emi5717168816
[2015-03-08 16:38:15]

ปลาหางไหม้
ชื่ออื่นๆหางไหม้, หางเหยี่ยว, หนามหลังหางดำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Balantiocheilus melanopterus , Balantiocheilus ambusticauda
ชื่ออังกฤษ SILVER SHARK , BALA SHARK , TRICOLOR SHARK
ถิ่นอาศัย เคยพบในเขตภาคกลาง ในแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ปัจจุบันเข้าใจว่าสูญพันธุ์ไปจากแหล่งน้ำธรรมชาติแล้ว นอกจากนี้ยังพบในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซียและเขมร
ขนาด ราว 25 ซ.ม. แต่เคยพบใหญ่ที่สุดยาว 35 ซ.ม.
ลักษณะ ลำตัวเพรียวยาวแบนข้าง พื้นลำตัวสีเงิน ครีบสีเหลืองนวล ขอบปลายครีบทุกครีบยกเว้นครีบอก มีแถบสีดำขนาดใหญ่คาดลักษณะคล้ายรอยไหม้ ปากขนาดเล็กยืดหดได้ เกล็ดแวววาวระยิบระยับ ปลายหางเป็นแฉกเว้าลึกตรงกลาง
อุปนิสัย รักสงบ ขี้ตื่นตกใจง่าย ปกติอยู่รวมกันเป็นฝูง ว่ายน้ำได้รวดเร็วมาก ว่ายน้ำเกือบตลอดเวลา
การสังเกตเพศ ตัวผู้จะเพรียวบางกว่าตัวเมียเล็กน้อย
การแพร่พันธุ์ แพร่พันธุ์โดยการวางไข่จมอยู่ตามพื้น ปล่หนัก 155 กรัมสามารถวางไข่ได้ 6,000-7,000 ฟอง ไข่ฟักเป็นตัวในเวลา 12 ชั่วโมง ปัจจุบันปลาที่นำมาขายเกิดจากการผสมเทียม
การเลี้ยง ควรเลี้ยงรวมกันเป็นฝูงเพื่อปลาจะได้ไม่ตื่นตกใจง่าย สามารถเลี้ยงรวมกับปลาอื่นที่มีขนาดไม่ใหญ่หรือเล็กกว่ากันมากนัก ในปลาเล็กที่ยังไม่แข็งแรงไม่ควรเลี้ยงรวมกับปลาที่มีนิสัยดุร้าย ตู้ที่ใช้เลี้ยงควรมีขนาดใหญ่พอที่ปลาจะว่ายหลบหลีกปลาอื่นได้ ตู้ควรมีฝาปิดมิดชิดเพื่อกันปลากระโดด จัดเป็นปลาอดทน โตเร็วและเลี้ยงง่ายมาก
อาหาร กินได้ทั้งอาหารสดและสำเร็จรูปปลาหางไหม้ มีรูปร่างและทรวดทรงที่เพรียวยาว ตาโต ปากเล็ก ขยับปากอยู่ตลอดเวลา ใต้คางมีแผ่นหนังเป็นถุงเปิดออกด้านท้าย ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย เกล็ดมีขนาดเล็กสัดส่วนของครีบทุกครีบเหมาะสมกับลำตัว โดยเฉพาะครีบหางซึ่งเว้าเป็นแฉกลึก สีของลำตัวเป็นสีเงินแวววาว ด้านหลังสีเขียวปนเทา ครีบหลัง ครีบท้อง ครีบก้นและครีบหาง สีส้มแดงและขอบเป็นแถบดำ อันเป็นที่มาของชื่อ ว่ายน้ำได้ปราดเปรียวมาก และกระโดดขึ้นได้สูงจากน้ำมาก มีขนาดโตเต็มที่ไม่เกิน 20 เซนติเมตร

นิยมอยู่เป็นฝูง หากินตามใต้พื้นน้ำ ในอดีตพบชุกชุมในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ในประเทศไทย ในต่างประเทศพบได้ที่เกาะบอร์เนียว ประเทศอินโดนีเซีย (ปลาที่พบในอินโดนีเซียสีของครีบหางจะออกเหลืองสดกว่า) แต่สถานภาพในปัจจุบัน ในประเทศไทยได้สูญพันธุ์ไปแล้วจากธรรมชาติ (Extinct in the Wild) ในอินโดนีเซียก็ใกล้จะสูญพันธุ์เช่นกัน

ปัจจุบัน ปลาที่พบขายในตลาดปลาสวยงาม เป็นปลาที่เกิดจากการผสมเทียมทั้งสิ้น

มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "หางเหยี่ยว" หรือชื่อในวงการปลาสวยงามเรียกว่า "ฉลามหางไหม้" อันเนื่องจากความรวดเร็วในการว่ายน้ำ

อนึ่ง ในปี พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) มีการจัดอนุกรมวิธานปลาหางไหม้ใหม่แยกเป็น 2 ชนิด สำหรับปลาในอินโดนีเซีย ให้ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Balantiocheilos melanopterus ซึ่งเป็นชื่อเดิมที่เคยใช้ร่วมกับปลาหางไหม้ชนิด B. ambusticauda 
ซึ่งปลาหางไหม้ชนิด B. melanopterus จะแตกต่างตรงที่มีปลายปากแหลมยาวกว่า และสีของครีบหางและครีบก้นจะออกเหลืองอมขาว และขอบแถบดำก็มีขนาดใหญ่กว่า ซึ่งปลาหางไหม้ชนิดนี้เป็นชนิดที่นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาตู้สวยงามทั่วไป

อ่านความคิดเห็น 0