Skip to content

ปรับปรุง เว็บไซต์ เยอะแยะเลย ลองกดเข้าไปเล่นดูสิ ตอนนี้ มีหมอตั้ม มาประจำที่ โรงพยาบาลแล้วนะครับ ใครมีปัญหาปลาป่วย ปรึกษาได้ครับ

โลกปลาหมอสีสายพันธุ์ แท้ๆ ทั้งจาก ทะเลสาบมาลาวี, ทังแกนยิกา, หรือ ปลาหมอสี สายพันธุ์ แท้ จาก ทวีปอเมริกา ตลอดจน ปลาหมอแคระ ชนิดต่างๆ อยากให้เว็บบอร์ด นี้ มีส่วนช่วยให้คนรักปลา รู้จัก ไม่ลืม ในสายพันธุ์ ดั้งเดิม ตามธรรมชาติของปลาในครอบครัว Cichlidae

0010034

มือใหม่หัดเลี้ยงหมอหอย

antorello
antorello
6
[2014-05-01 21:31:55]

คือผมกำลังจะเลี้ยง lamprologus ocellatus gold ครับ
กะว่าจะซือตู้30นิ้ว แต่ไม่เคยมีประสบการณ์ในการเลี้ยงตู้ปลาใหญ่ๆเลย
ต้องปฏิบัติยังไงบ้างครับ
แล้วเนื่องจากที่ห้องอากาศร้อนมาก ต้องทำยังไงมั่งครับ

ความคิดเห็นที่ 1

aucefiro
aucefiro
25
[2014-05-07 17:31:33]

ลองดู ข้อมูลนี้เผื่อมีประโยชน์ต่อน้องๆไม่มากก็น้อยครับ เรื่องปลาตายในหน้าร้อนมีเรื่องที่ต้องควรระวังอยู่ 4 ประการ

1.อุณหภูมิและการละลายของออกซิเจน : หลักการทางเคมีของธาตุออกซิเจนมีอยู่ว่า การละลายของออกซิเจนในอากาศและในน้ำจะแปรผกผันตามอุณหภูมิ ยิ่งอุณหภูมิสูงการละลายจะลดลง อุณหภูมิที่ต่ำลงจะทำให้ออกซิเจนละลายได้มากขึ้น ช่วงหน้าร้อนจึงทำให้น้ำมีค่าออกซิเจนน้อยลงไปมาก (สังเกตุเวลาอยู่ในรถไม่เปิดแอร์จะรู้สึกหายใจไม่ค่อยออก แต่เวลาเปิดแอร์ อุณหภูมิเย็นลงหายใจสบายทันที)

2. แบคทีเรียและการบริโภคออกซิเจน : นอกจากเรื่องของอุณหภูมิแล้ว ยังมีเรื่องของแบคทีเรียในช่วงหน้าร้อนที่แย่งออกซิเจนจากปลาไปอีก เพราะแบคทีเรียจะเจริญได้ดีขึ้นในอุณหภูมิที่สูงขึ้น (ทั้ง Nitrosomonas และ Nitrobactor) อัตราออกซิเจนใน ตู้จึงลดลงไปอย่างมาก ดูกระบวนการทางเคมีนี้ในตู้ปลาเราดีๆ จะทำให้เข้าใจว่าทำไมแบคทีเรียจึงใช้ ออกซิเจนมากมายนักหนาในระบบปิด(ตู้ปลาของเรา)ที่มีความเข้มข้นของสาร อินทรีย์ไนโตรเจนสูง

NH4+/NH3 -> NO2- -> NO3-

ค่ามวลอะตอมของ H = 1, N = 7, O = 8 ในที่สุดต้องใช้ออกซิเจน(O) ถึง 3 อะตอมต่อไนโตรเจน(N) 1 อะตอม มวลที่ออกซิเจนต้องใช้ในกระบวนการนี้มากกว่ามวลโมเลกุลตั้งต้นถึงประมาณสาม เท่า

3. แอมโมเนียและอุณหภูมิ : ในลำดับต้นของขี้ปลาทำให้เกิดสิ่งนี้ NH4+/NH3 เรียกว่า Total Ammonia ตัวที่เป็นประจุแอมโมเนีย NH4+ ไม่เป็นพิษ แต่ตัวที่เป็นพิษคือ NH3 สัดส่วนปริมาณของสองตัวนี้จะแปรเปลี่ยนขึ้นลงได้ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและค่า pH ถ้ายิ่งสูงจะทำให้ NH3 ที่เป็นพิษจะยิ่งมาก (ไม่ควรเกิน 0.03 ppm) คำนวณ ได้ตามสูตรนี้

NH3=(Total Ammonia)/(1+10^[(0.0902-pH) + (2730/(273.2 + Temperature))])

จะยกตัวอย่างให้ดูว่า เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ตู้ที่เคยมีค่าแอมโมเนียปกติอยู่ๆจะกลายเป็นตู้สังหารโดยแอมโมเนียได้อย่าง ไร ดังนี้

เดิมเคยวัดค่า Total Ammonia ได้อยู่ที่ 0.5 โดยมีค่า pH 7.8 และอุณหภูมิ 29 องศา จะมีค่า NH3 อยู่ที่ 0.022 (ปลาอยู่บ้านสบายๆ) พออุณหภูมิสูงขึ้นเป็น 34 องศา NH3 จะเพิ่มขึ้นเป็น 0.031 (ปลาบางตัวเริ่มอยากขึ้นสวรรค์) ทันที

4. Nitrite(NO2-) และ Nitrate(NO3-)ที่ มากกว่าปกติ : อุณหภูมิที่สูงขึ้นทำให้การย่อยสลายขี้ปลาในระบบเกิดขึ้นมากกว่าปกติ แทนที่จะถูกดักไว้ที่ใยกรองให้มาก ก็ถูกย่อยสลายลงในน้ำมากกว่าปกติ(อุณหภูมิสูง แบคทีเรียเจริญดีมากกว่าปกติ จึงย่อยขี้ปลาได้มากขึ้น) แบ่งเป็นสองกรณี กรณีที่ตู้ปลาที่แบคทีเรียยังไม่เซตตัวดีพอก็จะมี Nitrite(NO2-) มากกว่าปกติ แต่สำหรับตู้ที่เซตตัวแล้วจะมี Nitrate(NO3-) มากกว่าปกติ อย่ามัวแต่ระวัง Nitrite กันอย่างเดียวตัว Nitrate ก็ทำให้ปลาตาย ได้เช่นกันถ้ามีมากเกินไป เพราะ Nitrate สามารถเกิด ได้ในปริมาณที่มากรวดเร็วเช่นกัน ทุกๆ Nitrite ที่ หนัก 23 หน่วย จะถูกเปลี่ยนเป็น Nitrate ที่หนักขึ้นเป็น 31 หน่วย เพราะมีออกซิเจนเพิ่มขึ้นในโมเลกุล พิษของ Nitrite ทำ ให้การรับออกซิเจนของเหงือกลดลง ทำให้เกิดภาวการณ์ขาดอากาศตายได้ ส่วนพิษของ Nitrate ทำให้ความดันโลหิตของปลาลดลง ทำให้เกิดภาวะหมดสติและอาจหยุดหายใจได้ในที่สุด

สาเหตุทั้งสามประการพอมีวิธีแก้ดังนึ้คือ เพิ่มอ็อกให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ (ในตู้ใหญ่อาจจำเป็นต้องซื้อปั้มอ็อกรุ่นใหญ่อย่างดีหน่อย(ราคาประมาณพัน ขึ้น) และใช้หัวทรายเซรามิกอย่างดี ที่มีขนาดใหญ่หน่อย(ราคาประมาณ 200 บาท)

การใช้หัวทรายเป็นวิธีเพิ่มออกซิเจนที่ดีที่สุด เพื่อช่วยในข้อ 1,2 เป็นการเพิ่มพื้นที่สัมผัสออกซิเจนให้กับน้ำเพื่อให้ละลายได้มากขึ้น ส่วนข้อ 3 การพ่นอากาศหัวทรายแรงๆทำให้แอมโมเนีย NH3 ส่วนหนึ่งระเหยไปในอากาศได้ ทำให้ความเป็นพิษของ NH3 ในระบบลดลง และยังช่วยพุ้ยขี้ปลาที่พื้นให้ลอยขึ้นมาติดใยกรองได้ดีขึ้นด้วย ส่วนการแก้ปัญหาข้อที่ 4 คือตรวจค่า Nitrite และ Nitrate บ้าง และเปลี่ยนน้ำให้ระดับ Nitrite และ Nitrate ลดลงสู่ภาวะตั้งต้นแบบสะสมปลอดภัย (อย่ายึดหลักเปลี่ยนน้ำ 20 หรือ 30 เปอร์เซนต์ในทุกอาทิตย์ ให้ดูที่ระดับ Nitrite และ Nitrate เมื่อเปลี่ยนน้ำเสร็จ ว่าอยู่ในระดับที่ปลอดภัยหรือไม่ที่จะสะสมต่อไปจนถึงการเปลี่ยนน้ำครั้งหน้า ด้วย สำหรับระบบที่เซตตัวดีแล้วให้ระวัง Nitrate เป็น หลัก)

จากผลที่ได้ตู้ที่ใช้อ็อกแรงอยู่กันหนาแน่นไม่พบการตาย ในช่วงหน้าร้อนนี้ แต่ตู้ที่ใช้อ็อกไม่แรงอยู่ไม่หนาแน่นกลับพบการตายเกิดขึ้น หน้าร้อนกับอ็อกแรงๆยังมีประโยชน์สำหรับตู้ใหม่ จะทำให้เซตตัวได้เร็วขึ้น เมื่อเพิ่มออกซิเจนให้มากๆ เรื่องอาหารก็ให้ปกติ(ไม่มากไม่น้อยไป)ได้เลย ใช้วิธีเพิ่มออกซิเจนดีกว่าการใช้วิธีลดอาหาร เพราะเมื่อปลาได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ในที่สุดก็เข้าสู่ภาวะอ่อนแรง และภูมิต้านทานก็จะเริ่มลดลง เพิ่มความเสี่ยงต่อการตายมากขึ้น (ไม่เชื่อน้องๆลองกินข้าวน้อยๆมื้อเดียวตอนหน้าร้อนนี้ดูแล้วจะรู้ว่าเป็น อย่างไร)

ขีดจำกัดมีอยู่ ระวังอย่าให้น้ำในตู้ปลาอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ทำให้อุณหภูมิอยู่สูงเกิน 33 องศา ออกซิเจนแรงๆช่วยบรรเทาได้ระดับหนึ่ง แต่อุณหภูมิที่สูงเกินไปจะทำให้เกิดความแปรปรวนทางเคมีในตัวปลาได้เช่นกัน จากงานวิจัยทางด้านอุณหภูมิกับการตายของปลา (Fran&co Tadeu RANTIN and Jorge A. PETERSEN) พบว่าเส้นแห่งความตายครึ่ง หนึ่งทางย่านอุณหภูมิสูงจะเริ่มต้นที่ 33 องศา เปอร์เซนต์การตายนี้จะมากขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึงขีดสุดที่ประมาณ 40 องศา (ตายเกลี้ยง)

หวังว่าคงเป็นประโยชน์ต่อน้องๆบ้างนะครับ เพื่อจะได้ช่วยทำให้การสูญเสียชีวิตปลาในหน้าร้อนต่อไปนี้ลดลง ประโยชน์ผลที่เกิดขึ้นกับการเผยแพร่ความรู้นี้ขออุทิศให้กับปลาที่ได้ตายไป แล้วในหน้าร้อนจากสาเหตุนี้ทั้งหมดและปลาที่จะมาเลี้ยงแทนที่ใน หน้าร้อนตัวต่อๆไป

ขอขอบคุณ คุณ bcscientist
จาก ห้อง Cichlids แท้ ๆ ดั้งเดิมที่นี่ จาก http://www.ninekaow.com มา ณ ที่นี้ด้วยครับ

ความคิดเห็นที่ 2

kajib
kajib
1388
[2014-07-05 22:10:47]

หมอหอยเลี้ยงไม่ยากค่ะ มีระบบกรอง พื้นปูประการัง 00 หรือทรายดำ ใส่หอยเยอะๆ ลองดูกระทู้นี้นะค่ะ

http://www.ninekaow.com/wbs/view.php?sub=05&id=2081

ด้านบน

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนทำรายการ

เข้าระบบ