Skip to content

ปรับปรุง เว็บไซต์ เยอะแยะเลย ลองกดเข้าไปเล่นดูสิ ตอนนี้ มีหมอตั้ม มาประจำที่ โรงพยาบาลแล้วนะครับ ใครมีปัญหาปลาป่วย ปรึกษาได้ครับ

โลกปลาหมอสีสายพันธุ์ แท้ๆ ทั้งจาก ทะเลสาบมาลาวี, ทังแกนยิกา, หรือ ปลาหมอสี สายพันธุ์ แท้ จาก ทวีปอเมริกา ตลอดจน ปลาหมอแคระ ชนิดต่างๆ อยากให้เว็บบอร์ด นี้ มีส่วนช่วยให้คนรักปลา รู้จัก ไม่ลืม ในสายพันธุ์ ดั้งเดิม ตามธรรมชาติของปลาในครอบครัว Cichlidae

0009000

ใครใช้กรองถังมั่ง อยากจะขอคำแนะนำครับ

earthdeep
earthdeep
74
[2012-02-17 20:10:05]

ผมใช้กรองถัง ขนาด60ลิตร2ถัง กะบ่อขนาดไม่ใหญ่อยู่ครับ

น้ำก็ใสใช้ได้เลย แต่ปัญหาคือใยแก้วเนี่ยมันตันง่ายมากเลยครับ

ใครมีเทคนิคยังไงที่พอช่วยได้ แนะนำผมทีครับ

ว่าจะเปลี่ยนจากใยแก้วไปเป็นJFM ไม่รู้จะดีรึเปล่า
อยากจะขอคำแนะนำจากพี่ๆหน่อยนะครับ ขอบคุณมากๆครับ

วัสดุกรอง(เรียงจากบน)

-ใยแก้วหาบ(สีดำ)
-ใยแก้วละเอียด(สีขาว)
-หินพัมมิส
-ปะการัง

ความคิดเห็นที่ 1

Chanin09
Chanin09
2080
[2012-02-17 23:06:22]

ผมใช้กับบ่อยางที่เลี้ยงปลากระเบนราหูขนาดจุน้ำ 1.5 ตัน อยู่ครับ
ข้อสังเกตนะครับ ปรกติทั่วไป กรองถังที่ทำมาขายสำเร็จรูป เค้าจะทำให้ท่อส่งน้ำกลับ
อยู่ใกล้ๆ ก้นถัง
ซึ่งในกรณีนี้ น้ำที่เราสูบมากรองจากตู้ ก็จะไหลเข้าถังจากท่อเข้าด้านบน
ที่มักทำไว้ใกล้ขอบ หรืออาจจะมีการทำตัวแยกเข้าในท่อข้างที่เจาะรูเป็นแนวสเปรย์บาร์ไว้

จากลักษณะที่กล่าวมา แม้ว่าเราจะจัดวัสดุกรองใส่ลงไปเป็นชั้นๆ เต็มถัง แต่เวลาปั๊มน้ำเข้าถัง น้ำมันจะไหลผ่านวัสดุกรองลงมาอย่างรวดเร็ว แทบจะไม่ได้ผ่านกระบวนการทำงานของแบคทีเรียช่วยย่อยเลย ก็ต้องไหลลงรูก้นถังกลับสู่ตู้เลี้ยงแล้ว
ซึ่งอย่างดี ก็แค่กรองเอาตะกอนขี้ปลาออกเท่านั้น ถือเป็นแค่การกรองกายภาพ
ส่วนการกรองชีวภาพแทบจะไม่ได้เกิดขึ้น หรือมีก็เป็นส่วนน้ย เรียกว่าใช้ไม่คุ้ม


จริงแล้วเราควรจะต้องใช้พื้นที่เกือบทั้งหมดของด้านในถังกรองให้กลายเป็นห้องกรองชีวภาพ นั่นก็คือน้ำที่ปั๊มเข้ามามีระดับขังท่วมสูงขึ้นในถัง เพื่อให้มวลน้ำไหลผ่านวัสดุกรองทั้งหมด

วิธีการก็คือ
หาท่อ + ข้องอ มาต่อให้ปากท่อของท่อน้ำไหลกลับนี้สูงขึ้นมาเกือบ 3/4 ของถัง
แต่ก็ควรให้ต่ำกว่าปากท่อระบายน้ำล้น ถ้าปั๊มค่อนข้างแรง อย่างรุ่น Resun 6000 หรือ 7500
ควรใช้ข้อต่อเพิ่มขยายท่อส่งกลับ ให้ใหญ่ขึ้นอีก เช่น 1" เป็น 2" เพื่อป้องกันน้ำล้นกลับตู้ไม่ทัน

โดยทั่วๆ ไปถังกรองขนาดใหญ่ตั้งแต่ 60 ลิตร มักทำจุดน้ำเข้าแยกเป็นสองจุด บน/ล่าง
โดยส่วนท่อเข้าล่าง มักทำเป็นท่อสูงขนานตัวถังขึ้นมา แล้วเจาะรูให้น้ำไหลแบบสปเรย์บาร์อย่างที่กล่าวมา โดยจะมีวาวล์ไว้บังคับความแรงน้ำให้ทั้งสองจุด ซึ่งเมื่อเราทำวิธีที่แนะนำแล้ว
ก็ควรให้น้ำส่วนท่อล่างเข้ามากกว่าส่วนท่อบน

ส่วนการเรียงวัสดุกรอง ก็จะเปลี่ยนรูปแบบไปตามทางเดินของน้ำ นั่นคือเมื่อน้ำเข้ามาจากฝั่งด้านข้าง ด้านหนึ่งของตัวถัง เราก็ต้องเรียงวัสดุดักตะกอนหยาบไว้เป็นด่านแรกใกล้จุดที่น้ำเข้า ควรใช้พวกแผ่นฟองน้ำดำชนิดหนาพอควร ซึ่งจะทนทาน และไม่ตัน หรือยุ่ยง่ายแบบใยแก้ว และยังสามารถดึงขึ้นมาซักล้างได้ไม่ยากเกินไปในการจัดเรียงแบบแนวนอนไปตามความสูงถังแบบนี้

จากนั้นก็จะเป็นส่วนของวัสดุกรองชีวภาพที่จะให้แบคทีเรียทำงานมากที่สุด ในเคสนี้ ขอแนะนำเป็นใยกรอง Japanese Filter Mat ที่คล้ายๆ สก๊อตไบร์ตหนาๆ หยาบๆ นั่นหล่ะครับ ดีสุด เพราะมันมีพื้นที่ผิวให้แบคทีเรียยึดเกาะได้มากพอควร โดยมากกว่าพวกปะการังและหินภูเขาไฟตั้ง 5-6 เท่าตัว

หรือถ้าจะเอาแบบเทพๆ เลยก็ "Moving Bed" ที่ต้องใส่ฟองอากาศลงไปเป่าให้วสัดุเม็ดพลาสติกมันหมุนลอยไปมาในห้องกรอง แต่จะใช้ Moving ก็ต้องมีตาข่ายดักที่ปากท่องน้ำล้นกลับ กันเม็ดมูฟวิ่งหลุดลงไปอุดในท่อน้ำกลับด้วย

ถ้าให้ดี ก็ควรใส่แผ่นฟองน้ำหยาบรอบท่อน้ำล้นกลับ เพื่อเป็นการกรองตะกอนที่อาจหลงค้างไม่ให้หลุดกลับเข้าในตู้เลี้ยง

การเรียงวัสดุกรองแบบนี้ แน่นอนว่าก็จะมีตะกอนสะสมค้างอยู่ก้อนถังมากขึ้นอีกหน่อย ซึ่งต้องมีระยะเวลาการทำความสะอาด ระบายตะกอนก้นถ้งออกทิ้งเป็นครั้งคราวด้วย ทว่าเมื่อเทียบกับประสิทธิภาพการใช้งานเชิงปริมาณแล้ว ก็คุ้มกับกรองถังขนาด 60 ลิตรที่ได้ใช้อย่างเต็มที่ และถ้าเทียบเคียงง่ายๆ กรองแบบบ้านๆ นี้ หากซื้อทั้งตัวถัง + ปั๊ม Resun + วัสดุกรอง JFM และพวกอื่นๆ แล้ว ก็ตกราวๆ 1,500 แต่มีคุณภาพเที่ยบเท่ากรองนอกอย่าง EHEIM รุ่น Pro 3 ราคา 25,000 เลยนะครับ

ความคิดเห็นที่ 2

earthdeep
earthdeep
74
[2012-02-17 23:23:31]

ขอบคุณพี่มากๆเลยนะครับสำหรับคำแนะนำ

ผมอยากถามพี่เพิ่มเติ่มว่า

กรองชีวภาพเนี่ยจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อวัสดุกรองอยู่ใต้น้ำใช่มั้ยครับ
ถ้าแค่น้ำไหลผ่านเฉยๆจะไม่มีประสิทธิภาพหรอครับ


แล้วแจแปน ฟิลเตอร์ นี่ใช้ในส่วนของกรองชีวภาพถ้าเราเอามาดักตะกอนเนี่ยมันจะทำหน้าที่ได้ทั้งกายภาพ+ชีวภาพได้รึเปล่าครับ


ขอบคุณพี่มากๆเลยน่ะครับ สำหรับความรู้

ความคิดเห็นที่ 3

Chanin09
Chanin09
2080
[2012-02-18 06:11:33]

โดยหลัการ การกรองชีวภาพ ก็คือการทำงานของบรรดาแบคทีเรียหลากหลายสายพันธุ์
ที่แบ่งเป็นสองกลุ่มย่อยๆ คือพวกที่ใช้อ็อกซิเจนมาช่วยย่อยสลายแอมโมเนีย และไนไตร์ท กับกลุ่มพวกไม่ใช้อ็อกซิเจน หรือใช้น้อยมากแต่จะย่อยไนเตรตที่เป็นอนุภัณฑ์สุดท้ายก่อนสลายกลายเป็นแก็สไนโตเจน คาร์บอนไดอ็อกไซด์ ฯลฯ ซึ่งกลุ่มหลังนี้จะไม่ค่อยมีใครให้ความสนใจเพราะไนเตรตมีพิษน้อยมากแทบไม่ค่อยมีผลกับการเลี้ยงปลาน้ำจืด (แต่ในการเลี้ยงปลาน้ำเค็ม เป็นอีกเรื่อง! ) และก็จะถูกขจัดไปได้ง่ายโดยการเปลี่ยนถ่ายน้ำ หรือดูดกินในรูปปุ๋ยไปโดยพวกสาหร่าย ตะไคร่ต่างๆ

ที่นี้แบคทีเรียพวกนี้มันจะทำงานได้ ก็ต่อเมื่อน้ำจากตู้เลี้ยงที่มีสารละลายปนเปื้อนต่างๆ ไหลมาผ่าน "เมือกชีวภาพ" (Bio film) หรือว่ากลุ่มของแบคทีเรียที่เกาะตัวกันอยู่เป็น colony ตาม "พื้นผิว" ของตัววัสดุกรอง เรียกได้ว่ามันก็คือคือ "โรงงานกรองชีวภาพ" นั่นเอง ซึ่งแน่นอน ยิ่งวัสดุกรองใด มีสภาวะ และขนาดพื้นที่เอื้อต่อการให้แบคทีเรียมาสร้าง Bio film เกาะอยู่อาศัยกันมากยิ่งขึ้นเท่าไหร่ ประสิทธิภาพในการกรองก็จะมากขึ้นเป็นเงาตามตัว

จุดนี้แหละครับ คือหัวใจ หรือเคล็ดลับว่า ทำอย่างไรก็ได้ ที่จะให้น้ำจากตู้เลี้ยงมาผ่าน "โรงงานกรองชีวภาพ" นี้ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

ดังนั้นก็ลองเปรียบเทียบวิธีการที่เราทำให้ "น้ำเสีย" ใน "กรองถัง" ของเรา ไหลผ่านพื้นผิววัสดุกรองไปจนกลับสู่ตู้เลี้ยง ว่ามีปริมาณมากน้อยแค่ไหน

พอนึกภาพออกมั๊ยครับ...และแน่นอน คงมีคำถามเกิดขึ้นมาค้านทันทีว่า

ก็แล้วอย่างที่เค้าทำ กรองระบบ Wet Dry ที่ให้น้ำไหลหยดผ่านวัสดุกรอง อย่างเช่น Bio Ball แบบน้ำขลุกขลิกๆ หล่ะ" ???

ถูกต้องครับครับ นั่นก็คือการกรองชีวภาพที่มีประสิทธิภาพอีกรูปแบบหนึ่ง เพราะจริงแล้ว Bio film มันก็จะเกิดอยู่ตามพื้นผิววัสดุกรองเช่นเดียวกัน

แต่จะต้องแน่ใจว่าเรามี "แผ่นกระจายน้ำ" ให้น้ำที่จะกรองแผ่ไหลหยดโปรยผ่านทั่วพื้นที่หน้าตัดของถังกรองลงไปผ่านวัสดุกรอง ไม่ใช้ไหลลงมาเหมือนเปิดก๊อก หรือพ่นจากสเปรย์บาร์แบบใน "กรองถัง" ครับ ซึ่งอย่างที่บอกไว้ว่า เหมือนการใช้พื้นที่ไม่คุ้ม เพราะน้ำผ่านลงมาจากใยแก้วไม่ได้กระจายตัวหยดพร่างพรูทั่วพื้นที่วัสดุกรองในถัง แต่จะไหลผ่านเพียงบางส่วนของวัสดุกรอง ตีให้เพียงซัก 10-30 % ส่วนที่เหลือคือไม่ได้ทำงานอะไรเลยครับ


เรื่อง JFM นี่ จริงๆ ก็ทำงานได้ทั้งกายภาพ และชีวภาพ แหล่ะครับ แต่ให้ถูกหลัก เราควรใช้มันในฐานะชีวภาพซะมากกว่า เพราะลักษณะความโปร่งพรุนมันไม่ได้แน่นจนสามารถดักตะกอนเล็กๆ ที่จะหลุดไปรบกวนลดทอนประสิทธิภาพการทำงานของแบคทีเรียเหมือนพวกใยแก้ว และฟองน้ำครับ

ความคิดเห็นที่ 4

pingly
pingly
339
[2012-02-18 16:55:04]

เก็บความรู้ แบบเต็มๆ น่ะครับ สูบๆๆๆ แล้วผมก็นำไปใช้ในกรองถังแล้วครับ

ความคิดเห็นที่ 5

modifycom
modifycom
3125
[2012-02-18 17:43:53]

ระบบกรองชีวภาพของผมบนตู้ปลา ขนาด 60" ที่้เลี้ยงโทรเฟียส น้ำที่ไหลจากกรองถังจะไหลผ่าน ตะไคร่น้ำที่ปกคลุมอยู่บนเเผ่นกระจกก่อนไหลกลับลงสู่ในตู้ปลาครับ เเถมช่วยลดอุณหภูมิของน้ำในตู้ได้ดีอีกด้วย น้ำใสกิ๊ก ปลาคึกคัก หื่นสุดๆ ส่วนตะไคร่น้ำถ้าขึ้นหนาเเล้วก็มาเป็นอาหารปลาได้ดีอีกด้วยครับ

ความคิดเห็นที่ 6

kajib
kajib
1388
[2012-02-18 21:46:08]

ความรู้ทั้งนั้นเลย

ด้านบน

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนทำรายการ

เข้าระบบ