Skip to content

ปรับปรุง เว็บไซต์ เยอะแยะเลย ลองกดเข้าไปเล่นดูสิ ตอนนี้ มีหมอตั้ม มาประจำที่ โรงพยาบาลแล้วนะครับ ใครมีปัญหาปลาป่วย ปรึกษาได้ครับ

Exotic Fishes สำหรับคนที่หลงใหล และ ชื่นชอบ ในความแปลก ฉีกความจำเจ พื้นๆ กับ สายพันธุ์ปลาแปลกๆ จากอะเมซอน, ปลาแม่น้ำของไทย, สัตว์น้ำแปลกๆ, สัตว์เลื้อยคลาน (Reptile) โพสต์ข้อความแลกเปลี่ยนความรู้ กันได้ที่ ห้องนี้

0002739

Red Foot Tortoise หนูน้อยหมวกแดงแห่งป่าอเมซอน

Chelonian
Chelonian [2005-04-20 09:30:41]
เห็นมีเรียกร้องกันมานานแล้ว แต่ยังไม่มีเวลารวบรวมให้สักที

เต่าตัวนี้ผมไม่เคยเลี้ยงครับ เนื้อหาจึงอาจจะขาดรายละเอียดเชิงปฎิบัติไปบ้าง ขออภัยมา ณ.ที่นี้ด้วย แต่หากใครต้องการให้ผมเขียนรายละเอียดได้มากกว่านี้ละก็... หามาให้ผมลองเลี้ยงสักตัวสิ รับรอง ไอเดียกระฉูด

Red Foot Tortoise หนูน้อยหมวกแดงแห่งป่าอเมซอน

หลังจากที่นายChelonian ร่ายยาวเกี่ยวกับเรื่องราวของเต่าบกจากทั้งทวีปเอเชียของเราและ เต่าบกจากดินแดนในฝันของนักผจญภัยอย่างแอฟริกาไปแล้ว จะเห็นได้ว่าเต่าบกจากทั้งสองทวีปมีพื้นฐานความเป็นอยู่ใกล้เคียงกันคือ ชอบอยู่ในที่ร้อนและแห้งแล้ง แต่สำหรับเต่าบกที่ผมจะเขียนเรื่องรับใช้ต่อไปนี้ หากพิจารณาตามสภาพภูมิศาสตร์ของถิ่นกำเนิดแล้ว ผมว่าน่าจะเหมาะกับการเลี้ยงในประเทศไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบภาคกลางลงไปจนถึงภาคใต้เป็นที่สุด เพราะถิ่นกำเนิดนั้นมาจากป่าในอเมริกาใต้ แถบประเทศ บราซิล ,เอกวาดอร์,เวเนซูเอล่า,ปารากวัย และอีกหลายประเทศแถบอเมริกาใต้ แน่นอนว่า เต่าบกที่ผมจะกล่าวถึงในหัวข้อนี้คือ Red Foot (Geochelone carbonaria)เจ้าหนูน้อยหมวกแดงแห่งป่าอเมซอน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถในไปใช้ได้กับญาติสนิทของมันคือ Yellow Foot Tortoise ได้เช่นเดียวกัน

ลักษณะโดยทั่วไป
เต่าRed Foot เมื่อโตเต็มที่จะมีลักษณะที่ออกไปทางยาว โดยขนาดโตเต็มที่ประมาณ1ฟุต กระดองมีสีน้ำตาลอ่อนไปจนถึงน้ำตาลเข้ม ที่กลางScuteของแต่ละกระดองจะเป็นสีเหลือง เต่าRed Footมีญาติสนิทอีกตัวคือเต่าYellow Foot Tortoise(Geochelone denticulata) ที่มีลักษณะรูปร่างกระดองคล้ายๆกัน จะแตกต่างกันก็เพียงสีสันที่เท้าแทนที่จะเป็นสีส้มสดจนถึงแดงเหมือนเจ้าRed Foot แต่กลับเป็นสีเหลือง นอกจากนี้ในกลุ่มชนิดพันธุ์ของRed Foot เอง ยังแบ่งออกเป็นสองแบบคือ เต่าRed Footแบบธรรมดาที่ส่วนหัวเป็นสีเหลืองคล้ายกับYellow Footมีเพียงส่วนเท้าเท่านั้นที่มีแต้มสีแดง กับ Cherry Head Red Foot ที่ส่วนหัวจะเป็นสีส้มสดจนถึงแดง เช่นเดียวกับแต้มสีแดงที่บริเวณขา ซึ่งเจ้าเต่าตัวหลังนี้เองที่มักจะถูกนำเข้ามาเพื่อเรียกเงินออกจากกระเป๋าคนรักเต่าในบ้านเราอยู่เนืองๆ เนื่องจากอาจจะสอดคล้องกันดีได้ดีกับคำกล่าวของเราที่ว่า “จะถูกจะแพงเอาแดงไว้ก่อน” ก็เป็นได้

การดูแลโดยทั่วไป
จากถิ่นกำเนิดของเต่าRed Footในแถบอเมริกาใต้ จะเห็นได้ว่าใกล้เคียงกับสภาพอากาศในบ้านเรา ดังนั้นหากเราได้เต่าที่แข็งแรง ไม่บอบช้ำจากการขนส่งมากนักแล้ว การเลี้ยงเต่าRed Footให้มีสุขภาพแข็งแรงก็ไม่น่าจะเป็นเรื่องยาก แต่อย่างไรก็ตามสิ่งจำเป็นอย่างเช่น ถาดน้ำเตี้ยๆ ,หลอดไฟสำหรับให้ความร้อน ,ถาดอาหาร ,บ้านเต่าสำหรับหลบนอน ก็ยังเป็นสิ่งจำเป็น สิ่งที่แตกต่างจากการจัดสภาพแวดล้อมสำหรับเต่าดาวทั้งหลายก็คือ เต่าRed Foot จะต้องการความชื้นมากกว่าเต่าตระกูลดาวทั้งหลาย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องเพิ่มความชื้นให้มากมายแต่อย่างใด เพราะลำพังค่าความชื้นสัมพัทธ์ที่ค่อนข้างสูงในประเทศไทย ก็เพียงพอแล้วสำหรับการเลี้ยงเจ้าหนูน้อยหมวกแดงตัวนี้ แม้ว่าเต่าเป็นเต่าที่อยู่ในป่าเขตร้อนชื้นและไม่ชอบแสงแดดจัดๆ แต่แสงแดดอ่อนๆในยามเช้าก็ยังคงเป็นสิ่งจำเป็นต่อกระบวนการCalcium Metabolism ของเต่าเฉกเช่นเดียวกับเต่าบกชนิดอื่น
นอกจากนี้การอาบน้ำให้เต่าโดยการนำเต่าไปแช่ในถาด(หรือกะละมัง)ที่บรรจุน้ำอุ่นในระดับน้ำที่ไม่สูงนัก ประมาณวันละ5-10นาที เพื่อป้องกันเต่าตกอยู่ในภาวะขาดน้ำก็เป็นสิ่งจำเป็น สำหรับเต่าใหญ่ควรกระทำสัปดาห์ละครั้ง และสามารถกระทำได้วันเว้นวัน สำหรับลูกเต่าที่มีอายุต่ำกว่า1ปี
การจัดสภาพกรงเลี้ยงทั้งในIndoorและOutdoor ควรตกแต่งให้มีสภาพใกล้เคียงสภาพป่าในธรรมชาติ โดยประดับประดาด้วย ต้นเฟิร์น, ฟิโลเดนดรอน หรือไม้เขตร้อนชนิดอื่นๆ ด้วยก็จะเป็นการป้องกันเต่าน้อยจากแดนไกลในการคิดถึงบ้าน กระทั่งจะหาทางกลับบ้านเก่าก่อนเวลาอันควร และเช่นเดียวกับเต่าที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนจึงไม่จำเป็นต้องมีการจำศีลในฤดูหนาว เต่าRed Foot รวมไปถึงYellow Footจะมีความสุขกับอุณหภูมิในช่วง24-32ซํ และจะเริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับระบบหายใจถูกเลี้ยงอยู่ในที่อุณหภูมิต่ำกว่า21ซํเป็นเวลานานๆ ในขณะเดียวกันอุณหภูมิที่สูงกว่า40ซํ ก็เป็นอันตรายต่อสองสหายจากป่าอเมซอนนี้เช่นกัน


อาหารการกิน
สำหรับเต่าจากป่าอเมซอนไม่ว่าจะเป็นRed Foot และ Yellow Foot สองสหายจากอเมริกาใต้นี้ล้วนเป็นOmnivore ดังนั้นนอกจากผักหลายหลากชนิดที่ต้องจัดเตรียมไว้ให้ในแต่ละมื้อแล้ว การให้อาหารสุนัขเพื่อเป็นอาหารเสริมในแต่ละมื้อบ้าง(แต่ควรเลือกแบบที่มีไขมันต่ำๆ) จึงไม่ส่งผลต่อสุขภาพไตและตับของสองสหายจากป่าเขตร้อนชื้น แต่การเลือกอาหารสุนัขหรือกระทั่งอาหารแมวสำหรับเต่าก็ควรเลือกสูตรที่มีไขมันต่ำจะเป็นการดีที่สุด ซึ่งในสภาพธรรมชาติของเต่าทั้งสองชนิดนี้จะได้รับโปรตีนจากเนื้อสัตว์โดยตรงจากการกินตัวทาก (สงสัยเป็นสัตว์ชนิดเดียวในป่าที่เดินช้ากว่าเต่าเสียละมัง) สลับกับการกินซากสัตว์ที่ตายแล้วเพื่อเป็นการเสริมโปรตีนที่ต้องการ

การขยายพันธุ์
ในสภาพธรรมชาตินั้น เต่าRed Foot จะเริ่มวางไข่เป็นหลุมๆละ5-15ฟอง ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม ไข่จะเริ่มเป็นตัวในระยะเวลาประมาณ120วัน โดยรูปแบบการขุดหลุมและฝังกลบไข่ของตัวเมียนั้นจะเป็นรูปแบบเดียวกันกับเต่าบกทั่วๆไป

สำหรับเรื่องราวของเจ้าหนูน้อยหมวกแดงแห่งป่าอเมซอน ก็คงเกริ่นนำพื้นฐานไว้ให้คนรักเต่าทั้งหลายนำไปต่อยอดหาประสบการณ์การเลี้ยงแต่เพียงเท่านี้ ขอให้มีความสุขกับการดูแลเต่าจากป่าเขตร้อนชื้นตัวนี้ครับ

Enjoy Tortoise Keeping
Chelonian



ความคิดเห็นที่ 1

genus
genus (203.151.40.75) [2005-04-20 10:54:48]
เข้ามาอ่านความรู้ดีๆ อีกแล้วครับ....


อ้อ.......
วิธีการเขียน + มุกฮาๆ....
อ่านได้มันส์ และเลื่อน ดีครับในภาคนี้........

ความคิดเห็นที่ 2

addict
addict (61.91.102.194) [2005-04-20 11:10:24]
อ่านแล้วเพลินดีคับ เอ่อพี่เต่าดาว นี้อุณหภูมิตําสุด-สูงสุด ควรจะอยู่ระหว่างอุณหภูมิเท่าไรดีคับพี่ขอบคุนคับพี่

ความคิดเห็นที่ 3

bleach
bleach [2005-04-20 11:48:42]
ความรู้ใหม่ๆ ความรู้ดีๆ มีมาอีกแล้ว ให้ความรู้แล้วยังสละเวลาช่วยให้ผมได้เต่าดาวตัวสวยๆมาเลี้ยงอีก ขอบคุณครับพี่

ความคิดเห็นที่ 4

baitongza
baitongza [2005-04-20 12:50:45]
แหม่มเขียนได้ยอดเยี่ยมเหมือนเคย หุหุ รอบหน้าผมขอเป็นเต่าไทยได้ปะครับ เช่น เต่าหกดำ เต่าเหลือง นะครับ

ความคิดเห็นที่ 5

ซี
ซี (58.11.39.120) [2005-04-20 13:31:30]
ท่านพี่ Chelonian ผลงานดีมีคุณภาพอีกแล้วครับท่าน
ป.ล. ลงมาเที่ยวนี้ติดชุดปลาบึกมาด้วยนะท่านพี่เดวจะพาไปมีเฮ

ความคิดเห็นที่ 6

Chelonian
Chelonian [2005-04-20 15:54:35]
เต่าดาวอินเดีย ไม่ชอบอากาศเย็นนะครับ เดาๆว่าไม่ควรต่ำว่า22-23เซลเซียส นะครับ จากที่เลี้ยงอยู่ ถ้าช่วงไหนอุณหภูมิต่ำ อย่าลืมกกไฟ ดีที่สุด

เรื่องเต่าไทยนั้น ผมเรียนตามตรงว่า เนื่องจากผมไม่เคยลองเลี้ยงดูเลย จึงรู้สึกกระอักกระอ่วนใจหากจะเขียนในสิ่งที่เรายังรู้ไม่จริง อย่างที่เขียนRedfootก็ได้แต่ถามบวกเอากับอ่านมาเรียบเรียงให้อ่านกัน เขียนไม่ได้รายละเอียดเหมือนเลี้ยงเองแล้วมาเขียนครับ

ถ้าอยากให้เขียนให้ ส่งเต่ามาให้ผมเลี้ยงดีไหมครับ อิอิอิ รับรองจะดูแลอย่างดี

ส่วนเรื่องปลาบึกของซีนั้น กะว่าหนนี้ถ้าได้ขับรถลงไป จะเอาคันชุดหมาน ไปทดลองเบรคใหม่เลยครับ เพราะว่าเพิ่งไปโมฯเบรคมา

ความคิดเห็นที่ 7

เดะใหม่
เดะใหม่ (61.90.45.169) [2005-04-20 16:07:32]
แล้วred foot ราคาตัวละประมาณเท่าไหร่หรอคับ

ความคิดเห็นที่ 8

baitongza
baitongza [2005-04-20 17:37:12]
เรียบเรียงเอามาให้อ่านๆเป็นความรู้ก็พอครับไม่ต้องถึงกับเจาะลึกมาก ครับ ^^

ความคิดเห็นที่ 9

Exotic06(ไม่ได้ล๊อกอิน)
Exotic06(ไม่ได้ล๊อกอิน) (202.5.88.151) [2005-04-20 22:17:42]
แค่ทำมาให้อ่านก็เป็นบุญหลายๆเเล้วครับ บุญกุศลที่ได้ทำมาขอให้เป็นโรคเต่างอกเยอะๆนะครับ หุหุหุ
อยากจะถามว่าในเมืองไทยนี้ มีฟารืม หรือ ใครที่สามารถเพาะเจ้าเต่าอริเกเตอร์ได้แล้วมั่งนะครับ หรือที่มีมาขายในบ้านเรานั้นต้องนำเข้ามาอย่างเดียว

ความคิดเห็นที่ 10

dante
dante (202.176.120.174) [2005-04-21 15:32:27]
สมกับที่รอคอย ขอบคุณมากครับ

ความคิดเห็นที่ 11

liverpool^_^
liverpool^_^ (158.108.210.236) [2005-04-21 18:32:53]
ถึงมาช้า แต่ก็ติดตามตลอดน่ะคร้าบ อิอิอิ ^_^

ความคิดเห็นที่ 12

เต่าตกมัน
เต่าตกมัน (210.213.40.204) [2005-04-21 20:25:28]
ผมว่าคุณChelonian น่าจะลองทำหนังสือเกี่ยวกับเต่าที่เป็นภาษาไทยสักเล่มนะ เนื้อหาดี รูปสวยๆ กระดาษดีๆหน่อย ผมว่าไม่แพ้หนังสือนอกแน่ๆครับ.... แบบว่า ลองหายอดจองก่อนก็ได้..ว่ามีจำนวนพอไหวมั้ย..ไหนจาพวกร้านค้าที่จะเอาไปขายอีก....

ส่วนตัวผม ผมอยากเก็บแบบเป็นรูปเล่ม มันรู้สึกดีมากๆเลยครับ...สำหรับคนรักเต่า...กับหนังสือเต่า ที่เขียนโดยคนไทยสักเล่ม...ถ้ามีจริง ผมจอง สองเล่มครับ....

ต้องขอโทษด้วยนะครับ หากคิดเป็นอย่างอื่น...ผมอยากให้มีหนังสือเต่า แบบไทยๆเกิดขึ้นจริงๆครับ

ความคิดเห็นที่ 13

neng
neng
3
[2005-04-21 22:05:18]
มาช้าไปหน่อย...แต่ยังคอยติดตามเสมอครับพี่

ความคิดเห็นที่ 14

Chelonian
Chelonian [2005-04-21 22:44:08]
เรื่องราคาของเต่าRed Footผมไม่อยากให้แนวทางครับ เพราะเนื่องจากผมไม่ใช่คนขายเต่า จึงไม่บังอาจไปกำหนดราคาซื้อขายได้ ลองถามดูหลายๆร้านแล้วสรุปเอาตามสภาพเต่าดีกว่าครับ

ส่วนเรื่องเต่าน้ำนั้น ผมยังไม่ได้ลงมือศึกษาจริงๆจังๆเลยครับ กะว่าจะให้รู้ดำรู้แดงเป็นเรื่องๆไป ดังนั้นเรื่องฟาร์มเต่าน้ำนั้น ผมเลยไม่ทราบจริงๆครับ

ส่วนเรื่องออกหนังสือนั้น บอกตรงๆว่า อยากครับ แต่ไม่รู้จะมีโอกาสกะเค้าหรือเปล่า

ดีใจที่มีคนอ่านงานของผมแล้วชอบครับ
ขอบคุณทุกท่านที่ให้กำลังใจ

ความคิดเห็นที่ 15

น้องเล้ง
น้องเล้ง (61.90.102.94) [2005-04-22 17:57:49]
เรื่องราคาเรดฟุตนั้นผมบอกคร่าวๆงี๊แล้วกันครับ ปีที่แล้วราคาที่ถามมาก็ประมาณ5000-6000 บาท ปีนี้ราคาประมาณ4000-5000บาท...ที่เหลือลองิมลางดูครับ

ความคิดเห็นที่ 16

Chelonian
Chelonian [2005-04-22 19:29:35]
น้องเล้งครับ เต่าอัลดาบรา ยังเก็บไว้เยอะไหมครับ

อยากรู้ครับ อิอิอิ

ความคิดเห็นที่ 17

น้องเล้ง
น้องเล้ง (61.90.32.22) [2005-04-22 23:14:37]
สนใจหลอครับพี่..ตอนนี้ที่ผมอ่ะไม่มีครับมีแต่ไว้ที่อื่นครับมีก็ไม่กี่ตัวครับนิดหน่อยครับ..ถ้าสนใจไว้เข้ามาใหม่จะเข้ามาชวนไปเลือกครับ..เพราะที่ผมเอามาก็เลือกหัวๆมาก่อนเลยอ่ะครับ..เล่นไปถึงบ้านเลยผมเรียกว่าพอลงเครื่องมาก็มาผ่านมือผมซะก่อน....อิอิลองดูละกันครับ

ความคิดเห็นที่ 18

Chelonian
Chelonian [2005-04-24 19:02:33]
ขออีแมว(อีเมลล์)ของน้องเล้งด้วยครับ
เบอร์โทรด้วย ของผม015951709

ความคิดเห็นที่ 19

น้องเล้ง
น้องเล้ง (61.90.102.245) [2005-04-24 20:31:01]
nonglang@hotmail.com ครับ...

ความคิดเห็นที่ 20

hut
hut [2005-05-14 23:38:42]
เข้ามาอ่านเปงรอบที่3แล้วววว และก็ขอจองหนังสือ(ล่วงหน้า)อีกคนคะ อุ อิ
ด้านบน

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนทำรายการ

เข้าระบบ