0000072

ข้อมูลย่อๆ ของ กระเบนน้ำจืด

กระเบนโมโตโร่ (Potamotrygon motoro)

สำหรับชาวเก๋าทุกคนที่สนใจจะเลี้ยงปลากระเบน ขั้นแรกก่อน อื่นใด ก็ต้องมาทำความรู้จักกระเบน แต่ละสายพันธุ์ และ ลักษณะเด่นของ แต่ละชนิดกันก่อนในตลาดปลาสวยงามบ้านเรา จะมีกระเบนที่พบเห็นได้บ่อยๆ ราวๆ 7-8 ชนิด จากทั้งหมด 30 กว่าชนิดในธรรมชาติ

โดยชนิดที่มีราคาถูก เลี้ยงง่ายที่สุด เหมาะสำหรับ ผู้ที่เริ่มต้นสนใจเลี้ยงกระเบน คือ กระเบนโมโตโร่ (Potamotrygon motoro) ราคาลูกปลากระเบนโมโตโร่แรกเกิด – 1 เดือน ก็จะราวๆ 1,500-2,500 บาทครับ (ขึ้นอยู่กับเพศ ขนาด และความสวยงาม) สามารถเพาะ พันธุ์ได้ง่าย ใน ห้อง exotic ก็มีเพื่อนๆ พี่ๆ ที่สามารถเพาะกระเบนโมโตโร่ออกมาได้แทบทุกเดือนเลยครับ เรื่องของลวดลายนั้นค่อนข้างหลากหลายมาก เพราะเป็นปลาที่ถูกรวมรวมจากธรรมชาติในหลายประเทศแถบ อเมซอน ซึ่งปลาในแต่ละประเทศก็จะมีลวดลายที่แตกต่างกันออกไปเล็กน้อย

กระเบนโพลคาดอท (Potamotrygon leopoldi) เป็น

กระเบนชนิดที่สองขึ้นชื่อเรื่องรูปลักษณ์ที่โดดเด่น ด้วย Pattern ตัวดำจุดขาว คือ กระเบนโพลคาดอท (Potamotrygon leopoldi) เป็นกระเบนที่ต้องการการดูแลที่พิเศษขึ้นมาหน่อย ชอบน้ำสะอาด ไหลแรง เป็นกระเบนที่ราคาค่อนข้างสูง ราคาลูกปลาแรกเกิดจะอยู่ที่ ตัวละ 15,000-20,000 ครับ เป็นชนิดที่สามารถเพาะพันธุ์ขึ้นได้บ้านเราบ้างแล้ว แต่ยังไม่ได้จำนวนมากนักครับ เพราะเป็นกระเบนที่เข้าวัยเจริญพันธุ์ค่อนข้างช้า อาจใช้เวลานานถึง 4-5 ปีครับ

กระเบนจากัวร์ (Potamotrygon castexi)

ชนิดต่อมา คือ กระเบนจากัวร์ (Potamotrygon castexi) จุดเด่นของกระเบนจากัวร์ คือ ขนาดโตเต็มที่ ที่ใหญ่โตมหึมา สามารถใหญ่ได้ เกือบ 1 เมตร ได้ง่ายๆ ส่วนลวดลายของจากัวร์นั้นค่อนข้างหลากหลาย เพราะเป็นปลาที่มีความหลากหลายของลายเยอะมากในธรรมชาติครับ กระเบนจากัวร์เป็นปลาที่เลีย้งง่าย แต่ด้วยความที่มีขนาดใหญ่มากจึงเป็นเหตุที่ทำให้ไม่เป็นที่นิยมเท่าที่ควร ราคาปลาแรกเกิดค่อนข้างกระจายในช่วงกว้าง 5000-10,000 บาทขึ้นอยู่กับลวดลายครับ

กระเบนไทเกอร์ (Potamotrygon menchacai) ซึ่ง

ชนิดที่สี่คือ กระเบนไทเกอร์ (Potamotrygon menchacai) ซึ่งถ้านับถอยหลังไป 3-4 ปีที่แล้ว จัดเป็นสุดยอดของกระเบนน้ำจืดในเรื่องของราคาแพง เพราะมีราคาปลาแรกเกิดประมาณตัวละ 20,000 - 30,000 บาทโดยประมาณ เป็นกระเบนที่มีขนาดใหญ่ได้ราวๆ 1 เมตร เช่นเดียวกัน แต่ชื่อเสียงของกระเบนไทเกอร์นอกจากจะขึ้นชื่อเรื่องความงามของลาย เสือแล้ว ความเลี้ยงยากของไทเกอร์ ก็ทำให้นักเลี้ยงกระเบนหลายๆคนหวั่นๆอยู่เหมือนกัน เพราะเป็นกระเบนที่ค่อนข้าง sensitive ต่อการเปลี่ยนแปลงของ ค่าน้ำมากๆ

กระเบนดอกไม้ (Potamotrogon schroederi)

ต่อจากนี้ไปจะเป็นกระเบนสวยงามชนิดใหม่ๆ ที่เพิ่งถูกนำเข้ามาจำหน่ายไม่นานนักครับ มีจำนวนน้อยมาก ไม่ค่อยเห็นบ่อยนักในตลาดปลาสวยงามครับ

ชนิดแรกของกระเบนชนิดใหม่ คือ กระเบนดอกไม้ (Potamotrogon schroederi) มักถูกเรียก ในตลาดว่า "กระเบนไทเกอร์ฟลาวเวอร์" เพราะสีสันของลวดลายนั้นดูคล้ายกระเบนไทเกอร์มาก แต่ pattern ของลายกระจุกกันเป็นรูปดอกไม้เท่านั้นเอง ในต่างประเทศอาจเรียกว่ากระเบนซากุระ

กระเบนดอกไม้เป็นกระเบนสายพันธุ์แท้

กระเบนดอกไม้เป็นกระเบนสายพันธุ์แท้ที่ไม่ได้เป็นชนิดย่อยของ กระเบน ไทเกอร์แต่อย่างใด จัดได้ว่าเป็นกระเบนที่มีความสวยงามมากที่สุดชนิดหนึ่ง ส่วนเรื่องการดูแลนั้น จัดอยู่ในระดับยากเทียบเท่ากับกระเบน ไทเกอร์ครับ แถมยังมีราคาสูงอีกด้วย ราคาปลาขนาดเล็กก็พอๆกับกระเบนไทเกอร์ครับ ราวๆ 30,000 บาท เป็นกระเบนที่เชื่อว่าสามารถมีขนาดได้ใหญ่โตราว 1 เมตรเท่ากับกระเบนไทเกอร์

กระเบนโพลคาดอทจุดเล็ก
ชนิดที่สองของกระเบนหน้าใหม่ คือ กระเบนโพลคาดอทจุดเล็ก หรือ (Potamotrygon itaituba) ดูเผินๆแล้วเหมือนกระเบนโพลคาดอททุกประการ แต่pattern ของจุดสีขาวจะมีขนาดเล็กและกระจายทั่วลำตัว จัดเป็นกระเบนหายากและราคาสูงเช่นกัน ขนาดที่พบบ่อยในตลาดคือ ขนาด 8-10 นิ้วราคาเริ่มต้นที่ 35,000-40,000 บาทครับ เรื่องการดูแลถือว่าอยู่ในระดับยาก เพราะว่า ปลาส่วนมากมักมีสภาพไม่ค่อยแข็งแรงเนื่องจากการเดินทางและ การนำเข้า

กระเบนเพิลเรย์ (Potamotrygon sp.) “Pearl”

ชนิดสุดท้ายคือ กระเบนเพิลเรย
(Potamotrygon sp.) “Pearl” เป็นกระเบนที่ราคาแพงที่สุดในตอนนี้ และอาจจะเรียกได้ว่ามีลวดลายสวยมากที่สุดก็ว่าได้ ไม่รู้จะมีใครขัดแย้งหรือป่าว

เพิลเรย์ กระเบนที่ราคาแพงที่สุดในตอนนี้

ราคาลูกปลาแรกเกิดก็ไม่แพงเท่าไรแค่เริ่มต้นที่ 30,000 บาท เท่านั้นเอง ส่วนราคาพ่อแม่ปลาอาจสูงมากถึงตัวละ หนึ่งแสนบาท เป็นกระเบน ราคาสูง แต่เลี้ยงดูง่าย จึงเป็นเหตุให้เป็นกระเบนทีได้รับความนิยมมากในตลาด ถึงแม้ว่าจะถูกนำเข้ามาในประเทศไทยไม่นานนัก แต่สามารถเพาะพันธุ์ได้แล้วครับ

ตู้ที่เหมาะสมสำหรับเลี้ยงลูกปลาก็ควรจะมีขนาด 36 นิ้วขึ้นไป

แนะนำเรื่องชนิดของปลากระเบนน้ำจืดไปแล้ว มาเรื่องการเลี้ยงดูปลากระเบนบ้างครับ สิ่งแรกที่ชาวเก๋าควรคำนึงเมื่อคิดจะเลี้ยงปลากระเบนแล้ว คือ สถานที่ กระเบนเป็นปลาขนาดใหญ่ กระเบนชนิดที่เล็กที่สุดก็มีขนาดโตเต็มที่อย่างน้อย หนึ่งฟุต ปลาใหญ่ขนาดนี้จะเลี้ยงในตู้ใบเล็กๆ ก็ดูจะอึดอัด ทำให้ปลาไม่สดชื่น ขนาดตู้ที่เหมาะสมสำหรับเลี้ยงลูกปลาก็ควรจะมีขนาด 36 นิ้วขึ้นไป สำหรับปลาใหญ่ก็ควรมีขนาด 60 นิ้วขึ้นไป แต่ถ้าจะให้เลี้ยงได้ยาวแบบออกลูกออกหลานได้ในตู้ได้เลยนั้นคงต้อง ขนาด 72 นิ้วขึ้นไปครับ

สำหรับปลาเล็กเลี้ยงในตู้ขนาด 36 นิ้วได้ครับ (เลี้ยงในตู้ 36 นิ้วได้นาน 8-10 เดือนสบายๆ)แต่เมื่อปลามีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางราวๆ 8-10 นิ้วควรทำการขยับขยายไปยังตู้เลี้ยงที่ใหญ่ ตู้เลี้ยงควรปล่อยพื้นตู้โล่งๆ จะเหมาะสมทีสุดเพราะดูแลรักษาง่าย ไม่เป็นแหล่งหมักหมมของเศษอาหาร เป็นสาเหตุให้น้ำเน่าเสียครับ ตู้เลี้ยงควรติดตั้ง air pump หรือ power head เพิ่อเพิ่มปริมาณออกซิเจนและเพิ่มการหมุนเวียนน้ำด้วยครับ

 

กระเบนต้องการน้ำที่สะอาดมาก

เมื่อมีตู้เลี้ยงแล้ว ปัจจัยที่สำคัญที่สุดของการดูแลกระเบนให้มีสุขภาพแข็งแรงตลอด เวลา คือ เรื่องคุณภาพน้ำ กระเบนต้องการน้ำที่สะอาด มาก ระบบกรองที่มีคุณภาพและมีขนาดใหญ่เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เพราะกระเบนนั้นขับถ่ายเยอะ บวกกับการเปลี่ยนน้ำบ่อยๆสม่ำเสมอ ทยอยเปลี่ยนทุกวันวันละนิดก็จะดี แต่โดยรวมแล้ว แนะนำให้เปลี่ยนน้ำบ่อย ในหนึ่งอาทิตย์ควรจะมีน้ำใหม่ๆลงไป 50% ครับ กระเบนมักจะเริ่มมีปัญหาสุขภาพ ไม่ยอมกินอาหาร หรือกินน้อยลง และมักมีอาการโรคผิวหนังเปื่อยตามมา เมื่อผู้เลี้ยงไม่ได้ถ่ายน้ำเป็นระยะเวลานานครับ (ถึงแม้ว่าจะมีระบบกรองที่ดีแล้ว ก็ยังขอแนะนำให้ถ่ายน้ำบ่อยๆครับ กระเบนชอบน้ำใหม่ๆครับ)

สถานที่ใช้ ควรมีฝาปิด อย่างมิดชิด กันปลาแฉลบ ออกนอกตู้

กระเบนเป็นปลากินเนื้อ อาหารหลักในธรรมชาติคือ สิ่งมีชีวิตหน้าดินขนาดเล็ก พวกกุ้งฝอย หอย หนอนแดง ไส้เดือนต่างๆ กระเบนจะชอบกินอาหารสดที่มีชีวิตที่สุด แต่สามารถฝึกให้กินอาหารแช่แข็งได้ง่ายเพราะเป็นปลาที่ตะกละ ครับ ลูกปลาแรกเกิด ขนาดประมาณ 3-5 นิ้วอาจต้องกินไส้เดือนฝอยและหนอนแดงสดๆ

กระเบนเป็นปลากินเนื้อ อาหารหลักในธรรมชาติคือ สิ่งมีชีวิตหน้า

เมื่อปลามีขนาดโตขึ้นมาจึงสามารถฝึกให้กินกุ้งฝอยทั้งเป็นและ ตายได้ครับ โดยมากแล้วกระเบนมักจะตายจากสาเหตุของการที่ปลา ไม่ยอม กินอาหาร เพราะปลายังมีขนาดเล็กเกินไป ต้องการความ เอาใส่สูง ดังนั้นผู้ที่สนใจจึงควรเลือกซื้อกระเบนที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งมีราคาสูงขึ้นมาอีกหน่อย แต่ถือได้ว่าค่อนข้างชัวร์กว่า อาจเรียกว่าเป็นขนาดปลอดภัยที่มีอัตรารอดตายสูง คือ ขนาด 6 นิ้วขึ้นไปครับ กระเบนที่แข็งแรงควรจะแสดงอาการหิว ว่ายหาอาหารไปๆมาๆโดยการว่ายเลาะของตู้ขอบบ่อไปเรื่อยๆครับ หรือไม่ก็สังเกตความนูนของกระเพาะอาหารบริเวณโคนหาง ถ้าปลาอิ่มก้อจะมีนูนตุงๆ ตรงโคนหาง

';[p

ข้อมูลเพิ่มเติมที่ควรรู้เกี่ยวกับปลากระเบน คือ

  • ในท้องตลาด ปลากระเบนตัวเมียจะมีราคาสูงกว่าปลาตัวผู้ เพราะการผสมพันธุ์ปลากระเบนนั้น นิยมใช้แบบฮาเร็มคือ ตัวผู้ 1 ตัวต่อตัวเมีย 3-5 ตัว ความต้องการปลาตัวเมียจึงมีมากครับส่งผลให้มีราคาแพงกว่าตัวผู้พอ สมควร ดังนั้นผู้ที่สนใจเลี้ยงกระเบน แต่ยังไม่มีประสบการณ์อาจเลือกซื้อปลาตัวผู้ที่มีราคาย่อมเยากว่าไปฝึก วิทยายุทธ์ ก่อนครับ (ข้อมูลเกี่ยวกับการเพาะพันธุ์ จะนำเสนออีกทีเมื่อมีโอกาสครับ) ส่วนการจำแนกเพศนั้นสามารถดูได้ง่ายด้วยตาเปล่าคือ ปลาตัวผู้จะมี clasper คือ ท่อนำน้ำเชื้อ 2 แท่งคู่กันอยู่ใต้โคนหาง ในปลาเล็กจะเห็นได้ง่ายเมื่อมาว่ายแนบกระจก ส่วนปลาใหญ่จะเห็นได้ชัดเมื่อมองจากด้านบน
  • นอกจากนี้ กระเบนส่วนมากเป็นปลาที่ยังต้องถูกนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นปลาที่รวบรวมจากธรรมชาติ (แม่น้ำอเมซอนและ สาขาต่างๆ จากประเทศ บราซิล เปรู และ โคลัมเบีย) เป็นเหตุให้ปริมาณและราคากระเบนในตลาดผันผวนไปตาม ฤดูกาลครับ ช่วงที่ไม่มีการนำเข้าราคาจะสูงขึ้นครับ ในฤดูนำเข้าจะมีราคาลดลงเล็กน้อยครับ
  • ส่วนโรคภัยที่มักพบบ่อย คือ โรคผิวหนังเปื่อยขาว ซึ่งสาเหตุมักเกิดจากตวามสกปรกที่สะสมจากเศษอาหารและ การละเลย ที่จะ เปลี่ยนน้ำ โรคผิวหนังเป็นสัญญาณเตือนแล้วว่า คุณภาพน้ำ เริ่มลดลง แต่โรคผิวหนังนี้จะหายไปได้เองเมื่อทำการเปลี่ยนน้ำทุกวันครั้งละ 30-50% ติดต่อกันประมาณ หนึ่งอาทิตย์โดยไม่ต้องใช้ยาอะไร นอกจากนี้กระเบนเป็นปลาที่ไม่ชอบอากาศเย็น โดยจะไม่ค่อยขยับตัวเมื่อมีอุณหภูมิลดลง ระดับที่เหมาะสมคือ 28-30 องศา ดังนั้นในช่วงฤดูหนาว ก็ควรจะซื้อหาฮีตเตอร์มาติดตั้งเพื่อควบคุมอุณหภูมิให้คงที่ด้วยครับ

    สรุปทิ้งท้ายได้ว่า ถ้าคิดจะเลี้ยงกระเบนแล้ว ต้องมั่นใจว่ามีเวลาที่จะเอาใจใส่เปลี่ยนน้ำอย่างสม่ำเสมอ เพราะน้ำที่สะอาดเป็นกุญแจสำคัญที่สุดในการเลี้ยงกระเบนให้แข็ง แรงครับ