Skip to content

ปรับปรุง เว็บไซต์ เยอะแยะเลย ลองกดเข้าไปเล่นดูสิ ตอนนี้ มีหมอตั้ม มาประจำที่ โรงพยาบาลแล้วนะครับ ใครมีปัญหาปลาป่วย ปรึกษาได้ครับ

Exotic Fishes สำหรับคนที่หลงใหล และ ชื่นชอบ ในความแปลก ฉีกความจำเจ พื้นๆ กับ สายพันธุ์ปลาแปลกๆ จากอะเมซอน, ปลาแม่น้ำของไทย, สัตว์น้ำแปลกๆ, สัตว์เลื้อยคลาน (Reptile) โพสต์ข้อความแลกเปลี่ยนความรู้ กันได้ที่ ห้องนี้

0002467

ภาวะเต่างอก หนาม ยอก อก (แฟน) คนรักเต่า

Chelonian
Chelonian [2005-03-12 23:32:14]
วันนี้ได้มีโอกาสได้ไปเดินสวนจตุจักร

เห็นคนเดินเลือกซื้อสัตว์เลี้ยงมากมาย

เลยได้ไอเดีย เขียนเรื่องมาให้อ่านกัน

คราวนี้เป็นเรื่องเบาๆ ไม่ซีเรียสครับ

อนุญาติให้อ่านไปอมยิ้มไปได้

หากอ่านแล้วเครียด ก็ขออภัยมา ณ.ที่นี้ด้วย

ภาวะเต่างอก หนาม ยอก อก (แฟน)คนรักเต่า

หลังจากที่ผู้อ่านได้ตัดสินใจแล้วว่า ตัวเราเหมาะสมและพร้อมจะเป็นChelonianหน้าใหม่ประดับวงการอีกคนนึงกะเค้าแล้ว ผมเชื่อว่าภาระกิจแรกที่ผู้อ่านเลือกจะกระทำกันก็คือ การออกไปเดินสำรวจที่สวนจตุจักร ทั้งนี้ก็เพื่อหาเต่าที่ถูกชะตากับเรามาเลี้ยงสักตัว หรือกระทั่งไปคว้าเจ้าเต่าตัวที่หมายตาไว้แล้ว เรื่องความถูกชะตานี้ผมถือเป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินใจเลือกเต่าตัวใดตัวหนึ่งเหมือนกันนะครับ เนื่องจากอายุขัยที่ค่อนข้างยาวนานของเต่า ผู้เลี้ยงจะต้องเลือกเต่าตัวที่ดูแล้วถูกชะตา น่าเลี้ยง น่ารักษาไว้กับเราเป็นเวลานานแสนนาน

ปัญหาใหญ่ของคนเลี้ยงในช่วงเริ่มต้นเลี้ยงก็คือ ถูกชะตาไปเสียหมด ไม่ว่าจะเห็นหรือสบตากับเต่าตัวไหน เป็นอันอยากพากลับไปดูแลที่บ้านเสียหมด(กรณีนี้ไม่ทราบจะรวมไปถึง”น้องเต่า”ที่นิยมมาพร้อมกับเสื้อสายเดี่ยวหรือเปล่านะครับ?) หรือประเภทที่ว่า ตัดสินใจจะเลี้ยงเต่าซูคาต้า เพราะวิเคราะห์สะระตะแล้วว่าเหมาะสมกับจริตและสภาพแวดล้อมที่บ้านเป็นที่สุด แต่หลังจากเลี้ยงเจ้านักเดินทางแห่งท้องทุ่งสะวันนาไปได้ไม่นาน ก็กลับเริ่มมองเห็นความงามและความน่าสนใจของเจ้าดาวพม่าขึ้นมาอีกแล้วล่ะ หรือบางท่านถึงกับตั้งใจหมายมั่นไปเลยว่าจะต้องมีเต่าบกในท้องตลาดทุกสายพันธุ์ไว้ในครอบครองให้ครบในเร็ววัน จนกระทั่งคุณอาจเอาใจใส่แฟนของคุณน้อยลง จนใครคนนั้นแอบน้อยใจอยู่ก็เป็นได้ เรื่องนี้สำ-มะ-คัน นะครับ จะบอกให้ เพราะแฟนของคุณนั้นจะมีประโยชน์เป็นอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่คุณมีความจำเป็นต้องเดินทาง หรือไม่อยู่บ้าน

อย่าแอบอมยิ้มนะครับว่า อีตาChelonianคนนี้ช่างรู้ใจกันเสียจริง แหม! ก็จะไม่เป็นอย่างนั้นได้อย่างไรล่ะครับ ในเมื่อผมเองก็เคยผ่านและเคยมีสภาพจิตใจเช่นนั้นมาก่อนเหมือนกัน จึงรู้และเข้าใจ นักเลี้ยงเต่าด้วยกัน แต่สิ่งที่เป็นเหมือนกันนี้แหละ ที่ไม่ใช่สิ่งดีเอาเสียเลย

บางท่านที่เพิ่งรับเต่าเข้าบ้านได้สักเพียงสองสัปดาห์ แล้วกำลังรู้สึกทุรนทุรายอยากได้เต่าเข้ามาในสังกัดอีกเป็นจำนวนมากๆ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจาก การเลี้ยงดูที่ง่าย ,ความน่ารัก ,ความสวยงามของเต่าที่เราบรรจงคัดสรรมาเป็นอย่างดี และประเด็นสำคัญก็คือ คุณก็จะเริ่ม”ชวนแฟนไปเดินสวน”บ่อยขึ้น จริงไหมล่ะ และว่ากันว่า “กิเลสของมนุษย์นั้น มักเริ่มต้นจากสิ่งที่มองเห็นเป็นอันดับแรก”

ขอบอกนะครับ ขอบอก หากนักเลี้ยงหน้าใหม่ท่านใดกำลังตกอยู่ในภาวะวังวนเช่นนี้ ขอให้ตระหนักว่าคุณเสมือนหนึ่งกำลังพาตนเองเข้าสู่ทุ่งกับระเบิดที่กว้างใหญ่ไพศาล ด้วยคุณยังไม่ผ่านบทพิสูจน์ในภาคปฏิบัติว่า คุณชอบที่จะเลี้ยงและดูแลเต่าจริงๆ หรือเป็นเพียงแรงเห่อกับสัตว์เลี้ยงอินเทรนตัวใหม่? ในบางครั้งเต่าที่เพิ่งรับเข้ามาอาจกำลังอยู่ในช่วงการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่คุณจัดเตรียมไว้ให้ ซึ่งในช่วงนี้เต่าจะยังไม่แสดงโรคภัยไข้เจ็บใดๆออกมา แต่ยังคงพักฟื้นอยู่ในสภาวะเครียด การรับสมาชิกใหม่เข้ามาอาจส่งผลต่อสภาวะเครียดของทั้งผู้มาใหม่และผู้ที่มาก่อนหน้านี้เพียงไม่นานก็เป็นได้ รวมไปถึงตัวคุณเองก็ยังไม่เชี่ยวชาญสันทัดในระบบจัดการทั้งด้านอาหารและสิ่งขับถ่ายของเต่าสักเท่าไหร่ สิ่งเหล่านี้จะทำให้การรับเต่าใหม่ๆเข้ามาบ่อยๆในช่วงระยะเวลาสั้นๆ อาจทำให้คุณสับสนและพลาดได้ ซึ่งจะส่งผลไปถึงความเจ็บไข้ได้ป่วยหรือการสูญเสียเต่าที่เลี้ยงไว้ก็เป็นได้ อีกสิ่งหนึ่งที่ตัวผู้เขียนเห็นว่าเป็นสิ่งไม่พึงกระทำอย่างยิ่งสำหรับมือใหม่ก็คือ การรับเต่าใหม่เข้ามา หลายๆตัวในคราวเดียวกัน(แถมบางทียังเป็นหลายๆสายพันธุ์อีกต่างหาก) ทั้งนี้เนื่องจากคุณอาจดูแลไม่ทั่วถึงในรายละเอียดต่างๆไม่ว่าจะเป็น การกินอาหาร , โรคภัยไข้เจ็บต่างๆหรือกระทั่งพฤติกรรมเฉพาะของเต่าแต่ละตัว

จากนี้ การปนเต่าจากต่างสถานที่โดยไม่มีการกักโรคไว้ก่อนก็เป็นสิ่งที่ไม่พึงกระทำ (โดยเฉพาะเต่าที่เพิ่งถูกจับจากป่า) คุณคงไม่อยากให้สถานที่เลี้ยงของคุณเป็นแหล่งรวมโรคใช่ไหมล่ะครับ? และหากการสะสมเต่าหลากหลายสายพันธุ์เป็นสิ่งที่คุณปราถนาไว้ในใจแล้วล่ะก็ พึงระลึกไว้เสมอว่า เต่าบกแต่ละสายพันธุ์นั้น มีบางสายพันธุ์ก็ต้องการสภาพแวดล้อมแตกต่างกันออกไปอีกด้วย รวมไปถึงการคำนึงถึงขนาดโตเต็มที่ของเต่าตัวนั้นๆ มากไปกว่านั้นความเป็นจริงอีกอย่างที่คุณควรรับรู้ก็คือ ไม่ว่าจะเป็นเต่าราคาแพงสักเท่าใด กระทั่งกับเต่าที่งดงามราวเทวดาเสก มีสิ่งหนึ่งที่เต่าทุกตัวจะต้องประสบพบเจอตัวละหนึ่งครั้งในชีวิต นั่นคือ”ความตาย” ซึ่งถือเป็นเฉกเช่นเดียวกันกับมนุษย์ทุกผู้ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการตัดสินใจเลือกซื้อเต่าตัวต่อๆไป เพื่อยับยั้งภาวะเต่างอกอย่างไร้ทิศทาง เพราะภาวะเต่างอกแบบนี้ไม่เพียงแต่จะเป็นหนาม ยอก อก แฟนคนรักเต่าแล้ว ผมเชื่อแน่ว่า…ภาวะนี้จะกลับมาเป็นหนาม ยอก อก ที่ทิ่มแทงใจคุณในที่สุด

แต่หลังจากที่คุณจัดการในเรื่องของการเลี้ยงเต่าขึ้นมูลฐานได้อย่างคล่องแคล่ว ตลอดจนได้พิสูจน์จริตของตนอย่างแท้จริงแล้วว่า”ชอบและรักจริง” การรับสมาชิกเต่าตัวใหม่เข้ามาอีก ก็ดูไม่ใช่เรื่องผิดปรกติแต่ประการใด ในทางตรงกันข้าม ความสามารถในการดูแลเต่าจำนวนมากให้มีสุขภาพดีอย่างทั่วถ้วน กลับเป็นสิ่งที่ใช้พิสูจน์ว่าระดับการเลี้ยงเต่าของคุณสูงขึ้นหรือไม่เสียด้วยซ้ำไป แต่สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก็คือ จำนวนสมาชิกที่เพิ่มขึ้น ย่อมส่งผลการการจัดการที่ต้องเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการกับสิ่งที่เต่าขับถ่ายออกมา อีกทั้งการเลี้ยงเต่าอย่างแออัด จะส่งผลต่อสุขภาพโดยตรงของเต่า ดังนั้นการเตรียมสถานที่เลี้ยงให้เพิ่มขึ้นตามจำนวนและขนาดของเต่าที่เพิ่มขึ้น ถือเป็นเรื่องที่ต้องคำนึงถึง และประเด็นสำคัญก็คือ ต้องมั่นใจว่า คุณไม่ได้กลายเป็นตัวเล่นในเกมส์การตลาดของผู้ค้า จนกระทั่งส่งผลกระทบกับสภาพคล่องทางการเงินของคุณเอง

สิ่งที่ผมอยากสรุปง่ายๆ ในตอนท้ายเรื่องนี้ก็คือ ภาวะเต่างอก จะไม่เป็นเรื่องผิดปรกติและไม่ใช่เรื่องเสียหายเลย หากภาวะนี้จะมาพร้อมกับ ภาวะกรงงอก(กรงเลี้ยงที่พอเพียงและไม่แออัด), ภาวะความรู้งอก(เพิ่มพูน) และปัจจัยสำคัญที่สุดคือ ภาวะเงินงอก ส่วนภาวะเต่างอกนี้จะกลายเป็นหนาม ยอก อก ใครเข้านั้น ผมว่า..ปล่อยให้เป็นเรื่องของความสามารถเฉพาะตัวที่เลียนแบบกันไม่ได้ เห็นจะดีกว่าครับ

Enjoy Tortoise Keeping
Chelonian


ความคิดเห็นที่ 1

น้องเล้ง
น้องเล้ง (61.90.32.42) [2005-03-13 00:17:10]
โดนครับบทความนี้โดนใจอย่างจัง...!!!! โดนไปหลายข้อหาเลยเพราะตอนเริ่มเข้ามาเลี้ยงพวกเลื้อยคลานใหม่ๆเนี่ยมองอะไรกดีก็งามไปหมดซื้อเข้าทุกอย่างเท่าที่พอจะซื้อได้พอเลี้ยงๆไปรู้สึกว่าไม่เข้าแกปก็เอาออกๆทำให้เสียเงินไปมากมาย+เสียเวลาไปกับเรื่องพวกนี้มากมายนักจนมาถึงวันถึงได้รู้ว่าสัตว์ชนิดใดเหมาะกันเราเรารักและชอบจึงค่อยคิดได้ว่าไม่น่าไปเสียเวลาอะไรมากมายตรงนั้นเลยศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับพวกเลื้อยคลานทุกชนิดแต่ก็ไลกซึ้งซักชนิดแต่มาวันนี้ได้รู้แล้วว่าเราชอบสัตว์ชนิดใดและจะพยายามอยู่ในแนวของตัวเองไม่เป๋ไปเป๋มาเหมือนเเต่ก่อนอีกแล้วคร๊าบบบ


ปล.ขอขอบุณอีกครั้งสำหรับบทความดีๆที่มีให้อ่านกันเป็นประจำน๊ะครับพี่Chelonian

ความคิดเห็นที่ 2

เจ
เจ (202.57.183.11) [2005-03-13 03:13:33]
รู้ใจเต่าอย่างกะเรียนจิตวิทยาการเลี้ยงเต่าเลยอ่ะพี่ อิอิ สงสัยเลี้ยงมานานมากประสบการณ์ตรง ครับ เห็น ด้วย อย่าง แรง

ความคิดเห็นที่ 3

Cheetah
Cheetah
17
[2005-03-13 15:45:24]



^_^


เพลินๆดีคับ


ผมก็งอกเพียบเลย หุหุหุ


ความคิดเห็นที่ 4

snooooPY
snooooPY (210.86.213.109) [2005-03-13 17:56:02]
แจ่ม อ่ะ คับ
ขอบคุนสำรับบทคววามดีๆ

ความคิดเห็นที่ 5

bleach
bleach [2005-03-13 18:17:49]
ติดตามทุกบทความคับ นับถือจริงจริง

ความคิดเห็นที่ 6

เหน่ง
เหน่ง (202.57.178.128) [2005-03-13 23:56:37]
สงสัยผมก็โดนข้อหาสภาพคล่องทางการเงินเหมือนกันครับพี่ แหะ ๆ

ความคิดเห็นที่ 7

dyukefundee
dyukefundee [2005-03-14 02:01:50]
กำลังจะงอก แต่ เป๋า แฟบอยู่ครับ

ความคิดเห็นที่ 8

aLight
aLight [2005-03-14 12:08:07]
แหม!! นึกว่าเต่างอก เอาเต่าบ่ง

ความคิดเห็นที่ 9

pum88
pum88 (203.155.28.13) [2005-03-14 14:21:41]
พี่ alght ครับ
แสดงว่าที่บ้านของพี่ก้อมีอาการเดียวที่ว่า
เต่างอก เอาเต่าบ่ง หรือเปล่าครับ...
ผมเดาว่าอย่างนี้ไม่ทราบว่าถูกหรือเปล่าครับ...

ความคิดเห็นที่ 10

หัดเดิน
หัดเดิน (221.128.111.170) [2005-03-26 11:13:40]
อยากเป็นโรคเต่างอกมั่งจังเลย แต่ทุนไม่พอเลยต้องทำใจ หุหุหุ
ไอ้ที่เลี้ยงถ้าไม่ไปไหนก่อนก็หวังว่าอีก5ปีน่าจะเป็นโรคเต่างอกไข่งอกกับเค้ามั่ง ต้องมีสักวันมั่งแหละน่าที่พอจะมีโอกาสหามาเพิ่มมั่ง หุหุหุ

ความคิดเห็นที่ 11

 
  (203.172.163.98) [2005-10-27 12:50:25]
อูๆๆๆๆๆๆๆๆสุดยอด
ด้านบน

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนทำรายการ

เข้าระบบ