Skip to content

ปรับปรุง เว็บไซต์ เยอะแยะเลย ลองกดเข้าไปเล่นดูสิ ตอนนี้ มีหมอตั้ม มาประจำที่ โรงพยาบาลแล้วนะครับ ใครมีปัญหาปลาป่วย ปรึกษาได้ครับ

ห้อง Crossbreed อาทิ เช่น ปลาไตรทอง, ปลาเท็กซัสแดง, Flowerhorn, Pearl horn, นกแก้ว, คิงคอง, และ ครอสบรีด สายพันธุ์ต่างๆ แยกออก มาเป็นห้อง แต่ไม่แยก ค่าย เพื่อความ มัน ในการอ่าน กระทู้จริงๆ

0010750

ครั้งแรกที่เลี้ยงหมอสี ไม่รู้ใช้ตู้ 14" เพิ่งซื้อมาอีก

คุณหนุ่ย
คุณหนุ่ย (202.91.23.1) [2005-09-05 11:14:35]
ปลาขนาด 3" น้ำขุ่นเร็วมากไม่รู้จะทำไงดีช่วยแนะนำหน่อยครับ 14" 8 เหลี่ยมอีกที่ร้านขายตู้บอกว่าเล้ยงได้เลยซื้อมาครับมีกรองพื้นกับหินทรายเล็ก มีใครช่วยเหลอบ้างครับใครอยากได้ขายตู้ให้ปลาเอาไว้เพิ่งซื้อมา 700 บาทได้ยังไม่ถึงเดือนเลยครับหรือถ้ามีขอแลกตู้กับ 24 " มือสองก็ได้ครับสนใจ ดทรคุณหนุ่ย 016110006

ความคิดเห็นที่ 1

t
t (203.144.216.211) [2005-09-06 14:35:16]
ตู้ใหญ่กว่า 24ไปเลยครับเพื่อไว้ให้ปลาโตอีกนะครับ ระบบกรองถ้าตู้เล็กใช้กรองบนก็ได้ ควรใช้กรองนะครับน้ำจะได้ไม่ขุ่นไว ศึกษาจากเว็บไซต์นะครับ ว่าควรเลี้ยงยังไงเลี้ยงแบบไหนเพราะปลาประเภทนี้ต้องการการเอาใจใส่อยากมากเลยครับ ในประสบการณ์ที่ผมเคยเป็นอย่างคุณนะครับ
ไม่รู้อะไรเลย

ความคิดเห็นที่ 2

t
t (203.144.216.211) [2005-09-06 14:36:01]
ปลาแต่ละชนิดจะมีลักษณะนิสัยการกินอาหารที่ไม่เหมือนกัน ปลาบางชนิดกินได้แต่พืช บางชนิดกินแต่สัตว์ บางชนิดกินไม่เลือก สำหรับผู้เลี้ยงปลาสวยงาม (บางชนิด)หลายท่าน มักจะประสบปัญหาเดียวกัน นั่นคือการที่ปลาที่เลี้ยงอยู่ไม่ยอมกินอาหารเม็ด โดยเฉพาะกับปลาที่มีขนาดใหญ่ เช่น ปลาอโรวาน่า หรือ ปลาหมอสี เป็นต้น หลายคนจึงจำเป็นต้องหันมาให้แต่อาหารสดเพียงอย่างเดียว และมักจะให้อาหารซ้ำๆ กันอยู่เสมอ เช่น ผู้ที่เคยให้หนอนนก ก็ให้หนอนนกตลอด เพราะไม่สะดวกในการหาอาหารอย่างอื่นให้ แต่คิดหรือไม่ว่าสารอาหารเพียงพอต่อปลาที่เราเลี้ยงหรือไม่?
การเสริมคุณค่าทางอาหาร ( Enrichment Feeding )
นี่เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ สำหรับวิธีง่าย ๆ ที่จะมานำเสนอในวันนี้ คือ เทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่จะทำให้อาหารสดซ้ำซากที่คุณให้ปลาของคุณกินอยู่เป็นประจำ กลายเป็นเมนูเสริมสุขภาพใหม่ ๆ ง่าย ๆ ที่สามารถให้สารอาหารและคุณค่าทางอาหารกับปลาของคุณ ได้มากกว่าที่คุณคิด เมนูเด็ดวันนี้จะช่วยให้ปลาของคุณ มีสีสันที่สวย สดใส และ แข็งแรง อย่างที่ควรจะเป็น
เมนูการเสริมคุณค่าทางอาหาร แยกออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
1. หนอนนก และแมลงต่าง ๆ นักเลี้ยงปลาสวยงามหลายท่านทราบกันดีว่า หนอนนกมีโปรตีน และไขมันสูง ปลาสามารถกินได้ง่าย จึงนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่ข้อเสียคือ เมื่อใช้ไปนานๆ ก็จะพบว่าปลาที่เลี้ยงนั้น อ้วนเกินไป และ ไม่ค่อยมีสีสันเท่าที่ควร
เทคนิคการเพิ่มคุณค่าทางอาหารของหนอนนก และ แมลง คือ การเลือกผักชนิดที่มีสารสีตามธรรมชาติ ได้แก่ แครอท , มะเขือเทศ , ขมิ้น หรือ อาหารปลาชนิดเม็ดที่มีสารเร่งสี เช่น อาหารเม็ดผสมสาหร่ายสไปรูลิน่า,ผสมกุ้ง,ผสม astaxantin นำมาเป็นวัตถุดิบ โดยเราจะใช้อาหารเม็ดที่เตรียมไว้ หรือ หั่นผักเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ให้หนอนนกกิน เมื่อหนอนนกกินอาหารเหล่านั้นเข้าไป จนมีการเปลี่ยนแปลงสีของร่างกาย ก็จะนำไปให้ปลากินอีกต่อหนึ่ง ปลาจะได้รับผักที่หนอนกินเข้าไปในรูปที่บดละเอียดแล้ว ทำให้ปลาสามารถย่อยได้ง่าย ดูดซับสารอาหารเหล่านั้นได้ดี
สำหรับผักที่ให้น้ำเยอะๆ เช่น มะเขือเทศ ให้เอาส่วนที่เละ ๆ เช่นไส้ในออกก่อน วางทิ้งไว้ให้สะเด็ดน้ำ จึงค่อยให้หนอนกิน เพราะน้ำในผักซึ่งมีจำนวนมากอาจจะทำให้หนอนนกจมน้ำตายได้ นอกจากปลาของคุณจะได้รับสารสีตามธรรมชาติจากผักแล้ว นอกจากนี้ปลายังจะได้วิตามิน เกลือแร่ และสารที่มีประโยชน์อื่นๆ จำนวนมากเสริมจากผักอีกด้วย
2. ไรแดง และไรทะเล ไรทั้ง 2 ชนิดนี้ มักใช้เป็นอาหารให้ปลาขนาดเล็กต่าง ๆ ไรแดงและไรทะเลโดยปกติจะมีคุณค่าทางอาหารในตัวเองสูงมากอยู่แล้ว แต่หากจะเสริมสารอาหารเข้าไปอีกก็สามารถทำได้ โดยอาหารที่จะเสริมเข้าไปนั้นจะต้องมีขนาดเล็กมากๆ หรือเป็นผง โดยมากแล้วจะใช้สาหร่ายสไปรูลิน่า ละลายน้ำใส่ในภาชนะที่เก็บไรแดง หรือไรทะเล และให้อากาศมาก ๆ ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที หรือ เห็นว่าน้ำใสขึ้นแล้วก็สามารถกรองเอาไปให้ปลากินได้เลย
ข้อดีของไรแดงและไรทะเล เป็นที่รู้กันดีว่า อาหารเม็ดที่ผสมยาปฏิชีวนะนั้น นอกจากราคาจะสูงแล้ว มันจะไม่มีประโยชน์ใด ๆ เลย หากปลาของคุณไม่ยอมกินมันเข้าไป ในกรณีที่ปลามีอาการผิดปกติ หรือป่วย เราสามารถใช้วิธีเสริมยาปฏิชีวนะเข้าไปในอาหารปกติที่ปลาเคยกินได้ ซึ่ง จะเป็นวิธีที่ง่ายและได้ผลกว่า วิธีการคือ เตรียมน้ำที่ละลายยาปฏิชีวนะเข้าไป ความเข้มข้นของยา จะต้องเพิ่มปริมาณขึ้นอีก ประมาณ 1.5 - 2 เท่า ของปริมาณยาปกติที่ต้องการจะให้ปลากิน ใส่ไรแดง หรือไรทะเล แช่ไว้ประมาณ 15 - 30 นาที อัดให้อากาศแรง ๆ แล้วจึงกรองเอาแต่ตัวไร หลังจากนั้นก็สามารถที่จะนำไปให้ปลากินได้เลย วิธีนี้จะทำให้ปลาที่ป่วยสามารถกินยาได้ง่ายขึ้น
ตัวอย่าง หากปริมาณยาปฏิชีวนะที่ต้องใช้คือ 100 mg/ อาหาร 1 ขีด ให้ปลากินติดต่อกัน 5 วัน เราต้องเตรียมน้ำปริมาณ 5 ลิตร (ปริมาณน้ำแล้วแต่สะดวก แต่อย่าให้น้อยเกินไป) ใส่ยา 1.5 เท่าของปกติ คือ 150 mg. นำมาละลายให้เข้ากัน จากนั้นใส่ไรแดงลงไป 1 ขีด ให้อากาศแรง ๆ 30นาที หลังจากนั้นสามารถกรองไรแดง หรือ ไรทะเลไปให้ปลากินได้เลย
3. กุ้งฝอย และปลาเหยื่อ เราสามารถใช้ไรแดง /ไรทะเล/ อาหารเม็ดชนิดต่าง ๆ เพื่อเป็นอาหารสำหรับ กุ้งฝอย และปลาเหยื่อกินจนอิ่ม แล้วนำกุ้งฝอยหรือ ปลาเหยื่อไปให้ปลาของเรากินต่อได้ทันที หากเป็นกุ้งจะสังเกตได้ง่ายมาก คือ ดูได้จากสีที่หัว และ ลำไส้ ( ลักษณะเป็นเส้นยาว ๆ จากหัวถึงหาง อยู่ที่ด้านหลังของกุ้ง ) หากสีที่หัวและลำไส้ เปลี่ยนเป็นสีเดียวกับอาหารแล้วแสดงว่ากุ้งอิ่ม และได้รับสารอาหารเข้าไปในร่างกายเป็นที่เรียบร้อย หากกินอีกก็ถ่ายเป็นมูลออกมา
ข้อดีของวิธีนี้ คือ เราสามารถให้ปลาของเราได้กินอาหารเม็ดในปริมาณมาก โดยที่มันไม่รู้ตัว (มากเท่ากับที่ปลาเหยื่อกินไป) และ ได้รับสารอาหารเพิ่มเติมจาก ไรแดง หรือ ไรทะเล เพิ่มขึ้นด้วย ทั้ง ๆ ที่ปลาขนาดใหญ่มักจะไม่ชอบกินอาหารขนาดเล็กพวกนี้เลย
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ กับการเสริมคุณค่าทางอาหารที่จะทำให้คุณมีเมนูอาหารเด็ด ๆ เพื่อสุขภาพปลา ไม่ว่าจะเป็น "หนอนนกสอดไส้ผักนานาชนิด", "กุ้งฝอยรวมร่าง" ( กับไรทะเล ,ไรแดง,อาหารเม็ด ), "ไรแดงปรุงรสสาหร่าย(สไปรูลิน่า)" หรือ อาหารสำหรับผู้ป่วย "ไรทะเลแฝงยาปฏิชีวนะ" นอกจากนี้ยังจะมีอีกหลาย ๆ เมนูเด็ด แล้วแต่คุณจะสรรหามาปรุง เพื่อพัฒนาอาหารสำหรับปลาที่คุณรักกันต่อไปครับ

ความคิดเห็นที่ 3

t
t (203.144.216.211) [2005-09-06 14:36:21]
"ทำไมต้องใช้เกลือ?" "ต้องใส่เกลือทุกครั้งที่เปลี่ยนน้ำ?" "เกลือที่ใช้สามาถใช้เกลือปรุงรสอาหารได้หรือเปล่า?"
"ตู้ / อ่าง ขนาด ... ต้องใส่เกลือปริมาณเท่าไหร่?" "ตอนนี้ใส่ยาไปแล้วต้องใส่เกลือซ้ำลงไปอีกหรือเปล่า?" " ฯลฯ "
เกลือ สำหรับเลี้ยงปลาที่เรา ๆ ใช้กันอยู่นั้นเรียกว่า "เกลือเม็ด" หรือ "เกลือทะเล" ไม่ใช่เกลือที่ใช้ปรุงอาหารที่เติมแต่งองค์ประกอบอื่น ๆ ลงไป เช่น ไอโอดีน หากแต่เป็นเกลือที่ได้จากธรรมชาติล้วน ๆ สามารถละลายน้ำได้ง่าย ไม่ทำให้ค่า pH ในน้ำเกิดการเปลี่ยนแปลงและไม่ทำปฎิกริยากับยาบ้างชนิดเหมือนเกลือปรุงรส (เกลืออาจไม่ถูกกับยาปฎิชีวนะบางชนิด ซึ่งจะทำให้ฤทธิ์ยาเสื่อมเร็ว เพราะฉะนั้นเวลาใส่ยาไม่ควรใส่เกลือ จะใส่เกลือเวลาปฐมพยาบาลปลาขั้นแรกเท่านั้น ถ้ายังไม่ดีขึ้นค่อยใส่ยาตามสาเหตุของโรคนั้น ๆ )
เกลือ จัดว่าเป็นเป็นวัตถุดิบที่สำคัญที่ไม่อาจมองข้ามในการเลี้ยงปลาได้เช่นกัน ประโยชน์ของมันมีมากมายหลายอย่าง โดยเฉพาะการป้องกันโรคและปรสิตในปลา เสริมสร้างภูมิต้านทาน และฯลฯ เช่น
เกลือจะไม่ส่งผลต่ออุปกรณ์การกรอง เช่น วัสดุหรือหินกรองต่าง ๆ และไม่เป็นอันตรายต่อจุลินทรีย์ในระบบกรองชีวภาพ
หาซื้อได้ง่ายตามร้านขายอุปกรณ์ปลาทั่วไปรวมทั้งราคาก็ถูกอีกด้วย
ไม่เป็นอันตรายต่อปลาเกือบทุกชนิด ผิดกับพวกฟอร์มาลีน มาลาไครท์กรีนที่อาจจะยิ่งไปซ้ำเติมสภาพปลาที่ป่วยให้รุนแรงมากยิ่งขึ้น
สามารถกำจัดปรสิตได้อย่างรวดเร็วถึง 7 : 9 ส่วน ในภาชนะที่เลี้ยง สามารถควบคุมปริมาณพิษของไนเตรทและไนเตรทฉับพลันในน้ำ โดยประจุที่ได้จากเกลือจะซึมผ่านตัวปลาป้องกันไม่ให้ไนเตรทส่งผลต่อเม็ดเลือดแดงที่ทำให้ปลาฟอกออซิเจนได้น้อยลงสามารถลดภาวะเครียดในปลาได้อย่างดีเพิ่มพลังงานและภูมิต้านทานต่อโรคต่าง ๆใช้ในการกักโรคปลากระตุ้นการขับเมือกของปลาเพื่อป้องกันตัวปลาจากปรสิตและเชื้อโรคต่าง ๆ เพราะในเมือกปลามีสารฆ่าเชื้อผสมอยู่ช่วยยืดอายุหินซีโอไลท์ในระบบกรองได้ยาวนานขึ้นโดยทำให้หินซีโอไลท์คายแอมโมเนียออกมาประสิทธิภาพของเกลือจะไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อโดนแสงแดด หรือสารอินทรีย์ในน้ำ ทำให้สามารถคงประสิทธิภาพได้นาน
ข้อควรรู้ / ข้อควรระวัง
การกระจายตัวและประสิทธิภาพของเกลือจะไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรเมื่อใส่ลงในน้ำเก่าหรือเปลี่ยนน้ำออกแค่ไม่กี่ส่วน
น้ำที่มีอุณหภูมิต่ำไม่เหมาะสมกับการเติมเกลือให้ปลา
เกลือทำให้น้ำมีคุณสมบัติกระด้างขึ้น ถ้าน้ำมีความกระด้างอยู่แล้วไม่สมควรเติมเพื่อเพิ่มความเครียดในปลา
ในกระบวนการ "ออสโมซิส" ปลาจะมีเกลืออยู่ในร่างกายตามปกติอยู่แล้ว แต่ปลาจะซึมซับเกลือจากน้ำในปริมาณที่จะทำให้เกลือในร่างกาย Balance กับที่ต้องการ แต่ถ้าคุณเติมเกลือลงในน้ำไปในปริมาณที่เกินความต้องการของปลาเท่ากับเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมของปลา และอาจทำให้ปลาซึมซับเกลือที่เกินขอบเขตนำมาซึ่งการลดภูมิต้านทานของปลา ความแข็งแรง พลังงาน และอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ปลาถึงตายได้เช่นกัน
ควรใช้เมื่อปลาป่วยหรือน้ำมีคุณภาพผิดปกติ
เกลือสามารถทำให้คุณสมบัติของยาปฎิชีวนะบางชนิดเสื่อมลงเมื่อใช้คู่กัน
ควรใส่ปริมาณแต่น้อยไว้ก่อนถ้าใส่มากไปจะเกิดการออสโมซิสย้อนทำลายปลาเอง
เกลือเมื่อละลายน้ำแล้วจะทำให้ระดับออกซิเจนในน้ำลดลง
ก่อนใส่เกลือลงในน้ำควรจะเอาต้นไม้น้ำออกเสียก่อนเพราะเกลือจะมีผลต่อพืชน้ำพอควร พืชน้ำบางชนิดทนความเค็มไม่ได้แม้เพียงแค่ 0.1 % ก็ตาม และสมควรเปลี่ยนน้ำออก 50%
ปริมาณเกลือที่ใส่ลงในตู้ปลาเพื่อป้องกันเชื้อโรคและปรสิตต่าง ๆ หรือหลังเปลี่ยนน้ำใหม่
ขนาดตู้ปลา ปริมาณ / ช้อนโต๊ะ
*** ไม่พูน ***
ตู้ 24" 2 ช้อนโต๊ะ ตู้ 36" 3 ช้อนโต๊ะ ตู้ 48" 4 ช้อนโต๊ะ
วัตถุประสงค์ในการใส่ปริมาณเกลือ / ปริมาณน้ำ
วัตถุประสงค์ ความเข้มข้น กรัม / ลิตร ช้อนโต๊ะ / แกลลอน ช้อนชา / 15แกลลอน
ป้องกันไนเตรท 0.1 % 1 กรัม 1 3/4
สภาพน้ำไนเตรท 0.3 % 3 กรัม 2 3/4 2 1/2
รักษาโรคต่างๆโดยเฉพาะตกเลือดและโรคเปื่อยต่างๆ 0.9 % 9 กรัม 8 6 1/4
*** ไม่ควรรักษาด้วยเกลือ 3 ครั้ง / วัน ***

ความคิดเห็นที่ 4

t
t (203.144.216.211) [2005-09-06 14:36:43]
สุขภาพปลาดีหรือไม่ดีนอกจากจะสามารถสังเกตุได้จากภายนอกแล้ว อีกวิธีหนึ่งคือการสังเกตุสุขภาพปลาจากภายในว่าปกติดีหรือไม่โดยการดูลักษณะของ ๆ เสียจากปลา ในลักษณะต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน
ลักษณะผอม ยาว สีเดียวกับอาหาร
บ่งบอกว่าสุขภาพปลาของท่านนั้นเข้าขั้นไม่ปกติ และปลากำลังตกอยู่ภาวะเครียด รวมถึงอาหารที่ใช้เลี้ยงก็ย่อยไม่ดี ในกรณีนี้ปลาต้องการ ๆ ดูแลเอาใจใส่มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทั้งอาหารหรือสิ่งแวดล้อมที่ปลาอยู่
สีขาว / ไม่ออกสี มีฟองอากาศเป็นช่วง ๆ
บ่งบอกว่าปลาท่านกำลังโดน "โรคท้องผูก" เล่นงานเข้าให้แล้ว การย่อยทำงานได้ไม่สมบูรณ์อันเนื่องมากจากอาหารที่ใช้เลี้ยง ต้องทำการอดอาหารเป็นเวลา 3 วัน และหลังจากนั้นค่อยให้อาหารที่ย่อยได้ง่ายในปริมาณแต่น้อยจำพวกอาหารสดหรือพืชเป็นเวลา 3 วันเช่นกัน เมื่ออาการดีขึ้นจึงสามารถให้อาหารตามปกติได้
สีขาว / ไม่ออกสี ผอมเป็นเส้น
บ่งบอกว่าปลาของท่านโดน แบคทีเรีย เชื้อโรค หรือปรสิตบางอย่างภายในตัวปลาเล่นงาน ควรอดอาหารและวินัยฉัยด่วน!
สีขาว / ไม่ออกสี ยาว คดไปคดมา มีฟองอากาศเป็นช่วง ๆ
บ่งบอกว่าปลาตัวนั้นได้กินไข่ปลาเข้าไปมากเกินไป
ยาว ปล้องใหญ่ สีเดียวกับอาหาร
บ่งบอกว่าปลาตัวนั้นกินอาหารมากเกินไป มีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอาการท้องผูก เนื่องจากปลาต้องทำการย่อยอาหารอย่างหนัก และอาจเกิดความเครียดได้ ควรอดอาหารทั้งวันเพื่อให้ปลาได้ย่อยอย่างเต็มที่ไม่อึดอัดและลดความเสี่ยงลง
สั้น ขนาดตามรูทวาร สีตามอาหารที่ให้
บ่งบอกถึงสุขภาพที่ปกติดี ไม่มีปัญหาเรื่องการย่อยหรือแบคทีเรียใด ๆ ความยาวอาจจะสั้นไปเลย หรือยาวขนาด ๆ กลาง ๆ ก็ได้ ต้องสังเกตุว่าปล้องต้องลักษณะไม่ใหญ่และแน่น

ความคิดเห็นที่ 5

t
t (203.144.216.211) [2005-09-06 14:37:21]
โชคดีกับการเลี้ยงปลาหมอสีครับ
ด้านบน

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนทำรายการ

เข้าระบบ