0000635

สะนากยักษ์ แห่งลุ่มน้ำโขง

 ปลาสะนากยักษ์ ( Aaptosyax grypus ) หรือ แซลมอนยักษ์แห่งลุ่มน้่ำโขง  เป็นปลาน้ำจืดในครอบครัวปลาตะเพียน ซึ่งเป็นเพียงชนิดเดียว ในสกุลนี้ ปลาชนิดนี้ พบเฉพาะในตอนกลางของแม่น้ำโขง ในทางตอนเหนือของกัมพูชา ลาว และไทย ในธรรมชาติ ปลาชนิดนี้ จัดให้อยู่ในกลุ่มปลาที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์อย่างสูง

ปลาชนิดนี้ ขนาดโตเต็มที่  130 cm หนักว่า 30 กิโลกรัม อาศัยอยู่ในน้ำลึกที่เต็มไปด้วยโขดหิน สามารถพบลูกปลาได้ ตามสายย่อยของแม่น้ำ เป็นปลาล่าเหยื่อ กินเหยื่อ ที่อาศัยอยู่กลางน้ำ และ ผิวน้ำถึงแม้ว่าจะพบได้ตามชายแดนไทยลาว บริเวณปากแม่น้ำมูล จำนวนประชากรปลาชนิดนี้ ได้ลดลงอย่างน่าใจหาย เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เป็นอย่างยิ่ง ซึ่งสาเหตุอาจมาจาก การก่อสร้างเชื่อน และ การจับปลาโดยใช้อวนลอย ปลาชนิดนี้ จะมีอพยพว่ายทวนในช่วงธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ ซึ่งอาจจะเป็นการอพยพ เพื่อหาแหล่งสืบพันธุ์

ปลาสะนาก เป็นคำที่ถูกเรียกมาจากภาษาไทยและภาษาลาว   ในภาษาไทยหมายถึง มีดที่ใช้ตัดหมากสำหรับคนที่ชอบเคี้ยวหมาก  ปลาชนิดนี้ที่ได้ชื่อเช่นนี้เพราะปากของมันมีรูปร่างคล้ายมีดสะนาก คนไทยและคนลาวจึงเรียกว่า ปลาสะนาก เช่นเดียวกับคนเขมร

 

สังเกตแถบสีเหลืองที่พาดผ่านดวงตา และ ปากงุ้ม รูปทรงกระสวย ที่คล้ายปลาแซลมอน จนเป็นที่มา ของ ชื่อ แซลมอนน้ำจืด

แห่งลุ่มน้ำโขง

ในภาพนี้ ตามแหล่งข่าวบอกว่า ครั้งสุดท้ายที่จับปลาสะนากยักษ์ขนาดใหญ่ได้ ก็ตั้งแต่ปี 2547 หรือ กว่า ยี่สิบปี ที่ผ่านมา จนกระทั่งเมื่อต้นปีนี้เอง ได้รับรายงานว่า พบ ปลาสะนากยักษ์ขนาด ประมาณ  6 กิโลกรัม ในตลาดปลาตามชายฝั่งแม่น้ำแม่โข่ง

 

ความหายากของปลาสะนากยักษ์

ปลาชนิดนี้ได้รับการขนานนาม ชื่อว่า "ภูติผีแห่งลุ่มน้ำโขง" เนื่องจากไม่ค่อยพบเห็นบ่อยนัก และจัดเป็นปลาที่จัดอยู่ในชนิดที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ เป็นอย่างยิ่ง ถึงทุกวันนี้ ก็ยังไม่มีใคร สามารถจับปลาสะนากยักษ์ตัวเป็นๆ ได้เลย โดยสาเหตุการตายนั้น ยังไม่ถูกค้นพบ ซึ่งการค้นพบครั้งนี้ ก็สร้างความหวังให้เราว่า ปลาชนิดนี้ยังอยู่อาศัยอยู่ในแม่น้ำโขง
อีกหนึ่งบทสัมภาษณ์ ดร.ชัยวุฒิ กรุดพันธ์ คณะประมง มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ที่กล่าวถึงความหายากของปลาชนิดนี้ 

“ปลาสะนากคือหายากมากและเสี่ยงใกล้สูญพันธ์และยังอยู่ในการวิจัย จำนวนของปลาชนิดนี้มีบันทึกน้อยมากเพราะว่า ไม่ใช่ปลาที่คนหาปลาต้องการ ตอนที่ทราบข่าว ผมจึงแปลกใจมาก”

https://transbordernews.in.th/home/?p=32004

 

ภาพวาดเปรียบเทียบลักษณะที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

ระหว่างปลาสะนากยักษ์ (บน) และ ปลาสะนาก (ล่าง)

Aaptosyax grypus ปลาสะนากยักษ์

 

 

 

 

 

 

 

 

Raiamas guttatus ปลาสะนาก หรือ ปลาน้ำหมึก

 

แล้วปลาสะนากที่พอมีขายในท้องตลาด มันคือ ชนิดไหน

ปลาชนิดนั้น คือ ปลาสะนาก ( Raiamas guttatus )  ถ้าสังเกตดูดีๆ จะพบว่ามีรูปร่างลักษณะ ที่ต่างจากปลาสะนากยักษ์อย่างโดยสิ้นเชิง ปลาชนิดนี้เป็นปลากินเนื้อ มักอยู่รวมเป็นฝูงเล็ก ๆ หากินบริเวณผิวน้ำ ล่าเหยื่อได้แก่ ปลาขนาดเล็ก กุ้ง ปู ต่าง ๆ เป็นปลาที่มีความว่องไว ปราดเปรียวมากและว่ายน้ำเคลื่อนไหวตลอดเวลา  อาศัยอยู่ตามแม่น้ำสายใหญ่ในภาคเหนือ, ภาคกลางและอีสาน มีชื่อเรียกต่างออกไปเช่น "มะอ้าว" ในภาษาไทใหญ่, "น้ำหมึกยักษ์", "นางอ้าว", "อ้าว", "ดอกหมาก", "ปากกว้าง" และ"จิ๊กโก๋" ในภาษาอีสาน เป็นปลาเศรษฐกิจที่พบบ่อยในบางฤดูกาล บริโภคโดยการปรุงสด และมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามที่มีพบขายในตลาดปลาสวยงามบางครั้งด้วย

 

วิดิโอที่เกี่ยวข้อง