Skip to content

ปรับปรุง เว็บไซต์ เยอะแยะเลย ลองกดเข้าไปเล่นดูสิ ตอนนี้ มีหมอตั้ม มาประจำที่ โรงพยาบาลแล้วนะครับ ใครมีปัญหาปลาป่วย ปรึกษาได้ครับ

ปลาทอง ปลาสวยงาม ชนิดแรกๆ ที่ เชื่อว่า หลายคน คงมีโอกาสได้สัมผัส ได้เลี้ยงดู ได้หลงเสน่ห์ ความน่ารัก ความอุ้ยอ้าย ของปลาชนิดนี้ กว่าร้อย สายพันธุ์ ที่เกิดจาก ความพากเพียร พยายาม ของมนุษย์ เรา

0000745

ซึมจนตาย รักษายังไงครับ

svancz
svancz (203.149.57.166) [2005-01-08 17:25:46]
เคยเลี้ยงสมัยเด็ก ๆ มันก็ตายไม่รู้ว่าเป็นอะไร ตอนนั้นยังไม่รู้เรื่องยังดูไม่เป็นว่าทำไมตาย

ตอนนี้พอจะรู้เรื่อง กลับมาเลี้ยงใหม่ประมาณเดือนนึงแล้ว

"อาการซึม ๆ ไม่ค่อยร่าเริง ไม่กินอาหาร แล้วก็จะค่อย ๆ ตาย" จะมีวิธีไหนช่วยชีวิตปลาผมได้บ้าง
ก่อนหน้านี้ก็ปลาเทวดา 2 ตัว ไม่รู้จะรักษายังไง ปล่อยไว้ก็ตาย ก็เลยเลิกเลี้ยงปลาเทวดา เปลี่ยนมาเลี้ยงปลาทองแทน

ตอนนี้ก็พอเปลี่ยนมาเป็น ปลาทอง ตัวแรกชื่อ "มันนี่" ซึม ๆ ก็เลยจับแยก ใส่เกลือนิดหน่อย เปิดอ๊อกให้ ไม่ได้ใส่ยา สุดท้ายก็ไม่ดีขึ้น ตายตามระเบียบ
ต่อจาก มันนี่ ก็เป็น รันชู ชื่อ "โกลด์ดี้" แรก ๆ ก็ร่าเริงดี ไป ๆ มา ก็อาการเดียวกัน คือ ซึม นอนจมอยู่ก้นตู้ แรก ๆ ก็ยังพอกินอาหาร ตอนหลังก่อนที่จะใกล้ ๆ ตาย ก็เริ่มไม่กินอาหาร สุดท้ายก็ตายไปในที่สุด

วิธีที่ผมพยายามช่วยแต่ไม่หาย
"มันนี่" - จับแยก ไม่ได้ใส่ยา ใส่แต่เกลือนิดหน่อย เปิดอ๊อกช่วยเยอะหน่อย / สุดท้ายช่วยไม่ได้ ตายตามระเบียบ
"โกลด์ดี้" - จับแยกใส่กะลามังขนาด 20 นิ้ว เปลี่ยนน้ำประมาณ 25-30% วันเว้นวัน มีหัวสิงห์ตัวเล็กประมาณหัวนิ้งโป้ง ชื่อ "ลัคกี้" ให้อยู่เป็นเพื่อน (กลัวมันเหงา เหมือนมันนี่) คราวนี้ ใส่เกลือประมาณ 3 หยิบนิ้ว(ไม่มาก ค่อย ๆ ใส่) ใส่ยาสีเขียว( มา รา ไคท์ กรีน เอฟ ) ด้วย เห็นสัพคุณ รักษาโรคซึมได้ด้วย เปิดอ๊อกช่วยเช่นกัน กลัวน้ำเย็น ก็ค่อย ๆ ผสมน้ำ ให้อุ่นขึ้นทีละนิด ๆ เปิดโคมไฟส่องน้ำช่วยให้อุ่น กลัวน้ำเย็น / สุดท้าย เฝ้าดูอยู่ตลาด จนมันค่อย ๆ นิ่ง ๆ นิ่ง แล้วก็นิ่งตายไปต่อหน้าต่อตา ช่วยอะไรไม่ได้ (คิดว่าไม่น่าจะเกี่ยวกับใส่เกลือ หรือ ยามากไป เพราะ ลัคกี้ ตัวเล็กกว่ามาก ก็ยังอยู่ได้) ไม่รู้ว่าเกี่ยวกับเปิดโคมไฟส่อง ช่วยให้น้ำอุ่นขึ้นรึเปล่า


ตอนนี้เหลือ ริชชี่ กับ ลัคกี้ แค่ 2 ตัว
"ริชชี่" เป็นหัววุ้นธรรมดา หรือ ฮอลันดา ก็ไม่รู้ ตัวไม่เล็กไม่ใหญ่ สีแดงขาว ร่าเริง ตะกละ ว่ายไปว่ายมาทั้งวัน น่ารักมาก
"ลักกี้" หัวสิงห์ สีทอง แต่หางเหมือนรันชู ปลายหางสีดำ ตัวประมาณเท่าหัวนิ้วโป้ง น่ารักมากเช่นกัน

ใครมีวิธีรักษาอาการซึมแบบนี้ได้บ้าง ช่วยกรุณาบอกที เหลืออยู่แค่นี้ที่ยังปกติ กลัวมันจะเป็นอะไรไปอีก แล้วแก้หรือรักษาไม่ได้

ความคิดเห็นที่ 1

มีมี่
มีมี่ (202.183.134.139) [2005-01-08 19:48:30]
คุณ svancz คะ คุณคงเป็นคนพิถีพิถันมากๆ ค่ะ ดูจากชื่อทั้งของคุณ ของปลา แต่ว่าเจ้าลัคกี้น่ะ ชื่อเหมือนออรันดาตัวละสิบบาทของดิฉันค่ะ แต่เลี้ยงมาห้าปีกว่าเพิ่งจากไปค่ะ ตอนเค้าจากไปเราก็เกือบตายไปด้วยค่ะ

เท่าที่อ่านมาขอชื่นชมค่ะว่าคุณเป็ฯคนที่น่ารักและรับผิดชอบมากๆ เลยคะ ดูจากการที่สังเกตุจดจำวิธีที่ตัวเองใช้ค่ะ

ดิฉันอ่านดู ๆ แล้วส่งที่คุณทำก็เหมือนๆ กับที่พวกเราทำกันนะคะ ดังนั้น อาจจะหนึ่ง เจ้าน้อง ๆ ที่จากไปเป็ฯเหตุสุดวิสัย ถึงเวลาของเขาแล้วคะ

สองคือ ควรให้ยาตามโรค ไม่ใช่ว่าใช้ยาที่รักษาหลาย ๆ โรครวมกัน

อยากให้คุณพยายามสังเกตุอาการที่ว่านอกจากซึม มีอะไรอีก อาทิ ตัวเปื่อย หาง ครีบเปื่อยมีสีแดงเป้นเส้น ๆ มีเชื้อราดำ ๆ ท้องโตมากไป ฯลฯ อาการที่แตกต่างไปนอกจากซึมจะทำให้คุณแยกแยะโรคได้ละเอียดและตรงมากยิ่งขึ้นค่ะ เมื่อแยกแยะได้แล้วก็หายา(ปกติดิฉันเตรียมซือ้มาไว้เลยค่ะ ) ใส่ตามโรค มีขายทุกโรคค่ะ

สามเรื่องของเกลือ คุณอาจใส่น้อยไปค่ะ
ปกติดิฉันก็เป็นคนไม่กล้าใส่เกลือเยอะค่ะ ทั่วไปจะมากสุดคือ สามช้อนชาต่อน้ำหนึ่งลิตร มีตารางที่เก็บมาจากที่ไหนจำไม่ได้เดี๋ยวจะโพสท์ให้เป็นขอ้มูลนะคะ

อย่างกรณีโกลดดี้ เกลือสำหรับกาละมังยี่สบนิ้ว คุณใส่ สามหยิบนิ้วน้อยไปจริงๆ ค่ะ

ดิฉันมีขันพลาสติกตักน้ำ(ใช้แบบมีก้านยาวจะสะดวกมาก ๆ ค่ะ) ขนาดจุ หนึ่งลิตรค่ะ เวลาตวงน้ำก็จะง่ายมากๆ จะได้ใส่ยากับเกลือได้ตามโดส ไม่ใช่กะผิด ๆ ค่ะ

สี่ออกซิเจน ให้เยอะแรงไปปลาอาจเหนื่อยอ่อนเพลียตายได้ค่ะ เอาพอดี ๆ ไม่ต้องให้น้ำเต้นแรงเกินไปนะคะ แต่ถ้าปลาตัวใหญ่โอเคค่ะ ถ้าปลาตัวเล็ก ดิฉันคิดว่าควรจะให้พอดีๆ ค่ะ

คุณเป็นคนที่จะทำให้ปลามีความสุขได้แน่ๆ ค่ะ ดังนั้นอย่าเลิกเลี้ยงนะคะ

เดี๋ยวจะโพสท์ตารางการใช้เกลือรักษาโรคให้ค่ะ อาจจะมีประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย

ความคิดเห็นที่ 2

มีมี่
มีมี่ (202.183.134.139) [2005-01-08 19:49:55]
แน่ใจนะว่าน้ำไม่มีคลอรีน คือ เป้ฯน้ำที่พักไว้อย่างน้อยคืนสองคืนค่ะ

ความคิดเห็นที่ 3

มีมี่
มีมี่ (202.183.134.139) [2005-01-08 19:52:20]
การใช้เกลือกับปลารันชู (โดยคุณOkame)USING COMMON SALT Per Imperial gallon Per US gallon
USE Recommended Strength Grams per litre Ounces Level teaspoons Ounces Level teaspoons
General aquarium additive – mild nitrite protection 0.1% 1gm 0.16 1 0.13 ¾
Preventive and general nitrite protection 0.3% 3 gm 0.48 2 ¾ 0.4 2 ½
Supportive for coldwater 0.9% 9 gm 1.44 8 1.2 6 ¼
Short-term salt dip 3.0% 30 gm 4.8 27 4.0 22 ½
ผมมีตารางการใช้เกลือจาก http://members.aol.com/sirchin/goldfish.htm มาฝากนะครับ (ดูปริมาณเกลือที่ต้องใช้จากตารางนะครับ) 1. ใช้เพื่อป้องกันการเพิ่มปริมาณของ ไนเตรท ที่ไม่มากนัก 2. ใช้แบบ Preventive ก็คือ “กันไว้ก่อนแก้ ” นั่นเองเขาคงหมายถึง พวกปรสิตหรือแบคทีเรียต่างๆ และก็ยังป้องกันการเพิ่มของไนเตรทด้วย 3. ช่วยรักษาแผลที่ตัวปลา (ulcers) ที่มักเกิดกับช่วงที่น้ำเย็นมาก 4. Short-term salt dips ตรงนี้หมายถึง การนำปลาไปแช่ (dip) ในน้ำเกลือที่มีความเข้มข้นสูง (30 กรัม /น้ำ 1 ลิตร) เขาเเช่ปลากันแบบ short term นะครับคือ แช่ไม่นาน แต่เขาไม่ได้บอกว่ากี่นาที ถ้าพบข้อมูลจะ post บอกในโอกาสต่อไป เพื่อใช้กำจัดพวกปรสิต, ใช้ช่วยรักษาสมดุลของเกลือแร่ในกรณีที่มีการเคลื่อนย้ายหรือเดินทาง อาจเรียกว่าช่วยลดความเครียดก็ว่าได้มั้งครับ แต่ว่าวิธีนี้จะทำให้ปลาขับเมือกออกมามากทำให้ปลาอ่อนไหวต่อการรักษาในขั้นตอนต่อไป หมายความว่าหลังจากใช้วิธีนี้รักษาแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ก่อนที่จะให้ยาตัวอื่นต้องระวังด้วยนะครับ ส่วนความจำเป็นว่าต้องใส่เกลือหลังจากเปลี่ยนน้ำใหม่หรือไม่นั้น จริงอยู่หลังจากที่คุณเปลี่ยนน้ำ สารไนเตรทก็คงยังไม่มี แต่หลังจากนั้นล่ะครับ คุณอาจจะขี้เกียจเปลี่ยนน้ำหรือเหตุผลอื่นๆอีกจิปาถะเช่นให้อาหารมากไป น้ำอาจจะมีปรสิตแฝงอยู่ ผมว่ากันไว้ก่อนแก้ดีกว่าไหมครับ เหมือนที่คุณ Okamoto เขาบอกว่าเกลือคือเฟอนิเจอร์สำหรับบ่อปลาเชียวนะครับ สืบเนื่องจากกระทู้ 0932 นะครับ ผมได้ข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับ Salt Dips (การแช่ปลาในน้ำเกลือที่มีความเข้นข้นสูง) เลยนำมาฝากเผื่อเพื่อน ๆ ที่สนใจจะได้นำไปรักษาปลาได้อย่างถูกวิธี

ความคิดเห็นที่ 4

มีมี่
มีมี่ (202.183.134.139) [2005-01-08 19:52:59]
การใช้เกลือกับปลารันชู (โดยคุณOkame)USING COMMON SALT Per Imperial gallon Per US gallon
USE Recommended Strength Grams per litre Ounces Level teaspoons Ounces Level teaspoons
General aquarium additive – mild nitrite protection 0.1% 1gm 0.16 1 0.13 ¾
Preventive and general nitrite protection 0.3% 3 gm 0.48 2 ¾ 0.4 2 ½
Supportive for coldwater 0.9% 9 gm 1.44 8 1.2 6 ¼
Short-term salt dip 3.0% 30 gm 4.8 27 4.0 22 ½
ผมมีตารางการใช้เกลือจาก http://members.aol.com/sirchin/goldfish.htm มาฝากนะครับ (ดูปริมาณเกลือที่ต้องใช้จากตารางนะครับ) 1. ใช้เพื่อป้องกันการเพิ่มปริมาณของ ไนเตรท ที่ไม่มากนัก 2. ใช้แบบ Preventive ก็คือ “กันไว้ก่อนแก้ ” นั่นเองเขาคงหมายถึง พวกปรสิตหรือแบคทีเรียต่างๆ และก็ยังป้องกันการเพิ่มของไนเตรทด้วย 3. ช่วยรักษาแผลที่ตัวปลา (ulcers) ที่มักเกิดกับช่วงที่น้ำเย็นมาก 4. Short-term salt dips ตรงนี้หมายถึง การนำปลาไปแช่ (dip) ในน้ำเกลือที่มีความเข้มข้นสูง (30 กรัม /น้ำ 1 ลิตร) เขาเเช่ปลากันแบบ short term นะครับคือ แช่ไม่นาน แต่เขาไม่ได้บอกว่ากี่นาที ถ้าพบข้อมูลจะ post บอกในโอกาสต่อไป เพื่อใช้กำจัดพวกปรสิต, ใช้ช่วยรักษาสมดุลของเกลือแร่ในกรณีที่มีการเคลื่อนย้ายหรือเดินทาง อาจเรียกว่าช่วยลดความเครียดก็ว่าได้มั้งครับ แต่ว่าวิธีนี้จะทำให้ปลาขับเมือกออกมามากทำให้ปลาอ่อนไหวต่อการรักษาในขั้นตอนต่อไป หมายความว่าหลังจากใช้วิธีนี้รักษาแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ก่อนที่จะให้ยาตัวอื่นต้องระวังด้วยนะครับ ส่วนความจำเป็นว่าต้องใส่เกลือหลังจากเปลี่ยนน้ำใหม่หรือไม่นั้น จริงอยู่หลังจากที่คุณเปลี่ยนน้ำ สารไนเตรทก็คงยังไม่มี แต่หลังจากนั้นล่ะครับ คุณอาจจะขี้เกียจเปลี่ยนน้ำหรือเหตุผลอื่นๆอีกจิปาถะเช่นให้อาหารมากไป น้ำอาจจะมีปรสิตแฝงอยู่ ผมว่ากันไว้ก่อนแก้ดีกว่าไหมครับ เหมือนที่คุณ Okamoto เขาบอกว่าเกลือคือเฟอนิเจอร์สำหรับบ่อปลาเชียวนะครับ สืบเนื่องจากกระทู้ 0932 นะครับ ผมได้ข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับ Salt Dips (การแช่ปลาในน้ำเกลือที่มีความเข้นข้นสูง) เลยนำมาฝากเผื่อเพื่อน ๆ ที่สนใจจะได้นำไปรักษาปลาได้อย่างถูกวิธี ข้อห้ามใช้ 1. ลูกปลาหรือปลาที่เล็กมาก 2. ปลาที่ไม่เคยเลี้ยงด้วยวิธีคุมเกลือมาก่อน 3. ปลาที่อยู่ระหว่างการรักษาเนื่องจากน้ำมีแอมโมเนีย หรือของเสียชนิดอื่นปนอยู่ (เหงือกช้ำเลือดหรือมีสีแดงปนดำ) วีธีรักษา 1. ผสมเกลือลงในน้ำ 2. ใส่ปลาที่ต้องการรักษาและเริ่มจับเวลา ให้แช่ปลาเป็นเวลา 30 วินาทีสำหรับปลาที่มีอาการทุรนทุราย (stressed) หรือปลาเล็ก สำหรับปลาที่ยังคงว่ายน้ำอย่างต่อเนื่องแบบไม่มีอาการ stressed สามารถแช่ได้นานถึง 5 นาที 3. ปลาจะลอยขึ้นบนผิวน้ำด้านบน หรือด้านข้าง เราต้องพยายามกระตุ้น(poke) เพื่อที่ปลาจะได้จมลงและว่ายน้ำ 4. ถ้าปลาที่ไม่ยอมจมลงและไม่ยอมว่ายน้ำอย่างรวดเร็วในขณะที่เรากระตุ้น ให้หยุดโดยนำปลาออกไปไว้ในน้ำที่สะอาด ไม่เป็นวิธีที่ดีที่จะนำปลากลับไปไว้ที่เดิมจนกว่าคุณได้ทำความสะอาดและได้มีการทำอะไรสักอย่างเพื่อป้องกัน(treat)ปรสิตไว้เรียบร้อยแล้ว 5. อย่าแช่ปลาเกิน 5 นาทีแม้ว่าปลาจะแสดงอาการที่ดี เพราะทิ้งปลาเกิน 5 นาทีปลาจะตาย 6. สำหรับปลาเล็กที่ลอยขึ้นบนผิวน้ำด้านบน และมีอาการ ให้รีบนำออก เนื่องจากเหงือกปลาทนไม่ไหวแม้เพียง 2-3 วินาทีก็ตาม
คําเตือน 1. ปลาที่จมอยู่ในน้ำและยืนน้ำอยู่เฉย ๆ เป็นเรื่องปกติ 2. หลังจากที่แช่ปลาแล้ว ปลาจะขับของเสียและแอมโมเนียออกทางเหงือก ดังนั้นต้องคอยตรวจสอบคุณภาพน้ำและเปลี่ยนน้ำตามความเหมาะสม ข้อมูลจาก (url)http://puregold.aquaria.net/disease/treatment/trtmnt.htm#SALT DIPS(url) เท่าที่ผมหาข้อมูลได้ Salt Dip จะใช้ความเข้มข้นอยู่ในช่วง 1.5 % - 3 % หรือ 15 กรัม - 30 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ ลองอ่านดูในกระทู้เก่านะครับ การทำ Salt dip มีอันตรายกับปลาศึกษาให้เข้าใจก่อนใช้นะครับ สำหรับปลาเล็กอาจจะใช้โดสที่น้อยลง(รายละเอียดในเรื่องข้อห้ามใช้จากกระทู้เรืองเกลือ) หรือ อาจใช้ Long term dosage แทนก็ได้นะครับ โดยแบ่งเกลือเป็น 3 ส่วน ทยอยใส่เพื่อให้ปลาปรับตัวได้ ห่างกันประมาณ 12 ชมในแต่ละส่วน ที่ความเข้มข้น 0.3 % - 0.5 % (3-5 กรัม / ลิตร ) ทิ้งไว้ประมาณ 3-4 วัน(ช่วงนี้อาจจะต้องเปลี่ยนน้ำบางส่วนตามสภาพของคุณภาพน้ำ) หลังจากค่อย ๆ ทำให้เกลือเจืองจางลงโดยการเปลี่ยนน้ำบางส่วน 30-40 % โดย Okame เมื่อ วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม 2544, 15:03:19 น. และ วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน 2544

ความคิดเห็นที่ 5

มีมี่
มีมี่ (202.183.134.139) [2005-01-08 19:59:11]
ดูปริมาณตรงนี้ใหม่ละกันค่ะ ข้างบนอย่าดูมันเป็นของหน่วยตวงของหลายประเทศค่ะ

สรุปคือ
ใส่ทั่วไปตามปกติ
General aquarium additive – mild nitrite protection 0.1% ของปริมาตรน้ำ หรือ 1gmต่อลิตร

ใส่เพื่อป้องกันโรค
Preventive and general nitrite protection 0.3% ของปริมตารนำ หรือ3 gm ต่อลิตร ซึ่งปกติดิฉันจะใส่ประมาณไม่เกินนี้เวลาเปลี่ยนน้ำค่ะ แต่ก็สลับกับ หนึ่งหรือสองกรัมต่อลิตรค่ะ แต่ถ้าปลามีอาการแปลก ๆ ก็จะมาสามกรัมต่อลิตรทันที

เวลาน้ำเย็นใส่ป้องกันโรค ก็จะเยอะขึ้นค่ะ
Supportive for coldwater 0.9% 9 gm

รักษาโรคแบบเฉียบพลันค่ะ อันนี้เคยทำแต่ปลาตายไปหลังจากนั้นค่ะ เลยทำให้ไม่กล้าอีก กลัวมันเค็มไป แต่จากที่อ่านคำแนะนำคิดว่าน่าจะได้ผล ตัวที่ตายไปของดิฉันอาจจะเด็กไป หรือว่า อ่อ่นแอมากเกินไปรักษาอย่างไรก็ต้องตายค่ะ

ลองดูนะคะ

แต่อย่าลืมว่าถ้าจะดิ๊พต้องอย่านานเกินเวลาที่กำหนดค่ะ ไม่งั๊นกลายเป็นปลาเค็มค่ะ
Short-term salt dip 3.0% 30 gm

ความคิดเห็นที่ 6

มีมี่
มีมี่ (202.183.134.139) [2005-01-08 20:02:43]
ค.ห. 4 จะเป็ฯข้อมูลทั้งหมดค่ะ ให้ยึดอันนี้นะคะ จะมีคำเตือนด้วยค่ะ ซึ่งสำคัญมาก ๆ

ความคิดเห็นที่ 7

nr14
nr14
30
[2005-01-08 20:37:54]
น้ามี่ข้อมูลเจ๋งมาก ๆ

ความคิดเห็นที่ 8

liverpool
liverpool (158.108.211.112) [2005-01-08 23:57:26]
ที่ตัวมีจุดขาวๆ เม็ดเล็กๆมั๊ยครับ ที่หางด้วย เวามองผ่าน เหมือนกับเป็นฟองอากาศเล็ก แต่มองดูดีๆแล้วไม่ใช่อ่ะครับ ถ้ามีจุดขาว ก็ใส่ซูเปอร์อิ๊ค ของไวท์เครนครับ หรือไบโอน็อคก็ได้ครับ เบอร์สอง ที่รักษาจุดขาว ราคาจะถูกลงมาหน่อย สรรพคุณพอๆกัน ใส่ตามฉลากน่ะครับ หรือน้อยกว่าหน่อยก็ได้ถ้าปลาตัวเล็กครับ แล้วใส่หัวทรายเพิ่มให้หน่อยด้วยน่ะครับ จริงๆแล้ว ถ้าปลาเป็นโรคแล้ว เกลือก็ช่วยรักษาไม่ได้มากเท่าไหร่หรอกครับ แต่เกลือมันจะทำให้ปลาสดชื่นขึ้น เพราะช่วยในเรื่องของการนำกระแสประสาทครับ

ปล.ถ้าผิดพลาดอย่างใด ช่วยท้วงด้วยน่ะคร้าบ

ความคิดเห็นที่ 9

poon
poon (202.57.185.110) [2005-01-08 23:59:11]
สุดยอดเลยคับ

ความคิดเห็นที่ 10

mimis
mimis [2005-01-09 16:57:17]
ข้อมูลก๊อปเค้ามาอีกทีค่ะ ต้องขอบคุณเจ้าของไว้นะโอกาสนี้ค่ะ ไม่รู้ของใครเหมือนกัน

ความคิดเห็นที่ 11

svancz
svancz (203.145.27.209) [2005-01-10 01:09:18]
ขอบคุณครับ ทุก ๆ ท่าน ที่เข้ามาช่วยตอบ ช่วยวิเคราะห์ โดยเฉพาะคุณมีมี่

ตารางที่คุณมีมี่ให้มา ผมเคยอ่านเจอแล้วล่ะครับ ช่วงที่ โกลด์ดี้ไม่สบาย แต่ผมอ่านแล้วงง ๆ ไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ ก็เลยผ่านเลยไปครับ
ดีที่คราวนี้ คุณมี่สรุปไว้ให้ผมแล้ว คงจะเป็นประโยชน์กับผม และคลายความสงสัยในเรื่องของเกลือให้ผมได้พอสมควรเลยทีเดียว

ส่วนเรื่อง มันนี่ กับ โกลด์ดี้ ที่ตายไป เค้าไม่มีอาการใด ๆ ตามที่เพื่อน ๆ หลาย ๆ ท่านบอกเลยครับ มันซึมอย่างเดียวเท่านั้น ไม่มีจุดขาว ไม่มีจุดดำ ไม่มีเห็บ ไม่มีหนอนสมอ ทุกส่วนไม่เปื่อย ไม่ตกเลือด
เพราะแบบนี้ล่ะครับ ผมเลยกลุ้มใจ เพราะมันไม่มีอาการไหน ๆ เลย นอกจาก เรื่อง กิน ว่าย น้อยลง และซึม ๆ ๆ ๆ และก็ตายในที่สุด

ส่วนน้ำที่เปลี่ยนให้ก็เป็นน้ำที่รองทิ้งไว้ 2-3 วัน (แถมเป็นน้ำกรองที่ปกติที่บ้านใช้กินกันด้วย) เรื่องน้ำนี่คงตัดไป

จากข้อมูลที่คุณมี่ให้มา ก็คงเป็นเพราะผมใส่เกลือน้อยไปจริง ๆ เพราะผมก็ไม่กล้าใส่เยอะ กลัวว่าน้ำมันจะเค็มแล้วปลาจะตายเพราะน้ำซะก่อน แบบนี้ก็คงเรียกว่า ใช้เกลือไม่ให้เกิดประโยชน์


สรุปว่า โรคซึม ที่ดูตามตัวปลาแล้วไม่พบสิ่งผิดปกติใด ๆ นอกจากดูรู้แค่ว่า ซึม และไม่ยอมกินอาหาร จะมีวิธีรักษายังไงครับ และมันมีสาเหตุมาจากอะไร จะได้ป้องกันถูกวิธีครับ

ความคิดเห็นที่ 12

mimis
mimis [2005-01-10 17:52:35]
ถ้าอย่างนั้น สงสัยพวกเค้าจะมีปัญหาด้านจิตใจ เฮ้อ..รักษายากเสียด้วยค่ะ

หรือคุณ svancz - - ไปทำให้พวกเขาน้อยใจอะไรหรือเปล่าค่ะเนี่ย อิ๊...อิ๊...อิ๊...

หากคุณอยู่ที่เมืองไทยขอแนะนำให้โทรไปปรึกษาหมอค่ะ (แต่อย่าหวังอะไรมากเหมือนกันค่ะ เพราะปลาบอบบาง ถึงมือหมอก็ยาก)

พอดีมีที่ก๊อบมาอีกที(อีกละ อายจัง...) คิดว่าบางท่านอาจเคยอ่านแล้ว หรือคุณ...ชื่อยากจังง่ะ อ่านว่าอะไรเหรอ svancz - - อาจจะเคยผ่านตามาแล้วค่ะ แต่ลองดูละกันนะ

โดยปกติช่วงใกล้ ๆ สิ้นปี สังเกตได้เลยครับว่า จะมีกระทู้เกี่ยวกะเรื่องปลาป่วยมากเป็นพิเศษ ทีนี้หลายคนมั่ก ๆ ครับที่โทรมาสอบถามเรื่องเกี่ยวรายละเอียดของการรักษา

ไอ้ครั้นบอกตรง ๆ ว่า การแนะนำทางตัวอักษร หรือ โทรศัพท์ บางทีมันไม่เห็นภาพ หรือ เห็นภาพก้อคาดเดาสาเหตุของโรคยากเหลือเกิน สุดความสามารถที่อยากจะช่วยเหลือครับ เพราะบางโรคไม่สามารถที่จะบอกถึงการวิธีการรักษาได้ด้วยการมองอาการแค่ภายนอกของตัวปลา
เมื่อวันก่อนผมเพิ่งได้มีโอกาสไปคุยกะคุณหมอหนุ่ม ที่ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำจุฬาฯ เพื่อนำเนื้อหามาเรียบเรียงใหม่สำหรับตีพิมพ์ในนิตยสาร Aqua ...แต่ไอ้ครั้นจะรอบทความเต็ม ๆ ตอนหนังสือออก ก้ออาจจะช้าเกินไป เลยนำคำแนะนำของคุณหมอบางส่วนมาถ่ายทอดให้อ่านกันก่อนครับ

ข้อแนะนำเบื้องต้นเมื่อปลามีอาการป่วย หรือ มีอาการผิดปกติ
1. รักษาความสะอาดของน้ำให้ดีที่สุด
2. การเปลี่ยนน้ำ ควรระวังในเรื่องของคลอรีนและอุณหภูมิให้มากที่สุด น้ำที่เปลี่ยนควรพักไว้ไม่ให้มีคลอรีนเลย และอย่าให้อุณหภูมิต่างกันมาก(ช่วงนี้อากาศเปลี่ยน บางทีอุณหภูมิน้ำใหม่กะน้ำในตู้อาจจะต่างกันถึง 5องศาC ...สำหรับปลา ถือว่าเอาเรื่องอยู่ครับ!)
3. หากเป็นโรคพื้นฐาน เช่น หางเปื่อย ตกเลือด อาจจะทดลองทำการรักษาเองในเบื้องต้น โดยการใส่เกลือ ยาเหลือง หรือ เอม๊อกซี่ และเฝ้าติดตามอาการ หากภายใน 3วัน(อย่างช้าไม่ควรเกิน5วัน) ยังไม่ดีขึ้น ควรจะนำส่งให้คุณหมอทำการตรวจอย่างละเอียด เพราะ บางโรคเป็นโรคที่ไม่สามารถวินิจฉัยได้จากอาการภายนอกได้

4. การใส่เกลือ โดยปกติใส่ที่อัตตราส่วน 0.03%ของปริมาณน้ำในตู้ปลา หรือ หากปลามีอาการป่วย ควรใส่อยู่ที่ประมาณ 1% (สำหรับปลาหมอสี อาจจะใส่ได้ถึงทีนี้เมื่อเราทอลองรักษาเบื้องต้นตามอาการที่เห็นแล้ว ชีวิตไม่ได้มีอะไรดีขึ้นมาเลย ขั้นตอนต่อไปอาจจะต้องถึงมือคุณหมอแล้วล่ะครับ~!!!

ข้อแนะนำในการพาปลาไปหาหมอ~!!

1. ก่อนจะนำมาส่งตรวจ ควรงดอาหาร 1วัน และไม่ต้องใส่อาหารมาในถุงเวลาย้ายปลาด้วย (หุหุหุ...ไม่น่าเชื่อนะว่า จะมีคนกลัวปลาหิวระหว่างเดินทาง ...แต่ก้อมีหลายคนที่ทำแบบนี้จริง ๆ ครับ)

2. อัดอ๊อก และ แพ๊คถุงให้แน่นหนา ควรมีอุปกรณ์ย้ายปลาสำรองมาด้วย เช่นถุงพลาสติก กล่องโฟม หรือ อ๊อกแบบใส่ถ่าน

3. ควรนำน้ำเก่าที่ใช้เลี้ยงปลามาด้วยเพื่อตรวจหาสาเหตุของโรคที่อาจจะเกิดจากคุณภาพน้ำ เช่น ความเค็ม ความกระด้าง pH ฯลฯ จะให้ดีควรนำอึปลา หรือ อะไรก้อตามที่เป็นสิ่งแปลกปลอมที่มีอยู่ในตู้มาให้คุณหมอตรวจสอบด้วย(เช่น พวกคราบเมือกที่เป็นเส้น ๆ หรืออื่น ๆ )

4. เตรียมข้อมูลในการเลี้ยง การเปลี่ยนถ่ายน้ำ การให้อาหาร และ การรักษาเบื้องต้น เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบในการตรวจวินิจฉัย

5. อย่านำปลาป่วยทิ้งไว้ในที่ ๆ มีอากาศร้อน เช่น ทิ้งไว้ในรถระหว่างเดินทาง3% แต่ไม่ควรเกินกว่านั้น)

ค่าใช้จ่ายในการรักษา

1. ในกรณีที่จำเป็นจะต้องทำการเอ็กเรย์ ค่าเอ็กเรย์จะอยู่ที่ประมาณ 150-250บาท/ตัว ขึ้นอยู่กับขนาดปลา

2. ค่ารักษาเฉลี่ยจะอยู่ที่ 80-150บาทต่อครั้ง หรือต่อตัว ซึ่งอาจจะมากกว่านี้ก้อได้ตามแต่คอร์สการรักษา (แต่ส่วนตัวผม รวมค่าX-rayแล้วยังไม่เคยเกิน 400บาท/ครั้ง เลยครับ)

ค่าบริการต่าง ๆ จัดว่าถูกมาก ๆ ครับ สำหรับการตรวจรักษาปลาที่สถาบันแห่งนี้ เพราะสถาบันนี้จัดขึ้นเพื่อมุ่งเน้นการบริการประชาชนเป็นหลัก


การรับฝากปลาเพื่อทำการรักษา

โดยปกติทางศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ จะพยายามรักฝากปลาเพื่อทำการรักษาในเคสที่จำเป็น เนื่องจากติดปัญหาเรื่องสถานที่และบุคลากร(มีคนเปลี่ยนน้ำแค่คนเดียวเองอ่ะนะ~!)

ปัญหาที่พบมากที่สุดในการรับฝากคือ เจ้าของนำปลามารักษาแล้วไม่ยอมมารับกลับไป ซึ่งทำให้เป็นภาระในเรื่องของสถานที่ และ ตู้รับฝากปลาป่วยซึ่งมีจำนวนจำกัด ดังนั้นใครที่คิดจะนำปลาไปฝากแบบไม่คิดจะไปรับคืน(..จะทิ้งว่างั้นเหอะ!) กรุณามีความรับผิดชอบมากกว่านี้หน่อยนะครับ เพราะ คุณหมอบ่นมาว่า บางครั้งมีปลาที่อยู่ในสภาพที่ควรจะเข้ารับการดูแลโดยตรง(อาการหนัก) กลับไม่มีสถานที่ให้นำปลามาทำการรักษาได้ เพราะมีปลาเก่าที่เจ้าของไม่ยอมมาเอาคืนค้างตู้อยู่

ส่วนอัตตราค่าบริการในการรับฝากปลาเพื่อทำการรักษาจะอยู่ที่ 200/ตัว สำหรับปลาเล็ก และ 400-500บาทสำหรับปลาใหญ่(อาจจะต้องทำการรักษาในบ่อพัก) ทางศูนย์จะทำการรักษาให้จนปลาอยู่ในสภาพที่พร้อมจะให้เจ้าของนำกลับไปดูแลได้ต่อไปได้

ส่วนปลาป่วยทั่วไปที่เจ้าของสามารถทำการรักษาและดูแลได้เองนั้น ทางศูนย์ฯ จะให้คำแนะนำในการดูแล เพื่อให้เจ้าของนำปลากลับไปรักษาต่อเองที่บ้านครับ


สิ่งที่คุณหมอ ฝากย้ำเพิ่มเติมมาคือ หากทำการรักษาในระยะแรก ยังไม่มีอาการที่ดีขึ้นภายใน 3-5วัน ควรนำมาส่งแพทย์ได้แล้วครับ เพราะ ส่วนใหญ่รอให้อาการสาหัสหนักหนาเกินไป...จนบางครั้งเกินเยียวยา แล้วค่อยหิ้วเอามาให้ .....เจอแบบนี้เข้า คุณหมอก้อต้องหนักใจแหล่ะครับ!!!


และ....หากเกิดความแคลงใจ สงสัยว่า เอ๊ะ!! ทำไมอยู่ดี ๆ ปลามันถึงตายได้หว่า???

ที่นี่ก้อมีบริการชันสูตรให้ด้วยครับ!!!

วิธีการก้อคือ... นำปลาที่ตาย(ใหม่ ๆ ) ใส่ถุงพลาสติกหลาย ๆ ชั้นหน่อย มัดปากถุงให้แน่น ๆ แล้วแช่ในถังน้ำแข็งหิ้วตรงมาที่ ศูนย์วิจัยได้เลย(...แต่เข้าไปที่ตึกพยาธินะครับ อยู่ด้านหลังอาคาร60ปี คณะสัตว์แพทย์ศาสตร์) หรือ หากไม่สะดวกที่จะหิ้วมาในทันที วิธีเก็บรักษาสภาพคือ นำปลาที่มัดปากถุงไว้แล้วแช่ในตู้เย็น แต่อย่าแช่ช่องฟรีซนะครับ เพราะ จะทำให้เซลล์เสียสภาพและไม่สามารถจะนำมาทำการพิสูทธิ์

ส่วนผู้ที่ต้องการนำปลาป่วยไปทำการรักษาที่ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ จุฬาฯ ผมจะให้ที่อยู่ไว้นะครับ...

ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถ.อังรีดูนังต์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

โทร....(02)251-8887 , (02)218-9510 , (02)218-9514
เวลาเปิดของศูนย์ คือ จ.-ศ. เวลา 8.00-16.00น. ปิด ส.-อา.ครับ เวลาปิดรับเคสสุดท้ายคือเวลา 15.30น. เผื่อเวลาในการเดินทางซะหน่อย เพราะไปช้ากว่านี้ จะไม่ทันเวลานะครับ

ขอบคุณและขอโทษสำหรับเจ้าของบทความด้วยค่ะ คือตอนก๊อบมาไม่ติดชื่อค่ะ คิดว่าเอามาจากพันทิพนะถ้าจำไม่ผิด

ความคิดเห็นที่ 13

svancz@msn.com
svancz@msn.com (203.149.57.166) [2005-01-11 11:34:40]
ขอบคุณครับ พึ่งจะรู้ว่ามีคนพาไปหาหมอด้วย

ปล. ส่วนชื่อ svancz ของผม ไม่มีความหมายอะไรครับ มันมาจากคำว่า schwancz อ่านออกเสียงว่า ชะ-ว้านจ์ เป็นชื่อของนักขับรถ(สมัยก่อนตอนที่ผมยังเล็ก ๆ) เค้าเก่งมากครับ แข่งกี่ที กี่ที ก็แชมป์ตลอด

ชอบมาตอลด แต่ถ้าใช้ schwancz มันก็จะไปซ้ำกับคนอื่น ๆ ในโลก ผมก็เลยเปลี่ยนเป็น svancz ซึ่งมีผมคนเดียวในโลกแทนครับ ^_^ อิอิ

นอกเรื่องนิดนึงฮ่ะ

ความคิดเห็นที่ 14

โจ
โจ (210.86.131.153) [2005-01-11 12:43:49]
อัดเกลืออย่างเดียวเลย ใส่เยอะๆๆไม่ต้องกลัวปลาตายครับ ตู้36เวลาเปลี่ยนน้ำผมใช้2ถุง เกลือถุงละบาทนะครับ ถ้าซึมๆๆไม่สบาย ใส่1ถุง เช้าอาการดีทุกตัว ผมเลี้ยงมาไม่เคยใส่ยาเลยครับ ผมว่ามันเป็นสารเคมีไม่น่าจะดีกับปลานะ เกลืออย่างเดียวเลยครับ ลองดู

ความคิดเห็นที่ 15

mimis
mimis [2005-01-11 16:39:33]
น้อง svancz คะ ใช้ชื่อเหมือนอย่างเดียวพอเน้อ อย่าไปแข่งกับเค้าเน้อ เอาเวลามาดูแลปลาดีกว่าค่ะ ปลอดภัยกว่ากันเยอะ

ขอบคุณคุณ โจคะ

ไว้ต้องลองมั่ง คือกลัวเค็มค่ะ ขนาดปริมาณที่บอกมามี่ยังลดลงเองบ่อย ๆ กลัวมันเค็มแล้วไม่สบายตัว

คงต้องใส่สม่ำเสมอให้ชินแล้วล่ะ ค่ะ อย่างที่ว่า "เกลือเป็นเฟอร์นิเจอร์หลักในตู้ปลา)

ความคิดเห็นที่ 16

liverpool ^_^
liverpool ^_^ (158.108.211.111) [2005-01-11 17:36:49]
โว้ว.........ไม่เมื่อยบ้างเหรอครับ กระทู้นี้เอาไปออกหนังสือได้เล่มนึงเลยอ่ะครับ อิอิอิ แซวเล่นน่ะครับ จริงๆแล้วชื่นชมในความขยันจริงๆง่ะ ^_^

ความคิดเห็นที่ 17

 
  (203.149.57.166) [2005-01-12 11:55:40]
โห ใส่เกลือเยอะ ๆ ไม่เป็นไรเหรอครับ ผมกลัวน้ำมันเค็มแล้วปลามันจะสำลักเกลือตายซะก่อนอ่ะครับ

ขนาดที่คุณมี่สรุปให้ผมว่า ปกติ เกลือ 1 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร สำหรับธรรมดา
หรือ 2-3 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตรสำหรับป้องกันหรือรักษา

ผมยังไม่ค่อยกล้าเท่าไหร่เลยครับ กลัว....มันทนไม่ได้จากไปอีกตัว
เพราะปกติแทบจะไม่ได้ใส่เลย ตอนนี้ก็ว่าจะค่อย ๆ เพิ่มปริมาณเอาครับ

โดยเฉพาะเจ้าริชชี่ น่ารักครับ คึกมาก ไม่รู้มันคึกอะไร ว่ายวุ่นทั้งวัน คึกมากจนผมเริ่มจะกลัว ว่าจะเป็นโรคอะไรรึเปล่า เพราะอ่าน ๆ เจอว่าปลาที่เป็นโรคจะว่ายเอาตตัวถูกับตู้ เพราะมีตัวอะไรเกาะอยู่ แต่พยายามดูมันก็ไม่มีอะไรเกาะอยู่อ่ะครับ หรือว่าผมมองไม่ออกหว่า .... แห่ะ ๆ

ความคิดเห็นที่ 18

svancz (Manchester United)
svancz (Manchester United) (203.149.57.166) [2005-01-12 12:00:24]
ลืมบอกไป ว่า ตอนที่ยังไม่รู้ว่าใส่เกลือมากน้อยแค่ไหน (ที่ผมใส่3หยิบนิ้ว) น้อยมาก ๆ
ริชชี่เป็นตัวเดียวที่ผมเลี้ยงคู่กับตัวอื่นแล้วมันไม่ตายครับ (ขนาดแทบจะไม่ได้ใส่เกลือ ยังคึกขนาดนี้) ผมเลยกลัวว่าพอใส่เกลือเยอะ มันจะมีผลอะไรกับริชชี่ของผมรึเปล่า ปกติเห็นมันคึก ๆ อยู่ ๆ ถ้าเกิดซึมขึ้นมา ผมคงกลุ้มใจแย่เลย

ปล. คุณ liverpool คืนวันเสาร์ที่ 15 นี้เจอกันครับ อิอิ

ความคิดเห็นที่ 19

liverpool
liverpool (158.108.210.187) [2005-01-12 13:53:51]
3กรัมต่อน้ำ1ลิตร ไม่มากหรอกครับ มันประมาณ3 ppt หรือ3ส่วนใน1000ส่วนอ่ะครับ น้ำทะเลทั่วไปมีความเค็มประมาณ35 ppt อ่ะครับ

หงส์แดงจงเจริญ แต่สงสัยกินแห้วเหมือนเดิม T_T

ความคิดเห็นที่ 20

mimis
mimis [2005-01-12 14:32:16]
นาย liverpool มาขำข้าเจ้า...เหม่เหม...

ก็แต่ก่อนตอนเราเป็นน้องละอ่อนในเว็บนะ ก็มีคนตอบเยอะแยะเลย พอช่วงหลัง ๆ ตั้งแต่ที่ต้องตั้งกระทู้ ยู้ฮู มีใครอยู่บ้างฯลฯ น่ะ เพือ่นๆ หายไปนี่นา

จริงๆ เราพิมพ์งานก็เมื่อยนิ้วสุด ๆ เหมือนกัน เข้ามาก็อยากอ่านอย่างเดียว แต่จะดูถ้าคนตอบน้อยก็จะพยายามหาที่ก๊อบเอาไว้มาแปะน่ะ คะ (หากินง่ายดีค่ะ)

เข้าใจความรู้สึกของคนที่รอคำตอบที่เพราะเราเคยมาแล้ว รอจนปลาตายไปเลย แล้วเราก็เสียใจมากๆ ที่เราทำอะไรให้เค้าไม่ได้เลย

ตกลงท่านลิเวอร์ฯ ร้านอยู่ทีไหนคะ ไม่บอกจริงๆ เหรอ

คุณ svancz คะ ประมาณหนึ่งถึงสองช้อนชาต่อลิตรใส่ตามปกติ ไม่มากค่ะ

ที่ว่าริชชี่รอด ก็คงเหมือนคน ที่ความสามารถ หรือสุขภาพแข็งแรงต่างกันค่ะ
ด้านบน

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนทำรายการ

เข้าระบบ