Skip to content

ปรับปรุง เว็บไซต์ เยอะแยะเลย ลองกดเข้าไปเล่นดูสิ ตอนนี้ มีหมอตั้ม มาประจำที่ โรงพยาบาลแล้วนะครับ ใครมีปัญหาปลาป่วย ปรึกษาได้ครับ

วาไรตี้ คนรักปลา ทุกหัวข้อ การพูดคุย การสนทนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เกี่ยวกับ ปลาสวยงาม กลุ่มต่างๆ คุณยังจำวันแรกที่คุณเลี้ยงปลาได้มัย้ปลาตัวแรกที่คุณเลี้ยง ประสบการณ์เลี้ยงปลาที่คุณอยากจะถ่ายทอดให้ เพื่อนๆ ได้รับฟัง

0030749

ขอข้อมูลหน่อยได้มั้ยค้ะจะไปทำงานอ่ะค่ะ

F!N
F!N (210.246.72.19) [2007-02-06 22:00:04]
อยากรู้เกี่ยวกับปลาคูลลี่ ซัคเกอร์ หางนกยูง สอด ปลากระดี่ อ่ะค่ะ
เกี่ยวกับลักษณะนิสัย อาหารการกิน ที่อยู่อาศัย ประมาณนี้อะค่ะ
พวกข้อมูลทั่วไป
ขอหน่อยน่ะค่ะ ขอบคุณค่ะ !!!

ความคิดเห็นที่ 1

boogeyman
boogeyman (124.121.16.213) [2007-02-07 08:06:56]

ปลาคิลลี่ หรือ Killifish เป็นปลาน้ำจืดในกลุ่ม Cyprinodontidae – Egg Laying Tooth Carps ลักษณะทางพันธุกรรมเป็นปลาขนาดเล็กที่

มีอวัยวะเกล็ดและฟัน ดำรงพันธุ์ด้วยการวางไข่ในดินโคลน และวัชพืชในแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ชื่อของปลาคิลลี่เป็นคำศัพท์ของชาวดัชช์ มีความ

หมายว่าปลาที่อาศัยอยู่ในหนองน้ำหรือลำคลองขนาดเล็กแหล่งกำเนิดของปลาคิลลี่อยู่ในประเทศเขตร้อนตลอดแนวเส้นศูนย์สูตร พบมากในประเทศ

แถบแอฟริกาได้แก่ ประเทศโมแซมบิค ประเทศแทนซาเนีย ประเทศไนจีเรีย ประเทศแอฟริกาใต้ ประเทศคาเมรูน เป็นต้น ตลอดจนถึงประเทศแถบ

อเมริกาใต้( South American Killifish) ได้แก่ ประเทศเปรู ประเทศอาเจนติน่า ประเทศบราซิล ประเทศชิลีประเทศโคลัมเบีย ก็สามารถสำรวจพบปลาคิลลี่บางสายพันธุ์กระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปตามแหล่งน้ำธรรมชาติ
ปลาคิลลี่ เป็นปลาสวยงามสายพันธุ์แท้ตามธรรมชาติ ที่มีความหลากหลายทางพันธุกรรมมากกว่า 350 ชนิดจากทั่วทุกมุมโลกปลาคิลลี่ส่วนใหญ่

มักมีสีสันและลวดลายที่สวยงามน่าสนใจ บางชนิดเลี้ยงง่าย บางชนิดก็เลี้ยงยากดังนั้นผู้เลี้ยงจึงควรศึกษาพฤติกรรมและอุปนิสัยของปลาคิลลี่แต่ละสายพันธุ์ในเบื้องต้นก่อนลงมือเลี้ยงทุกครั้ง

หลักเกณฑ์การแบ่งประเภทของปลาคิลลี่ โดยทั่วไปนิยมแบ่งตามลักษณะการขยายพันธุ์ของปลาคิลลี่ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้ดังนี้

1) ปลาคิลลี่กลุ่มทั่วไป ( Non-Annual Killifish) มีลักษณะลำตัวกลมยาว หางแฉก สีพื้นสลับลายสีเข้มสดตลอดทั่วลำตัว ค้นพบได้ตาม

แหล่งน้ำไหลต่างๆ เช่น ลำธาร ลำคลอง บึง ฯลฯ ปลาคิลลี่กลุ่มนี้ยังสามารถแยกประเภทออกเป็นกลุ่มย่อยๆได้อีก 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม Plant Spawner

เป็นปลาคิลลี่ที่ทำการขยายพันธุ์โดยการวางไข่ติดไว้กับพืชน้ำจำพวกสาหร่าย วัชพืช และรากไม้น้ำ ส่วนปลาคิลลี่อีกกลุ่มเป็นจำพวก Swithch

Spawner สามารถขยายพันธุ์ได้ทั้งวางไข่ติดกับพืชน้ำและไข่ฝังลงในดิน ตัวอย่างสายพันธุ์ปลาคิลลี่ในกลุ่มนี้ได้แก่ Scriptaphyosemion,Aphyosemion, Epiplatys, Fundulopanchax เป็นต้น

2) ปลาคิลลี่กลุ่มฤดูกาล (Annual Killifish) มีลักษณะลำตัวสั้นกว้าง หางกลมมน สีเข้มสดสลับลายตลอดลำตัวค้นพบในแหล่งธรรมชาติ

ิได้เป็นฤดูกาลบริเวณแหล่งน้ำนิ่งทั่วไป ได้แก่ หนองน้ำ ลำห้วย หรือลำคลองที่มีน้ำตื้น ๆปลาคิลลี่ชนิดนี้มักจะวางไข่ฝังไว้ในดินโคลนในแหล่งน้ำ

ตื้นใกล้แห้งขอดในช่วงฤดูร้อนของทุกปี กลไกธรรมชาติได้สร้างให้ไข่ปลาคิลลี่ชนิดนี้ปรับตัวให้มีพัฒนาการเจริญเติบโตตามอยู่ในดินโคลนที่แห้งแล้งได้เป็นอย่างดี
ที่มา www.thaikilliclub.com

ความคิดเห็นที่ 2

boogeyman
boogeyman (124.121.16.213) [2007-02-07 08:14:28]

ปลาหางนกยูงมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Poecilia reticulata Peters 1859 มีชื่อสามัญว่า Guppy อยู่ในครอบครัว Poecidae เป็นปลาอออกลูกเป็นตัว
และมีถิ่นกำเนิดทางทวีปอเมริกาใต้แถบเวเนซูเอลล่า หมู่เกาะคาริเบียนของประเทศบาร์บาโดสและในแถบลุ่มน้ำอเมซอน ในธรรมชาติอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืด
และน้ำกร่อยที่เป็นแหล่งน้ำนิ่งจนถึงน้ำไหลเรื่อยๆ ปลาตัวผู้มีขนาด 3 -5 เซนติเมตร ตัวเมียมีขนาด 5 -7 เซนติเมตร ปลาหางนกยูงที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
(Fancy guppies) ซึ่งเป็นปลาที่ได้รับการคัดพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์มาจากพันธุ์พื้นเมือง ( Wild guppies) ที่พบแพร่กระจายอยู่ในธรรมชาติ ลักษณะ
เด่นที่ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้ได้สายพันธุ์ใหม่ๆ คือ ลักษณะสีและลวดลายบนลำตัวและลวดลายบนครีบหางและรูปแบบของครีบหาง ซึ่งในการเรียกสาย
พันธุ์ต่างๆ จะถูกตั้งชื่อตามลักษณะ ดังกล่าว
ลักษณะที่ดีของปลาหางนกยูง

ลักษณะลำตัว -> มีขนาดใหญ่ หนาสมส่วน ไม่คดงอ
ลักษณะครีบ -> ครีบหางใหญ่ พริ้วหนา แข็งแรงสมบูรณ์ไม่ฉีกขาด ขณะว่ายน้ำพริ้วไม่พับ
สีและลวดลาย -> ถูกต้องตามสายพันธุ์ คมเข้มชัดเจน
ความสมบูรณ์ของลำตัว -> ทรงตัวปกติ

การเพาะพันธุ์ปลาหางนกยูง

ในการเพาะพันธุ์ปลาหางนกยูง นอกเหนือจากวิธีการเพาะพันธุ์แล้ว วิธีการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์และการอนุบาลลูกปลานับว่าเป็นปัจจัย
ที่ล้วนแต่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ซึ่งได้กล่าวถึงปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวต่อไปนี้ คือ การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาหางนกยูง เนื่องจากปลาหางนกยูงจะเจริญถึง
วัยเจริญพันธุ์ เมื่อปลามีอายุเพียง 3 เดือนเท่านั้น เมื่อลูกปลาพอที่จะแยกเพศได้ (อายุประมาณ1- 1 1/2 เดือน ) ควรเลี้ยงแยกเพศไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาผสม
พันธุ์กันเอง

น้ำที่ใช้เลี้ยง ควรเป็นน้ำสะอาดปราศจากคลอรีน มีความเป็นกรด – ด่าง (pH ) 6.5 – 7.5 มีปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำไม่ต่ำกว่า 5 มก.ต่อลิตร
ความกระด้างของน้ำ 75- 100 มก.ต่อลิตร ความเป็นด่าง 100 – 200 มก.ต่อลิตร และอุณหภูมิน้ำ 25 –29 ? C ควรมีน้ำไหลหมุนเวียนตลอดเวลา

อาหารที่ใช้เลี้ยง ปลาหางนกยูงสามารถกินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ (Omnivorous) ในการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์จึงสามารถให้อาหารจำพวกสัตว์น้ำขนาดเล็ก
เช่น ลูกน้ำ ไรแดง (Moina) ไรสีน้ำตาล (Artemaia) หรือหนอนแดง(Chironomus) หรืออาจจะเลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูป ที่มีปริมาณโปรตีนไม่ต่ำกว่า 40%
อาหารสดก่อนให้ทุกครั้งควรฆ่าเชื้อโรคที่ติดมากับอาหาร โดยควรแช่อาหารในด่างทับทิมเข้มข้น 500 - 1,000 ส่วนในล้านส่วน (0.5 - 1.0 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร )
เป็นเวลาประมาณ 10 –20 วินาที ปริมาณอาหารสด ควรให้ 10% ของน้ำหนักตัวหรือให้กินแต่พออิ่ม ส่วนอาหารแห้ง ควรให้วันละ 2 - 4 % ของน้ำหนักตัวปลา
โดยให้อาหารวันละ 2 ครั้ง ในตอนเช้าและตอนเย็น ส่วนการถ่ายเทน้ำควรจะทำทุกวัน โดยดูดน้ำในตู้ออกวันละประมาณ ? ของปริมาณน้ำในตู้ แล้วเติมน้ำให้
เท่าระดับเท่าเดิม

การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์
การคัดเลือกปลาเพศผู้และเพศเมียเพื่อทำการผสม ควรเลือกปลาที่มีอายุ 3 เดือนขึ้นไป มีลักษณะลำตัวมีขนาดใหญ่ หนาสมส่วน ไม่คดงอ โคนหางใหญ่ แข็งแรง
ครีบสมบูรณ์ ครีบหางใหญ่ พริ้วหนา แข็งแรงสมบูรณ์ไม่ฉีกขาด รูปร่างได้สัดส่วน แข็งแรง ว่ายน้ำปราดเปรียว มีสีและลวดลายสวยงาม เพศผู้จะมีลักษณะต่าง
จากเพศเมียตรงที่อวัยวะในการสืบพันธุ์เรียกว่า gonopodium ซึ่งดัดแปลงมาจากครีบก้น ปลาเพศผู้และเพศเมีย ควรมีลักษณะสีและลวดลายที่เหมือนกันหรือ
คล้ายกันมากที่สุด เพื่อให้ได้ลูกปลาที่ลักษณะไม่แปรปรวนมากในการผสมพันธุ์ หากจำเป็นต้องเก็บลูกปลาที่เพาะไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ในครั้งต่อไป ควรหาพ่อแม่ปลา
จากแหล่งอื่นมาผสมบ้าง เพื่อป้องกันการผสมเลือดชิด (Inbreeding) ซึ่งเป็นสาเหตุให้ลูกปลารุ่นต่อๆ ไป มีความอ่อนแอและมีอัตราการรอดต่ำ

การเพาะเลี้ยงปลาหางนกยูง
ขั้นตอนที่ 1 เตรียมบ่อซีเมนต์ขนาด 1 - 4 ตรม. ระดับน้ำลึก 30 –50 ซม. ใส่พุ่มเชือกฟางตะกร้าหรือฝาชี เพื่อให้ลูกปลาใช้เป็นที่ปลาหลบซ่อน
ขั้นตอนที่ 2 คัดพ่อแม่ปลาสายพันธุ์เดียวกันที่ลักษณะดีสีสวยอายุประมาณ 4 –6 เดือน โดยคัดปลาเพศผู้ ลำตัวโต แข็งแรง ครีบหลัง ครีบหางใหญ่และแผ่กว้าง
สีเข้มสดใส สวยงาม ส่วนปลาเพศเมียคัดเลือกสายพันธุ์เดียวกันกับปลาเพศผู้ ลำตัวโต แข็งแรง ปราดเปรียว ครีบหางเข้มสดใส ปล่อยรวมกันในอัตรา 120 -180
ตัว/ลบ.ม. ในสัดส่วนเพศผู้ : เพศเมีย เท่ากับ 1:3 หรือ 1:4 ระหว่างการเพาะพันธุ์ให้ไรแดงเป็นอาหารในตอนเช้า และให้อาหารสำเร็จรูปในตอนเย็น ปลาเพศเมีย
ที่ได้รับการผสมแล้ว จะเห็นเป็นจุดสีดำบริเวณท้อง
ขั้นตอนที่ 3 หลังจากแม่ปลาได้รับการผสมพันธุ์ประมาณ 26 –28 วัน จะมีลูกปลาวัยอ่อนเกิดขึ้นและหลบซ่อนอยู่ตามวัสดุที่มาใส่ไว้ในบ่อให้รวบรวมลูกปลาออก
ทุกวันสะสมไว้ในบ่ออนุบาล ประมาณ 4-5 วัน/ บ่อ เพื่อให้ลูกปลามีขนาดใกล้เคียงกัน โดยปล่อยลูกปลาในอัตราความหนาแน่น 140-300 ตัว/ลบ.ม. ในระยะแรก
ให้ไรแดงเป็นอาหารในตอนเช้าและเย็นทุกวันเป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ หลังจากนั้นจึงให้อาหารสำเร็จรูป จนกระทั่งลูกปลามีอายุประมาณ 3 สัปดาห์ ซึ่งเป็นระยะ
ที่เริ่มแยกเพศได้ โดยปลาเพศเมีย สังเกตจุดสีดำบริเวณรูเปิดช่องท้อง ส่วนปลาเพศผู้ เมื่อมองจากด้านบนมีรูปร่างเรียวยาวกว่าเพศเมีย
ขั้นตอนที่ 4 คัดขนาดและแยกเพศปลา นำไปแยกเลี้ยงในบ่ออัตรา 200-300 ตัว/ลบ.ม.ให้กินไรแดงเป็นอาหารในตอนเช้าส่วนตอนกลางวันและตอนเย็นให้กิน
อาหารสำเร็จรูป เลี้ยงเป็นระยะเวลา 3 เดือน (ปลามีอายุประมาณ 4 เดือน)
ขั้นตอนที่ 5 ปลาหางนกยูงอายุประมาณ 4 เดือน จะถูกคัดขนาดและคัดเลือกปลาที่แข็งแรงสมบูรณ์ เพื่อนำไปเลี้ยงไว้ในบ่อพักปลาเพื่อเตรียมส่งจำหน่ายต่อไป


โรคที่พบในปลาหางนกยูงและวิธีรักษา
1. โรคจุดขาว (White spot disease) เกิดจากสัตว์เซลล์เดียว ชื่อ lchthyophthirus multifilis หรือชื่อย่อว่า lch (อิ๊ค)อิ๊คเข้าเกาะตัวปลาและฝังตัวที่
ผนังชั้นนอกของปลา สร้างความระคายเคืองปลาจะสร้างเซลล์ผิวหนังหุ้มอิ๊ค ทำให้เห็นเป็นจุดสีขาว ยังไม่มีวิธีการกำจัดอิ๊คที่ฝังอยู่ใต้ผิวหนัง แต่วิธีการที่ได้ผล
คือ การทำลายตัวอ่อนในน้ำ สารเคมีที่ใช้ได้ผลดี คือ ฟอร์มาลิน 25 - 30 ซีซี ต่อน้ำ 1,000 ลิตร ผสมกับมาลาไค้ท์กรีน 0.1 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ทิ้งไว้
ตลอด และควรจะแช่น้ำซ้ำอีก 3 - 4 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 7 วัน จะให้ผลดีมาก โดยเฉพาะเมื่อน้ำมีอุณหภูมิประมาณ 28- 30 องศาเซลเซียส
2. โรคที่เกิดจากปลิงใส เกิดจากปรสิตตัวแบน 2 ชนิด คือ Gyrodactylus และ Dactylogyrus มักพบตามบริเวณเหงือกและผิวหนัง การรักษาใช้ฟอร์มาลิน
เข้มข้น 40 ซีซี ต่อน้ำ 1,000 ลิตร หรือดิพเทอร์เร็กซ์เข้มข้น 0.25-0.5 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ทิ้งไว้ตลอดไป
3. โรคที่เกิดจากหนอนสมอ (Lerneae sp.) หนอนสมอมีลำตัวเป็นรูปทรงกระบอก ส่วนหัวคล้ายสมอทำหน้าที่ยึดเกาะกับตัวปลา การรักษาใช้ดิพเทอร์เรกซ์
เข้มข้น 0.25-0.50 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ทิ้งไว้ตลอด แล้วแช่ซ้ำ 3-4 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 7 วัน
4. โรคที่เกิดจากแบคทีเรีย เกิดจากพวกแบคทีเรียสกุล Aeromonas และ Pseudomonas อาการที่พบ คือ ครีบและหางกร่อน ท้องบวมน้ำ เกล็ดพอง รักษาโดยใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น ไนโตรฟูราโซน 1 -2 กรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ปลานาน 2 -3 วัน ออกซีเตตร้าไซคลินหรือเตตร้าซัยคลินผสมลงในน้ำในภาชนะ
ที่มา www.nicaonline.com

ความคิดเห็นที่ 3

rabbit
rabbit (125.27.6.13) [2008-07-24 01:50:18]
ขอรายะเอียดการเพาะเลี้ยงปลาคิลลี่หน่อยค่ะ จาเอาไปทำงานค่ะ
เข้าเวบwww.thaikilliclub.comไม่เห็นได้เลยค่ะ ขอความกรุณาด้วยค่ะ
ด้านบน

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนทำรายการ

เข้าระบบ