Skip to content

ปรับปรุง เว็บไซต์ เยอะแยะเลย ลองกดเข้าไปเล่นดูสิ ตอนนี้ มีหมอตั้ม มาประจำที่ โรงพยาบาลแล้วนะครับ ใครมีปัญหาปลาป่วย ปรึกษาได้ครับ

ปลาทอง ปลาสวยงาม ชนิดแรกๆ ที่ เชื่อว่า หลายคน คงมีโอกาสได้สัมผัส ได้เลี้ยงดู ได้หลงเสน่ห์ ความน่ารัก ความอุ้ยอ้าย ของปลาชนิดนี้ กว่าร้อย สายพันธุ์ ที่เกิดจาก ความพากเพียร พยายาม ของมนุษย์ เรา

0001339

เพื่อนมีอะไรแนะนำเกี่ยวกับ zeolite ไม๊ครับ

mohd
mohd (61.90.15.156) [2005-05-26 08:59:59]
เพื่อนมีอะไรแนะนำเกี่ยวกับ zeolite ไม๊ครับ ผมไม่แน่ใจว่ามันสามารถจับ amonia ได้ในระดับไหน แล้วต้องใช้มากแค่ไหน สำหรับการเลี้ยงในตู้ 24 หรือ 36 นิ้ว

ความคิดเห็นที่ 1

มี่
มี่ (203.170.159.165) [2005-05-26 15:43:40]
ช่วงนี้ง่วงนอนตลอด ทั้งบ่ายเลยค่ะ ไม่มีเวลาแปลค่ะ แต่ดูคร่าว ๆ ก็น่าจะดีนะคะ หวังว่าจะมีประโยชน์นะคะ

Using zeolite to control ammonia levels
when and how it should be used


Zeolite, ammonia and fish health

Zeolites are an ideal means of managing ammonia levels in the short-term until full filter active is restored or achieved. Even modest levels of ammonia are a threat to fish health. This is particularly a problem in new ponds and aquaria where we have to let ammonia levels rise a little to encourage the establishment of nitrifying bacteria in the filter. Elevated ammonia can occasionally be a problem in established set-ups.

What are zeolites?

These are naturally occurring types of minerals, although because of their usefulness as molecular sieves they can now be artificially produced. In their natural form they are aluminosilicates, which are normal silicate minerals containing aluminium. The structure is such that these minerals can loosely bind positive charged ions, usually sodium.

They act as ion-exchangers and 'swap' their sodium ions, for other positively charged ions, for example calcium or ammonium. So they are often used for water softening to remove hardness-forming calcium ions. Fish keepers can make use of this unusual characteristic and employ them to remove ammonia (or more strictly ammonium - NH4+) from the water.

Using zeolite

The required amount is simply placed in the filter just before the water is returned to the pond or tank. Don't place it before the biological section otherwise there may not be enough ammonia left to encourage the growth of nitrifying bacteria.

Depending on the current ammonia levels, the zeolite is removed when it is 'full' and left overnight to soak in a very strong salt solution, during which the collected ammonium is "swapped" for sodium (you will recall that salt is actually sodium chloride). After a good rinse in clean water it is ready for use again

How much and how often?

For aquaria use, zeolite and other ion-exchanger products usually come in pre-prepared pouches with instructions. For pond use it is best to have at least two 10 kg sacks - one in use, the other being recharged.

Initially it will probably need to be changed daily, until such times that ammonia test kit readings show that levels are stabilising. Once this happens the period between cleans can be extended

To clean it use 2-3 oz salt per gallon of water. The actual amount is not critical as long as it is good and salty.

It should only be used to manage an existing problem and not used on a long-term 'just in case' basis. First, if used permanently there is always the risk that it will 'dump' its ammonium collection. Secondly, it also acts as a water-softener and will remove calcium from the water.

Initially, even with zeolite it may still be necessary to do partial water changes to keep ammonia at an acceptable level.

Zeolite cannot be used in ponds or aquaria where the water is salted

ความคิดเห็นที่ 2

มี่
มี่ (203.170.159.165) [2005-05-26 15:50:04]
เกลือ สารส้ม และ ซีโอไลท์ ... ความเหมือนที่แตกต่าง

โดย 302

จากกระทู้ที่พันทิพย์ - ห้องปลาสวยงาม



เกลือ เป็น สารตัวหนึ่งที่นักเลี้ยงปลาสวยงามนิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง มีวิธีการใส่แตกต่างกันไป และชนิดที่ใส่ก็มีหลายแบบ แต่ก็มีความเหมือนที่แตกต่างกันอยู่บ้าง ขอแบ่งเป็นข้อๆนะ

1. ใส่เล็กน้อย (ประมาณไม่เกิน 0.5 ppt) อันนี้ เหมาะกับปลาที่ไวต่อความเค็มมาก และปลาทั่วไป ใส่เพื่อรักษาสมดุลย์แร่ธาตุในน้ำ ทำให้ปลาไม่เครียดง่าย และไม่มีผลต่อแบคทีเรียในตู้ที่เซ็ตกับน้ำจืด

2. ใส่ปานกลาง (ประมาณ 1 - 2 ppt) ผู้เลี้ยงปลาสวยงามนิยมใช้ทั่วไป สรรพคุณเหมือนกับข้อแรก แต่จะช่วยเรื่องของควบคุมเชื้อโรคที่เกิดในน้ำจืดได้ แต่ จะมีผลกับแบคทีเรียในระบบกรองบ้าง แต่ไม่นานระบบกรองจะปรับสภาพตามความเค็มในน้ำเอง และกลับสู่สภาพเดิมในเวลาที่ช้ากว่าเดิมเล็กน้อย เพราะในน้ำที่เค็มขึ้น แบคทีเรียกลุ่มที่สามารถย่อยสลายของเสียได้จะโตช้าลง

3. ใส่มาก (ประมาณ สูงกว่า 7 แต่ไม่เกิน 15 ppt) กรณีนี้ใช้สำหรับการรักษาโรคภายนอกทุกชนิด แต่ใช้ไมได้กับปลาทุกประเภท เพราะปลาบางชนิดไม่สามารถทนความเค็มสูงได้ เช่นปลาน้ำตกต่างๆ ปลาตระกูลบาร์บ ปลาแพะ เป็นต้น แต่มีบางชนิดที่ทนความเค็มได้สูงมากๆ เช่น ปลานิล ปลาแรด ปลาหมอสีต่างๆ ข้อเสียที่ทำให้วิธีนี้ไม่นิยมกระทำในตู้ปลาคือ จะทำให้ระบบกรองล้มเหลวได้ เพราะแบคทีเรียจะตายหมด เหลือบ้างก็เล็กน้อยมาก


ชนิดของเกลือที่ใช้กัน

1. เกลือแกง นิยมใช้มากเพราะราคาถูก หาซื้อง่าย และละลายน้ำเร็ว เกลือแกง อาจจะเป็นได้ทั้งเกลือสินเทา และเกลือทะเล

2. เกลือเม็ด นิยมมากในกลุ่มฟาร์มปลาสวยงาม ร้านปลาสวยงาม หรือผู้เลี้ยงที่มีปลามาก เพราะราคาถูกมากกว่าเกลือชนิดอื่นๆ เป็นเกลือที่ได้จากการตากน้ำทะเลโดยตรง จะมีเม็ดใหญ่ ละลายน้ำยากกว่าเกลือผง ทำให้ผู้เลี้ยงปลาสวยงามทั่วไปไม่นิยมเท่าไหร่

3. เกลือเสริมไอโอดีน เป็นเกลือที่มีไอโอดีนผสมอยู่ จะสามารถยับยั้งแบคทีเรียได้มากกว่าเกลือแกงธรรมดา เพราะไอโอดีนที่สูงขึ้น แต่หากใช้ในทางรักษา ให้ผลไม่แตกต่างกันกับเกลือประเภทอื่นๆ ราคาสูงขึ้น แต่นิยมใช้เพราะหาซื้อง่ายในร้านค้าต่างๆ

4. เกลือผสมยา ในท้องตลาด มักเป็นเกลือ ผสมยาเหลือง ใช้ใส่ตอนขนส่งปลาสวยงาม และปลาน้ำจืดทั่วไป ข้อดีคือมีส่วนผสมของยาเหลืองเพิ่มขึ้นมาทำให้การรักษาโรคแบคทีเรียมีผลมากขึ้นกว่าการใช้เกลือแกงอย่างเดียว แต่ข้อเสียคือใส่ตู้แล้วระบบกรองจะล่มเพราะแบคทีเรียตายจากสารทั้งสอง

5.เกลืออื่นๆ เช่นเกลือไบโอ เกลือผสมซีโอไลท์ เกลือผสมไคโตซาน เกลือเพิ่มค่าอัลคาไลน์ ฯลฯ ส่วนมากเป็นเกลือที่ละลายน้ำได้ดีมากเพราะขนาดเม็ดเล็กมากๆ มักใช้ในการปรับคุณภาพน้ำ

นอกจากนี้เกลือยังช่วยในเรื่องอื่นๆได้อีกด้วยนะ เช่น

- ทำให้น้ำใสขึ้น เพราะตกตะกอนสารแขวนลอยต่างๆ และกำจัดแบคทีเรียที่ลอยอยู่ในน้ำ
- ลดความเป็นพิษของแอมโมเนีย ไนไตรท์ ไนเตรท
- ทำให้คลอรีนระเหยออกไปจากน้ำได้เร็วขึ้น เป็นต้น

แต่ก็มีสิ่งที่นักเลี้ยงปลาสวยงามไม่ต้องการอยู่ด้วยเช่นกัน

- ทำให้ออกซิเจนละลายในน้ำได้น้อยลง
- หากใส่ในปริมาณมาก ปลาจะเสียพลังงานในการปรับสภาพมากขึ้นทำให้โตช้าลง เป็นต้น

ทีนี้เรามาต่อกันที่สารส้ม อันที่จริงไม่เกี่ยวอะไรกับเกลือโดยตรงหรอกครับ แต่มีคุณสมบัติอย่างหนึ่งที่คล้ายๆกันคือ ทำให้น้ำใส

โดยมากนักเลี้ยงปลาสวยงาม และปลาอื่นๆ ไม่นิยมใช้สารส้มในการเลี้ยงปลาเพราะ จะทำให้น้ำเป็นกรด แม้น้ำใสขึ้น แต่จะทำให้ pH ลดลงด้วย เพราะ สารส้มจะจับกับตะกอนแขวนลอยต่างๆ และตกลงสู่พื้น หาก เราปรับสภาพน้ำให้เป็นกลาง หรือทำให้ pH สูงขึ้น ประสิทธิภาพในการตกตะกอนของสารส้มจะลดลงด้วยเช่นกัน น้ำก็จะกลับมาขุ่นเช่นเดิม
จึงมีนักเลี้ยงปลาบางกลุ่มหันมาทำให้น้ำใสด้วยการใช้ " ซีโอไลท์ " ซึ่งมีคุณสมบัติใกล้เคียงกัน แต่ไม่ทำให้น้ำเป็นกรดในทันที เพราะจะเป็นสารประกอบของอลูมินั่มเหมือนกัน ทั้ง ซีโอไลท์ และสารส้ม เมื่อเวลาผ่านไปนานๆ สารประกอบตัวนี้จะทำให้ pH ลดลง แต่โดยมากไม่มีปัญหาในการเลี้ยงปลาสวยงามเพราะจะมีการถ่ายน้ำ ไม่ว่าจะ ถ่ายมาก ถ่ายน้อย ถ่ายบ่อย หรือนานๆถ่าย ก็ช่วยให้สารประกอบนี้ไม่ทันได้ละลายออกมาเป็นรูปที่เป็นกรด

ซีโอไลท์ที่เป็นผง หรือเม็ดเล็ก จะเห็นการเปลี่ยนแปลง pH ได้เร็วกว่า แบบที่เป็นก้อนขนาดปะการัง อันที่จริงสารประกอบตัวนี้สามารถสะสมอยู่ในขอนไม้ได้ ซึ่งขอนไม้นี้จะสังเกตได้จาก เมื่อนำมาทำให้แห้งจะมีสีซีดกว่าปรกติ และเปราะขึ้น แต่นับเป็นผลดีเพราะจะทำให้ขอนไม้ที่ใส่ในตู้ปลาสวยงามสามารถใช้ได้นานมากขึ้น


ลองดูนะคะ ขอบคุณผู้เขียนบทความมา ณ โอกาสนี้ค่ะ

ความคิดเห็นที่ 3

มี่
มี่ (203.170.159.165) [2005-05-26 15:52:46]
ยืดอายุน้ำให้ใสด้วย "ซีโอไลท์"







ปัญหาโลกแตกอย่างหนึ่งที่นักเลี้ยงปลาหลายท่านต้องเคยพบเจอก็คือระบบน้ำที่ใช้เลี้ยงปลามีประสิทธิภาพที่ไม่น่าพึงพอใจนั่นก็คือน้ำเสียง่ายนั่นเอง กล่าวคือเมื่อปลากินอาหารก็เกิดการขับถ่ายของเสียรวมไปถึงเศษอาหารที่ตกค้างอยู่ในตู้เกิดการสะสมเน่าเสีย ซึ่งของเสียเหล่านี้เมื่อหมักหมมเป็นเวลานานเข้าก็จะเกิดการแตกตัวเป็นโมเลกุลเล็ก ๆ เช่น สารอินทรีย์โมเลกุลเล็ก แอมโมเนีย ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (ก๊าซไข่เน่า) ซึ่งเมื่อเกิดสารเหล่านี้และมีการสะสมมาก ๆ ก็จะทำให้น้ำมีความหนืด ขุ่น สิ่งกลิ่นเหม็นและเป็นอันตรายต่อปลาที่เลี้ยงโดยตรง คือปลาเกิดความเครียดและอ่อนแอจนติดโรคที่สามารถแทรกซ้อนเข้าตัวปลาได้ง่ายและอาจตายในที่สุด ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ไม่ใช่สิ่งที่ผู้เลี้ยงพึงประสงค์เป็นแน่

ในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์หลายรูปแบบที่เป็นนวัตกรรมใหม่ที่เกิดจากการคิดค้นเพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดจากการเน่าเสียของน้ำ หนึ่งในนั้นก็คือการใช้ “ก้อนซีโอไลท์” หรือที่เรานิยมเรียกกันว่า “หินซีโอไลท์” นั่นเอง

ก้อนซีโอไลท์ที่ว่าเป็นหินจากภูเขาไฟธรรมชาติ มีข้อดีและขั้นตอนการทำงานคือ จะไปจับดูดซึมแอมโมเนียของเสียและสารพิษไม่ให้เป็นอันตรายต่อปลาและจะช่วยลดความหนือของน้ำทำให้น้ำมีความใสสะอาดไม่เน่าเสียเร็วไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำบ่อยครั้ง ซึ่งก็เป็นการสร้างความประหยัดและลดต้นทุนในการเปลี่ยนถ่ายน้ำและเพิ่มความสะดวกกับผู้เลี้ยงมากขึ้น

หลังจากขั้นตอนการทำงานของซีโอไลท์ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ระบบน้ำจะยืดอายุความใสทำให้เหมือนกับน้ำใหม่ จึงมีผลทำให้ปลาไม่เครียดและไม่เกิดโรคในน้ำ ปลาจึงมีสุขภาพดีกินอาหารได้สม่ำเสมอส่งผลให้การเจริญเติบโตของปลาดีด้วยเช่นกัน

เกี่ยวกับขั้นตอนการใช้ซีโอไลท์นั้นในปัจจุบันรูปแบบของสารชนิดนี้อยู่ในรูปแบบของก้อนหิน จึงสามารถใช้ในรูปแบบของหินประดับตู้ร่วมกับหินชนิดอื่น ๆ ได้ เพื่อประสิทธิภาพการทำงานที่ดีอาจจะเพิ่มก้อนซีโอไลท์ลงในชั้นกรองอีกชั้นก็จะส่งผลดีขึ้นอีก โดยปกติแล้วการใช้ซีโอไลท์ 1 กิโลกรัม จะเหมาะกับขนาดตู้ความยาว 1 ฟุต และหากระบบกรองและน้ำมีการทำงานหนักที่จะรองรับภาวะการเน่าเสียของน้ำที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ก็อาจจะต้องเพิ่มปริมาณก้อนซีโอไลท์ให้มากขึ้นด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและการสังเกตการทำงานของก้อนซีโอไลท์ว่าสามาถทำงานได้ประสิทธิผลหรือไม่

ข้อดีของก้อนซีโอไลท์อีกอย่างหนึ่งก็คือสามารถนำมาล้างทำความสะอาดได้และสามารถนำกับมาใช้ได้เช่นเดิม อายุการใช้งานก็ต้องสังเกตว่าหากประสิทธิผลการทำงานลดลงในปริมาณเท่าเดิมก็ควรจะเปลี่ยนก้อนซีโอไลท์ใหม่เพื่อการทำงานที่ดีขึ้น

และนี่ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ที่ต้องการความสะดวกในการเลี้ยงปลาสวยงามและลดต้นทุนเรื่องการเปลี่ยนถ่ายน้ำและประหยังเวลาแต่ยังคงได้เห็นปลาแหวกว่ายในน้ำใสเช่นเดิม

อันนี้ของโกลด์ฟิชเพียว เพียว ขอบคุณ มา ณ โอกาสนี้ค่ะ

ความคิดเห็นที่ 4

mohd
mohd (61.91.110.188) [2005-05-27 10:18:39]
ขอบคุณครับ ท่าทางเราต้องมานั่งเปิด dic แล้ว

ความคิดเห็นที่ 5

mohd
mohd (61.91.110.93) [2005-06-04 18:05:13]
ไม่แน่ใจว่าจะช่วยได้หรือเปล่า เกี่ยวกับเมือกปลา เพราะว่าในตู้เมือกเยอะมาก
ด้านบน

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนทำรายการ

เข้าระบบ