Skip to content

ปรับปรุง เว็บไซต์ เยอะแยะเลย ลองกดเข้าไปเล่นดูสิ ตอนนี้ มีหมอตั้ม มาประจำที่ โรงพยาบาลแล้วนะครับ ใครมีปัญหาปลาป่วย ปรึกษาได้ครับ

วาไรตี้ คนรักปลา ทุกหัวข้อ การพูดคุย การสนทนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เกี่ยวกับ ปลาสวยงาม กลุ่มต่างๆ คุณยังจำวันแรกที่คุณเลี้ยงปลาได้มัย้ปลาตัวแรกที่คุณเลี้ยง ประสบการณ์เลี้ยงปลาที่คุณอยากจะถ่ายทอดให้ เพื่อนๆ ได้รับฟัง

0041311

พี่ๆช่วยปลาคาร์ฟหนูหน่อยนะคะ

puiii
puiii [2010-01-27 18:54:39]

-เวลาปลามันเอาตัวแฉลบตู้นี่มันคันเพราะพยาธิหรือโรคจุดขาวกันแน่อะคะ

-พักปลาไว้ในกะละมังประมาณ3วัน พออีกวันเอาใส่ตู้ใหญ่มันก็แฉลบบ้างแต่ไม่มาก กินอาหารปกติ แต่มีโครเมตตัวนึงเหมือนมีตัวเส้นๆสีน้ำตาลเจาะที่เหนือครีบหน้ารอบๆมันเป็นแผลเลือดนิดๆเลยสันนิษฐานว่าเป็นพยาธิไม่รุ้ว่าใช่ป่าวเลยให้พ่อดึงออก หนูเลยจับแยกออกมาแต่ก็กลัวในตู้มันจะมีเชื้อถึงตัวอื่นๆเลยใส่"ไซเตส"ลงไป(ตู้หนู36นิ้วใส่ไซเตสไป1ช้อนเล็กๆ) (ปลาหนูมีคาร์ฟ4ตัว โครเมต2ตัว)
พอวันนี้มาดูปรากฏว่าปลาที่เหลือแฉลบกันมากกว่าเดิมอีกกินอาหารก็ปกติดี แต่มันว่ายเหมือนทุรนทุรายอยุ่เหนือน้ำ หนูเลยไม่รุ้ว่ามันเป็นอะไรกันแน่มันแพ้ยาหรือมันคันพยาธิ หนูเลยตักปลาออกมาจากตู้พักไว้ในกะละมังใส่เกลือไปนิดนึง

-หนูควรจะล้างตู้ใหม่เอาไซเตสออกดีมั้ยคะ เพิ่งอ่านมาไซเตสมันดูน่ากลัวยังไงก็ไม่รุ้

-หนูควรจัดการกับโครเมตที่เป็นแผลยังไงดีอะคะ มันไม่ยอมว่ายแต่ก็กินอาหารบ้าง ควรใส่ยาอะไร ใส่เตตร้าได้ป่าวงะ

พี่ๆว่าหนูควรทำไงต่ออะคะ??
เศร้าใจมากเลยช่วงนี้เลี้ยงอะไรก็ตายหมด(เคยเลี้ยงคาร์ฟมาเป็นปีพอไฟดับก็ตายยกตู้ จากนั้นพอเอามาลงใหม่ก็ตายเรื่อยๆ เซ็งมากๆ)
ช่วยหนูหน่อยนะคะ

ความคิดเห็นที่ 1

seneige
seneige
45
[2010-01-29 09:36:00]

น่าจะเป็นพวกเห็บนะค่ะ
ลองใช้วธีนี้ดูนะ

วิธีป้องกันและรักษา
-ควรแยกปลาที่เป็นโรคนี้ออกต่างหาก
-รักษาโรคโดยวิธีใช้สารเคมี
-ควรกักโรคปลาใหม่ก่อนที่จะใส่ปลาลงในตู้หรือบ่อปลา
-ควรระมัดระวังเรื่องน้ำและอาหารเพราะโรคเห็บสามารถแอบแฝงมากับน้ำหรือ อาหาร เช่น ลูกน้ำ

ส่วนสารเคมีนี้คงต้องเลือกเอาตามสะดวนนะค่ะ

ปริมาณสารเคมีที่ใช้ในการรักษาโรคปลา

สารเคมี

สรรพคุณ

วิธีการใช้และปริมาณ

หมายเหตุ

กรดน้ำส้ม(Acetic Acid)

ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและพาราสิตภายนอก

อัตราส่วน 1:20(5%) จุ่มนานประมาณ 1 นาที (กรดน้ำส้ม 1 ส่วนต่อน้ำ 20 ส่วน)

ยาเหลือง(Acriflarin)

ฆ่าเชื้อแบคทีเรียบนไข่ปลา (ยาเหลืองจะมีผลกระทบกระเทือนต่อเซลล์ของไข่ปลา)

อัตราส่วน 1:2000(500ppm.)

แช่นานประมาณ 20 นาที

ลักษณะเป็นผงละเอียดสีส้มแก่ เมื่อละลายน้ำแล้วจะมีสีแดงปนส้ม

ป้องกันเชื้อแบคทีเรียในระหว่างการลำเลียงขนส่ง ชั่งน้ำหนักหรือวัดขนาดปลา

1-3 ppm.

ป้องกันเชื้อแบคทีเรีย

10 ppm. แช่นานประมาณ

2-12 ชั่วโมง

คลอรีน(Chlorine)

ฆ่าเชื้อต่างๆทั้งหมด

10 ppm. นานประมาณ

30 นาที

ดิพเทอเร็กซ์(Dipteret)

ปลิงใส เห็บ หนอนสมอ

0.25-0.50 ppm. แช่ตลอดไปสัปดาห์ละ 1 ครั้ง นานประมาณ 4 สัปดาห์

ฟอร์มาลิน(Formalin)

โปรโตซัวและพาราสิตอื่นๆ

125-250 ppm. นานประมาณ 1 ชั่วโมงหรือ 15-40 ppm. แช่นานตลอดไป

ลักษณะเป็นของเหลวใส ไม่มีสีจนถึงสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นฉุ่นมากควรเก็บไว้ในขวดที่ป้องกันแสงได้ ฟอร์มาลินที่จะนำมาใช้ไม่ควรมีเมทิลแอลกอฮอร์ผสมอยู่เพราะเป็นพิษกับปลา

โรคเชื้อรา

1600-2000 ppm. นานประมาณ 15 นาที

มาลาไคท์กรีน(Malachite Green)

โปรโตซัว

0.1 ppm. แช่ตลอดไป

ลักษณะเป็นผลึกสีเขียวเหลืองละลายน้ำได้ดี ควรเลือกซื้อมาลาไคท์กรีนชนิดที่จัดอยู่ในประเภทยา (Medical Grade) เพราะไม่มีสารสังกะสี ซึ่งเป็นพิษต่อปลา

เชื้อรา

5ppm. นานประมาณ 15 นาที

เมทิลีน บลู

โรคจุดขาว (Ichth-yophthirius sp.) และโปรโตซัวชนิดอื่นๆ

2-5 ppm. แช่ตลอดไป

ลักษณะเป็นผลึกสีน้ำตาลปนแดง เมื่อละลายน้ำจะมีสีน้ำเงิน

ด่างทับทิม (Potassium Permanganate)

แบคทีเรียภายนอก เช่น Flexibacter Columnaris

2-4 ppm. แช่ตลอดไป เหมาะกับตู้ปลาหรือบ่อปลาที่มีน้ำสะอาดปราศจากความเป็นกรดเป็นด่าง

ลักษณะผลึกสีม่วงเข้ม ละลายน้ำแล้วจะมีสีม่วง ระหว่างการแช่ปลาจะต้องเพิ่มออกซิเจนเสมอ คือด่างทับทิมจะทำปฏิกริยากับสารออแกนนิกที่อยู่ในน้ำ ถ้าน้ำเป็นกรดเป็นด่างเพียงเล็กน้อยจะทำอันตรายต่อเหงือกปลา ดังนั้นจะต้องเพิ่มออกซิเจน

เกลือ(Sodium Choride)

แบคทีเรียบางชนิด เชื้อราพาราสิต โดยเฉพาะโปรโตซัวและหนอนสมอ

อัตราส่วนการใช้เกลือ 1:33 – 1:50(3-5%) นานประมาณ 1-2 นาที หรืออัตราส่วน 1:200 – 1:100 แช่นานตลอดไป

ควรมีลักษณะเป็นผงหยาบสีขาว ละลายน้ำได้ดี หาง่ายราคาถูก

ใช้ในระหว่างการลำเลียงขนส่ง ชั่งน้ำหนัก เพื่อลดความบอบซ้ำ ป้องกันปลาเป็นโรค

อัตราส่วนการใช้เกลือ 1:1000 – 1:2000 (0.1-0.2%) แช่ตลอดไป

คลอเตตราซัยคลิน (Chortetracycline)

รักษาโรคจากแบคทีเรีย Aeromonas sp. Pseudomonas sp. และ โรคจุดขาว Ichthyophthirius sp.

ผสมในอาหารปริมาณ 55 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักปลา 1 กก/วัน (ประมาณ 10วัน) หรือใช้วิธีละลายในน้ำ 10-20 ppm. แช่นานตลอดไป

ลักษณะเป็นผลึกมีสีเหลืองทำปฏิกริยาเป็นด่างอย่างอ่อนละลายน้ำได้ดี เมื่อละลายน้ำแล้วจะมีสีค่อนข้างเหลือง และมักเกิดเป็นฝ้าบนผิวน้ำ

คลอแรมเฟนิคอล (Chloramphenical)

รักษาโรคจากเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบทั่วไป Aeromonas sp. โรคจุดขาว

ฉีดเข้าทางช่องเท้า 20 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักปลา 1 กก. หรือผสมในอาหารปริมาณ 55 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักปลา 1 กก./วัน ใช้เวลาประมาณ 10 วัน หรือแช่ประมาณ 80 ppm. นานประมาณ 24 ชั่วโมง

เป็นยาปฏิชีวนะที่นิยมใช้กันมาก ไม่มีสี ละลายน้ำได้ดี เมื่อละลายน้ำจะมี)ปฏิกริยาความเป็นกลาง ตัวยาจะมีอายุประมาณ 3 ปี ดังนั้นซื้อยาควรดูวันหมดอายุก่อน

โรคเชื้อรา (Cotton Wool Diseases) และใช้ได้ผลดีในการรักษาโรค Dropsy ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียและไวรัส

ออกซี่เตตราซัยคลิน (Oxytetracycline)

รักษาโรคจากเชื้อแบคทีเรีย

แกรมลบทั่วไป

ฉีดเข้าทางช่องท้องประมาณ 30 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักปลา 1 กิโลกรัม หรือผสมในอาหารปริมาณ 55 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักปลา 1 กก./วัน หรือแช่ปริมาณ 10/20 ppm. นานประมาณ 24 ชั่วโมง

ฟิวราเนส (Furanace)

รักษาโรคจากเชื้อแบคทีเรีย Aeromonas sp. และ

Vifrio sp.

ผสมในอาหารปริมาณ 0.5-1 กรัมต่อน้ำหนักปลา 1 กก./วัน

นานประมาณ 10-14 วัน หรือแช่ประมาณ 1:500000

(2 ppm.) ประมาณ 1 ชั่วโมง

น้ำหนักและปริมาตร

=> 1 หยด 1/20 cc. => 1 ช้อนชา 1/8 ออนซ์ หรือ 4 cc. หรือ 0.5 กรัม => 1 แกลลอน 3.785 ลิตร หรือ 4 Quarts

=> 1 ปอนด์ 16 ออนซ์ หรือ 453.6 กรัม => 1 ตัน น้ำ 270 แกลลอน

=> PPM. (Part per million) 1 กรัมต่อน้ำ 1000 ลิตร หรือ 0.0038 กรัม ต่อน้ำ 1 แกลลอน

ความคิดเห็นที่ 2

seneige
seneige
45
[2010-01-29 09:38:22]

ถ้าไม่เข้าใจอะไรเมลล์มาถามได้ค่ะ
kinnebear@hotmail.com

ความคิดเห็นที่ 3

puiii
puiii [2010-01-29 18:44:09]

ขอบคุณคะ
ตอนนี้ล้างตู้ใหม่ เอาปลาใส่กลับไป ดูเหมือนจะดีขึ้นแล้วนะคะ
ที่กักไว้ก็มีโครเมต2ตัว รอดูอาการคะ

ด้านบน

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนทำรายการ

เข้าระบบ