Skip to content

ปรับปรุง เว็บไซต์ เยอะแยะเลย ลองกดเข้าไปเล่นดูสิ ตอนนี้ มีหมอตั้ม มาประจำที่ โรงพยาบาลแล้วนะครับ ใครมีปัญหาปลาป่วย ปรึกษาได้ครับ

Arowazone เว็บบอร์ด สำหรับ เพื่อนๆ ที่รักการเลี้ยงปลาในครอบครัว Osteoglossidae ไม่ว่าจะเป็นอะโรวาน่าจากทวีปเอเชีย อเมริกาใต้ ออสเตรเลีย หรือ อัฟริกา ไว้พูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

0000380

อยากทราบว่าปกติทุกท่าน ที่เลี้ยงอะโรใส่เกลือกันบ้างหรือเปล่า

lek
lek (unknown) [2003-08-29 09:01:18]
อยากทราบว่าปกติทุกท่าน ที่เลี้ยงอะโรใส่เกลือกันบ้างหรือเปล่า ปริมาณขนาดไหนเวลาปลาปกติสบายดีต้องใส่ไหม คือ ปลาที่บ้านตอนนี้ไม่ค่อยยอมกินอาหารเปลี่ยนสารพัดไม่ว่าจะ กบ จิ้งหรีด หนอน กุ้งก็ไม่กินการใส่เกลือจะช่วยได้ไหม และเกลือต้องเป็นแบบเม็ดหรือเปล่าเกลือทำอาหารใส่ได้ไหม ขอบคุณครับ

ความคิดเห็นที่ 1

JJ
JJ (203.155.29.5) [2003-08-29 11:03:02]
ตัวผมเองใส่ครับ แต่จะมากน้อยขนาดไหนก็ต้องแล้วแต่ขนาดของตู้และปริมาณของน้ำที่ใส่ในตู้ด้วยครับ
ถ้าจะให้ตามสูตร ที่ผมรู้ๆมาก็ น้ำ1ลิตรก็ใส่เกลือ1กรัครับ ในกรณีใส่ปกติ แต่ถ้ากรณีรักษาโดยใช้เกลือ
ก็ ใส่ในปริมาณ น้ำ 1 ลิตร ใส่เกลือ3กรัมครับ เกลือที่ใส่ก็เป็นเกลือเม็ดครับ บางคนก็ใช้เกลือถุง
ที่ทำอาหาร ใช้ได้ครับแต่จะดีหรือไม่ดีอย่างไรนั้นผมไม่รู้ครับ ผมใช้แต่เกลือเม็ดเท่านั้นครับผมเองแล้วทุกครั้งที่
เปลี่ยนน้ำก็ใส่แบบกะๆเอาครับตู้ 72-30-30ผมก็ใส่ สามกำมือครับ ส่วนตู้ 60-20-20 ก็กำมือเดียวครับ
บางครั้งก็ลืมไม่ได้ใส่หรือกรณีเกลือหมดก็ผ่านไปใส่ครั้งหน้าเมื่อเปลี่ยนถ่ายน้ำครั้งต่อไปครับ เทคนิคใครเทคนิคมันครับต้องสังเกตุกันเอาเองว่า ใส่แล้วปลามีอาการอย่างไร สดชื่นขึ้นหรือหงอยลงไป ดีต่อตัวปลาที่เราเลี้ยงขนาดไหนก็ลองดูครับส่วนปลาที่ไม่ค่อยยอมกินอาหาร หมายความว่ายังกินบ้าง ไม่ต้องตกใจครับเท่าที่รู้ เป็นอาการปกติของปลาครับในกรณีไม่ได้เป็นโรคหรือบาดเจ็บนะครับ ไม่กินก็ไม่ต้องไปง้อครับ หย่อยให้ไม่กินก็ตักออก ท่าทางปลาคุณ เล็กนี่เจ้าของเอาใจน่าดูนะครับ ให้อาหารสารพัดชนิดยังเล่นตัว อย่างนี้ก็ต้องหัดนิสัยใหม่ ครับ ไม่นานก็กินเองไม่นานนี่ผมไม่รู้ว่าเท่าไหร่ บางตัวเป็นเดือนยังไม่แตะเลย แต่ไม่ใช่ปลาผมนะครับ ของผมตอนนี้เล่นตัวทั้งสองตัวไม่กินอะไร มาเป็นอาทิตย์แล้วครับ ต้องอดทนครับปลาอดทนได้เราก็ต้องอดทน ถือว่าเป็นการฝึกความอดทน
ระหว่างคนกับปลาครับ
ไหนๆ ก็ถามมาเรื่องนี้แล้วก็เลยเอาเรื่องเกลือที่เพื่อนๆ พี่ๆน้องๆ เค้าคุยกันมาให้อ่านประดับความรู้อีกทีไอ้ผมก็
อ่านๆมาแล้วก็มาเลือกใช้ให้เหมาะกับการเลี้ยงปลาของเรา ใครเป็นใครก็ลองอ่านดูแล้วกันครับ ว่าอย่างน้อยผม
ก็ลอกๆเขามาให้อ่านอีกที ผลประโยชน์ก็ต้องยกให้ท่านๆเหล่านี้นะครับ อย่าลืมนะครับว่าต้องเลือกใช้เลือกทำ
ในสิ่งที่คิดว่าดีสำหรับเราและปลานะครับ


...เกลือนั้นสำคัญไฉน
รบกวนหน่อยครับ
ได้ยินมามากว่าการใส่เกลือมีประโยชน์ช่วยปลาได้ในหลายกรณี.....แก้ปลาเพลีย...แก้โรค...ฯลฯ
1. อยากทราบเหตุผลน่ะครับ ว่ามันช่วยยังไง จะได้เข้าใจเพื่อนำไปใช้ได้ถูกต้องในกรณีอื่น ๆ ด้วยน่ะครับ
อย่างพวกยาปฏิชีวนะ เราก็รู้ว่ามันช่วยฆ่าเชื้อโรค หรือว่าเกลือช่วยยับยั้งการเติบของเชื้อโรค
2. ขนาดที่ใช้เป็นอัตราส่วนต่อน้ำเท่าไรครับ (แตกต่างกันไหมในกรณีทั่ว ๆ ไป กับกรณีรักษาโรค)
...เพราะมักได้ยินแต่เพียงว่าใส่พอประมาณ, ใส่พอให้ออกรสประแล่ม ๆ, บ้างก็ว่าอย่างนี้ต้องใส่มาก ๆ นะไม่งั้นไม่หาย..ฯลฯ ทำให้ยากต่อการปฏิบัติจริงขอบคุณครับ
จากคุณ : ช้างน้ำ

เริ่มแรกก็ต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่าคำว่าเกลือในที่นี้ต้องหมายถึงเกลือแกงอาจจะมีไอโอดีนผสมหรือไม่ก็ได้ แต่ไม่ใช่เกลือทะเลเพราะเกลือทะเลไม่เหมาะที่จะใส่กับปลาน้ำจืดอยู่แล้วเพราะตามธรรมชาติของปลาน้ำจืดแทบจะไม่มีสารอื่นๆที่มีอยู่ในเกลือทะเลเลยปลาทุกชนิดได้ประโยชน์จากการเติมเกลือแกงหรือไม่ตอบได้เลยว่าไม่ทุกชนิด ถ้าเป็นปลาตระกูล Livebearers เช่นปลาสอด
ปลาหางนกยูง หรือปลาพวกBrackish เช่นปลาโมโน ปลาเสือดาว ปลาปักเป้า พวกนี้ชอบเกลือมากอัตราการรอดชีวิตและทนต่อโรคชัดเจนแล้วว่าใส่เกลือดีกว่าไม่ใส่ส่วนปลาพวกปลาตระกูลBarb เช่นปลาเสือสุมาตรา ปลาม้าลาย หรือปลาตระกูลtetra เช่นคองโกเตตร้า
ปลาบรีดดิ้วฮารต์ พวกนี้ไม่ค่อยชอบเกลือเท่าไหร่และทนต่อความเข้มข้นของเกลือน้อยกว่าพวกแรกๆมาก
ส่วนปลาตระกูลแพะทั้งหลายนี่ยิ่งไม่ชอบพวกเกลือเลยและทนต่อความเข้มข้นของเกลือได้น้อยมาก
คราวนี้เราจะพูดประโยช์ของเกลือกันบ้างในแง่การป้องกันโรคต่างๆ
1.เกลือจะช่วยให้สมดุลของเกลือแร่ดีขึ้นโดยเฉพาะเวลาปลาป่วยจะช่วยลดภาวะosmosis ผ่านเหงือกปลา ซึ่งมีประโยชน์มากในช่วงที่ปลาป่วย
ซึ่งการควบคุมสมดุลเกลือแร่ในร่างกายจะเสียไป
2.เกลือช่วยกระตุ้นให้ปลาขับเมือกบางๆปกคลุมร่างกายช่วยป้องกันเชื้อโรคในระดับหนึ่งและกรณีเป็นแผลต่างๆ การหายของแผลจะเร็วขึ้นมากเพราะร่างกายปลาจะมีการไหลของน้ำเหลือง(มีทั้งภูมิต้านทานต่างๆและเม็ดเลือดขาว)มาบริเวณบาดแผลมากขึ้น
3.เชื้อก่อโรคหลายๆอย่างไม่ชอบเกลือเช่นโรคจุดขาวเป็นต้นเมื่อมีประโยชน์ก็ต้องมีโทษเป็นของธรรมดาคู่กัน
อันตรายของการใส่เกลือ
1.เกลือ Nacl ทำให้ค่า general hardness เพิ่มสูงขึ้นซึ่งปลาบางชนิดเมื่อใส่เกลือไปนานๆหรือบ่อยครั้งเข้าถึงกับตายเลยก็มีโดยเฉพาะ
ปลาที่ชอบน้ำอ่อน (soft water)ตัวอย่างปลาพวกนี้เช่นปลาปอมฯ ปลานีออน ปลาcardinal tetra ปลางวงช้างเป็นต้นรวมถึงต้นไม้น้ำทั้งหลายด้วย
2.ถ้าใส่เกลือปริมาณมากๆโดยไม่เอาไปละลายน้ำก่อนจะไประคายเคืองผิวปลารุนแรงได้เหมือนคนโดนน้ำร้อoอย่างไรอย่างนั้นเลยชัดๆก็ต้องปลากลุ่มที่ไม่มีเกล็ดทั้งหลายพวกปลาไหล ปลางวงช้างคราวนี้ก็เป็นขนาดของเกลือที่ใช่กันอย่าางปลอดภัยและได้ผลก็คือ 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 20 ลิตร ดังนั้นตู้ใครจุน้ำได้เท่าไหร่ก็ต้องไปคำนวณกันเอง
สรุปก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของแต่ละคนแต่ละกรณีไปเช่นใครเลี้ยงปลาหลายๆชนิดรวมๆกันจะใส่เกลือหรือไม่ใส่ก็ต้องตัดสินใจกันเอง อิอิ โอยเหนื่อยเท่านี้ก่อน bye bye
จากคุณ : festae2002


เท่าทีผมเคยรู้มานะครับ (มะรู้ถูกอะเปล่านะครับ) ปลาน้ำจืดเวลาตกใจจะขับเกลือแร่ออกมา เหมือนเวลาคนเราตกใจเสียเกลือแร่นะครับเราก็จำเป็นต้องได้เกลือแร่เข้าไปทดแทนนะครับ โดยปกติถ้าปลาอยู่ตามธรรมชาติในน้ำก็จะมีเกลือแร่ละลายอยู่นะครับ แต่ในน้ำประปานี้มีน้อย
นะครับเราจึงต้องใส่เพือช่วยเขาอีกทางนึงนะครับ แล้วเกลือยังไปช่วยปรับสภาพน้ำช่วยสลายยูเรีย และฆ่าเชื้อบางตัวด้วยนะครับ
จากคุณ : karin

ผมสงสัยประเด็นที่ว่าเกลือทะเลไม่เหมาะกับนำมาเลี้ยงปลา เพราะที่เราเห็นๆเขาขายกันอยู่ก็เป็นเกลือทะเลที่ได้จากนาเกลือขายข้างทางตามจังหวัดชายทะเลเกือบทั้งนั้น ส่วนเกลือสินเธานั้นเท่าที่ผมทราบเขาจะผลิตไปเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมด้านเคมีซะส่วนใหญ่(รายใหญ่บริษัทเกลือพิมาย)ที่ใช้บริโภคจะน้อย และมักจะผสมไอโอดีนสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ใช้เพื่อบริโภค ส่วนพวกเกลือสูบที่ใช้วิธีนาตากนาต้มแถบจังหวัดภาคอีสานหรือภาคเหนือก็เป็นการขายรายย่อยมากกว่าน่ะครับ
จากคุณ : นั่งหน้าจอ


ยังเชื่อว่าใช้เกลือทะเลดีที่สุดตามธรรมชาติ เกลือทะเล เกิดจากสารละลายผ่านแม่น้ำ(น้ำจืด) ลงสู่ทะเล สารละลาย ต่างๆเกิดการรวมตัวทำให้เป็นน้ำเค็ม
(เรียนมาเป็นอย่างนี้ไม่ใข่หรือ)ฉะนั้นสารที่มีอยู่ในน้ำเค็ม น่ามาจากน้ำจืดชะล้างลงไป
จากคุณ : โชค55

การใช้เกลือกับปลารันชู (โดยคุณOkame)
USING COMMON SALT
Per Imperial gallon
Per US gallon

USE
Recommended Strength
Grams per litre
Ounces
Level teaspoons
Ounces
Level teaspoons

General aquarium additive ? mild nitrite protection
0.1%
1gm
0.16
1
0.13
?

Preventive and general nitrite protection
0.3%
3 gm
0.48
2 ?
0.4
2 ?

Supportive for coldwater
0.9%
9 gm
1.44
8
1.2
6 ?

Short-term salt dip
3.0%
30 gm
4.8
27
4.0
22 ?

ผมมีตารางการใช้เกลือจาก http://members.aol.com/sirchin/goldfish.htm มาฝากนะครับ (ดูปริมาณเกลือที่ต้องใช้จากตารางนะครับ)
ใช้เพื่อป้องกันการเพิ่มปริมาณของ ไนเตรท ที่ไม่มากนัก ใช้แบบ Preventive ก็คือ ?กันไว้ก่อนแก้ ? นั่นเองเขาคงหมายถึง พวกปรสิตหรือแบคทีเรียต่างๆ และก็ยังป้องกันการเพิ่มของไนเตรทด้วย ช่วยรักษาแผลที่ตัวปลา (ulcers) ที่มักเกิดกับช่วงที่น้ำเย็นมาก Short-term salt dips ตรงนี้หมายถึง การนำปลาไปแช่ (dip) ในน้ำเกลือที่มีความเข้มข้นสูง (30 กรัม /น้ำ 1 ลิตร)เขาเเช่ปลากันแบบ short term นะครับคือ แช่ไม่นาน แต่เขาไม่ได้บอกว่ากี่นาที ถ้าพบข้อมูลจะ post บอกในโอกาสต่อไป
เพื่อใช้กำจัดพวกปรสิต, ใช้ช่วยรักษาสมดุลของเกลือแร่ในกรณีที่มีการเคลื่อนย้ายหรือเดินทาง อาจเรียกว่าช่วยลดความเครียดก็ว่าได้มั้งครับแต่ว่าวิธีนี้จะทำให้ปลาขับเมือกออกมามากทำให้ปลาอ่อนไหวต่อการรักษาในขั้นตอนต่อไป หมายความว่าหลังจากใช้วิธีนี้รักษาแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ก่อนที่จะให้ยาตัวอื่นต้องระวังด้วยนะครับ
ส่วนความจำเป็นว่าต้องใส่เกลือหลังจากเปลี่ยนน้ำใหม่หรือไม่นั้น จริงอยู่หลังจากที่คุณเปลี่ยนน้ำ สารไนเตรทก็คงยังไม่มี แต่หลังจากนั้นล่ะครับ คุณอาจจะขี้เกียจเปลี่ยนน้ำหรือเหตุผลอื่นๆอีกจิปาถะเช่นให้อาหารมากไป น้ำอาจจะมีปรสิตแฝงอยู่ ผมว่ากันไว้ก่อนแก้ดีกว่าไหมครับเหมือนที่คุณ Okamoto เขาบอกว่าเกลือคือเฟอนิเจอร์สำหรับบ่อปลาเชียวนะครับ ผมได้ข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับ Salt Dips (การแช่ปลาในน้ำเกลือที่มีความเข้นข้นสูง)
เลยนำมาฝากเผื่อเพื่อน ๆ ที่สนใจจะได้นำไปรักษาปลาได้อย่างถูกวิธี
ข้อห้ามใช้
ลูกปลาหรือปลาที่เล็กมาก
ปลาที่ไม่เคยเลี้ยงด้วยวิธีคุมเกลือมาก่อน
ปลาที่อยู่ระหว่างการรักษาเนื่องจากน้ำมีแอมโมเนีย หรือของเสียชนิดอื่นปนอยู่ (เหงือกช้ำเลือดหรือมีสีแดงปนดำ)
วีธีรักษา
ผสมเกลือลงในน้ำ
ใส่ปลาที่ต้องการรักษาและเริ่มจับเวลา ให้แช่ปลาเป็นเวลา 30 วินาทีสำหรับปลาที่มีอาการทุรนทุราย (stressed) หรือปลาเล็ก
สำหรับปลาที่ยังคงว่ายน้ำอย่างต่อเนื่องแบบไม่มีอาการ stressed สามารถแช่ได้นานถึง 5 นาที
ปลาจะลอยขึ้นบนผิวน้ำด้านบน หรือด้านข้าง เราต้องพยายามกระตุ้น(poke) เพื่อที่ปลาจะได้จมลงและว่ายน้ำ
ถ้าปลาที่ไม่ยอมจมลงและไม่ยอมว่ายน้ำอย่างรวดเร็วในขณะที่เรากระตุ้น ให้หยุดโดยนำปลาออกไปไว้ในน้ำที่สะอาด ไม่เป็นวิธีที่ดีที่จะนำปลากลับไปไว้ที่เดิมจนกว่าคุณได้ทำความสะอาดและได้มีการทำอะไรสักอย่างเพื่อป้องกัน(treat)ปรสิตไว้เรียบร้อยแล้ว อย่าแช่ปลาเกิน 5 นาทีแม้ว่าปลาจะแสดงอาการที่ดี เพราะทิ้งปลาเกิน 5 นาทีปลาจะตาย สำหรับปลาเล็กที่ลอยขึ้นบนผิวน้ำด้านบน และมีอาการ ให้รีบนำออก เนื่องจากเหงือกปลาทนไม่ไหวแม้เพียง 2-3 วินาทีก็ตาม

คําเตือน
ปลาที่จมอยู่ในน้ำและยืนน้ำอยู่เฉย ๆ เป็นเรื่องปกติ
หลังจากที่แช่ปลาแล้ว ปลาจะขับของเสียและแอมโมเนียออกทางเหงือก ดังนั้นต้องคอยตรวจสอบคุณภาพน้ำและเปลี่ยนน้ำตามความเหมาะสม ข้อมูลจาก (url)http://puregold.aquaria.net/disease/treatment/trtmnt.htm#SALT DIPS(url)

เท่าที่ผมหาข้อมูลได้ Salt Dip จะใช้ความเข้มข้นอยู่ในช่วง 1.5 % - 3 % หรือ 15 กรัม - 30 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร
ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ ลองอ่านดูในกระทู้เก่านะครับ การทำ Salt dip มีอันตรายกับปลาศึกษาให้เข้าใจก่อนใช้นะครับ สำหรับปลาเล็กอาจจะใช้โดสที่น้อยลง(รายละเอียดในเรื่องข้อห้ามใช้จากกระทู้เรืองเกลือ) หรือ อาจใช้ Long term dosage แทนก็ได้นะครับ โดยแบ่งเกลือเป็น 3 ส่วน ทยอยใส่เพื่อให้ปลาปรับตัวได้ ห่างกันประมาณ 12 ชมในแต่ละส่วน ที่ความเข้มข้น0.3 % - 0.5 % (3-5 กรัม / ลิตร ) ทิ้งไว้ประมาณ 3-4 วัน(ช่วงนี้อาจจะต้องเปลี่ยนน้ำบางส่วนตามสภาพของคุณภาพน้ำ)หลังจากค่อย ๆ
ทำให้เกลือเจืองจางลงโดยการเปลี่ยนน้ำบางส่วน 30-40 % โดย Okame เมื่อ วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม 2544, 15:03:19 น. และ วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน 2544
ที่มา: เวปบอร์ด showranchu.com เขียนโดย คุณOkame ขอบคุณครับ

เลี้ยงอโรวน่า ตู้ขนาด 60 24 24 ต้องใส่เกลื่อในปริมาณเท่าไหร่ ในกรณ๊
1. ตู้ใหม่เพิ่งใส่ปลา
2. เวลาเปลี่ยนน้ำทุกครั้ง (ประมาณ 20%)
จากคุณ : ต้น

ตามสูตรไม่รู้ แต่ผมก้อมีใช้ตู้ขนาดนี้ ใส่ 1 ถ้วยกาแฟครับ
จากคุณ : HANGLENG7

ผมใช้ 1 กำมือใหญ่ๆ ครับ
จากคุณ : papy

ต้องใส่เกลือด้วยใช่มั้ยครับ ถ้าไม่ใส่จะมีผลเสียมั้ยครับเพิ่งหัดเลี้ยงเหมือนกัน
จากคุณ : c

ใส่เกลือน้ำจะขุ่นขาว
จากคุณ : เล็กสาธุ (เล็กสาธุ)

ใช้สูตรตามนี้ (ปกติ)
1. 60x24x24x0.016(ค่าคงที่)=552.96g
2. 20% = 552.96*0.2=110.592g
หมายเหตุในกรณีใช้เกลือเพื่อการรักษาโรคในปลา รวมทั้งเห็บ ให้ใส่เกลือเป็น 3-4 เท่าของอัตราปกติ และเกลือที่ใช้ควรเป็นเกลือสมุทร..การใส่เกลือในปริมาณดังกล่าวไม่ทำให้น้ำขุ่นขาวแต่อย่างใด อาจเป็นก็แค่ 2-3 นาทีแรกทั้งนี้ขึ้นกับระบบกรองด้วย ..
จากคุณ : เล่าปี่

อย่างที่คุณเล่าปี่บอกไว้ครับ ผมขอขยายความหน่อยก็แล้วกันโดยปกติแล้ว ผมจะใส่เกลือ 0.1% นั่นคือ น้ำ 1 ลิตรใส่เกลือ 1 กรัมการคำนวนตู้ 60/24/24 ก็เท่ากับ 552.96 ลิตรก็เท่ากันใส่เกลือ 552.96 กรัม ก็ครึ่งกิโลกว่า ๆ เท่านั้นเองครับเวลาปลาป่วยจะใส่ที่ 0.3% ก็คือสามเท่าของปกติเวลาน้ำระเหย เกลือไม่ได้ไปด้วยนะครับ เติมแต่น้ำ
แต่เวลาถ่ายเปลี่ยนน้ำ ก็ใส่เกลือเฉพาะส่วนที่เราถ่ายน้ำออกไป อย่าไปใส่แบบปริมาณน้ำทั้งตู้นะครับ
แต่....คุณเติมน้ำเต็มตู้เพื่อใช้เลี้ยงอะโรฯ หรือเครับ ปกติผมจะเติมที่ 20 นิ้ว เพราะฉะนั้นปริมาณน้ำก็เท่ากับ 460 ลิตร ก็จะใส่เกลือ 460 กรัมน้ำที่ใส่เกลือ ก็ใสครับ แต่ไม่ใสเท่าน้ำเปล่า ๆ หรอกครับเรื่องใส่เกลือในตู้อะโรฯ แล้วแต่ชอบครับ ไม่ได้เป็นกฏตายตัว ใส่ก็ได้ ไม่ใส่ก็ได้
ผมก็ใส่มั่งไม่ใส่มั่ง แต่...ตอนนี้ใส่ตลอดแล้วครับ เพราะการใส่เกลือที่ 0.1% ทำให้ปลาเป็นโรคน้อยลงเยอะครับ เช่น fungus ก็เกิดยากขึ้น ฯลฯดูเหมือนว่าใส่เกลือเยอะนะครับ แต่รับรองปลาอยู่ได้ครับ เกลือซื้อทีหนึ่งถุงใหญ่ ๆ เลยครับ ซื้อแถวบางแสนก็ได้ถูกดี ซันเดย์ก็มีครับเช่นร้านพรหมประทาน
จากคุณ : ปิติ99

ใส่เกลือในตู้ปลา--มีประโยชน์จริง หรือเป็นเพียงความเชื่อ-?? ไปอ่านจากกระทู้เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงแห่งหนึ่งมาอ่ะครับ ที่มีผู้ตอบเป็นสัตว์แพทย์ อ่านแล้วน่าคิดดีเลยเก็บเอามาฝากมีคนถามว่า "ทำไมต้องใส่เกลือในตู้ปลา เวลาเปลี่ยนน้ำ....."ผมก้ออยากรู้เหมือนกัน เพราะผมก้อใส่ทุกครั้งที่เปลี่ยนน้ำนะ...รู้สึกอุ่นใจดีว่า เกลือช่วยรักษาโรคปลา ฆ่าเชื้อโรค หรือกระทั่งปรับสภาพ...(ตามที่เคยศึกษาหาอ่านจากสารพัดหนังสือ และคำแนะนำจากหลาย ๆ คนมาแต่ไหนแต่ไร)แต่จากการอ่านคำตอบ พี่ ๆ สัตวแพทย์มีความเห็นว่า ไม่มีความจำเป็นต้องใส่เกลือสำหรับปลาน้ำจืด เพราะปลาสามารถปรับสภาพได้เอง เกลือไม่มีฤทธิ์ที่จะฆ่าเชื้อโรคได้อย่างที่ผมเคยเข้าใจ หรือหากต้องจะใส่เกลือให้ได้ประโยชน์จริง ๆ ก้อต้องมีระดับความเข้มข้นในระดับหนึ่งซึ่งต้องวัดค่าออกมาเป็นตัวเลข หากใส่น้อยไปก้อไม่มีผล มากไปก้ออันตราย.....หากปลาเป็นโรค และหวังผลในการรักษาจริง ๆ ควรใช้ยาที่ผลิตสำหรับโรคปลานั้น ๆ โดยเฉพาะ.....ส่วนเรื่องของการใส่เกลือเป็นเรื่องของความสบายใจของผู้เลี้ยงมากกว่า..ไม่ได้มีข้อดี หรือ ข้อเสียใด ๆ แสดงว่าทุกวันนี้ที่เห็นหลาย ๆ คนใส่เกลือกันแบบ กะ-กะ-เอาเป็นช้อนชา-ช้อนโต๊ะ..ในความเป็นจริงอาจแทบจะไม่ได้มีผลอะไรเลยซิครับ....อืมม มม ....ถ้ารู้กันแบบนี้แล้วยังจะใส่เกลือกันอีกรึเปล่าครับแต่สำหรับผม ผมใส่นะ....ก้ออย่างที่พี่หมอบอกแหละ เพื่อความสบายใจ
ของผู้เลี้ยง หุหุหุหุ
จากคุณ : Gold-E

สัตว์แพทย์คนไหนบอกกันนี่ว่าเกลือไม่จำเป็นเวลาเปลี่ยนถ่ายน้ำหรือถ้าปลาเป็นโรคนี่ ปลาอาจจะเครียด ทำให้สมดุลย์เกลือแร่ในร่างกายเสียไปการใส่เกลือจะช่วยได้ เพราะปลาจะดูดซึมเกลือแร่ผ่านผิวหนังหรือเหงือกโดยตรง เกลือมีผลต่อสุขภาพปลาแน่นอนครับ
ว่าแต่สัตว์แพทย์นี่เขาเรียนเน้นสัตว์บกนะครับ
จากคุณ : aquaman

เถียงกันไม่จบหรอก ก็อย่าลืมเรื่อง osmosisและ diffusion ด้วย....โดยส่วนตัวก็บอกหลายครั้งว่าไม่มีความจำเป็นเพราะเป็นปลาน้ำจืด ก่อนใส่เคยวัดมั๊ยค่าความเค็มของน้ำหน่ะ เพราะน้ำแต่ละช่วงเวลาก็เปลี่ยนไปบางช่วงน้ำดิบที่ใช้ผลิตน้ำประปามีความเค็มอยู่แล้วเติมไปก็เป็นปัญหากับปลาเปล่าๆ
จากคุณ : ย้ง

เลิกใช้มาหลาย ๆ ปีแล้ว...
จากคุณ : ho ho

หัวข้อนี้อาจจะเถียงกันไม่จบเหมือนคุณย้งว่าแล้วแต่ประสบการณ์ของแต่ละคน และแต่ละแหล่งความรู้ที่รับมา
แต่ก็พอจะสรุปได้ในเชิงวิชาการและแต่ละท่านก็สามารถตัดสินใจได้ว่าในแต่ละกรณีจะใช้เกลือหรือไม่ใช้เกลือ
เริ่มแรกก็ต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่าคำว่าเกลือในที่นี้ต้องหมายถึงเกลือแกงอาจจะมีไอโอดีนผสมหรือไม่ก็ได้ แต่ไม่ใช่เกลือทะเล เพราะเกลือทะเลไม่เหมาะที่จะใส่กับปลาน้ำจืดอยู่แล้วเพราะตามธรรมชาติของปลาน้ำจืดแทบจะไม่มีสารอื่นๆที่มีอยู่ในเกลือทะเลเลย
ปลาทุกชนิดได้ประโยชน์จากการเติมเกลือแกงหรือไม่ตอบได้เลยว่าไม่ทุกชนิด ถ้าเป็นปลาตระกูล Livebearers เช่นปลาสอด ปลาหางนกยูง หรือปลาพวกBrackish เช่นปลาโมโน ปลาเสือดาว ปลาปักเป้า พวกนี้ชอบเกลือมากอัตราการรอดชีวิตและทนต่อโรคชัดเจนแล้วว่าใส่เกลือดีกว่าไม่ใส่ส่วนปลาพวกปลาตระกูลBarb เช่นปลาเสือสุมาตรา ปลาม้าลาย หรือปลาตระกูลtetra เช่นคองโกเตตร้าปลาบรีดดิ้วฮารต์ พวกนี้ไม่ค่อยชอบเกลือเท่าไหร่และทนต่อความเข้มข้นของเกลือน้อยกว่าพวกแรกๆมาก
ส่วนปลาตระกูลแพะทั้งหลายนี่ยิ่งไม่ชอบพวกเกลือเลยและทนต่อความเข้มข้นของเกลือได้น้อยมาก

คราวนี้เราจะพูดประโยช์ของเกลือกันบ้างในแง่การป้องกันโรคต่างๆ
1.เกลือจะช่วยให้สมดุลของเกลือแร่ดีขึ้นโดยเฉพาะเวลาปลาป่วยจะช่วยลดภาวะosmosis ผ่านเหงือกปลา
ซึ่งมีประโยชน์มากในช่วงที่ปลาป่วยซึ่งการควบคุมสมดุลเกลือแร่ในร่างกายจะเสียไป
2.เกลือช่วยกระตุ้นให้ปลาขับเมือกบางๆปกคลุมร่างกายช่วยป้องกันเชื้อโรคในระดับหนึ่งและกรณีเป็นแผลต่างๆ การหายของแผลจะเร็ว
ขึ้นมากเพราะร่างกายปลาจะมีการไหลของน้ำเหลือง(มีทั้งภูมิต้านทานต่างๆและเม็ดเลือดขาว)มาบริเวณบาดแผลมากขึ้น
3.เชื้อก่อโรคหลายๆอย่างไม่ชอบเกลือเช่นโรคจุดขาวเป็นต้น

เมื่อมีประโยชน์ก็ต้องมีโทษเป็นของธรรมดาคู่กัน
อันตรายของการใส่เกลือ
1.เกลือ Nacl ทำให้ค่า general hardness เพิ่มสูงขึ้นซึ่งปลาบางชนิดเมื่อใส่เกลือไปนานๆหรือบ่อยครั้งเข้าถึงกับตายเลยก็มีโดยเฉพาะปลา
ที่ชอบน้ำอ่อน (soft water)ตัวอย่างปลาพวกนี้เช่นปลาปอมฯ ปลานีออนปลาcardinal tetra
ปลางวงช้างเป็นต้นรวมถึงต้นไม้น้ำทั้งหลายด้วย
2.ถ้าใส่เกลือปริมาณมากๆโดยไม่เอาไปละลายน้ำก่อนจะไประคายเคืองผิวปลารุนแรงได้เหมือนคนโดนน้ำร้อoอย่างไรอย่างนั้นเลยชัดๆก็ต้องปลากลุ่มที่ไม่มีเกล็ดทั้งหลายพวกปลาไหล ปลางวงช้างคราวนี้ก็เป็นขนาดของเกลือที่ใช่กันอย่าางปลอดภัยและได้ผลก็คือ 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 20 ลิตร ดังนั้นตู้ใครจุน้ำได้เท่าไหร่ก็ต้องไปคำนวณกันเอง
สรุปก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของแต่ละคนแต่ละกรณีไปเช่นใครเลี้ยงปลาหลายๆชนิดรวมๆกันจะใส่เกลือหรือไม่ใส่ก็ต้องตัดสินใจกันเอง
อิอิ โอยเหนื่อยเท่านี้ก่อน bye bye
จากคุณ : festae2002

ตัดสินใจกันเอาเองครับ ว่าวิธีไหนน่าจะเหมาะกับเรา
และปลานะครับ

ความคิดเห็นที่ 2

ตาลีบานนนน
ตาลีบานนนน (172.29.9.142, un) [2003-08-29 12:32:16]
อุแม่เจ้า ยาวจัง ฮิๆ

ความคิดเห็นที่ 3

arwn
arwn [2003-08-29 14:42:41]
ยาวๆ ..... ผมใช้ biosalt ครัน ทุกครั้งที่เปลี่ยนน้ำ

ความคิดเห็นที่ 4

jad
jad [2003-08-29 15:01:03]
ละเอียดมากครับ

ความคิดเห็นที่ 5

lek
lek (203.170.136.78) [2003-08-29 19:27:28]
ขอบคุณมากครับผม
ด้านบน

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนทำรายการ

เข้าระบบ