Skip to content

ปรับปรุง เว็บไซต์ เยอะแยะเลย ลองกดเข้าไปเล่นดูสิ ตอนนี้ มีหมอตั้ม มาประจำที่ โรงพยาบาลแล้วนะครับ ใครมีปัญหาปลาป่วย ปรึกษาได้ครับ

Arowazone เว็บบอร์ด สำหรับ เพื่อนๆ ที่รักการเลี้ยงปลาในครอบครัว Osteoglossidae ไม่ว่าจะเป็นอะโรวาน่าจากทวีปเอเชีย อเมริกาใต้ ออสเตรเลีย หรือ อัฟริกา ไว้พูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

0001556

ถามเรื่องการเพาะอโร

mai2229
mai2229
3
[2004-08-06 19:04:41]
1. ตอนนี้เขียวเล็กมีใบเซอร์เท่าไหร่ครับ
2. ในนี้มีใครเพาะอโรได้มั่งครับ อยากได้เวปครับ
3. การทําใบคุ้มครอง ถ้าอยู่ต่างจังหวัดทําไงครับ
ขอบคุณครับ

ความคิดเห็นที่ 1

Baiboon
Baiboon [2004-08-07 01:40:46]
ไปดูที่ www.Arowanadream.com ละกันนะ

ความคิดเห็นที่ 2

Cheetah
Cheetah
17
[2004-08-07 07:23:48]
ไปดูที่ pantip ก็ได้คับ

ความคิดเห็นที่ 3

Cheetah
Cheetah
17
[2004-08-07 07:46:01]
เอามาให้ดูก็แล้วกัน

เทคนิคการเพาะขยายพันธุ์ปลา Golden Arowana ของมาเลเซีย ในบ่อซีเมนต์
Golden Arowana เป็นปลาสวยงามพื้นเมืองของมาเลเซีย ซึ่งได้รับความนิยมและเป็นปลาที่มีราคาแพง ปลาชนิดนี้มีเฉพาะในทะเลสาบ Bukit Merah เมือง Perak ประเทศมาเลเซียเท่านั้น ในธรรมชาติปลาชนิดนี้จะผสมพันธุ์วางไข่ในเดือน ส.ค.-ต.ค. ของทุกปี ซึ่งชาวบ้านบริเวณรอบๆ ทะเลสาบจะทำการรวบรวมตัวอ่อนของปลาในช่วงเวลากลางคืน
ปลา Arowana ที่พบในแม่น้ำของประเทศมาเลเซีย มีอยู่ 2 ชนิด คือ สีเขียว และสีทอง โดยสีเขียวจะมีราคาถูกกว่า เมื่อเทียบกับสีทองซึ่งมีราคาสูงและเป็นที่นิยมมากกว่า โดยปกติจะพบ Golden Arowana อาศัยอยู่ในแม่น้ำ Kerian และแม่น้ำสาขาในเมือง Perak ซึ่งน้ำในธรรมชาติจะมีสภาพเป็นกรดเล็กน้อย น้ำสะอาด ปราศจากมลภาวะ โดยเฉพาะในบริเวณที่น้ำมีความลึกไม่มากกระแสน้ำไหลเชี่ยวและมีพืชขึ้นปกคลุมผิวหน้าน้ำ
เมื่อ Golden Arowana มีราคาสูงจึงทำให้สถานีวิจัยประมงน้ำจืดของประเทศมาเลเซีย Freshwater Fisheries Research Station (FFCR) เริ่มที่จะรวบรวมปลาจากธรรมชาติเพื่อนำมาใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ ปลาที่ได้มาจากธรรมชาติได้ถูกรวบรวมไว้ที่ทะเลสาบ Bukit Merah ในปี1990 และในปี 1996 ทาง FFCR ประสพความสำเร็จใตนการเพาะพันธุ์ Golden Arowana ในบ่อซีเมนต์เป็นครั้งแรก
การดูแลพ่อแม่พันธุ์
เลี้ยงพ่อแม่ในบ่อซีเมนต์ขนาด 5 X 5 เมตร ระดับน้ำ 0.5 เมตร ใช้ตาข่ายพลาสติกกั้นเพื่อป้องกันไม่ให้ปลากระโดด สร้างสิ่งแวดล้อมในบ่อให้ใกล้เคียงธรรมชาติ ควรหลีกเลี่ยงการนำก้อนหิน ก้อนกรวดมาตกแต่งในบ่อเพราะอาจทำให้ปลาได้รับอันตราย หรือเกิดอุบัติเหตุโดยบังเอิญในขณะที่ปลากินอาหาร บ่อที่เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ควรมีการพรางแสงและอยู่ในบริเวณที่เงียบสงบ
คุณภาพน้ำ
ถึงแม้ว่าปลาชนิดนี้จะเป็นปลาที่แข็งแรง แต่คุณภาพก็นับว่ามีความสำคัญเช่นกัน โดย pH ในบ่อที่เลี้ยงปลาควรจะอยู่ในช่วง 6.8-7.5 อุณหภูมิ 27-29 oC และความลึกที่ระดับ 0.5-0.75 เมตร ซึ่งน้ำที่นำมาใช้ในการเลี้ยงปลาควรเป็นน้ำที่ปราศจากคลอรีน
อาหาร
อาหารที่ใช้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์สามารถให้อาหารได้หลากหลายชนิด โดยจะต้องควบคุมปริมาณอาหารซึ่งจะมีผลต่อสุขภาพปลา ความสมบูรณ์เพศ และการวางไข่ อาหารที่ให้ต้องมีความหลากหลายและมีโปรตีนสูงซึ่งได้มาจากเนื้อสัตว์เป็นหลัก อาหารมีชีวิตที่ให้ได้แก่พวกปลาหางนกยูง, กุ้งน้ำจืด,ปลาทอง, เนื้อปลาสับ และเสริมด้วยอาหารเม็ดที่มีเปอร์เซนต์โปรตีนไม่น้อยกว่า 32% โดยปริมาณอาหารที่ให้ต่อวันเท่ากับ 2% ของน้ำหนักตัว
Golden Arowana จะสามารถผสมพันธุ์วางไข่ได้เมื่ออายุประมาณ 4 ปี ซึ่งปลาจะมีขนาด 45-60 เซนติเมตร ฤดูผสมพันธุ์จะอยู่ระหว่างเดือน ก.ค.-ธ.ค. ในธรรมชาติปลาเพศผู้จะเก็บรักษาไข่ที่ได้รับการผสมแล้วไว้ในช่องปาก จนกระทั่งลูกปลาสามารถว่ายน้ำได้อย่างอิสระเมื่ออายุประมาณ 2 เดือน มีรายงานว่า Arowana เพศเมียจะมีไข่ประมาณ 20-30 ฟอง/ฝัก และไข่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.9 เซนติเมตร
ความแตกต่างระหว่างเพศของปลา จะสามารถแยกเพศปลาได้เมื่อปลาถึงวัยเจริญพันธุ์ คือเมื่ออายุประมาณ 3-4 ปี โดยดูได้จากรูปร่าง ขนาดของช่องปากซึ่งปลาเพศผู้ลำตัวจะเรียวกว่าเพศเมีย ปากมีขนาดใหญ่และสีจะเข้มกว่าเพศเมีย ปากที่มีขนาดใหญ่กว่าเพื่อประโยชน์ในการการเก็บรักษาไข่ จึงทำให้หัวของปลาเพศผู้มีขนาดค่อนข้างใหญ่ และปลาเพศผู้ขณะที่กินอาหารจะมีลักษณะก้าวร้าว ดุดันกว่าปลาเพศเมีย
การผสมพันธุ์วางไข่
Arowana จะมีการเกี้ยวพาราสีกันเป็นเวลาหลายสัปดาห์หรืออาจเป็นเดือนก่อนที่จะจับคู่ผสมพันธุ์ โดยพฤติกรรมดังกล่าวมักเกิดในเวลากลางคืน โดยปลาจะว่ายน้ำบริเวณผิวน้ำ ปลาเพศผู้จะว่ายไล่ปลาเพศเมียไปรอบๆ บ่อ ซึ่งบางครั้งอาจใช้จมูกดันบริเวณหางของปลาเพศเมีย หลังจากนั้น 1-2 สัปดาห์ปลาเพศเมียก็จะวางไข่ลักษณะสีส้มแดง ตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อเข้าผสมและเก็บไข่ที่ได้รับการผสมแล้วไว้ในปากจนกระทั่งไข่ฟักเป็นตัวและลูกปลาว่ายน้ำได้ ประมาณ 1 สัปดาห์ไข่จะฟักเป็นตัว ลูกปลาจะอาศัยอยู่ในช่องปากของปลาเพศผู้ประมาณ 7-8 สัปดาห์จนกระทั่งถุงไข่แดงยุบลูกปลาจึงจะว่ายน้ำเป็นอิสระ ซึ่งลูกปลาดังกล่าวจะมีขนาดประมาณ 45-50 มิลลิเมตร
หลังจากผสมพันธุ์สามรถแยกเพศปลาได้โดยดูจากช่องเปิดเหงือก และพฤติกรรมการว่ายน้ำ ซึ่งปลาเพศผู้จะมีพฤติกรรมที่สงบลงกว่าที่ผ่านมา และยอมให้ลูกอาศัยอยู่ในปากของตน
การจัดการกับลูกปลาหลังการผสมพันธุ์วางไข่[/b]
โดยปกติไข่ของปลา Golden Arowana ใช้เวลาในการฟักเป็นตัวประมาณ 8 สัปดาห์ ซึ่งเราสามารถนำไข่ที่ได้รับการผสมแล้วจากปากของปลาเพศผู้มาทำการเพาะฟักต่อได้ โดยใช้สวิงตาถี่ในการจับปลา แล้วใช้ผ้าขนหนูซึ่งเปียกน้ำห่อตัวปลาไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาดิ้นและเป็นการป้องกันไม่ให้ปลาบาดเจ็บ ค่อยๆ ดึงขากรรไกรล่างของปลาออกช้าๆ แล้วเขย่าตัวปลาเบาๆ เพื่อให้ไข่ปลาหลุดออกจากปากของปลาเพศผู้ ไข่ปลาที่ได้จะมีประมาณ 20-35 ฟอง
[b]เทคนิคในการเพาะฟัก
หลังจากได้ไข่ปลามาแล้วนำลงฟักในตู้กระจกขนาด 90x45x45 เซนติเมตร ควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ในช่วง 27-29oC, DO ประมาณ 5 มก./ล โดยให้อากาศตลอดเวลา เติม Acriflavine ลงในน้ำเพื่อป้องกันการติดเชื้อของตัวอ่อน ซึ่งวิธีดังกล่าวจะทำให้ลูกปลามีอัตรารอด (จนกระทั่งลูกปลาสามารถว่ายน้ำได้เอง) ประมาณ 90-100%
ในสัปดาห์แรกจะเห็นได้ว่าถุงไข่แดงยังมีขนาดใหญ่ลูกปลาจะอาศัยอยู่บริเวณด้านล่างของถัง หลังจากที่ลูกปลาเริ่มว่ายน้ำได้เมื่อถุงไข่แดงมีขนาดเล็กลงและจะยุบเกือบหมดในสัปดาห์ที่ 8 ลูกปลาจะสามารถว่ายน้ำขึ้นลงได้ (ลูกปลามีขนาดประมาณ 8.5 เซนติเมตร) และในช่วงนี้สามารถให้อาหารมีชีวิตแก่ลูกปลาได้
การจัดการดูแลลูกปลา
เมื่อลูกปลาสามารถว่ายน้ำได้อย่างอิสระและถุงไข่แดงยุบจะเริ่มให้อาหารแก่ลูกปลา อาหารที่ให้จะเป็นอาหารมีชีวิตคือ ลูกปลาหางนกยูง หรือหนอนแดง ซึ่งลูกปลาจะแข็งแรงถ้าได้รับอาหารอย่างเพียงพอ การเปลี่ยนถ่ายน้ำจะกระทำทุก 2-3 วัน โดยจะถ่ายน้ำประมาณ 30% เมือลูกปลามีขนาด 10-12 เซนติเมตร สามารถให้กุ้งน้ำจืด หรือเนื้อปลาสับเป็นอาหาร เมื่ออายุได้ 4 เดือนจึงแยกลูกปลาออกจากกันโดยให้อยู่เดี่ยวๆ ในตู้กระจกขนาด 75x45x75 เซนติเมตร เพื่อไม่ให้ลูกปลาบาดเจ็บเนื่องจากการต่อสู้กันเอง และให้ปลาได้รับแสงอย่างน้อย 10-12 ชั่วโมง/วัน เพื่อให้มีสีสรรสวยงาม เมื่อปลาอายุประมาณ 6-7 เดือน (หลังจากว่ายน้ำเป็นอิสระ) ปลาจะมีขนาดประมาณ 20-25 เซนติเมตร ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาด
ปัญหาที่มักเจอในระหว่างการเลี้ยง คือ ครีบกร่อน ตาเป็นฝ้ามัว และหนอนสมอ ซึ่งเราสามารถรักษาอาการครีบกร่อนโดยการแช่ในน้ำเกลือ 1% และปลาที่เกิดอาการตามัวมีสาเหตุเนื่องมาจากการเลี้ยงปลาอย่างหนาแน่น ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะหมดไปหากมีการจัดการในเรื่องคุณภาพน้ำโดยมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำ 1 ส่วนใน 3 ส่วนของปริมาตรน้ำในถังทุก 2-3 วัน
ที่มา : AQUACULTURE ASIA July-September 2003 (Vol.VIII No.3)

ความคิดเห็นที่ 4

MohawK
MohawK (203.113.67.168) [2004-08-07 15:03:50]
อืมๆๆๆ แน่นมาก

ความคิดเห็นที่ 5

ไม่แตก
ไม่แตก (203.113.34.61) [2004-08-08 11:30:30]
ดีมาก ได้ความรู้สุดๆครับ

ความคิดเห็นที่ 6

newell
newell (203.107.202.191) [2004-08-08 17:35:04]
http://www.pantip.com/cafe/jatujak/topic/J2942519/J2942519.html
ด้านบน

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนทำรายการ

เข้าระบบ