Skip to content

ปรับปรุง เว็บไซต์ เยอะแยะเลย ลองกดเข้าไปเล่นดูสิ ตอนนี้ มีหมอตั้ม มาประจำที่ โรงพยาบาลแล้วนะครับ ใครมีปัญหาปลาป่วย ปรึกษาได้ครับ

Exotic Fishes สำหรับคนที่หลงใหล และ ชื่นชอบ ในความแปลก ฉีกความจำเจ พื้นๆ กับ สายพันธุ์ปลาแปลกๆ จากอะเมซอน, ปลาแม่น้ำของไทย, สัตว์น้ำแปลกๆ, สัตว์เลื้อยคลาน (Reptile) โพสต์ข้อความแลกเปลี่ยนความรู้ กันได้ที่ ห้องนี้

0002587

ดาวอินเดีย เต่าปฐมบทจากแดนภารตะ ตอนที่ 3

Chelonian
Chelonian [2005-03-29 00:20:22]
หลังจากที่อ่านกันไปแล้วสองตอน

ไม่มีงานเลี้ยงใดไม่เลิกรา เรื่องราวของเต่าดาวอินเดีย ก็ได้เดินทางมาถึงตอนที่สาม ซึ่งเป็นตอนสุดท้ายแล้วครับ

เนื่องจากเต่าดาวอินเดียส่วนใหญ่ในตลาดแทบจะ100%เป็นเต่าที่จับมาจากแหล่งกำเนิดในธรรมชาติ จึงเป็นไปได้ที่จะมีเต่าบางตัว(ในสัดส่วนที่ไม่น้อยเลย)ที่ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพในกรงเลี้ยงได้ และออกอาการมีน้ำมูกอยู่ตลอดไม่ว่าเราจะกกไฟหรือเลี้ยงดูอย่างดีเพียงใดก็ตาม จริงๆแล้วก้าวแรกที่สำคัญที่สุดในการเลี้ยงเต่าดาวอินเดียก็คือการเลือกหรือมองหาเต่าที่แข็งแรง มีสุขภาพดี มาเลี้ยง ซึ่งจะเป็นการช่วยลดภาระของผู้เลี้ยงในการดูแลและการประคบประหงมได้ในระยะยาว

อาหารการกิน

เนื่องจากเต่าดาวอินเดียเป็นสัตว์กินพืชเฉกเช่นเดียวกับเต่าบกส่วนใหญ่ ดังนั้นอาหารที่เหมาะสมที่สุดสำหรับดาวอินเดียเมื่อถูกนำมาเลี้ยงในสถานที่เลี้ยงก็เห็นจะเป็น หญ้า และผักหลากชนิด สำหรับผลไม้แล้ว ก็เช่นเดียวกับเต่าชนิดอื่นทั่วไปที่แม้ว่า เต่าจะออกอาการนิยมอาหารหวานแต่การกินอาหารรสหวานก็ไม่ใช่โภชนาการที่ดีสำหรับเต่าเลย และเนื่องจากการเป็นเต่าจากดินแดนอันแห้งแล้ง ดาวอินเดียจึงเป็นเต่าที่กินน้ำน้อยมาก แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่ต้องการน้ำเลย ซึ่งเชื่อหรือไม่ว่า ยังคงมีความเชื่อผิดๆที่ว่าเต่าบกได้น้ำจากผักที่กินเข้าไปเป็นจำนวนเพียงพอแล้ว จึงไม่ต้องให้เต่าดื่มน้ำอีก แต่ความเป็นจริงก็คือ แม้ว่าเต่าอินเดียจะดื่มน้ำน้อย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ไม่ดื่มเลย การเตรียมถาดน้ำเตี้ยๆไว้ในกรงเต่าอยู่เสมอถือเป็นสิ่งที่พึงกระทำ
นอกจากนี้ สำหรับผู้ที่เลี้ยงเต่าในกรงดิน การที่เต่าได้กลืนกินทรายเม็ดโตๆปะปนกับอาหารลงไปด้วยนั้น ถือว่าเป็นระเบิดเวลาลูกโตเลยทีเดียว เนื่องจากทรายเม็ดโตก้อนใดก้อนหนึ่งอาจเข้าไปอุดตันลำไส้หรืออาจเป็นสาเหตุของภาวะนิ่วหรือภาวะเกี่ยวกับไตที่จะตามมาในภายหลังได้

การขยายพันธุ์

สำหรับเต่าเพศผู้ที่มีความยาวตั้งแต่5นิ้วเป็นต้นไปก็สามารถมีเชื้อที่จะผสมพันธุ์ได้แล้ว โดยเต่าตัวผู้ที่ติดสัด จะค่อนข้างก้าวร้าวกับเต่าตัวผู้ตัวอื่น โดยการจะมีพฤติกรรมในการดันเต่าตัวอื่นให้ออกไปจากอาณาเขตที่ครอบครองของมัน กอปรกับช่วงเวลาติดสัด เต่าตัวผู้จะกินน้อยจนถึงบางวันจะไม่กินเลย และเอาแต่เดินทั้งวัน

สำหรับผู้ที่ต้องการเพาะพันธุ์เต่าดาวอินเดีย การเลี้ยงแบบHarem Styleด้วยสัดส่วนตัวผู้1ตัวต่อตัวเมียสัก2-3ตัวจะเป็นการดีที่สุดสำหรับการสร้างBreeding Colonyและคุณผู้ชายก็ไม่ควรอิจฉาเต่าหรือเพิ่มจำนวนสัดส่วนให้มากไปกว่านี้ เพราะหากใช้ตัวเมียมากเกินไป ไข่ที่ออกมาอาจมีสัดส่วนการฟักเป็นตัวที่ต่ำเนื่องจากไข่ได้รับเชื้อไม่ทั่วถึง

สำหรับเต่าเพศเมียที่พร้อมจะวางไข่น่าจะมีขนาดตั้งแต่6นิ้วขึ้นไป โดยแม่เต่าที่สมบูรณ์จะเริ่มวางไข่หลุมละ5-7ฟอง ตั้งแต่เดือนตุลาคม จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ โดยระยะห่างในการวางไข่เดือนละ1หลุม เป็นที่น่าสังเกตว่า แม่เต่าจะวางไข่ใกล้เคียงกับตำแหน่งที่เคยวางไข่อยู่เสมอ แต่ไม่ถึงกับซ้ำที่เดิมเลยทีเดียว ตัวผู้เขียนคิดว่าคงเป็นกลไกธรรมชาติในการป้องกันมิให้แม่เต่าขุดโดนไข่ชุดเดิมเข้า ไข่เต่าจะใช้เวลาในฟักเป็นตัวประมาณ4เดือน ซึ่งจะเป็นช่วงฤดูฝนพอดี โดยในสภาพธรรมชาติลูกเต่าจะอาศัยช่วงเวลาที่ฝนตกทำให้ดินที่ฝังไข่อยู่อ่อนนุ่มขึ้น และค่อยๆดันตัวโผล่พ้นดินขึ้นมาเผชิญโลกที่แสนโหดร้ายนี้ได้ในที่สุด

จากจำนวนไข่เต่าที่ได้/แม่เต่า1ตัว เมื่อนำมาเทียบกับมูลค่าซื้อขายลูกเต่าดาวอินเดียต่อตัวในท้องตลาดแล้ว จะเห็นได้ว่า การเพาะพันธุ์เต่าดาวอินเดียยังไม่มีจุดคุ้มทุนในเชิงเศรษฐศาสตร์เมื่อเทียบกับการเพาะพันธุ์เต่าชนิดอื่น อย่างไรก็ตาม ด้วยสภาพถิ่นที่อยู่ที่ถูกทำลายไปทุกวัน ใครจะรู้ว่าภายในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เต่าดาวอินเดียอาจประสบกับภาวะขาดแคลนแท้จริง (เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นกับเต่าดาวพม่าทุกวันนี้) ดังนั้น ทุกวันนี้Chelonianท่านใดที่ครอบครองเต่าดาวอินเดียอยู่แล้วล่ะก็ พึงตระหนักว่า ท่านคือส่วนหนึ่งในการลดจำนวนประชากรเต่าดาวอินเดียในธรรมชาติลง แต่ในเมื่อท่านได้เป็นส่วนหนึ่งที่สร้างความบอบช้ำให้กับธรรมชาติไปแล้ว ท่านก็สามารถคืนบางสิ่งให้กับธรรมชาติได้เช่นกัน โดยการเพิ่มจำนวนประชากรเต่าดาวอินเดียบนโลกใบนี้ แม้ว่าจะเป็นการเพิ่มในสถานที่เลี้ยงก็ตามที

สำหรับข้อมูลเพียงเท่านี้ก็คงจะเพียงพอสำหรับการเป็นปฐมบทแห่งChelonianของใครบางคนแล้ว ซึ่งคุณสามารถใช้ความรู้พื้นฐานเหล่านี้ไปต่อยอดในการเลี้ยงเต่าบกยอดนิยมตัวนี้ให้มีชีวิตที่ยืนยาวหรือกระทั่งขยายพันธุ์ได้ในที่สุด

Enjoy Tortoise Keeping
Chelonian

ความคิดเห็นที่ 1

 
  (203.172.71.159) [2005-03-29 00:52:59]
พูดได้คำเดียวว่ายอดเยี่ยวมากครับ
ผมรออ่านของเต่าบกชนิดอื่น ต่ออยู่นะครับ ว่าเต่าชนิดไหนขนาดไหนถึงจะผสมได้

ความคิดเห็นที่ 2

liverpool ^_^
liverpool ^_^ (158.108.210.116) [2005-03-29 01:39:35]
ติดตามมาโดยตลอดครับ และจะติดตามอ่านต่อไป ไม่มีเบื่อครับ

ขอบคุณมากครับพี่ ^_^

ความคิดเห็นที่ 3

conti
conti [2005-03-29 09:39:45]
มีบทความดีๆแบบนี้อย่างเพิ่งหยุดซีครับ อยากอ่านมากๆเลย

ความคิดเห็นที่ 4

jay123
jay123 [2005-03-29 09:55:15]
เขียนกี่ทีก็น่าอ่าน จริงๆถ้าคุณเก๋าเอางานพี่เขามาทำสรุปหน้าเวป มีรุปประกอบนิดหน่อยแล้วทำลิ้งค์ไว้จากหน้าแรก ตรงส่วนที่เป็นบทความเลย คนเลี้ยงเต่าจะได้ความรู้มากๆเลยครับ
การให้ความรู้มีประโยชน์กว่าให้ให้ทรัพย์ครับ

ความคิดเห็นที่ 5

genus
genus (203.151.40.75) [2005-03-29 10:49:43]
ตามมาอ่านเหมือนเคย ....save ไว้แล้วด้วย

เยี่ยมครับ ...

ขอให้ความตั้งใจ ในการเผยแพร่วิชาการ ส่งผลเป็นคนหลักแหลม และแตกฉาน ในทุกสิ่ง

ความคิดเห็นที่ 6

dante
dante (202.176.120.43) [2005-03-29 11:07:07]
เป็นบทความที่มีประโยชน์มากเลยครับ
ผมติดตามอ่านและ save เก็บไว้ทุกตอนเลย
อยากให้เขียนถึงเต่าตัวอื่น ๆ อีก เช่น redfoot ฯลฯ

ความคิดเห็นที่ 7

addict
addict [2005-03-29 13:10:28]
เห็นด้วย อย่างยื่ง ครับ บทความดี ให้ความรู้มากเลยครับ สำหรับ มือใหม่อย่าง ผม

ความคิดเห็นที่ 8

Dernero ลืมป้ายอีกแย้วT-T
Dernero ลืมป้ายอีกแย้วT-T (unknown) [2005-03-29 16:08:02]
ขอบคุณมากๆด้วยครับ เซฟแล้วด้วยไว้ประกอบความรู้ อยากให้พี่Chelonian แนะนำเรื่องโรคที่อาจจะเกิดขึ้นกับเต่าบ้างครับ ถึงแม้ปกติจะไม่เจอกันเลยก็ตาม เผื่อไว้ดีกว่าครับ อิอิ แต่ยังไงก็ขอบคุณกับความรู้ที่นำมาบอกเล่ากันนะครับพี่ ขอบคุณครับ

ความคิดเห็นที่ 9

Chelonian
Chelonian [2005-03-29 16:31:22]
ไม่ได้หยุดเขียนไปเลยหรอกครับ เพียงแต่เป็นตอนสุดท้ายของเต่าดาวอินเดียต่างหาก ดีใจครับที่บทความของผมเป็นประโยชน์อยู่บ้าง หากมีข้อเสนอแนะประการใดก็เรียนเชิญได้เลยครับ

ส่วนเรื่องของ "Red foot หนูน้อยหมวกแดงแห่งป่าอเมซอน"นั้น กำลังอยู่ในขั้นตอนการเก็บข้อมูลครับ

ช่วงนี้บรรดาลูกเต่า เริ่มทยอย เจาะเปลือกไข่กันแล้ว ไม่ทราบว่าท่านใดได้น้องๆเต่าออกมากันบ้าง เอาผลงานมาแบ่งกันชมมั่งนะครับ

ความคิดเห็นที่ 10

Chelonian
Chelonian [2005-03-29 16:32:15]
ส่วนคำว่า "ยอดเยี่ยว" นั้น ไม่ทราบว่าพิมพ์ผิดหรือ หยอกเล่นกันครับ อิอิอิ

ความคิดเห็นที่ 11

เต่าตกมัน
เต่าตกมัน (210.213.46.54) [2005-03-29 19:41:03]
ขอบคุณครับ.....ผมก็มือใหม่เหมือนกัน..เลยต้องหาอะไรอ่านเยอะๆครับ....

ความคิดเห็นที่ 12

BanDitDotCom
BanDitDotCom
103
[2005-03-30 12:44:41]
โย้วววว.....กราบสวาทดีคร้าบบบบบ

น้องแวะมาทักทายเฉยๆ

ว่างๆ จะมาใหม่จ้ะ

ผู้ร้าย.com

ความคิดเห็นที่ 13

ZUCK
ZUCK
16
[2005-03-30 20:32:17]
ตามมาเก็บความรู้เยี่ยมๆครับ ^_^

ความคิดเห็นที่ 14

 
  (203.172.102.241) [2005-03-31 06:57:24]
โอ้ ส่วนเรื่องคำว่า "ยอดเยี่ยว" นั้นพิมพ์ผิดนะครับแต่ไม่รู้จะแก้อย่างไรดีเพราะไม่ได้เป็นสมาชิกครับ ขออภัย ณ ที่นี้ด้วย

ความคิดเห็นที่ 15

baitongza
baitongza [2005-03-31 07:16:08]
เนียนครับ

ความคิดเห็นที่ 16

Dernero ลืมป้ายอีกแย้วT-T
Dernero ลืมป้ายอีกแย้วT-T (unknown) [2005-03-31 12:07:54]
ตัวข้างบนนี้เต่าอะไรครับ ผมไม่รู้จัก รบกวนพี่ๆชี้แนะด้วยนะครับผม ขอบคุณล่วงหน้าครับผม

ความคิดเห็นที่ 17

baitongzaไม่ได้(login)
baitongzaไม่ได้(login) (192.168.200.69) [2005-03-31 18:30:50]
เหลืองอินโดครับ คุณก้อง

ความคิดเห็นที่ 18

เต่าตกมัน
เต่าตกมัน (210.213.14.50) [2005-03-31 22:03:06]
ผมว่าเต่าเหลืองตอนเด็กๆ น่ารักกกกมากครับ....แต่พอโตๆขึ้น เห็นทีไรขนลุกทุกทีเลย....

ความคิดเห็นที่ 19

baitongza
baitongza [2005-03-31 22:50:34]
โอ้... สนั่นทุ่ง

ความคิดเห็นที่ 20

baitongza
baitongza [2005-03-31 22:53:12]
ก๊อกๆๆ

ความคิดเห็นที่ 21

ดรีม
ดรีม (203.155.91.100) [2005-04-01 00:14:13]
ชอบท่านี้....................สงสัยทำแล้วมีแฮงหลายเด้อ

ความคิดเห็นที่ 22

baitongza
baitongza [2005-04-01 07:39:47]
เดียวนี้กระทู้พวกเต่าๆ เงียบไปเลย

ความคิดเห็นที่ 23

เต่าตกมัน
เต่าตกมัน (210.213.45.244) [2005-04-01 22:57:01]
โห...สุดยอดเพิ่งเอาไปได้วันเดียว ....ก็ปล้ำสาวซะแล้ว....

ความคิดเห็นที่ 24

Dernero ลืมป้ายอีกแย้วT-T
Dernero ลืมป้ายอีกแย้วT-T (unknown) [2005-04-02 15:17:01]
55+ นั้นจิครับ ไวไฟ ไม่กลัวใครเลยอิอิ เนอะ

ความคิดเห็นที่ 25

baitongza
baitongza [2005-04-02 18:12:31]
......

ความคิดเห็นที่ 26

noon
noon (202.183.144.68) [2005-04-02 23:04:11]
คุณbaitongza เหลืองอินโด กับ ไทย นี่สายพันธ์เดียวกันไหมครับspecies คือถ้าผสมกันจะติดไหมครับ

ความคิดเห็นที่ 27

Cheetah
Cheetah
17
[2005-04-03 01:33:06]
ก็แค่ผ่านมาละกัน อิอิ

ความคิดเห็นที่ 28

baitongza
baitongza [2005-04-03 18:34:45]
เรื่องผสมติดรึเปล่าอันนี้ผมก็ไม่เคยลองเหมือนกันนะครับ อันนี้อาจจะต้องให้ผู้ที่รู้เรื่องจริงๆมาตอบครับ

ความคิดเห็นที่ 29

tumn
tumn (210.86.223.81) [2005-04-11 20:10:21]
thank

ความคิดเห็นที่ 30

passport
passport [2009-02-02 19:48:17]
ขอบคุนงับ.
ช่วยแนะนำอย่างอีกก็ดีนะงับ
เพราะผมยังเป็นเด็กเลี้ยงเต่ามือใหม่อยู่
.....
ด้านบน

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนทำรายการ

เข้าระบบ