุได้ ๔๗ พรรษา ทรงผนวชมาได้ ๒๗ พรรษา) พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต พระบรมวงศานุวงศ์ เสนาบดี และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ได้เข้ากราบถวายบังคมทูลอัญเชิญเสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ สืบพระราช สันติวงศ์ รัชกาลที่ ๔ โดยมี พระราชปรมาภิไธย โดยย่อว่า "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรามหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" นับตั้งแต่เสด็จขึ้นครองราชย์ พระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเริ่มสร้าง ความสัมพันธ์ อันใกล้ชิดระหว่าง พระมหากษัตริย์กับ อาณาประชาราษฎร ให้เข้ากับกาลสมัยในรูปใหม่ อย่างที่ไม่เคย ปรากฏมาก่อน การเปลี่ยนแปลงนี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่ พระองค์ ทรงอยู่ในสมณเพศนานถึง ๒๗ พรรษา ได้เสด็จ ธุดงค์ไปยังหัวเมืองต่างๆ เป็นโอกาสให้ ทรงได้รับรู้สภาพ ความเป็นอยู่ โดยแท้จริงของ ราษฎรส่วนใหญ่ด้วยพระองค์เอง นับเป็นประสบการณ์ที่มีค่ายิ่ง และเป็นการเตรียมพระองค์ เพื่อปกครองบ้านเมืองในอนาคต เป็นอย่างดี ประกอบกับ ลัทธิจักรวรรดินิยม ที่แผ่ขยายมายังประเทศใกล้เคียงในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และในทวีปเอเซีย ทำให้พระองค์ทรง ตระหนักว่า ถึงเวลาแล้วที่ประเทศสยาม จะต้องยอมรับอิทธิพลวัฒนธรรมตะวันตก และเร่งปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย โดยทรงปฏิบัติ พระราชกรณียกิจในหลายๆ ด้านไปพร้อมๆ กันด้วยพระบรมราโชบายที่มีทรรศนะไกล และด้วยความสุขุมคัมภีรภาพ คือ
๑. ด้านการต่างประเทศ
๒. ด้านการเสริมสร้างความมั่นคง และการป้องกันพระราชอาณาจักร
๓. ด้านการปฏิรูปการปกครอง
๔. ด้านการทำนุบำรุงอาชีพของราษฎร และการปฏิรูปทางเศรษฐกิจ และการคลัง
๕. ด้านบำบัดทุกข์บำรุงสุขของราษฎร
๖. ด้านบำรุงศึกษาศาสตร์
๗. ด้านพระราชพิธี ประเพณี ธรรมเนียม
๘. ด้านพระศาสนา
๙. ด้านการก่อสร้าง

ด้านการปกครอง ได้จัดตั้งตำรวจนครบาล ศาล แก้ไขกฎหมายให้ทันสมัย ให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา ด้านศาสนา ได้สร้างวัดราชประดิษฐ์ วัดมงกุฎกษัตริยารามและวัดปทุมวนาราม เป็นต้น ทรงเชี่ยวชาญทางโหราศาสตร์ สามารถคำนวณการเกิดจันทรุปราคา และสุริยุปราคาได้อย่างแม่นยำ ทรงคำนวณ การเกิดสุริยุปราคา หมดดวง
ในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ปี พ.ศ. 2411 ณ ตำบลหว้ากอ(คลองวาฬ) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้อย่างถูกต้อง

พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๔
เป็นรูปพระมหาพิชัยมงกุฎ ในกรอบรูปกลมรี เป็นพระราช สัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธย ว่า "มงกุฎ" มีฉัตรตั้งขนาบพระ มหาพิชัยมงกุฎทั้งสองข้าง มีพาน ทองสองชั้นวางแว่นสุริยกาลหรือ เพชรข้างหนึ่ง วางสมุดตำราข้างหนึ่ง พระแว่นสุริยกาลหรือเพชร มาจาก ฉายาเมื่อทรงผนวชว่า "วชิรญาณ" ส่วนสมุดตำรามาจากการที่ได้ทรง ศึกษาและมีความเชี่ยวชาญในด้าน อักษรศาสตร์และดาราศาสตร์

ความคิดเห็นที่ 4

MuszimmoBighorn
MuszimmoBighorn
22
[2007-05-13 08:00:57]
รัชกาลที่5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 5
ครองราชย์ 42 ปี (พ.ศ. 2411-2453)
พระชนมายุ 58 พรรษา
เสด็จพระราชสมภพ 20 กันยายน พ.ศ.2396
พระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์

เป็นพระราชโอรสใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ ก่อนขึ้นครองราชย์ ทรงดำรงพระยศเป็น กรมขุนพินิตประชานาถ พระองค์ได้ทรงสร้าง ความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ประเทศนานัปการ ทรงบริหารประเทศ ก้าวหน้าทัดเทียมนานาอารยประเทศ ทรงประกาศเลิกทาส ปรับปรุงระบบการศาล ตั้งกระทรวงยุติธรรม ปรับปรุง กฎหมายต่าง ๆ ส่งเสริมการศึกษาอย่างกว้างขวาง ในหมู่ประชาชนทั่วไป ตั้งกระทรวง ธรรมการ ตั้งโรงเรียนฝึกหัดครู ส่งนักเรียนไทยไปศึกษาในยุโรป สร้างการรถไฟ โดยทรงเปิดเส้นทางเดิน รถไฟสายกรุงเทพ ฯ ถึงนครราชสีมา เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2421 สร้างโรงไฟฟ้า จัดให้มีการเดินรถรางขึ้นในกรุงเทพ ฯ จัดตั้งการ ไปรษณีย์ โทรเลข เมื่อ พ.ศ. 2421 สร้างระบบการประปา ฯลฯ
ด้านการต่างประเทศ ทรงมีวิสัยทัศน์กว้างไกลยิ่งนัก ได้ทรงนำประเทศไทยให้ รอดพ้นจากการเป็น เมืองขึ้นของ ชาติตะวันตก ได้ตลอดรอดฝั่ง โดยดำเนินวิเทโศบาย ผูกสัมพันธไมตรีกับประเทศมหาอำนาจเพื่อคานอำนาจ พระองค์ได้เสร็จประพาสยุโรป ถึงสองครั้ง โดยได้เสร็จเยือนประเทศ ฝรั่งเศส รัสเซีย เยอรมนี อังกฤษ ออสเตรีย ฮังการี เบลเยี่ยม อิตาลี สวีเดน และเดนมาร์ก

เมื่อ ปี พ.ศ. 2440 ทรงแต่งตั้งราชทูตไปประจำ ประเทศต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2424 ได้แก่ อิตาลี เยอรมัน เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม ออสเตรีย ฮังการี เดนมาร์ก สวีเดน โปรตุเกส นอร์เว และ สเปน อังกฤษ ในปี พ.ศ. 2425 สหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2427 รัสเซียในปี พ.ศ. 2440 และญี่ปุ่นใน ปี พ.ศ. 2442 พระองค์ทรงปกครอง อาณาประชาราษฎร ให้เป็นสุขร่มเย็น โปรดการเสด็จประพาสต้น เพื่อให้ได้ทรงทราบความเป็นอยู่ ที่แท้จริงของ พสกนิกร ทรงสนพระทัย ในวิชาความรู้ และวิทยาการ แขนงต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง และนำมาใช้บริหารประเทศให้ เจริญรุดหน้า อย่างรวดเร็ว พระองค์จึงได้รับถวายพระราชสมัญญานามว่า สมเด็จพระปิยะมหาราช ด้านการพระศาสนา ทรงทำนุบำรุง และจัดการให้เหมาะสม เจริญรุ่งเรือง ทรงสถาปนามหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยขึ้น ณ วัดมหาธาตุ และมหามงกุฎราชวิทยาลัย ขึ้น ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อให้เป็นสถานศึกษาพระปริยัติธรรม และวิชาการชั้นสูง นอกจากนั้น ยังทรงสร้างวัดเทพศิรินทราวาส และวัดเบญจมบพิตร ซึ่งนับว่าเป็น สถาปัตยกรรมที่ งดงามยิ่งแห่งหนึ่ง ของกรุงเทพ ฯ

ความล้ำลึกในพระปรีชาสามารถในด้านวรรณกรรม พระองค์ก็ทรงเป็นได้ทั้ง กวี และ นักประพันธ์ ที่มีความสามารถอย่างลึกซึ้งทีเดียว การแต่งโคลง ฉันท์ บทละคร กาพย์ กลอน หรือ ร้อยแก้ว ร้อยกรอง ทั้งที่พระองค์ทรงมีภารกิจอยู่มากมาย แต่ก็ด้วยพระวิร ิยะ อุตสาหะ ทรงสนพระทัยเป็นอย่างยิ่ง ดั่งที่ปรกกฏผลงานเป็นที่ประจักษ์มีมากกว่า ๓๐ เรื่อง ซึ่งก็มีบางเรื่องที่มีความหนาถึงกว่า ๕๐๐ หน้าก็มี ดั่งบางพระราชนิพนธ์ตอนหนึ่งของพระองค์ ความรู้ คู่เปรียบด้วย กำลัง กายเฮย
สุจริต คือเกราะบัง ศาสตร์พ้อง
ปัญญา ประดุจดัง อาวุธ คุมสติ
ต่างโล่ป้อง อาจแกล้ว กลางสนาม
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระมเหสี และ เจ้าจอมรวม ๙๒ พระองค์ มีพระราชโอรส ๓๒ พระองค์ พระราชธิดา ๔๔ พระองค์ ประสูติจากพระมเหสี และ เจ้าจอมมารดา เพียง ๓๖ พระองค์ อีก ๕๖ พระองค์ ไม่มี พระราชโอรส ธิดา เลย สำหรับ พระมเหสี ที่สำคั ญ จะกล่าวถึง มีดังนี้
๑. สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตนพระบรมราชเทวี (อัครมเหสีองค์แรก)
หรือ สมเด็จพระนางเรือล่ม อุบุติเหตุทางเรือที่เสด็จได้ล่มลง ทำให้ต้องสิ้นพระชนม์ พร้อมกับ พระธิดา ที่มีพระชนมายุ เพียง ๒ พรรษา เท่านั้น ส่วน สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี ก็มีพรรชันษา ย่างเข้า ๒๑ พรรษา (๑ ปี ๙ เดือน ๒๐ วัน ) และก็กำลังทรงพระครรภ์ ๕ เดือน อยู่ดัวย อุบัติเหตุ เกิดที่ บางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เมื่อวันจันทร์ที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๒๓
๒. สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนาพระบรมราชเทวี (อัครมเหสีองค์ที่ ๒)
พระองค์ก็คือสมเด็จย่าของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลปัจจุบัน ต่อมาได้เลื่อน พระยศเป็น สมเด็จพระศรีสวรินทราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า สิ้นพระชนม์เมื่อ วันจันทร์ ที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ มีพระชนมายุ ๙๓ พรรษา
๓. สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
ทรงเป็น พระชนนี ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ พระองค์ทรงได้รับ พระราชหฤทัยให้ ดำรงตำแหน่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในช่วงที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประพาส ยุโรปเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔ ๐ (เสด็จครั้งแรก) พระองค์ ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี ที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๐๖ สิ้นพระชนม์เมื่อ วันพุธที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๒ มีพระชนมายุ ๕๖ ปี

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเก้าเจ้าอยู่หัว ทรงประชวร พระวักกะ (ไต) พิการ กระทั่วเวลา ๒๔ นาฬิกา ๔๕ นาที ของคืนวันเสาร์ที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ พระองค์ก็ เสด็จสู่สวรรคต รวมพระชนอายุ ๕๗ พรรษา ทรงเสวยราชย์ ๔๒ ปี พระองค์ทรง เป็นพระมหากษ ัตริย์ ที่ยิ่งใหญ่ของแผ่นดินสยาม งานสุดคณานับยังทั้งประโยชน์ ความเจริญรุ่งเรือง นำชาติให้เป็นที่ยอมรับของ นานาชาติ พระคุณสุดล้นที่ จะพรรณนาจากใจ ของประชาชนชาวไทยได้หมด พระองค์จึงเป็นที่รักเคารพของคนไทยเสมอมา

สมเด็จพระปิยมหาราช เป็นพระนามที่ได้รับการถวาย โดย สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นผู้ทรงคิดถวาย ซึ่งปรากฏอยู่บนจารึกใต้ฐาน ของ พระบรมรูปทรงม้า (๒๔๕๑) พระนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ได้ทรงเขียน ชมเชย สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ได้คิด พระนามนี้ถวาย วันที่ ๒๓ ตุลาคม ทุกๆ ปี ประชาชนคนไทย ทั้งชาติ เป็นวันแห่งการรำลึกถึง พระองค์อย่างไม่มีเสื่อมคลาย วาระคล้ายวันที่พระองค์เสด็จสู่สวรรคต ซึ่งเป็นประเพณี วันสำคัญที่สุดอีกวันหนึ่ง วันรวมใจ เทิดพระเกียรติ พระปิยมหาราช ไว้ตลอดกาลนาน

พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๕
เป็นรูปพระจุลมงกุฎเปล่งรัศมี บนพานแว่นฟ้า เป็นสัญลักษณ์ของ พระบรมนามาภิไธย "จุฬาลงกรณ์" มีฉัตรตั้งขนาบข้าง ริมขอบสองข้าง มีแว่นสุริยกานต์ข้างหนึ่ง กับสมุด ตำราข้างหนึ่งวางอยู่บนพานแว่นฟ้า

ความคิดเห็นที่ 5

MuszimmoBighorn
MuszimmoBighorn
22
[2007-05-13 08:03:28]
รัชกาลที่6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 6
ครองราชย์ ๑๖ ปี (พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๔๖๘)
พระชนมายุ ๔๖ พรรษา
เสด็จพระราชสมภพ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๓
พระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ

เป็นพระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จเจ้าฟ้า กรมขุนเทพทวาราวดี เมื่อ พระชนมายุได้ ๘ พรรษา เมื่อพระชนมายุได้ ๑๑ พรรษา ได้เสด็จ ไปศึกษาวิชาการที่ประเทศอังกฤษ ทรงศึกษาใน มหาวิทยาลัย ออกซ์ฟอร์ด และศึกษาวิชาการทหารบก ที่โรงเรียนนายร้อย แซนด์เฮิสต์ ได้รับสถาปนา เป็นสมเด็จพระบรม โอรสาธิราช สยามมงกุฎราชกุมาร เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๗ เสด็จกลับประเทศไทยแล้ว ทรงเข้ารับราชการในตำแหน่งจเรทัพบก และทรงบัญชาการ ทหารมหาดเล็ก ดำรงพระยศพลเอก เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ
เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ ได้ทรงปรับปรุง ด้านการศึกษาของไทย โปรดให้ตราพระราชบัญญัติประถมศึกษา ให้เป็นการศึกษาภาคบังคับ ทรงตั้งกระทรวงการทหารเรือ กองเสือป่า และกองลูกเสือ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กรมศิลปากร โรงไฟฟ้าหลวงสามเสน คลังออมสิน กรมสถิติพยากรณ์ กรมสรรพากร กรมตรวจเงินแผ่นดิน กรมมหาวิทยาลัย กรมรถไฟหลวง และเปิดเดินรถไฟไปเชื่อมกับมลายู ตั้งสถานเสาวภาและกรมร่างกฎหมาย ทรงเปลี่ยนการใช้ รัตนโกสินทรศก (ร.ศ) เป็นพุทธศักราช (พ.ศ.) พระองค์ได้ทรงปลูกฝัง ความรักชาติให้เกิดขึ้น ในหมู่ประชาชาวไทย ทรงเป็นศิลปิน และส่งเสริมงานประพันธ์เป็นอย่างมาก ทรงเป็นผู้นำในการประพันธ์วรรณคดีไทย ทั้งที่เป็น ร้อยแก้ว และร้อยกรอง ทรงเขียนหนังสือ ทางด้านประวัติศาสตร์ และด้าน การทหารไว้เป็น จำนวนมาก ประมาณถึง ๒๐๐ เรื่อง พระองค์จึงได้รับ ถวายพระราชสมัญญานามว่า สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ทรงเป็นนักปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่ พระองค์หนึ่งของไทย การปกครองประเทศ ได้ทรงเจริญรอยตามสมเด็จพระราชบิดา สานต่องานที่ยังไม่เสร็จสิ้น ใน รัชสมัยของพระองค์ ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๑ โดยมีสมรภูมิอยู่ในทวีปยุโรป ทรงตัดสินพระทัยประกาศสงคราม กับเยอรมัน โดยเข้าร่วมกับสัมพันธมิตร ได้ส่งทหารไทยไปร่วมรบ ณ ประเทศฝรั่งเศส ผลที่สุดได้ เป็นฝ่ายชนะสงคราม ทำให้ไทยได้รับการแก้ไขสนธิสัญญา ที่ไทยเสียเปรียบต่างประเทศได้เป็นอันมาก
ด้านการศึกษา
จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะ โรงเรียน ข้าราชการพลเรือนฯ ขึ้นเป็น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ นับเป็นมหาวิทยาลัย แห่งแรกของไทย
ทรงตราพระราชบัญญัติประถมศึกษา ปีพ.ศ. ๒๔๖๔ ให้บิดามารดาส่งบุตรเข้าโรงเรียนโดยไม่เสียค่าเล่าเรียน
ด้านเศรษฐกิจ
จัดตั้งธนาคารออมสินขึ้น เพื่อให้ประชาชนรู้จักออมทรัพย์ และเชื่อมั่นในสถาบันการเงิน เนื่องจาก มีธนาคารพาณิชย์เอกชน ที่ฉ้อโกง และต้องล้มละลายปิดกิจการ ทำให้ผู้ฝากเงินได้รับความเสียหายอยู่เสมอ
ใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ซื้อหุ้นของ ธนาคารสยามกัมมาจล ทุนจำกัด(ปัจจุบันคือ ธนาคารไทยพาณิชย์) ซึ่งมีปัญหา การเงิน ทำให้ธนาคารของคนไทยแห่งนี้ดำรงอยู่มาได้
ทรงริเริ่มตั้ง บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด ซึ่งได้เป็นกิจการ อุตสาหกรรมสำคัญของไทยต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน
ด้านการแพทย์และสาธารณสุข
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และวชิรพยาบาล
เพื่อรักษาพยาบาลประชาชนที่เจ็บไข้ได้ป่วย
ทรงเปิดสถานเสาวภา เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๕ เพื่อผลิตวัคซีน และเซรุ่ม เป็นประโยชน์ ทั้งแก่ ประชาชนชาวไทยและประเทศใกล้เคียงอีกด้วย
ทรงเปิดการประปากรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๗
ด้านกิจการเสือป่าและลูกเสือ
ทรงจัดตั้งกองเสือป่าขึ้นเมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๔
โดยมีพระราชประสงค์จะฝึกอบรมข้าราชการให้มีระเบียบวินัย มีความสามัคคี มีน้ำใจเป็นสุภาพบุรุษ
ประพฤติตนดี รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นกำลังของชาติในยามคับขัน
ทรงจัดตั้งกองลูกเสือขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๔ เพื่อฝึกเยาวชนให้มีความสามัคคีมานะอดทน เสียสละเพื่อส่วนรวม และเป็นผู้ช่วยรบได้ในยามคับขัน

พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๖
เป็นรูปวชิราวุธ ยอดมีรัศมี ประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า ซึ่งตั่งอยู่เหนือตั่ง มีฉัตรกลีบ บัวตั้งอยู่สองข้างเป็นสัญลักษณ์ พระบรมนามาภิไธย "วชิราวุธ" หมายถึง อาวุธของพระอินทร์

ความคิดเห็นที่ 6

MuszimmoBighorn
MuszimmoBighorn
22
[2007-05-13 08:07:29]
รัชกาลที่7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 7
ครองราชย์ ๙ ปี (พ.ศ. ๒๔๖๘-๒๔๗๗)
พระชนมายุ ๔๘ พรรษา
เสด็จพระราชสมภพ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๖
พระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์

ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์เล็กของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ ได้รับสถาปนาเป็น กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา เมื่อพระชนมายุ ได้ ๑๒ พรรษา ได้เสด็จไป ศึกษาวิชาการทหารบก ที่ประเทศอังกฤษ และฝรั่งเศส สำเร็จการศึกษาแล้ว เสด็จกลับ ประเทศไทย เข้ารับราชการที่ กองพันทหารปืนใหญ่ ที่ ๑ รักษาพระองค์ ในตำแหน่งผู้บังคับกองร้อย ต่อมาได้รับราชการ ในตำแหน่ง ผู้บังคับการ โรงเรียนนายร้อยทหารบกชั้นปฐม ปลัดกรมเสนาธิการทหารบก ผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ ๒ แล้วได้ทรง กรมเป็นกรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา

เสด็จขึ้น ครองราชสมบัติ เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ ในช่วงเวลาที่ เศรษฐกิจของประเทศ และของโลกกำลังทรุดหนัก อันเป็นผลเนื่องมาจาก สงครามโลก ครั้งที่ ๑ ซึ่งพระองค์ก็ได้ทรงแก้ไข อย่างเต็มพระกำลังความสามารถ จนประเทศไทย ได้รอดพ้นจาก วิกฤติการณ์นั้นได้ ในรัชสมัยของพระองค์ ไทยสามารถ ติดต่อกับ นานาประเทศทางวิทยุ และโทรเลขได้โดยทั่วไป เป็นครั้งแรก ทรงพระราชทานนาม หอสมุดแห่งชาติ พิมพ์พระไตรปิฎก เล่มใหม่ สร้างโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย เปิดเดินรถไฟไปถึง ชายแดนไทยติดต่อกับเขมร แก้ไขระบบการ จัดเก็บ ภาษีอากรใหม่ ตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียง แห่งประเทศไทย ประกาศพระราชบัญญัติเงินตรา และทรงตรากฎหมายอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก สร้างสะพานพระปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพระพุทธยอดฟ้า ฯ) วันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ คณะราษฎร์ ได้ปฏิวัติเปลี่ยนแปลง การปกครอง

ต่อมาเมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ พระองค์ได้ตัดสิน พระทัย สละราชสมบัติ ต่อมาได้เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ ณ ประเทศอังกฤษ พระราชหัตถเลขา ที่ทรงลาออกจากราชบัลลังค์ มีความตอนหนึ่งว่า "ข้าพเจ้ามีความเต็มใจ ที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่เดิม ให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ ยินยอมยกอำนาจทั้งหลาย ของ ข้าพเจ้าให้ แก่ผู้ใด คณะใดโดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจ โดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียง อันแท้จริงของ ประชาราษฎร"

พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๗
เป็นรูปพระแสงศร ๓ องค์ คือ พระแสงศรพรหมมาสตร์ พระแสงศร ประลัยวาต และพระแสงศรอัคนีวาต บนราวพาดพระแสง เหนือขึ้นไปเป็น ดวงตรามหาจักรีบรมราชวงศ์ ภายใต้ พระมหาพิชัยมงกุฎ ด้านซ้ายและขวา ตั้งบังแทรก มีลายกนกแทรกอยู่ บนพื้น ตอนบนของดวงตรา พระแสงศร ๓ องค์ นี้เป็นพระราชสัญลักษณ์ของพระบรม นามาภิไธย "ประชาธิปกศักดิเดชน์" "เดชน์" แปลว่า ลูกศร

ความคิดเห็นที่ 7

MuszimmoBighorn
MuszimmoBighorn
22
[2007-05-13 08:09:14]
รัชการที่8 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
รัชกาลที่ 8
ครองราชย์ ๑๓ ปี (พ.ศ.๒๔๗๗- ๒๔๘๙)
พระชนมายุ ๒๑ พรรษา
เสด็จพระราชสมภพ วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๘

เสด็จพระราชสมภพ เมื่อ วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๘ ณ เมืองไฮเดลเบิร์ก ประเทศเยอรมัน ทรงเป็น พระราชโอรสองค์ที่สอง ของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์ อดุลยเดชวิกรม บรมราชชนก และ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เมื่อพระชนมายุได้ ๓ เดือน ได้ตามเสด็จ พระบรมชนกนาถ และพระราชมารดา ไปประทับอยู่ ณ ประเทศฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา จนพระชนมายุได้ ๓ พรรษา จึงเสด็จกลับ ประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๑ หลังเปลี่ยนแปลง การปกครอง สมเด็จพระราชชนนี ได้นำเสด็จไปประทับอยู่ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๖
เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติ เมื่อ วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อพระชนมายุได้ ๑๐พรรษา จึงต้องมี คณะผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ปฏิบัติหน้าที่ แทนพระองค์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวรรตน์จาตุรงต์ เป็นประธาน ต่อมา พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา เป็น ประธาน พระองค์มีน้ำพระราชหฤทัย เปี่ยมด้วยพระเมตตากรุณาในพสกนิกร โปรดการ ศึกษา การกีฬา การช่างและการดนตรี ได้เสด็จไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิต- เซอร์แลนด์ เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ สงบ ได้เสด็จนิวัติประเทศไทย เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จึงได้ถวายราชกิจ เพื่อให้ทรงบริหารโดยพระราชอำนาจ
แม้ในระยะเวลา ที่ประทับอยู่ ในประเทศไทยเป็นระยะสั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้ทรงริเริ่ม ประเพณีการเสด็จพระราชดำเนิน เยี่ยมราษฎรในชนบทอย่างจริงจัง โดยเริ่มในจังหวัดและอำเภอใกล้ๆ กรุงเทพฯ เช่น จังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร ปทุมธานี นครปฐม ปากเกร็ด ในการเสด็จ พระราชดำเนิน หัวเมืองนอก กรุงเทพฯ มิได้ทรงมี พระราชประสงค์จะ เยี่ยมเยียน พสกนิกรแต่เพียงอย่างเดียว หากทรงตั้งพระราชหฤทัยจะได้ศึกษาถึง ลักษณะ การบริหารบ้านเมือง ของหน่วยราชการทุกฝ่าย ทั้งด้านการปกครองและการศาล เพื่อให้เข้าใจสภาพบ้านเมือง ได้อย่างถ่องแท้ เช่นเกี่ยวกับการใช้อำนาจ ตุลาการ ปรากฏว่า ได้เสด็จประทับบัลลังก์ เพื่อทรงไว้ซึ่ง ความยุติธรรมถึง 2 ครั้ง คือ บัลลังก์ศาลจังหวัดนครปฐม เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2489 และบัลลังก์ศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2489
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล มีกำหนดจะเสด็จกลับไป มหาวิทยาลัยโลซานน์ ประเทศ สวิสเซอร์แลนด์ ในวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เพื่อทำปริญญาเอก สาขานิติศาสตร์ ที่ยังค้างอยู่ให้สำเร็จ
ต่อมา เมื่อ วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๙ ได้เกิดเหตุการณ์อันไม่คาดฝัน พระองค์ต้องอาวุธปืน เสด็จสวรรคต ณ ที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง ยังความเศร้าสลด และ ความอาลัยรัก จากพสกนิกรเป็นที่ยิ่ง
ใน พ.ศ. 2539 ซึ่งเป็นปีที่จัดงานการพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปีนั้น ในวันที่ 8 มิถุนายน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชโอรส พระราชธิดา และพระบรมวงศ์ มายังพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในพระบรมมหาราชวัง ในการ พระราชพิธ ีเฉลิมพระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล และทรงบำเพ็ญ พระราชกุศลทักษิณานุปทาน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อม ให้อาลักษณ์อ่านประกาศเฉลิมพระปรมาภิไธย เป็นพระ ปรมาภิไธย อันวิเศษ ตามแบบแผนโบราณราชประเพณีว่า

"พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล อดุลยเดชวิมลรามาธิบดี จุฬาลงกรณราชปรียวรนัดดา
มหิตลานเรศวรางกูร ไอศูรยสันตติวงศวิสุทธ์ วรุตมขัตติยศักตอรรคอุดม จักรีบรมราชวงศนิวิฐ
ทศพิธราชธรรมอุกฤษฎนิบุณ อดุลยกฤษฎาภินิหารรังสฤษฎ์ สุสาธิตบูรพาธิการ ไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ
สรรพเทเวศรานุรักษ์ ธัญอรรคลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมงคประณตบาทบงกชยุคล
อเนกนิกรชนสโมสรสมมต ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปฎลเศวตฉัตราดิฉัตร สรรพรัฐทศทิศวิชิตไชย
สกลมไหศวริยมหาสวามินทร มเหศวรมหินทรมหารามาธราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวไศรย พุทธาทิไตรรัตน
สรณารักษ์วิศิษฎศักตอัครนเรศรามาธิบดี พระอัฐมรามาธิบดี พระอัฐมรามาธบดินทร สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตร"

ในการขานพระปรมาภิไธยอย่างมัธยม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ขานว่า "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล สกลไพศาล มหารัษฎธิบดี พระอัฐมรามาธิบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร" และอย่างสังเขปว่า "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร"

พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๘
เป็นรูปพระโพธิสัตว์ประทับ บนบัลลังก์ดอกบัว พระบาทขวาห้อย อยู่เหนือบัวบานอันหมายถึง แผ่นดิน พระหัตถ์ซ้ายถือดอกบัวตูม มีเรือนแก้ว อยู่ด้านหลังแถบรัศมี มีฉัตรอยู่สองข้าง เป็นพระราชสัญลักษณ์ของพระบรม นามาภิไธยว่า "อานันทมหิดล" แปลว่า เป็นที่ยินดีของแผ่นดินประหนึ่งพระโพธิ สัตว์เสด็จมาประทานความร่มเย็นเป็นสุข แด่ประชาราษฎรทั้งปวง

ความคิดเห็นที่ 8

MuszimmoBighorn
MuszimmoBighorn
22
[2007-05-13 08:11:14]
รัชกาลที่9 ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
รัชกาลที่ 9
ครองราชย์ ตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๔๘๙ จนถึงปัจจุบัน
เสด็จพระราชสมภพ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๐

เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ ณ มลรัฐแมซซาชูเซทส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นพระราชโอรส องค์เล็กของ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์ อดุลยเดชวิกรม บรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เมื่อพระชนมายุได้ ๑ พรรษา ได้เสด็จ นิวัตสู่ประเทศไทยในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ ภายหลัง จาก ที่สมเด็จพระราชบิดาเสด็จทิวงคตแล้ว ได้เสด็จกลับไป ประทับที่เมือง โลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และเข้ารับการศึกษา ณ ที่นั้น เมื่อสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ ได้เสด็จขึ้นครองราชย์สืบแทน เมื่อพระชนมายุได้ ๑๙ พรรษา โดยมีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แล้วทรงเสด็จไปศึกษาต่อ ในวิชานิติศาสตร์ ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พระองค์ได้เสด็จ นิวัติสู่ประเทศไทย เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๙๓ เพื่อถวาย พระเพลิง พระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และได้ทรงเข้าพระราชพิธี อภิเษกสมรส กับ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งขณะนั้น ดำรงพระยศ เป็น ม.ร.ว.สิริกิต์ กิติยากร พระธิดาของพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ และได้ประกาศ พระบรมราชโองการ สถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมราชินี ได้มีพระบรมราชาภิเษก

เฉลิมพระปรมาภิไธย ว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร์ รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร์ สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร และทรงเสด็จออก สีหบัญชรพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท พระราชทาน พระบรมราชวโรกาส ให้ประชาชนเข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๗ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓

พิธีจารึก พระสุพรรณบัฏ ดวงพระราชสมภพ และพระราชลัญจกร ถูกจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-21 เมษายน พุทธศักราช 2493 โดยมีหลวงบรรเจิดอักษรการ (ทับ สาตราภัย) เป็นอาลักษณ์จารึก พระปรมาภิไธย ในพระสุพรรณบัฏ พระยาโหราธิบดี (แหยม วัชรโชติ) เป็นผู้จารึก ดวงพระราชสมภพ หม่อมเจ้าสมัยเฉลิมกฤดากร เป็นผู้แกะ พระราชลัญจากร ประจำรัชกาล และพระครูวามเทพมุนี (สวาสดิ์ รังสิพราหมณกุล) เป็นผู้เจิมพระราชลัญจกร พิธีถวายสักการะ สมเด็จพระบรมราชบุพการี การพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ไปยังพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย เพื่อทรงสรงพระมุธาภิเษก จากนั้นทรงเครื่องบรมขัตติยมหาราชภูษิตาภรณ์ เสด็จฯ ออก ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ เพื่อทรงรับน้ำอภิเษก พระสุพรรณบัฎ เบญจรสชกกุธภัณฑ์ เครื่องขัตติยราชูปโภค และพระแสงราชศัตราวุธ แล้วทรงหลั่งน้ำทักษิโณทก ทรงตั้งพระราชสัตยาธิษฐาน "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์ สุขแก่มหาชนชาวสยาม"

เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๓ ได้เสด็จกลับไปทรงศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๓ จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๙๔ จึงเสด็จนิวัติพระนคร ได้เสด็จออกผนวช ณ วัด พระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๙๙ แล้วเสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ระหว่างที่ทรงผนวช สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จึงได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนา เป็นสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงบำเพ็ญ พระราชกรณียกิจ เป็นเอนกประการ แผ่ไพศาลไปทั่วทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทรงเสด็จ พระราชดำเนิน เยือนต่างประเทศ ทั้งในยุโรป เอเชีย และ อเมริกา เพื่อเจริญพระราชไมตรี อย่างกว้างขวาง ปรากฎพระเกียรติคุณ อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ด้านในประเทศ ทรงเสด็จเยี่ยมเยียนราษฎรในชนบทที่อยู่ห่างไกล เพื่อรับ ทราบ ปัญหาต่าง ๆ โดยตรง และได้ทรงริเริ่มโครงการตามพระราชดำริ เพื่อแก้ปัญหาเหล่านั้น พร้อมทั้งพัฒนาให้ดีขึ้น เพื่อให้สามารถ ช่วยตนเองได้ พระราช กรณียกิจของพระองค์ ทั้งในฐานะที่ทรงเป็นพระประมุขของประเทศ และในฐานะ ส่วนพระองค์ เป็นไปอย่างไม่หยุดยั้ง ทรงเต็มเปี่ยมด้วยทศพิธราชธรรม ทรงมีพระอัจฉริยภาพในด้านต่าง ๆ ยากที่จะหา ผู้เสมอเหมือน ทรงมีพระราชศรัทธาตั้งมั่น และแตกฉานในพระศาสนา และ ทรงถ่ายทอด แก่พสกนิกรของพระองค์ใน ทุกโอกาส ดังเราจะได้พบใน พระบรมราโชวาท ที่พระราชทานแก่ประชาชนในโอกาสต่าง ๆ อย่างมิรู้สิ้น


พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๙
เป็นรูปพระที่นั่งอัฐทิศ ประกอบด้วยวงจักร
มีอักษร อุ หรือเลข ๙ อยู่กลางวงจักร
รอบ วงจักรมีรัสมีเปล่งออกโดยรอบ
มีรูปเศวตฉัตรเจ็ดชั้น อยู่เหนือจักร ฉัตร
ตั้งอยู่บนพระที่นั่งอัฐทิศ หมายถึง
ทรงมีพระบรมเดชา นุภาพในแผ่นดิน

ความคิดเห็นที่ 9

MuszimmoBighorn
MuszimmoBighorn
22
[2007-05-13 08:17:50]
หมดแล้วครับ ก็คงจะพอทำให้ทุกคนได้ความรู้และทราบซึ้งในพระบารมีปกเกล้าในแต่ละพระองค์ยิ่งขึ้นครับไม่มากก็น้อย

และสุดท้ายก็ขอขอบคุณความรู้จากเว๊บไซท์ หอสมุด สยามสแควร์ไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ

ขอให้ทุกคนเลี้ยงปลาอย่างมีความสุขนะครับระวังด้วย(ช่วงนี้หน้าฝนปลาม่ะค่อยกินอาหาร)

บะบายครับพี่น้องเว๊บนายเก๋า

ความคิดเห็นที่ 10

MuszimmoBighorn
MuszimmoBighorn
22
[2007-05-13 08:32:24]
ซาบซึ้งอ่ะพิมพ์ผิดโทษที 555 เลยรู้เลยว่าผมบื้อภาษาไทย กำ บอกเค้าอีก

ความคิดเห็นที่ 11

TANARAT
TANARAT
52
[2007-05-13 09:53:26]
ว้าวววววว ความรู้เพิ่มพูนอีกแว้วววว
ดีจัยจังที่เกิดมาเปงคนไทย ........

ความคิดเห็นที่ 12

7550
7550
156
[2007-05-13 11:42:20]
เป็นความรู้ที่คนไทยสมควรต้องรู้..ขอบคุณครับ

ความคิดเห็นที่ 13

tumttt
tumttt (58.9.71.156) [2007-05-13 12:32:12]
ดีใจจังที่ได้อ่าน

ความคิดเห็นที่ 14

ArowanaMan
ArowanaMan [2007-05-13 14:01:53]
ขอบคุณที่นำมาให้อ่านนะครับ

ความคิดเห็นที่ 15

มูมู
มูมู (58.64.102.233) [2007-05-13 16:04:17]
สุดยอดเลยครับขอบคุณมากๆเด้อ

ความคิดเห็นที่ 16

Nuttor
Nuttor (125.24.37.38) [2007-05-13 21:47:15]
มีประโยชน์และความรู้ดีมากเลย
ขอบคุณครับ

ความคิดเห็นที่ 17

ชอบของดำ
ชอบของดำ (124.157.232.144) [2007-05-14 09:00:50]
มาเก็บความรู้ครับ

ความคิดเห็นที่ 18

ขุมทรัพย์
ขุมทรัพย์ (221.128.76.146) [2007-05-14 10:49:54]
ขอบคุณสำหรับความรู้ดีดีแบบนี้ครับ

ความคิดเห็นที่ 19

thaijeab001
thaijeab001
8
[2007-05-14 13:21:43]
เยี่ยมค่ะ

ความคิดเห็นที่ 20

Khanoomjeen
Khanoomjeen [2007-05-14 17:01:29]
ขอบคุณนะคะสำหรับข้อมูลดีดี

ความคิดเห็นที่ 21

รักชาติ
รักชาติ (58.147.85.171) [2007-05-14 21:23:00]
ประเทศไทย จงเจริญ ไชโย ไชโย ไชโย

ความคิดเห็นที่ 22

wsupitux
wsupitux [2007-05-14 21:36:14]
วันนี้ทำความดีอะไรให้พ่อหรือยัง

ความคิดเห็นที่ 23

จอนฟอน
จอนฟอน (203.209.119.68) [2007-05-15 05:38:41]
ขอบคุณ...จริงๆ

ความคิดเห็นที่ 24

คนทุกภาคคือคนไทย
คนทุกภาคคือคนไทย (203.146.207.56) [2007-05-15 13:23:09]
ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

ความคิดเห็นที่ 25

ปังคุง
ปังคุง (203.113.67.71) [2007-05-17 07:07:25]
ยอดเยี่ยมมากๆทำหั้ยมีรยงานส่งอาจารย์

ความคิดเห็นที่ 26

เจมจัง
เจมจัง (203.113.67.71) [2007-05-17 07:09:20]
ความรู้เยะมกๆ บ้านหลวง

ความคิดเห็นที่ 27

KINGKONG
KINGKONG [2007-05-18 00:39:45]
ตั้งใจจริงนะเนี่ย

ความคิดเห็นที่ 28

note31
note31
196
[2007-05-18 02:52:17]
ได้ความรู้ดีมากๆคับ

ความคิดเห็นที่ 29

คนไม่เอาไหน
คนไม่เอาไหน (203.209.127.33) [2007-05-22 19:47:53]
กำลังทำรายงานเลย ขอบใจหลายๆ

ความคิดเห็นที่ 30

aeaeae
aeaeae (125.26.206.136) [2007-10-18 16:04:39]
ขอบ คุณ มากๆๆๆครับ
มจร 53 ปรัชญา

ความคิดเห็นที่ 31

เด็ก
เด็ก (203.144.187.18) [2007-11-07 18:23:08]
ใจ

ความคิดเห็นที่ 32

089539fjsryl
089539fjsryl (203.113.17.165) [2007-12-06 13:41:42]
รักพ่อค่ะ มากๆ

ความคิดเห็นที่ 33

popham
popham (124.121.111.25) [2007-12-08 13:39:19]
ความรู้ดีมาก รักชาติมากขึ้นอีก

ความคิดเห็นที่ 34

ทามคุง
ทามคุง (117.47.53.163) [2008-01-05 12:53:16]
ดีจังค่ะได้ความรู้ดี

ความคิดเห็นที่ 35

เก๋
เก๋ (125.24.85.34) [2008-01-14 14:01:33]
ขอบคุณ

ความคิดเห็นที่ 36

2538nut     ปังย่า
2538nut ปังย่า (125.25.96.119) [2008-02-13 22:28:16]
เป็นเว็บที่ดีมากๆนะคับ

ความคิดเห็นที่ 37

คุฌครูนารงค์เด็กประชาน่าจะรู้
คุฌครูนารงค์เด็กประชาน่าจะรู้ (124.121.124.117) [2008-03-12 16:34:19]
ดีจริงๆมีรายงานส่งเเล้วเย้ขอบคุฌจริงนะครูน่ารงค์โหด
ต๊งต้องมากจากครูอะบอกไปเเล้วจิเเต่คงไม่รู้หรอชื่ออะไร555เพราะเราชื่อครม.คนมันชั่วครูเเต่งนะ

ความคิดเห็นที่ 38

ตอง
ตอง (222.123.13.30) [2008-04-10 18:02:05]
ดีจริงๆๆๆๆ

ความคิดเห็นที่ 39

อาร์ม
อาร์ม (124.157.187.4) [2008-04-28 13:15:40]
เสียใจมากครับที่รัชกาลที่8เสด็จสู่สวรรคาลัยเร็วนัก
เเละภูมิใจครับที่มีพระมหากษัตริย์ผู้เสียสละต่อเเผ่นดิน
ความรักพระเจ้าเเผ่นดิน ประเทศอื่นคงไม่เข้าใจหรอกครับว่าเรารักมากรักกรักมากเเค่ไหน

ความคิดเห็นที่ 40

เอาเป็นว่าขอบคุณ
เอาเป็นว่าขอบคุณ (58.9.55.232) [2008-05-26 20:33:42]
คนที่ทำให้สังคมเราน่าอยู่ขึ้นนับถือหะเหมือนทำสิ่งมีประโยชน์ให้คนอื่น
สังคมไทย

ความคิดเห็นที่ 41

ด.ช.นอต
ด.ช.นอต (124.121.187.202) [2008-06-07 07:35:53]
ขอให้มีอายุยืนนาน...นะครับ...ผมอยากให้ประเทศจรงยั้งยืนต่อไป...ทรงอายุยืนนะต่อไป...ขอให้ประชากรชาวไทยมีอายุยืน....

ความคิดเห็นที่ 43

แนท
แนท (125.25.217.140) [2008-08-30 11:04:07]
ขอบมากๆค่ะสำหรับข้อมูล

ความคิดเห็นที่ 44

ครูนก
ครูนก (125.27.174.212) [2008-11-06 14:31:59]
ขอบคุณค่ะที่ให้ข้อมูล ทำให้คุณคูรไม่ต้องเหนื่อยมากวิ่งไปหาที่ไกล ๆ แค่ที่บ้านของเราเอง ก็หาได้แล้วคะ

ความคิดเห็นที่ 45

ภูมิ
ภูมิ (124.120.206.175) [2008-12-02 21:16:23]
ขอบคุณมากครับ^ ^

ความคิดเห็นที่ 46

แม่ต้นข้าว
แม่ต้นข้าว (125.26.123.20) [2009-01-05 00:46:50]
ขอบคุณสำหรับความรู้ดี ๆค่ะ

ความคิดเห็นที่ 47

   tay
tay (125.26.85.180) [2009-02-15 14:19:15]
ได้ความร้มาก

ความคิดเห็นที่ 48

เต้ย
เต้ย (125.26.85.180) [2009-02-15 14:22:13]
ได้ความรู้เกียวกับประวัตติศาสตร์ของไทยเป็นอย่างมากด้วยค่ะ

ความคิดเห็นที่ 49

2541
2541 (118.172.176.23) [2009-06-30 06:58:41]
ดีจังเลยค่ะ

ความคิดเห็นที่ 50

NOO NUM
NOO NUM (61.19.65.240) [2009-08-29 09:44:45]
ขอบคุณมากๆๆนะค่ะ

ความคิดเห็นที่ 51

NOO NUM ภ.ว.
NOO NUM ภ.ว. (61.19.65.240) [2009-08-29 09:47:30]
เป็นข้อมูลที่ดีมากๆๆค่ะ

ความคิดเห็นที่ 52

kortoey
kortoey (125.25.43.43) [2009-10-03 07:04:38]
ทำการบ้านได้ง่ายขึ้น

ความคิดเห็นที่ 53

boodog
boodog (113.53.61.246) [2009-10-08 16:20:17]
ขอบคุณนะ

ความคิดเห็นที่ 54

ก้สน
ก้สน (125.27.186.119) [2009-12-21 10:06:52]
ดีครับ

ความคิดเห็นที่ 55

ก้สน
ก้สน (125.27.186.119) [2009-12-21 10:06:54]
ดีครับ

ความคิดเห็นที่ 56

การ
การ (125.27.186.119) [2009-12-21 10:07:33]
นาย

ความคิดเห็นที่ 57

การ
การ (125.27.186.119) [2009-12-21 10:11:40]
รัชกาลที่6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 6
ครองราชย์ ๑๖ ปี (พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๔๖๘)
พระชนมายุ ๔๖ พรรษา
เสด็จพระราชสมภพ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๓
พระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ

เป็นพระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จเจ้าฟ้า กรมขุนเทพทวาราวดี เมื่อ พระชนมายุได้ ๘ พรรษา เมื่อพระชนมายุได้ ๑๑ พรรษา ได้เสด็จ ไปศึกษาวิชาการที่ประเทศอังกฤษ ทรงศึกษาใน มหาวิทยาลัย ออกซ์ฟอร์ด และศึกษาวิชาการทหารบก ที่โรงเรียนนายร้อย แซนด์เฮิสต์ ได้รับสถาปนา เป็นสมเด็จพระบรม โอรสาธิราช สยามมงกุฎราชกุมาร เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๗ เสด็จกลับประเทศไทยแล้ว ทรงเข้ารับราชการในตำแหน่งจเรทัพบก และทรงบัญชาการ ทหารมหาดเล็ก ดำรงพระยศพลเอก เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ
เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ ได้ทรงปรับปรุง ด้านการศึกษาของไทย โปรดให้ตราพระราชบัญญัติประถมศึกษา ให้เป็นการศึกษาภาคบังคับ ทรงตั้งกระทรวงการทหารเรือ กองเสือป่า และกองลูกเสือ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กรมศิลปากร โรงไฟฟ้าหลวงสามเสน คลังออมสิน กรมสถิติพยากรณ์ กรมสรรพากร กรมตรวจเงินแผ่นดิน กรมมหาวิทยาลัย กรมรถไฟหลวง และเปิดเดินรถไฟไปเชื่อมกับมลายู ตั้งสถานเสาวภาและกรมร่างกฎหมาย ทรงเปลี่ยนการใช้ รัตนโกสินทรศก (ร.ศ) เป็นพุทธศักราช (พ.ศ.) พระองค์ได้ทรงปลูกฝัง ความรักชาติให้เกิดขึ้น ในหมู่ประชาชาวไทย ทรงเป็นศิลปิน และส่งเสริมงานประพันธ์เป็นอย่างมาก ทรงเป็นผู้นำในการประพันธ์วรรณคดีไทย ทั้งที่เป็น ร้อยแก้ว และร้อยกรอง ทรงเขียนหนังสือ ทางด้านประวัติศาสตร์ และด้าน การทหารไว้เป็น จำนวนมาก ประมาณถึง ๒๐๐ เรื่อง พระองค์จึงได้รับ ถวายพระราชสมัญญานามว่า สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ทรงเป็นนักปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่ พระองค์หนึ่งของไทย การปกครองประเทศ ได้ทรงเจริญรอยตามสมเด็จพระราชบิดา สานต่องานที่ยังไม่เสร็จสิ้น ใน รัชสมัยของพระองค์ ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๑ โดยมีสมรภูมิอยู่ในทวีปยุโรป ทรงตัดสินพระทัยประกาศสงคราม กับเยอรมัน โดยเข้าร่วมกับสัมพันธมิตร ได้ส่งทหารไทยไปร่วมรบ ณ ประเทศฝรั่งเศส ผลที่สุดได้ เป็นฝ่ายชนะสงคราม ทำให้ไทยได้รับการแก้ไขสนธิสัญญา ที่ไทยเสียเปรียบต่างประเทศได้เป็นอันมาก
ด้านการศึกษา
จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะ โรงเรียน ข้าราชการพลเรือนฯ ขึ้นเป็น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ นับเป็นมหาวิทยาลัย แห่งแรกของไทย
ทรงตราพระราชบัญญัติประถมศึกษา ปีพ.ศ. ๒๔๖๔ ให้บิดามารดาส่งบุตรเข้าโรงเรียนโดยไม่เสียค่าเล่าเรียน
ด้านเศรษฐกิจ
จัดตั้งธนาคารออมสินขึ้น เพื่อให้ประชาชนรู้จักออมทรัพย์ และเชื่อมั่นในสถาบันการเงิน เนื่องจาก มีธนาคารพาณิชย์เอกชน ที่ฉ้อโกง และต้องล้มละลายปิดกิจการ ทำให้ผู้ฝากเงินได้รับความเสียหายอยู่เสมอ
ใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ซื้อหุ้นของ ธนาคารสยามกัมมาจล ทุนจำกัด(ปัจจุบันคือ ธนาคารไทยพาณิชย์) ซึ่งมีปัญหา การเงิน ทำให้ธนาคารของคนไทยแห่งนี้ดำรงอยู่มาได้
ทรงริเริ่มตั้ง บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด ซึ่งได้เป็นกิจการ อุตสาหกรรมสำคัญของไทยต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน
ด้านการแพทย์และสาธารณสุข
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และวชิรพยาบาล
เพื่อรักษาพยาบาลประชาชนที่เจ็บไข้ได้ป่วย
ทรงเปิดสถานเสาวภา เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๕ เพื่อผลิตวัคซีน และเซรุ่ม เป็นประโยชน์ ทั้งแก่ ประชาชนชาวไทยและประเทศใกล้เคียงอีกด้วย
ทรงเปิดการประปากรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๗
ด้านกิจการเสือป่าและลูกเสือ
ทรงจัดตั้งกองเสือป่าขึ้นเมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๔
โดยมีพระราชประสงค์จะฝึกอบรมข้าราชการให้มีระเบียบวินัย มีความสามัคคี มีน้ำใจเป็นสุภาพบุรุษ
ประพฤติตนดี รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นกำลังของชาติในยามคับขัน
ทรงจัดตั้งกองลูกเสือขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๔ เพื่อฝึกเยาวชนให้มีความสามัคคีมานะอดทน เสียสละเพื่อส่วนรวม และเป็นผู้ช่วยรบได้ในยามคับขัน

พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๖
เป็นรูปวชิราวุธ ยอดมีรัศมี ประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า ซึ่งตั่งอยู่เหนือตั่ง มีฉัตรกลีบ บัวตั้งอยู่สองข้างเป็นสัญลักษณ์ พระบรมนามาภิไธย "วชิราวุธ" หมายถึง อาวุธของพระอินทร์
ด้านบน

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนทำรายการ

เข้าระบบ