Skip to content

ปรับปรุง เว็บไซต์ เยอะแยะเลย ลองกดเข้าไปเล่นดูสิ ตอนนี้ มีหมอตั้ม มาประจำที่ โรงพยาบาลแล้วนะครับ ใครมีปัญหาปลาป่วย ปรึกษาได้ครับ

Arowazone เว็บบอร์ด สำหรับ เพื่อนๆ ที่รักการเลี้ยงปลาในครอบครัว Osteoglossidae ไม่ว่าจะเป็นอะโรวาน่าจากทวีปเอเชีย อเมริกาใต้ ออสเตรเลีย หรือ อัฟริกา ไว้พูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

0000938

อะโรวาน่าเขียว

วุฒิ
วุฒิ (192.168.4.42) [2004-02-22 20:05:12]
สวัสดีครับ คือ ผมอยากทราบว่า

1.) ประวัติของอะโรวาน่าเขียวพอประมาณครับ
2.) ผมอยากทราบว่าผมมีงบประมาณ 3,000 บาท จะสามารถซื้อ อะโรวาน่าเขียว ได้ใหมครับ และ
3.) อยากทราบว่า อะโรวาน่าเขียว กับ อะโรวาน่าทองอ่อน นั้นต่างกันอย่างไรครับ แล้ว \"ทองอ่อน\" มันคือ ทองมาเลฯ หรือ ทองอินโดฯ ครับ

คือ แต่ก่อนเคยเลี้ยง เงิน กับ ออสเตเรีย แต่ขณะนี้ผมอยากเลี้ยง ทองอ่อน แต่หาซื้อไม่ได้เลย( ขออภัยนะครับ เนื่องจากกำลังตัดสินใจซื้ออะโรวาน่าเขียว แต่งบน้อยและไม่ค่อยมีความรู้เท่าที่ควร ) ขอบคุณครับ

ความคิดเห็นที่ 1

ผมเองแหละ
ผมเองแหละ (172.29.9.142) [2004-02-23 09:56:27]
สามพันบาท ได้อโรเขียวแล้วหล่ะครับ
เขียวกับทองอ่อน ก็คือๆ กันแหละครับ
เขียวคือปลามีสังกัดมีค่าย (มีใบเซอร์)
แต่ทองอ่อน เป็นปลาไร้สังกัด (ไม่มีใบเซอร์และไม่ถูกกฏหมายเพราะฉะนั้นตอนนี้เลยไม่มีขาย)

ความคิดเห็นที่ 2

JJ
JJ (203.155.29.60) [2004-02-23 16:31:41]
ขอเพิ่มเติมจากคุณผมเองแหละ นะครับ
คงต้องเอามาให้อ่านกัน คงยาวหน่อยครับ ถ้าขี้เกียจอ่านก็เลือกอ่านเป็นช่วงๆเลือกในช่วงที่คิดว่ามีประโยชน์กับตัวเองก็แล้วกันครับผมคงเอามาให้อ่านกันยาวๆหลายๆท่าน เก็บเอาไว้นานแล้วช่วงนี้เห็นว่ามีคนสนใจปลาประเภทนี้กันมากขึ้น ขอบคุณเจ้าของเรื่องทั้งหมดนี้ด้วยนะครับ
มาลงให้อ่านกัน คุณแนน จากพันธ์ทิพย์ครับ
มังกรคุยมันส์ ตอนที่ 8 ... ?ตะพัด เขียว ทองอ่อน...ความเหมือนที่แตกต่าง? ทุกวันนี้นักเลี้ยงมือใหม่และผู้สนใจวัยละอ่อนจำนวนมากครับที่ยังสงสัยถึงความแตกต่าง
ระหว่างเจ้าเขียวกับทองอ่อนว่าต่างกันตรงไหน? จะรู้ได้ไงว่าเป็นทองอ่อนหรือเป็นเขียว? ผมจะถูกหลอกขายมั๊ยครับ? คำถามเหล่านี้ยังเป็นสิ่งติดค้างคาใจเรื่อยมา ...เรื่องนี้ผมเคยเขียนไปแล้วครับแต่คงยังไม่ละเอียดดี มาสิครับ วันนี้ลองมาอ่านกันอีกรอบกับ ?มังกรคุยมันส์ ตอนใหม่...ตะพัด เขียว ทองอ่อน...ความเหมือนที่แตกต่าง?... เมื่อก่อนนี้นะครับคนมักไม่ค่อยถามกันว่าทองอ่อนกับเขียว...ต่างกันตรงไหน? แต่มักจะถามว่า ?ตะพัด?กับเขียวเป็นตัวเดียวกันหรือไม่หรือถ้าต่างๆ กันยังไง? วันนี้ผมมีคำถามครับ แต่เป็นคำตอบจากตัวผมเองไม่ได้เป็นที่มาจากหนังสือที่เล่าเป็นเล่มเขียนเป็นเรื่องราว แต่ผมก็เชื่อว่าคำตอบของผม...หลายคนได้อ่านได้ฟังแล้วจะเข้าใจมากขึ้นครับ... ?ปลาตะพัด? กับ ?ปลามังกร? เป็นตัวเดียวกันนะครับ ปลามังกรเป็นสากลที่คนไทยเราใช้เรียกกัน แต่ปลาตะพัดเป็นคำไทยที่ใช้เรียกชื่อปลามังกรมาตั้งแต่สมัยก่อนครับ ในประเทศไทยเรามีปลาตะพัดสายพันธุ์เดียวนั่นก็คือ ?ตะพัดเขียว? หรือ ?ปลามังกรเขียว? (ภาษาอังกฤษเรียกว่า ?Green Arowana?) จึงเรียกปลามังกรเขียวว่าปลาตะพัด ฉะนั้นปลามังกรเขียวกับตะพัดคือตัวเดียวกันครับ นอกจากนี้คนไทยสมัยก่อนยังเรียกชื่อของมังกร
พันธุ์อื่นๆ โดยมีชื่อ ?ตะพัด? (ที่แปลว่าปลามังกร) อยู่นำหน้าด้วยอย่างเช่น...ตะพัดแดง ตะพัดทองอินโด ตะพัดทองมาเลย์ (แต่ไม่มีตะพัดออสเตรเลีย ตะพัดเงินและตะพัดดำ...นั่นก็เพราะว่าตอนที่เจ้าพวกเหล่านี้เข้ามาก็มีการเปลี่ยนชื่อเป็น ?ปลามังกร? นำหน้าซึ่งเป็นชื่อไทยสากลแล้วไงล่ะครับ) ต่อนะครับ...มังกรเขียวจริงๆ
จะมีลักษณะเป็นสีเขียวอมทอง (แต่ไม่ใช่แบบเขียวเข้มเป็นสีหยกแบบ Green Baseในทองมาเลย์) จะเป็นเขียวแบบ ?ดูแล้วเขียว? และมีประกายทองตามเกล็ด (นี่เป็นลักษณะในปลาใหญ่นะครับ ปลาเล็กดูยาก...แต่ก็จะมีแววแล้ว ปลาเขียวมีหลายที่นะครับ...มีทั้งที่ไทย มาเลย์ พม่า เขมร ลาวและประเทศเพื่อนบ้านละแวกไกล้เคียงกัน แต่สิ่งที่ผมอยากจะสื่อให้เพื่อนๆ เข้าใจครับ ?มรกต? มีปลายเกรดหลายราคาแต่ดูภายนอกแล้วก็ ?เขียว? เหมือนกันถ้าหากไม่มีการเปรียบเทียบกันแบบตัวต่อตัว...ความแตกต่างจะมีไม่มากครับ ประเทศเรามีมรกตเกรดดีหน่อย มาเลย์ก็ลองลงมา เขมร พม่า ลาว...ก็ค่อยๆ ลดหลั่นลงไป ก็เหมือนปลามังกรเขียวเราครับ...?เขียวไทย? เราในอดีตได้ชื่อว่าเป็นเขียวที่สวยที่สุดเหนือชั้นกว่าของที่อื่นนักแต่ในปัจจุบันเราไม่มีเหลือแล้ว (หรือเหลือแต่ไม่ถึงตลาดเรา)
ในขณะที่มาเลย์ทำการเพาะพันธุ์ได้ เขมรยังมีเหลือ พม่ายังมีตรึม ลาวก็มีไม่น้อย...ตลาดในปัจจุบันจึงมึแต่ ?เขียว? ของคนอื่นโดยเฉพาะมาเลย์และเขมรเขียวมาเลย์ก็แพงหน่อยเพราะเป็นปลาที่ได้เกิดจากการเพาะพันธุ์ มี Chip
มีใบเซอร์รับรองสายพันธุ์ (ค่าใช้จ่ายในการฝัง Chip ทำเซอร์แพงพอตัวครับเพราะ Chip และ Cer ก็เป็นเกรดเดียวกับของทองอินโด ทองมาเลย์และแดง) แต่ของเขมร...ยังไม่เจริญขนาดนั้นครับเรื่องการฝัง Chip แจก Cer จึงยังไม่มี...ผลคือราคาปลาถูกกว่า (แต่โดขึ้นอาจสวยทัดเทียมกันก็ได้ครับ...หรือดีไม่มีของถูกกว่าอาจสวยกว่าก็ได้นะครับ) ?ทองอ่อน? เป็นปลามังกรเขียวเกรดต่ำที่เกิดจากแหล่งน้ำธรรมดาครับ ไม่ได้มีแร่ธาตุสมบูรณ์ที่ทำให้สีปลาดี ปลามังกรทองอ่อนในวัยเล็กจะดูละม้ายคล้ายเขียวมากจะแตกต่างก็ตอนซัก 7-8 นิ้ว...หากเป็นเขียวเกล็ดปลาจะออกอมเขียวเหลือบเงาล่ะครับในขณะที่ทองอ่อน
ยังคงซีดขาวแบบนั้นอยู่ พอซัก 1 ฟุตจะยิ่งเห็นได้ชัดเมื่อปลาเขียวแท้จะมีสีเขียวเหลือบทองชัดเจน สีหางเป็นเขียวจนเกือบดำ ปลายขอบหางจะเป็นสีด่างๆ ขาวๆตัดกันชัดเจน ส่วนในปลาทองอ่อนตอนโตนั้นสียังคงขาว (แต่มีเหลือเงาสีทองอ่อนๆ) อยู่ สีหางเข้มครับแต่ไม่ถึงกับเขียวดำเหมือนกับเขียวแท้ ส่วนปลายหางจะมีขอบขาวด่างเหมือนกัน.... บทสรุปนะครับ...?ปลาตะพัด? คือ ?ปลามังกร? ครับ ?ตะพัดไทย? คือ ?มังกรเขียว? ...?มังกรเขียว? กับ ?ทองอ่อน? เป็นตัวเดียวกันต่างกันเพียงสีสันครับถ้ายังงงก็เข้าใจแบบนี้นะครับ...?ทองอ่อน? คือ ?ปลามังกรเขียวเกรดต่ำ? หรือ ?เขียวซีด? ครับ.... ขอบคุณมากนะครับที่อ่านจนถึงบรรทัดนี้ หวังว่าหลายคนคงจะเข้าใจมากขึ้น...Bye ครับ อีกเรื่องก็คือ ราคาปลาไม่ว่าจะเป็นอโรเขียวหรือทองอ่อน น่าจะหลักพันขึ้นครับที่ตลาดซันเดย์ ต่ำกว่านี้ก็เป็น ออสเตรเลีย ครับ ถูกสุดก็เป็น มังกรเงิน ครับ ส่วนตัวผม เองแล้วไม่ค่อยสนใจว่าจะเป็นทองอ่อนหรือเขียว ถ้าถูกใจก็เลี้ยงไว้เถอะครับ สวยไปอีกแบบหนึ่ง

ความคิดเห็นที่ 3

JJ
JJ (203.155.29.60) [2004-02-23 16:36:56]
ส่วนนี่ก็เป็นกระทู้เรื่องปลาชนิดนี้ที่น่าอ่านของคุณจุ้ย
ตาลีบานที่เคยตั้งกระทู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ครับ
เรามาถกกันดีกว่าครับว่า ...... เขียวกับทองอ่อน มันคือปลาตัวเดียวกันหรือไม่ เห็นพูดถึงกันมาหลายครั้งแล้วอ่ะนะครับว่าระหว่าง เขียว VS ทองอ่อน มันคือตัวเดียวกันหรือเปล่า...ก็จะมีสองฝ่ายที่ให้ความเห็นเห็นฝ่ายหนึ่งเห็นว่าเขียว กับทองอ่อน ..... คือปลาคนละตัวกันอีกฝ่ายหนึ่ง เห็นว่ามันก็คือปลาตัวเดียวกันจากเรื่องดังกล่าว...ผมก็ลองหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ตดูก็พบว่า คนไทย(บางกลุ่ม)แบ่งสายพันธุ์ปลามังกร
(อโรวาน่า) เอเชียกันดังนี้
1. ทองมาเลย์ (Cross Back Golden )
2. แดง (Red Arowana)
3. ทองอินโด (Red Tail Golden)
4. เรดบี (Yellow Tail)
5. เขียว (Green Arowana)
6. ทองอ่อน (ไม่รู้ว่าจะวงเล็บยั่งไงดี)
แต่กับเวปต่างประเทศส่วนใหญ่จะแบ่งดังนี้
1. ทองมาเลย์ (Cross Back Golden )
2. แดง (Red Arowana)
3. ทองอินโด (Red Tail Golden)
4. เรดบี (Yellow Tail)
5. เขียว (Green Arowana)
หรือบางที่ ก็ไม่ได้แยก เรดบีออกมา ก็จะแบ่งดังนี้
1. ทองมาเลย์ (Cross Back Golden )
2. แดง (Red Arowana)
3. ทองอินโด (Red Tail Golden)
4. เขียว (Green Arowana)
เท่าที่ผมได้ดูมาในเวป(ผมไม่ได้หมายถึงความเข้าใจและส่งที่ผมเห็นเป็นสิ่งที่ถูกนะครับ)อื่นๆ นอกจากประเทศไทย..ไม่เคยเห็นเวปที่ไหนแบ่งออกมาเป็น ท อ ง อ่ อ น เลยแม้แต่เวปเดียวผมจึงเข้าใจดังนี้จริงๆ แล้วทองอ่อนที่เราเรียกกัน ก็คืออโรวาน่าเขียวนั่นเองแต่คำว่าเขียว มันอาจจะดูไม่สวยงามทำให้ ไม่เป็นประโยชน์ทางการค้าเท่าไหร่ พ่อค้าปลาในเมืองไทยจึงบรรญัติคำว่า "ทองอ่อน" ขึ้นมาเพื่อให้ เจ้ามังกรเขียวเดิมดูมีคุณค่าเพิ่มขึ้นอีกหน่อย โดยมีคำว่า "ทอง" ประกอบอยู่หลังจากนั้นเป็นเวลาเนิ่นนานเท่าไหร่ไม่ทราบ................มันจึงกลายเป็นสายพันธุ์ทองอ่อนขึ้นมา แยกออกมาจากเขียวเพราะเหตุผลทางการค้า สายพันทองอ่อน จึงเกิดขึ้นตั้งแต่นั้นมาอีกเหตุผลนึงก็คือคำว่าเขียว ส่วนใหญ่จะใช้เรียก ปลาที่มีใบเซอร์ ส่วนทองอ่อน คือปลาถุงหรือปลาที่ไม่มีใบเซอร์หรือปลาที่จับมาจากประเทศเพื่อนบ้านเรา .... โดยอาจจะเพื่อเหตุผลทางการค้าหรือ ทางกฏหมาย ก็เลยจัดเจ้าพวกที่ไม่มีใบเซอร์หรือไม่มีการนำเข้าที่ถูกต้องเป็นทองอ่อนไป
ถ้าข้อสมมุติฐานของผมถูกเขียว กับทองอ่อนก็คือปลาตัวเดียวกันนั่นเองหากเพื่อนมีข้อมูลที่จะแย้ง หรือว่าจะถกเถียงกันเพื่อความรู้ก็ยินดีนะครับ.....การถกเถียงกันไม่ใช่เรื่องไม่ดี แต่ถ้าถกกันด้วยเหตุผลและการนำความรู้ของแต่ละคนมาแชร์กันมันคือแหล่งความรู้ที่มีคุณค่ามากครับ
นี่เป็นเวปอ้างอิงบ้างส่วนที่ผมเอามาแสดงว่าต่างประเทศเขาไม่มีเจ้ามังกรทองอ่อนกัน
http://www.geocities.com/arowanafanatics/arowana.htm
http://www.arofanatics.com/articles.php?content=beginnersguide
http://www.unoaquatic.com/selection.htm
http://home.netvigator.com/~ivan/arowana.htm
http://web.singnet.com.sg/~tskan/FrameSet_arowana_world.html
และยังมีอีกหลายๆ เวป ลองเข้าไปใน Google.com
แล้ว search คำว่า Type of Asian Arowana ดูนะครับ
จากคุณ : ตาลีบานนนน

ผมมองไม่เห็นความแตกต่างของมันเลยครับ
จากคุณ : TimeS-To-Enjoy

ผมมีความคิดที่ตรงกับ คุณ ตาลีบานนนน ครับ น่าจะเป็นเหตุผลทางการค้ามากกว่าครับเลยใช้คำว่าทองอ่อนแทนเขียว เพราะดูแล้วทำให้น่าสนใจและปลาแลดูมีราคาขึ้นครับ ทั้งที่จริงๆผมดูแล้วก็ไม่เห็นต่างกันเลย...เคยลองไปถามคนขายร้านขายปลาร้านหนึ่งไม่ขอเอ่ยนามละกัน..วันแรกไปถามพี่มีทองอ่อนมั๊ยครับ...เจ้าของร้านชี้ไปที่ตู้ด้านล่าง(มีประมาณ 4-5 ตัว)ดูแล้วเหมือนเขียวเลยถามว่าต่างจากเขียวยังงัย เจ้าของร้านบอกสีมันจะออกเหลืองๆ มากกว่าเขียว...ฟังแล้วแปล่งๆ...อีก2วันไปใหม่ที่ร้านเดิม...ถามพี่ๆมีเขียวมั๊ย...เจ้าของร้านชี้ไปที่ตู้ด้านล่าง(นี่มันไอ้4-5ตัวเดิมนี่หว่า)เกิดความสงสัยขึ้นมาในบัดดล
...นี่พี่เค้าจริงใจกับเราหรือเปล่าเนี่ย...หรือแค่ตั้งใจจะขายของให้ได้อย่างเดียว...ไม่เข้าใจพี่เค้าครับ...ออกมาดีกว่า...ไปดูร้านอื่นดีกว่า...เฮ้อ!!!แค่นี้แหละครับ
จากคุณ : บักเขียบ

คิดว่าเป็นตัวเดียวกันน่ะครับ แต่ว่าเขียวอาจจะดูสีสวยกว่านิดนึงครับ ของผมมีเขียวตัวนึงครับมีใบด้วยเขียนว่า
Green Arowana ครับ เมื่อก่อนเคยมีทองอ่อนตัวนึงครับ สีไม่ออกเขียวเลยครับ คิดว่าเป็นหลักการหลอกขายของพ่อค้าอ่ะครับ
จากคุณ : Nay.B

ความคิดเห็นที่ 4
ตอนที่ผมเลี้ยงทองอ่อนมา 2 ตัว พอมันโตแล้วหน้าตามันรวมทั้งสีไม่เห็นอโรเขียวเลย(ที่เป็นตะพัดไทยนะครับ)
จากคุณ : caveman (caveman)

พูดถึงตะพัดไทย
ตามความเข้าใจผมตะพัดไทย ก็คือ Green Arowana หรือปลาอโรวาน่าเขียวนั่นเอง.....คำว่าตะพัดคือคำเรียกปลาภาษาบ้านเรา บ้านเขาเรียอโรวาน่า.....สรุปก็คือ ตะพัด ก็คืออโรวาน่า ตะพัดไทยก็คือ อโรวาน่าเขียวตามความเข้าใจผม
จากคุณ : ตาลีบานนนน -

จะเลิกงานแล้ว อืม....วันจันทร์ผมจะมาคุยด้วยเรื่องนี้ต่อนะครับ...ไงก็ลองแสดงความคิดเห็นกันไว้นะครับ...
แต่ที่ผมอยากทราบก็คือ....อยากได้เป็นข้อมูลอ้างอิงอ่ะครับ ว่ามีการแบ่งมังกรเขียวออกเป็นเขียว กับทองอ่อนจริงหรือเปล่า...ถ้ามันเป็นคนละตัวกันจริงๆ ผมว่า น่าจะหาได้ไม่ยากเกินไปนะครับ
จากคุณ : ตาลีบานนนน

แต่สายพันธุ์ปลามังกรเอเซียทั้งหลายที่ต่างประเทศหรือคนไทยแยกออกมานั้น ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์เดียวกันนะครับ
นักวิทยาศาสตร์ถือว่าทุกสายพันธุ์ที่เป็นปลาอโรฯในเอเซียเหมือนกันหมดครับทั้งมาเลย์ อินโด แดง หรือเขียว เป็นชนิดเดียวกันครับ ปลาถึงสามารถนำมาผสมพันธุ์กันได้
ทำให้เกิดสายพันธุ์ใหม่ๆมาให้ปวดหัวกันเล่น เหมือนกำลังที่เป็นอยู่ในตอนนี้แต่ทางการค้าแล้ว เราถือว่า ต่างชนิดกันครับ เหมือนกับที่คุณตาลีบานนนน แยกออกมาให้ดูครับ
ดังนั้นคำว่ามาเลย์แท้ๆ หรือทองอินโดแท้ๆ เป็นการเข้าใจกันของพ่อค้าปลาและผู้ที่เล่นปลามังกรเท่านั้น ไม่มีทางพิสูจน์ทางหลักวิทยาศาสตร์ได้(เพราะนักวิทยาศาสตร์ถืิอว่าเป็นปลาชนิดเดียวกัน ไม่ได้แยกเหมือนกับเรา)
ถ้าใครศึกษาเรื่องปลามังกรของเอเซียอย่างดีแล้ว จะพบว่าเฉดสีของปลาแต่ละตัวนั้นจะไม่เหมือนกันทีเดียวนัก
ถึงแม้จะเป็นปลาในครอกเดียวกันก็ตาม จะมีสีแตกต่างกันออกไปเล็กน้อย แต่ถ้ามามองรวมถึงปลาที่พบทั่วทั้งเอเซียแล้วจะพบว่ามีสีปลาที่แตกต่างกันออกไปหลายเฉดสีมาก เหมือนกับที่พ่อค้าปลาแยกสายพันธุ์อยู่ในขณะนี้
ถ้าเรามามองแผนที่โลก เราจะพบว่าปลาที่พบบริเวณเส้นศูนย์สูตรปลาจะมีสีทองที่เข้มมาก เช่นในประเทศอินโดนีเซียที่เส้นศูนย์สูตรตัดผ่าน บริเวณที่พบปลาอโรฯจะมีสีทองที่เข้มมาก แต่ถ้าพบบริเวณที่เหนือหรือต่ำกว่านี้สีของปลาก็จะลดลงมาเรื่อยๆเช่นปลาที่พบบริเวณประเทศมาเลเซีย(จะอยู่เหนือกว่าเสันศูนย์สูตรขึ้นไป)จะพบว่าสีทองของปลาจะเข้มน้อยกว่าที่อินโดนีเซีย แต่บังเอิญว่าสีปลาที่พบในมาเลเซยนั้น เป็นปลาที่มีสีทองสวยงาม(ในสายตาของคนเรา)มากกว่าสีทองในประเทศอินโดนีเซ๊ย
ซึ่งมีสีทองเข้มจนเป็นสีทองแดง ส่วนในประเทศไทยที่พบบริเวณชายแดนไทย-มาเลย์ (อยู่เหนือจากเส้นศูนย์สูตรมากกว่า) ปลาอโรฯที่พบจะมีสีทองที่อ่อนมาก พ่อค้าปลาเลยตั้งว่ามังกรสีนาค หรือทองอ่อน เพราะปลาที่พบในบริเวณเหล่านี้ยังพอมีสีทองให้เห็นอยู่บ้าง(ถึงแม้จะต้องมองแบบเหลือบแสงถึงจะเห็น)ส่วนที่พบบริเวณหลังเขื่อนเชี่ยวหลาน จ. สุราษฏร์ จะเป็นปลาอโรฯสีเขียวหรือที่เราเรียกว่าปลาตะพัดในชื่อแบบไทยๆตลอกจนถึงปลาที่พบในพม่าหรือประเทศลาวหรือกัมพูชา สีของปลาก็จะเป็นสีเขียวทั้งสิ้น แต่ก็ยังมีความแตกต่างของเฉดสีไปบ้างแต่ก็ไม่มากนักส่วนปลาแดงของอินโดก็เช่นกัน พบเฉพาะแหล่งน้ำบางแหล่งในอินโดนีเซียเท่านั้นความแดงแต่ละแหล่งที่พบก็มีความแดงไม่เท่ากันเช่นกันจะเห็นได้ว่าแหล่งที่กำเนิดของปลาคือสิ่งที่ทำให้สีของปลาแตกต่างกันไม่ใช่ประเทศที่จับปลามาได้แล้วจะเป็นปลาสายพันธุ์นั้นๆ เช่นถ้าจับปลามาจากแหล่งน้ำประเทศมาเลเซีย แลัวจะเป็นปลาทองมาเลย์(ตามแบบฉบับที่เราเข้าใจกัน)นะครับ เพราะถ้าจับได้แถวบริเวณชายแดนไทย ต่อให้เราเลี้ยงให้ดีอย่างไรสีก็คงจะไม่สวยงามเหมือนกับเฉดสีปลามาเลย์ที่เราเข้าใจนะครับ หรือว่าปลาที่จับได้บริเวณด้านเหนือของประเทศอินโดนีเซีย(จะห่างจากเส้นศูนย์สูตรขึ้นไป) ถึงแม้จะเป็นทองอินโดฯก็จริงแต่เฉดสีจะไปคล้ายกับเฉดสีของปลามาเลย์ได้ครับ จากที่กล่าวมา เลยทำให้ผู้ที่เลี้ยงปลามังกรทั้งหลายรวมถึงพ่อค้าปลาได้ปวดหัวกันเล่นประจำๆกัยเฉดสีปลาที่เลี้ยง เพราะจะมาตรวจสอบทางวิทยาศาตร์ก็ไม่ได้ ใบเซอร์ก็ทราบกันดีอยู่หรอกว่าเป็นเทคนิดการค้าแบบหนึ่งในการที่ทำให้ขายปลาได้ง่าย และการส่งออกเท่านั้น เพราะสุดท้ายถ้าปลาโตขึ้นไม่เป็นไปตามเฉดสีที่เราเข้าใจแล้วก็ ต่อให้ใบเซอร์เป็นพันธุ์มาเลย์ แต่ปลาที่เราเลี้ยงเฉดสีออกไปทางอินโดฯ เราก็จำเป็นต้องยอมรับและเลี้ยงปลาตัวนั้นต่อไปครับการซื้อปลามังกรสายพันธุ์แพงๆ สำหรับผู้เล่นใหม่ๆจึงจะต้องระมัดระวังอย่างมาก ถึงแม้แต่เซียนก็น้ำตาตกมาหลายรายแล้วครับ เพราะความที่ไม่มีอะไรมาค้ำประกันได้จนกว่าปลาจะโตมาเป็นปลาใหญ่แล้วครับ
แต่เราจะไปโทษใครไม่ได้เพราะว่าเราไปยอมรับกติกาที่พ่อค้ากำหนดมาเองทั้งสิ้น แต่สิ่งเหล่านี้ที่เกิดก็เป็นสีสันแบบหนึ่งในวงการปลาอโรฯครับ จะต้องลุ้นทุกขณะในการเลี้ยง คล้ายๆกับกลุ่มปลาหมอสีที่เลี้ยงไปลุ้นไปเช่นกัน
จากคุณ : ปลาก้าง

ผมว่าเป็นตัวเดียวกันเหมือนกันเพียงแต่อาจจะต่างกันจากสถานที่พบมากกว่าครับ....เพราะผมเห็นหลายตัวแล้ว
โตมาก็สีเหมือนๆ กันครับ....
จากคุณ : Exotic_Fish

แดงก็มีแดงมากแดงน้อย เขียวก็มีเขียวมากเขียวน้อย เขียน น้อย ๆ ก็เรียกว่าทองอ่อน อ่ะครับ แต่จิง ๆ ก็ตัวเดียวกันครับ
จากคุณ : ป้อมจัง

ตะพัดเขียวนั้นพบได้ตั้งเเต่พม่า ไทย เขมร ไล่ลงมาถึงตอนเหนือของมาเลย์เซียนะครับ พื้นที่กวางขนาดนี้ปลาก็ย่อมมีการเเตกสีสันกันออกไปบ้าง นะครับก็ดูอย่างเสือลายเมฆ ทางเหนือกับทางใต้ สีผิวยังไม่เหมือนกันเลยนะครับเเต่ถามว่าควรจะเเยกกันออกไปเลยไหม ต้องถามว่าจะใช้อะไรเเยกนะครับ เพราะศัพท์คำว่าทองอ่อนนั้นเกิดมาจาก ร้านปลาต้องการเพิ่มมูลค่าปลาตัวนี้ พร้อมๆกับหลีกเลี่ยงเจ้าหน้าที่ไม่ให้น่าเกลียดนัก (เพราะคำว่าตะพัด อโรวาน่าเขียวนั้นเขาถือว่าเป็นปลาที่สามารถมีในธรรมชาติของไทยได้ไงครับ)
จากคุณ : อาร์ต9

ถ้าเขียวน้อยๆ เรียกทองอ่อน....
แล้วทองอินโดหางแดงน้อยๆ ตัวทองน้อยๆ
ไม่ต้องมี ทองอินโดอ่อน ทองหางแดงอ่อนๆ มาเลย์บลูเบสอ่อนๆ อีกเหรอครับสรุปก็คือ เขียวกับทองอ่อน จริงๆ แล้วก็คือตัวเดียวกันแหละ
จากคุณ : ตาลีบาน


ความคิดเห็นที่ 4

ไม่แตก
ไม่แตก (210.86.157.209) [2004-02-23 20:19:47]
ฝากไว้ก่อนเหอะ...พรุ่งนี้จะมาอ่านให้จบ....

ความคิดเห็นที่ 5

วุฒิ
วุฒิ (203.113.33.7) [2004-02-25 13:38:19]
ขอขอบคุณ คุณ JJ มากๆๆ เลยนะครับ ที่นำข้อมูลมาให้ทราบ กระจ่างขึ้นเยอะเลยครับผม

ความคิดเห็นที่ 6

ไม่แตก
ไม่แตก (210.86.157.250) [2004-02-29 18:44:16]
อ่านจบจนได้ครับ....ได้อะไรมาเยอะเลยละครับ (ไม่ต้องไปค้นเอง) รู้แล้วครับว่า อะไรเป็นอะไร แต่ขอเก็บไว้ในใจครับ ขอบคุณ คุณ เจเจ มากครับ

ความคิดเห็นที่ 7

ต้อม
ต้อม (203.209.110.216) [2004-03-31 21:50:56]
คุณวุฒิ ร้านต้นไม้น้ำสิจุตุจักรโครงการพระสุ
ลองไปดูมีทองอ่อนแน่นอน4นิ้วราคา1500-1700บาท
(alobin arowana)
ด้านบน

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนทำรายการ

เข้าระบบ