Skip to content

ปรับปรุง เว็บไซต์ เยอะแยะเลย ลองกดเข้าไปเล่นดูสิ ตอนนี้ มีหมอตั้ม มาประจำที่ โรงพยาบาลแล้วนะครับ ใครมีปัญหาปลาป่วย ปรึกษาได้ครับ

Arowazone เว็บบอร์ด สำหรับ เพื่อนๆ ที่รักการเลี้ยงปลาในครอบครัว Osteoglossidae ไม่ว่าจะเป็นอะโรวาน่าจากทวีปเอเชีย อเมริกาใต้ ออสเตรเลีย หรือ อัฟริกา ไว้พูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

0004793

อยากส่งปลากลับบ้านต่างจังหวัดครับ

sailolex
sailolex [2006-07-27 21:45:03]
คือผม อยากส่งปลากลับบ้านต่างจังหวัดครับ แต่กลัวปลาไม่รอดก่อนถึงและไม่รู้จะทำไงดี บ้านอยู่นครพนม ประมาณ900กิโลเมตรได้ มีโครพอรู้บางครับ.....

ความคิดเห็นที่ 1

kz34r7x1
kz34r7x1
3
[2006-07-28 08:36:36]
คน จว.เดียวกันขอบอกว่าขึ้นเครื่องดีที่สุดและใช้เวลาเดินทางไม่มากครับกระผม

ความคิดเห็นที่ 2

predb
predb [2006-07-29 22:16:32]
การแพ็คปลาครับ อัดอากาศเต็มที่ ใส่ลังโฟมอยู่ได้เป็นวัน ๆ เลยครับ ก็ต้องดูที่มูลค่าปลานะครับ และคนแพ็ดต้องฝีมือครับ เคยส่งไปสุราษฯ บ้านอยู่ราชบุรี ไม่มีปัยหานะครับ

ความคิดเห็นที่ 3

ntk2003
ntk2003 [2006-07-30 14:17:53]
ลองดูครับ ผมว่าเป็นเนื้อหาที่ดี เผื่อมีประโยชน์
อ้างจากบางส่วนของกระทู้ของลุงเต่า ใน Pantip.com เมื่อ เม.ย. 2545
ขออนุญาติทุกท่านที่มีชื่อในกระทู้ในวันน้นด้วยนะครับ(ขออนุญาติ ลุงเต่า กับพี่นทีครับ)

ขั้นตอนการเตรียมการย้ายปลาอโรวาน่า

ผมได้รับเมล์ถาม และโทรมาปรึกษาบ่อยเรื่องการย้ายปลาอโรวาน่า โดยเฉพาะปลาใหญ่ เลยพิมพ์มาแปะไว้ให้อ่านเล่น

อ้อ ไม่ว่าอย่างไรการย้ายปลาก็มีความเสี่ยงครับ เตรียมตัวดี คือการลดความเสี่ยงให้เหลือน้อยที่สุด แต่ก็ยังไม่ถึงศูนย์อยู่ดี

1.เตรียมตู้ใหม่และน้ำในตู้ให้พร้อม
2.ทิ้งระยะเวลาเวลาให้เหมาะสมเพื่อให้กาวแห้ง ระยะเวลาขึ้นกับขนาดตู้ที่ใช้ ตู้ขนาดยิ่งใหญ่ ยิ่งต้องทิ้งระยะให้กาวเซ็ทตัวนาน เนื่องจากตู้ใหญ่มักยิงกาวมุมตู้หนากว่าตู้ขนาดปกติทั่วไป สังเกต การแห้งของกาวโดยการดมหากลิ่นกรดน้ำส้มสายชูที่หลงเหลือในตู้ หากกลิ่นกรดแรง แปลว่ากาวยังแห้งไม่สนิท วิธีเร่งให้กาวแห้งเร็วขึ้น ให้นำตู้ไปตากแดด แต่ต้องระวังฝนตก ตู้ตากแดดร้อนจะแตกเมื่อกระทบเม็ดฝน (ตรงนี้เรื่องจริง ไม่ได้หลอกเล่น)
3.เมื่อกาวแห้งดีแล้ว สังเกตจากกลิ่นกรดน้ำส้มสายชูของกาวเริ่มจางลง
4.ให้เตรียมน้ำที่สะอาดปลาศจากคลอรีน โดยผ่านกรองคาร์บอนหรือทิ้งให้คลอรีนระเหยหมดไปเอง
5.เตรียมอุปกรณ์ขนย้ายปลาให้พร้อม ได้แก่ ถุงขนาดใหญ่ ยางรัด ถุงดำ กล่องโฟม ยาสลบปลา ปั๊มอ๊อกซิเจน ถังลม พาวเว้อร์เฮด ยาเหลือง
6.อดอาหารปลาล่วงหน้าอย่างน้อยสองวัน หากย้ายใกล้อดเพียงวันเดียว หากย้ายไกล อาจต้องอดอาหารนานกว่าสองวัน อดเพื่อไม่ให้ปลาอาเจียนในถุง อดเพื่อไม่ให้ปลาถ่ายในถุง
7.ลดความสูงของน้ำในตู้ลง น้ำที่ถ่ายออกควรเก็บใส่ถังไว้เผื่อกรณีฉุกเฉิน
8.สำหรับผู้ไม่ชำนาญ ขอแนะนำให้เพิ่มอ๊อกในตู้และค่อยๆหยดยาสลบลงในตู้ จนปลาเริ่มมีอาการนิ่ง ไม่ตื่น ค่อยๆต้อนปลาเข้าถุง
9.ยกปลาออกจากตู้ เติมน้ำสะอาดลงในถุง เปลี่ยนน้ำเก่าที่มียาออกบ้างหากใส่ยาเยอะเกินไป
10.ใส่ยาเหลือง อัดอ๊อก มัดปากถุง
11.ซ้อนถุงสองถึงสามชั้น
12.ครอบภายนอกถุงด้วยถุงดำเพื่อไม่ให้ปลาตื่น
13.หรือหากมีกล่องโฟมให้บรรจุถุงปลาลงในกล่องโฟม
14.เมื่อจะปล่อยปลาลงตู้ใหม่ ให้ลดน้ำลงบางส่วน เหลือประมาณสัก10-12นิ้ว
15.ลอยถุงปลาลงในตู้ใหม่เพื่อปรับอุณหภูมิสัก30นาที
16. เปิดปากถุง ค่อยๆปล่อยปลาให้ว่ายน้ำออกมาเอง อย่าเทปลาออก
17.ต้อนปลาให้หันหัวออกมาทางปากถุง
18.เมื่อปลาออกมาจากถุงแล้ว ให้เอาถุงและน้ำในถุงออกมาให้มากที่สุด เพื่อยาสลบจะได้ไม่ตกค้างในตู้
19.หากปลาออกจากถุงยาก อย่ากังวลเรื่องน้ำยาสลบในถุง เน้น ให้ปลาออกมาจากถุงโดยปลอดภัยก่อน ค่อยเปลี่ยนน้ำในตู้ภายหลังได้ หากผสมไม่มากก็ไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำ
20.หลังปลาว่ายออกมาแล้ว ให้หมั่นสังเกตอาการหอบของปลา เน้นมาก
21.หากปลาหอบให้เพิ่มอ๊อกแรงๆ ทิ้งไว้จนกว่าปลาหายหอบ ใส่ลมมากดีกว่าใส่น้อย
22.ควรมีอุปกรณ์ฉุกเฉินสำรองไว้ด้วย เช่นปั๊มลม หัวทราย สายยางท่อลม ปลั๊กไฟ อ๊อกซิเจนผง ถุงสำรอง น้ำสะอาดสำรอง ถังหรือกาละมัง พาวเว้อร์เฮด
23.ควรหาผู้มีประสบการณ์ช่วยเหลือให้คำแนะนำ
24.หากไม่มั่นใจ ควรจ้างร้านปลาที่ชำนาญดำเนินการย้ายปลาให้
25 ทุกขั้นตอนในการต้อนปลาเข้าและออกจากถุงให้ดำเนินไปโดยระมัดระวัง อย่าทำให้ปลาตื่น ใจเย็นๆ อย่าดื้อรั้น หากปลาเข้าถุงยากหรือตื่น ให้ทิ้งช่วงเวลาแล้วค่อยพยายามใหม่ อย่าใช้อารมณ์
26.ขอให้โชคดี

จากคุณ : Speedy Turtle - [10 เม.ย. 45 00:47:24]


ความคิดเห็นที่ 7

การย้ายปลาและช้อนปลาเข้าถุงหรือยกถุงจากตู้ลงพื่นนั้น ถือว่าเป็นศาตร์และศิลป์ครับ ไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอน เพราะลักษณะนิสัยของปลาแต่ละตัวไม่เหมือนกันครับ ผมแนะนำให้ใส่ยาสลบลงในถุงก่อนยกปลาออกจากตู้ครับ ไม่ต้องหยดมาก และไม่กำหนดจำนวนหยดหรือจำนวนยาต่อปริมาตรน้ำอะไร เอาเป็นว่าสักหยดสองหยด ดูอาการปลาให้ซึมนิดๆ รอสักพักนึงค่อยยกถุงออกจากตู้ ผมไม่แนะนำให้ซ้อนถุงหลายๆชั้น ในตู้หรอกครับ นึกภาพแล้วคงเป็นเรื่องอิหลักอิเหลื่อ ขลุกขลักไม่ใช่น้อยเชียวครับ

จากคุณ : พี่นที - [10 เม.ย. 45 11:16:02]





ความคิดเห็นที่ 8

เพิ่มเติมสักนิด
ในความคิดเห็นที่7 นั้น เหมาะสำหรับผู้เริ่มมีความชำนาญช้อนปลาเข้าถุงได้แล้วจึงหยดยาสลบนะครับ
แต่ที่ลุงเต่าแนะนำ นั้น ลุงเต่าแนะนำให้วางยาในตู้อันนั้นชัวร์เยอะกว่าครับ ถ้าวางยาในตู้แล้วไม่ต้องวางยาในถุงอีกนะครับ
ส่วนความคิดเห็นที่4 ผมว่าคงไม่ได้วางยาในตู้แบบที่ลุงเต่าแกแนะนำมังครับ ยังงั้นต้องวางยาในถุงก่อนยกออกจากตู้ครับ ไม่งั้นปลาพุ่งทะลุถุงหรือดิ้นครีบหักได้ครับ

จากคุณ : พี่นที - [10 เม.ย. 45 11:20:54]

ความคิดเห็นที่ 12

ผมตั้งใจบอกวิธีแบบหยดยาสลบลงในตู้ เพราะคนที่ถามมามักไม่ชำนาญ วิธีนี้ปลอดภัย แต่สิ้นเปลืองยากว่าครับ

ถ้าคุณเลี้ยงปลาอื่นร่วมตู้เดียวกัน คุณสามารถตักปลาอื่นออกก่อน หรือเปลี่ยนถ่ายน้ำหลังย้ายอโรวาน่าออกแล้ว

กรณีผู้ที่มีประสพการณ์แล้ว มักต้อนปลาเข้าถุงก่อน จึงหยดยาในถุง การหยดยาอาจหยดในตู้และรอให้ยาเริ่มออกฤทธิ์แล้วจึงค่อยอุ้มถุงออกจากตู้ครับ ทั้งนี้และทั้งนั้นแล้วแต่ความถนัด สถานที่ และความเคยชินของผู้ปฏิบัติครับ ไม่มีสูตรตายตัว

ส่วนการซ้อนถุงในตู้ ผมไม่แนะนำอย่างแรง ทำจริงทำยากครับ ลองทำดูเองก็ได้ แต่ผมใช้ถุงเนื้อที่ดีหน่อยและถ้าปลาตัวใหญ่ผมจะไม่หิ้วถุงออกจากตู้ครับ ผมอุ้มถุงออกจากตู้

และอยากฝากอีกประเด็นหนึ่งครับ ระวังความคมของกระจกขอบตู้ด้วย อาจบาดถุงรั่วได้

จากคุณ : Speedy Turtle - [10 เม.ย. 45 17:53:04]

ความคิดเห็นที่ 4

ntk2003
ntk2003 [2006-07-30 14:26:11]
ส่วนกระทู้นี้ ผมถามไว้เมื่อ 7 พ.ย.2545 ด้วยปัญหาคล้ายๆ ของคุณ sailolex (แต่ผมน่าจะใกล้กว่าพอควร)
ขออนุญาติทุกท่านที่มีชื่อในกระทู้ในวันน้นด้วยอีกครั้งนะครับ(ขออนุญาติ พี่ปิติ พี่โชค คุณปติวรตา และคุณairron_man (airron_man) )


ย้ายอย่างไรครับ

สวัสดีครับเพื่อนๆ ชาว Pantip ทุกท่านผมมีปัญหาหารย้ายปลาครับ คือในอนาคตอันไม่ไกลนี้ ผมอาจต้องย้ายปลาและตู้ปลา จากที่ทำงานกลับไปบ้านซึ่งอยู่ห่างกันมาก(ปราจีนฯ => ขอนแก่น) โดยใช้ระยะเวลาเดินทางอย่างเดียวรวมประมาณ 6 - 7 ชม. สมาชิคปลาของผมก็หลายตัวพอสมควรครับ คือ ตู้ 3 ใบ 48x20x20 x2 ใบ 36x18x18 x1 ใบ สมาชิคป.ปลา ก็มี อะโรฯ 12-13 นิ้ว 1 ตัว , บิเซีย 6 นิ้ว 1 ตัว , แมวกระโดงสูง 2 ตัว , แรดแดง(Super red) 13 นิ้ว 1 ตัว , นกแก้ว 4-5 นิ้ว 4 ตัว , Red devil 6 นิ้ว 1 ตัว , ไตรทอง 6 นิ้ว 1 ตัว , หมูอินโด 4 นิ้ว 4 ตัว , Red texas 5-6 นิ้ว 2 ตัว , เสือตอ 4 นิ้ว 1 ตัว และปลาตระกูลตะเพียนรวมประมาณ 10 ตัว ซึ่งยังไม่ทราบว่าผมจะย้ายอย่างไรดีครับ ขอคำแนะนำด้วยครับ ขอบคุณครับ

จากคุณ : Unknowman2002 - [ 7 พ.ย. 45 13:45:42 ]

ความคิดเห็นที่ 1

ก็คงต้องจ้างรถกะบะครับ ย้ายปลา ย้ายตู้พร้อมกัน

ประเด็นอยู่ที่
1 ต้องประเมิณเวลาจับปลาทั้งหมดใส่ถุง + ถ่ายน้ำในตู้ให้หมด ไม่ควรเผื่อเวลานานเกินไป เช่นทำทุกอย่างเสร็จ 6 โมงเช้า แต่นัดรถกะบะ 10 โมง ฯลฯ หากทำช้าไป กระบะมารอนานหน่อย คนขับคงบ่นพอควร

2 ย้ายปลาทน ๆ ใส่ถุงก่อน เช่นปลาหมอ ส่วนอะโรฯ หลังสุดก็แล้วกัน ใช้ถุงใหญ่หน่อย น้ำเยอะ จะได้ทนต่ออุณหภูมิได้ดีกว่าน้ำน้อย ต้องเตรียมกล่องโฟม+ฝาปิดให้เรียบร้อยด้วย (ถุงใหญ่ น้ำเยอะ อ๊อกฯเยอะ)

3 ระวังเรื่องปลากัดกันในถุงด้วย ดูชนิดปลาให้ดี

4 การขนส่งตู้ เราไม่ใช่ร้านขายตู้ที่เค้ารู้หลักการป้องการการกระแทก เพราะฉะนั้น เตรียมอุปกรณ์ยึดเหนี่ยวตู้ไว้ให้ดี โพมก็เตรียมเผื่อ ๆ ไว้หน่อย

5 ใส่ถุงน้ำแข็งในกล่องโฟมที่เราบรรจุปลาสักหน่อยครับ (ไม่ต้องมากนัก)

สรุป งานนี้ไม่ยากเกินทำ แต่เหนื่อยแน่ ๆ เตรียมอุปกรณ์ไว้ล่วงหน้าให้เรียบร้อย เท่าที่ผมพอนึกได้ก็น่าจะมี
1 ถุง หลายใบ ต่างขนาด
2 กล่องโฟม ก็คงหลายใบอีก
3 ถังอ๊อกฯไว้อัดอ๊อกฯเข้าถุงปลา
4 หนังยางรัดปากถุง+เทปกาวติดกล่องโฟม
5 กล่องที่เอาไว้ใส่อุปกรณ์ที่ใช้ในตู้ปลา เช่น ปั้มน้ำ ปั้มลม
6 เชือก+โฟม เอาไว้ยึด+รองตู้ปลากันกระแทกแต่ในรถ
7 ผู้ช่วย (งานที่แบบตู้กันเหนื่อยแน่)
8 ยาสลบปลา (เผื่อต้องใช้นะครับ)


อาจจะไม่ครบนะครับ ไว้คิดออกจะมาเขียนเสริมให้อีกนะครับ


จากคุณ : ปิติ99 - [ 7 พ.ย. 45 14:13:52 ]




ความคิดเห็นที่ 2

เป็นผม คงซื้อตู้ปลาใหม่ที่ขอนแก่นเตรียมน้ำไว้
ส่วนตู้ที่อยู่ที่ปราจีน คงบอกขายทิ้งไป (ยอมขาดทุน)

จัดการเตรียมการแบบคุณปิติว่า ขนด้วยรถยนต์ส่วนตัว (ลองบวกลบค่ารถกระบะขนส่งตู้ปลาดู คาดว่าคงขาดทุนไม่มาก) ไปถึงก็ใส่ปลาลงตู้ใหม่เลย
ยึ่งถ้าอโรเป็นปลาพวก ทองหรือแดง ด้วยแล้ว ทำแบบที่ว่าแน่นอน

จากคุณ : โชค55 - [ 7 พ.ย. 45 15:52:35 ]




ความคิดเห็นที่ 3

เห็นด้วยกับพี่โชคที่แนะนำให้ซื้อตู้ใหม่นะครับ ยังไงๆตู้ 48 20 20 ก็เลี้ยงอโรฯได้ไม่สุดท้ายอยู่แล้ว หาตู้ใหม่เด็ดๆเลยดีกว่า

แถมกว่าจะไปถึง กว่าจะเซ็ทตู้ปลาใหม่ กว่าจะเอาปลาลง + ไปอีกหลาย ชม. เลย ปลาก็ไม่ใช่น้อยๆ เดินทางก็ไกล ปลาจะเดี้ยงเอาครับ

เดินทางไกลคนก็เหนื่อย ปลาก็เหนื่อย แถมต้องมาเซ็ทตู้อีก 3 ตู้ .. ท่าจะแย่ครับ ผมเคยย้ายแต่ปลา ตู้มีแล้วแต่ยังไม่ได้เซ็ทตู้ ยังแทบรากเลือด เดินทาง 1.5 ชม เอง

แก้ไขเมื่อ 07 พ.ย. 45 17:47:42

จากคุณ : ปติวรตา - [ 7 พ.ย. 45 17:44:15 ]




ความคิดเห็นที่ 4

Yes!
การเซ้ทตู้เนี่ยไม่ใช่เรื่องง่าย และไม่ยากจนเกินไป แต่ในกรณีนี้หาก เอาตู้ไปด้วย กว่าจะถึง ก็เหนื่อยแล้ว แล้วยังต้องเซ็ทตู้อีก สุดๆ เลยครับงานนี้ แต่ถ้าสั่งตู้ที่ใหม่รอไว้และใส่น้ำเตียมไว้ก่อนสัก 1 วัน เปิดอ๊อกแรงๆ พอย้ายมาถึงก็เอาถุงปลาแช่ เพื่อปรับอุณหภูมิ แล้วค่อยปล่อยลงตู้ครับ สะดวกกว่าเยอะครับ ปลาไม่ช้ำมากด้วย ( ถ้าเป็นผมน่ะนะครับ ) แต่ปลาคุณนี่เยอะมาก ๆ เลยนะครับ ที่ทำงานเก่าเค้าไม่ว่าเหรอครับ ปลาเยอะขนาดนี้

จากคุณ : airron_man (airron_man) - [ 7 พ.ย. 45 22:50:42 ]

ความคิดเห็นที่ 5

ntk2003
ntk2003 [2006-07-30 15:09:03]
แม้จะมีหลายๆ ท่านมองเห็น และแนะนำการแก้ปัญหาปัญหาในการเซ็ตในที่ใหม่ แต่ด้วยหลายเหตผล จึงทำให้ผมตัดสินใจยังใช้ตู้เก่า(ไม่ยอมเปลี่ยนตู้ใหม่) ซึ่ง หลังจากนั้นผมก็ได้รู้ว่า นั่นคือความคิดที่ผิดเอามากๆ

วันนั้นหลังจากที่เหนือยมาทั้งวัน (เริ่มดูดน้ำออก จับปลา ขนของขึ้นรถตอน 7.00 น. กว่าจะถึงบ้าน ขนของลงหาที่วางตู้ และเริ่มถ่ายน้ำ ก็ปาเวลาเข้าไป 20.00 น.) ผมก็ได้ทำผิดพลาดครั้งใหญ่ โดยได้ให้คนงาน(ลูกน้องของพี่ ที่เขามาช่วยขนของ) ไปเปิดน้ำเข้าผ่านกรองคาร์บอน เข้าตู้ปลา แล้วสักพักใหญๆ ก็ปล่อยปลาลงไป จากนั้นก็ไปนอนที่บ้านแม่(ที่บ้านยังนอนไม่ได้ ยังมีของกองอยู่เต็มบ้าน) พอเช้ามาถึง แทบร้องห้าย ปลาในตู้ หงายท้องตายกันเป็นแพ และอีกหลายตัวอาการสาหัส

สาเหตุเกิดจากคนงานไปเปิดวาร์วน้ำที่กรองคาร์บอนผิดอัน ทำให้น้ำไหลผ่านกรองไปเลยโดยไม่ได้เข้าไปผ่านคาร์บอน

จากวันนั้น แม้ผมจะได้ใช้วิธีหลายวิธีเพื่อช่วยให้เพื่อนปลาของผมกลับมาเป็นปกติ หรือดีขึ้น แต่ก็ทำได้แค่ ยื้อชีวิตของพวกมันให้ยาวขึ้นอีกหลายเดือน และมันก็เป็นการยื้อความเจ็บปวดทรมานกับความรู้สึกผิดของผมไปเช่นกัน.....และเหตุการนั้นได้ทำให้ผมได้รู้ว่าปลาอะโรขนาดใหญ่(ตอนนั้นขนาด 16 นิ้ว)ที่ตาบอดทั้งสองข้าง สามารถอดอาหาร(ไม่สามารถกินอาหารได้)ได้เกินหกเดือนก่อนที่มันจะจากไปในที่สุด


ในการย้ายปลา จุดสำคัญนอกจากการแพ๊คปลา การขนส่ง และการปล่อยปลาแล้ว สภาพแวดล้อมในตู้ใบใหม่(หรือใบเก่า) ในที่ๆ ใหม่ ก็สำคัญไม่แพ้กัน และที่สำคัญที่สุดคือ สติ ความรอบคอบของเรา ที่ต้องดูแลทุกขั้นตอนอย่างใกล้ชิดครับ แม้ว่าบางอย่างจะเป็นเรื่องที่ดูแล้วเหมือนง่ายๆ ในสายตาเรา

ขอให้ใช้สติให้ดีครับ และขอให้โชคดี อย่าให้ต้องเจอกับเหตุการณ์ร้ายๆ อย่างผม

ความคิดเห็นที่ 6

sailolex
sailolex [2006-07-30 20:05:17]
ขอขอบคุณทุกความคิดเห็นมากๆ เลยครับจากใจจริง...

ความคิดเห็นที่ 7

nikul
nikul [2006-07-31 17:18:36]
ตอบในฐานะคนบ้านเดียวกัน..
1.ขึ้นเครื่องเสี่ยงน้ยที่สุด
2.ใช้รถยนต์ส่วนตัว เมื่อเดือนพฤษภาคม 2549 ผมนำไฮแบค
ขนาด 11 นิ้ว จากจตุจักษ์ แพคกล่องอย่างดี ออกเดินทาง 13.00 น. ถึงนครพนม 22.15 น. ปล่อยลงตู้(เตรียมตู้ล่วงหน้าแล้ว) ปลอดภัยไม่มีปัญหาครับ
3.ช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาเคยนำมังกรเงินตัวประมาณ 6 นิ้วใส่ถุงธรรมดาขึ้นรถทัวร์ ออกจากหมอชิต 19.15 ถึงนครพนม 6 โมงเช้า ก็ปลอดภัยไม่มีปัญหาครับ
เล่าประสบการณ์ประกอบการตัดสินใจเลือกวิธีเคลื่อนย้ายครับ
ด้านบน

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนทำรายการ

เข้าระบบ