Skip to content

ปรับปรุง เว็บไซต์ เยอะแยะเลย ลองกดเข้าไปเล่นดูสิ ตอนนี้ มีหมอตั้ม มาประจำที่ โรงพยาบาลแล้วนะครับ ใครมีปัญหาปลาป่วย ปรึกษาได้ครับ

ปลาทอง ปลาสวยงาม ชนิดแรกๆ ที่ เชื่อว่า หลายคน คงมีโอกาสได้สัมผัส ได้เลี้ยงดู ได้หลงเสน่ห์ ความน่ารัก ความอุ้ยอ้าย ของปลาชนิดนี้ กว่าร้อย สายพันธุ์ ที่เกิดจาก ความพากเพียร พยายาม ของมนุษย์ เรา

0001421

ปลาทองถูกเพาะให้กลายพันธุ์จากปลาอะไรครับ

ทอง
ทอง (61.91.97.215) [2005-06-12 19:40:40]
ทราบว่าไม่ใช่ปลาพันธุ์ดั้งเดิมตามธรรมชาติ แล้วใครพอจะรู้ขั้นตอนคร่าวๆในการเพาะพันธุ์ให้ได้พันธุ์ใหม่ๆบ้างไหมครับ แนะนำลิ้งค์ก็ได้ครับ

ความคิดเห็นที่ 1

เอกซิดนีย์ ครับผม
เอกซิดนีย์ ครับผม (211.31.187.40) [2005-06-12 20:32:51]
อันนี้ต้องรอคุณนุ หรือ ไม่ก็คุณมี่ดีกว่าครับ วิชาการค่อนข้างสมบูรณ์ครับ

ความคิดเห็นที่ 2

มี่
มี่ (203.170.135.40) [2005-06-12 20:48:09]
อันนี้เก็บจากไหนจำไม่ได้แล้วค่ะ

คร่าว ๆ คือกลายมาจากปลาไนค่ะ

แต่เรื่องเพาะให้ได้พันธุ์ใหม่ ๆ คงต้องโกนุค่ะ

ไม่ก็คุณทอง ต้องเข้าเว็บพวกจีน กับญี่ปุ่นค่ะ จีนจะพัฒนาออกมาหลากหลายมาก ๆ ค่ะ

ตอนนี้ไม่คอ่ยฉบายไม่งั๊นจะหาลิงค์ให้ค่ะ

ประวัติปลาทอง

ทางประวัติศาสตร์เชื่อได้ว่าการเพาะพันธุ์ปลาทองมีมานานกว่าหนึ่งพันปีแล้ว หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึง คือ รูปวาดปลาทองซึ่งมีเกล็ดสีแดงที่ลำตัวจำนวนมากกำลังว่ายน้ำอยู่ในบ่อ อายุรูปภาพกว่า 2,000 ปีมาแล้ว ปลาทองเป็นปลาที่อยู่ในวงศ์ ไซไพร์นิดี้ (Family Cyprinidae) จัดเป็นปลาวงศ์ที่ใหญ่ที่สุด โดยมีปลาอยู่เกือบ 2,000 ชนิด ซึ่งปลาในวงศ์นี้มีปลาที่เราพอรู้จักคือ ปลาทอง ปลาไน และปลาตะเพียน จากการศึกษาพบว่า ปลาเงินปลาทองเป็นปลาซึ่งเกิดจากการผ่าเหล่ามาจากปลาไน (Crucian carp) ปลาเงินปลาทองมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Carassius auratus linn. ประเทศแรกที่เพาะพันธุ์ปลาทองได้สำเร็จคือ ประเทศจีน แต่ประเทศที่พัฒนาพันธุ์ปลาทองให้มีสีและลวดลายสวยงามคือประเทศญี่ปุ่น และเพียงเวลาไม่นานนัก ญี่ปุ่นก็ครองความเป็นจ้าวในการส่งออกปลาทองไปขายต่างประเทศ ผลที่ตามมาก็คือ ทำให้พันธุ์ปลาทองเป็นที่แพร่หลายและเป็นที่นิยมในหมู่นักเลี้ยงปลาในที่สุด

ปลาทองพันธุ์สามัญ (Common fish) เป็นปลาต้นสายพันธุ์ ลำตัวค่อนข้างยาวและแบนด้านข้าง หัวสั้นกว้างและไม่มีเกล็ด เป็นปลาที่อดทน กินอาหารง่ายและลูกดก สีสันคล้ายปลาไนมาก ในประเทศไทย สัณนิฐานได้ว่ามีผู้นำปลาเงินปลาทองเข้ามาเลี้ยงครั้งแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง โดยนำเข้ามาจากประเทศจีนเนื่องจากมีการค้าติดต่อกันในช่วงนั้น ทางประวัติศาสตร์เชื่อได้ว่าการเพาะพันธุ์ปลาทองมีมานานกว่าหนึ่งพันปีแล้ว หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึง คือ รูปวาดปลาทองซึ่งมีเกล็ดสีแดงที่ลำตัวจำนวนมากกำลังว่ายน้ำอยู่ในบ่อ อายุรูปภาพกว่า 2,000 ปีมาแล้ว ปลาทองเป็นปลาที่อยู่ในวงศ์ ไซไพร์นิดี้ (Family Cyprinidae) จัดเป็นปลาวงศ์ที่ใหญ่ที่สุด โดยมีปลาอยู่เกือบ 2,000 ชนิด ซึ่งปลาในวงศ์นี้มีปลาที่เราพอรู้จักคือ ปลาทอง ปลาไน และปลาตะเพียน

จากการศึกษาพบว่า ปลาเงินปลาทองเป็นปลาซึ่งเกิดจากการผ่าเหล่ามาจากปลาไน (Crucian carp) ปลาเงินปลาทองมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Carassius auratus linn. ประเทศแรกที่เพาะพันธุ์ปลาทองได้สำเร็จคือ ประเทศจีน แต่ประเทศที่พัฒนาพันธุ์ปลาทองให้มีสีและลวดลายสวยงามคือประเทศญี่ปุ่น และเพียงเวลาไม่นานนัก ญี่ปุ่นก็ครองความเป็นจ้าวในการส่งออกปลาทองไปขายต่างประเทศ ผลที่ตามมาก็คือ ทำให้พันธุ์ปลาทองเป็นที่แพร่หลายและเป็นที่นิยมในหมู่นักเลี้ยงปลาในที่สุด ปลาทองพันธุ์สามัญ (Common fish) เป็นปลาต้นสายพันธุ์ ลำตัวค่อนข้างยาวและแบนด้านข้าง หัวสั้นกว้างและไม่มีเกล็ด เป็นปลาที่อดทน กินอาหารง่ายและลูกดก สีสันคล้ายปลาไนมาก ในประเทศไทย สัณนิฐานได้ว่ามีผู้นำปลาเงินปลาทองเข้ามาเลี้ยงครั้งแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง โดยนำเข้ามาจากประเทศจีนเนื่องจากมีการค้าติดต่อกันในช่วงนั้น

ความคิดเห็นที่ 3

มี่
มี่ (203.170.135.40) [2005-06-12 20:50:39]
อันนี้ก็จำไม่ได้ค่ะ จากไหน ต้องขอโทษผู้เรียบเรียงด้วย ไม่รู้ว่ากรมประมง หรือม. เกษตรค่ะ

ปลาทองสายพันธุ์ต่าง ๆ
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า ปลาทองมีความหลากหลายในสายพันธุ์ทำให้เป็นที่นิยมของนักเลี้ยงปลาทั้ง
ในประเทศและต่างประเทศ ปัจจุบันมีสายพันธุ์ปลาทองมากกว่า 100 สายพันธุ์ การตั้งชื่อปลาทองแต่
ละสายพันธุ์นั้นจะตั้งชื่อตามลักษณะลำตัวและลักษณะครีบ ซึ่งเราสามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ 2
กลุ่มดังนี้
พวกที่มีลำตัวแบนยาว (Flat body type) ปลาในกลุ่มนี้ส่วนมาก มีลำตัวแบนข้างและมีครีบหาง
เดี่ยว ยกเว้นปลาทองวากิงซึ่งมีครีบหางคู่ ปลาในกลุ่มนี้จะว่ายน้ำได้ปราดเปรียวและรวดเร็ว เลี้ยงง่าย
ทนทานต่อสภาพแวดล้อม มีความแข็งแรงมากที่สุดในบรรดากลุ่มปลาทองทั้งหมด เจริญเติบโตเร็ว
เหมาะที่จะเลี้ยงในบ่อ สายพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงได้แก่
+ ปลาทองธรรมดา (Common goldfish) มีลักษณะเหมือนปลาทองที่พบในแหล่งน้ำธรรมชาติ
มีสีส้ม เขียว ทอง และขาว มีจุดหรือลายสีดำ ลำตัวค่อนข้างยาว และแบนข้าง
+ ปลาทองโคเมท (Comet goldfish) ปลาทองชนิดนี้พัฒนามาจาก Common goldfish มี
ครีบยาวเรียวออกไป โดยเฉพาะครีบหาง ซึ่งอาจจะมีความยาวมากกว่า เศษสามส่วนสี่ หรือหนึ่งเท่า
ของความยาวลำตัวทำให้ว่ายน้ำได้รวดเร็ว เป็นปลาที่เลี้ยงง่าย ลำตัวมีสีส้ม ขาวเงิน และเหลือง เป็น
ปลาที่ได้รับความนิยมมากในสหรัฐอเมริกา
+ ปลาทองชูบุงกิง (Shubunkin) ปลาทองสายพันธุ์นี้คัดพันธุ์ได้ที่ประเทศญี่ปุ่น มีลำตัวเรียวยาว
คล้ายปลาทองธรรมดา แต่มีครีบทุกครีบยาวใหญ่สมบูรณ์กว่าปลาทองพันธุ์ธรรมดามาก ปลายครีบ
หางมนกลม ลำตัวอาจมีสีแดง ส้ม ขาว ขาวและแดง หรืออาจมีหลายสี มี 2 สายพันธุ์ คือ london
shubunkin และ Bristol shubunkin สายพันธุ์ Bristol shubunkin จะมีครีบหางใหญ่กว่า
ชนิด London shubunkin
+ ปลาทองวากิง (Wakin) ปลาทองพันธุ์นี้คัดพันธุ์ได้ที่ประเทศจีน ลำตัวมีสีแดงสดใส และสีขาว
สายพันธุ์นี้จัดอยู่ในกลุ่มที่มีลำตัวแบนยาวแต่มีครีบหางเป็นคู่
พวกที่มีลำตัวกลมหรือรูปไข่ (Round หรือ egg-shaped body type) ปลาในกลุ่มนี้มี
จำนวนมากแบ่งเป็นหลายสายพันธุ์ มีลักษณะครีบ หัวและนัยน์ตาที่แตกต่างกันหลากหลาย ซึ่งสามารถ
แบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้ 2 กลุ่ม โดยพิจารณาจากลักษณะครีบดังนี้
* พวกที่มีครีบหลัง มีลำตัวสั้น มีครีบยาวและครีบหางเป็นคู่ เช่น
+ ปลาทองริวกิ้น (Ryukin)
เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงกันแพร่หลายทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น
เนื่องจากเป็นปลาที่มีรูปร่างและสีสันสวยงาม มีท่วงท่าการว่ายน้ำที่สง่างาม ลักษณะเด่น คือ ลำตัว
ด้านข้างกว้างและสั้น ส่วนท้องอ้วนกลม มองจากด้านหน้าโหนกหลังสูงขึ้นมากทำให้ส่วนหัวแลดูเล็ก
ครีบหลังใหญ่ยาวและตั้งขึ้น ครีบหาง เว้าลึกยาวเป็นพวง ทำให้มีชื่อเรียกต่าง ๆ กันอีกหลายชื่อ เช่น
Veiltail และ fantail เป็นต้น เกล็ดหนา สีที่พบมากมีทั้งสีแดง ขาว ขาว-แดง และส้ม หรือมีห้าสี
คือ แดง ส้ม ดำ ขาว ฟ้า ซึ่งในบ้าน เรานิยมเรียกว่า ริวกิ้นห้าสี
+ ปลาทองออแรนดา (Oranda)
ปลาพันธุ์นี้เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์หัวสิงห์และพันธุ์ริวกิ้น อาจเรียกว่า Fantail lion
head ปลาทองพันธุ์ออแรนดา (Oranda) จะมีลักษณะลำตัวค่อนข้างยาวกว่าปลาทองพันธุ์หัวสิงห์
และริวกิ้น ลำตัวคล้ายรูปไข่หรือรูปรี ส่วนท้องไม่ป่องมาก ครีบทุกครีบยาวใหญ่โดยเฉพาะครีบหาง
จะยาวแผ่ห้อยสวยงามมาก ปลาทองพันธุ์นี้แบ่งเป็นพันธุ์ย่อย ๆ ได้อีก ตามลักษณะหัวและสีได้แก่
+ ออแรนดาธรรมดา มีลำตัวค่อนข้างยาวรี หัวไม่มีวุ้น ครีบทุกครีบยาวมาก
+ ออแรนดาหัววุ้น ลำตัวและหางไม่ยาวเท่าออแรนดาธรรมดา แต่บริเวณหัวจะมีวุ้นคลุมอยู่คล้ายกับ
หัวปลาทองพันธุ์หัวสิงห์แต่วุ้นจะไม่ปกคลุมส่วนของหัวทั้งหมด จะมีวุ้นเฉพาะตรงกลางของส่วน
หัวเท่านั้น และวุ้นที่ดีจะต้องมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมเมื่อมองจากด้านบน
+ ออแรนดาหัวแดง (Red cap oranda) คือ ออแรนดาหัววุ้นนั่นเองแต่จะมีวุ้นบนหัวเป็นสีแดง
และลำตัวมีสีขาวภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า ตันโจ มีลักษณะลำตัวสีขาวเงิน วุ้นบนหัวเป็นก้อนกลมสีแดง
คล้ายปลาสวมหมวกสีแดง
+ ออแรนดาห้าสี (Calico oranda) ลักษณะเหมือนออแรนดาหัววุ้นทั่วไป แต่มีสีลำตัว 5 สี คือ
ฟ้า ดำ ขาว แดง ส้ม
+ ออแรนดาหางพวง (Vailtail) ลักษณะครีบหางจะยาวเป็นพวง ครีบหลังพริ้วยาว ที่หัวมีวุ้นน้อย
หรือไม่มีเลย ส่วนของลำตัวใหญ่สั้น ท้องกลม แต่ส่วนหลังแบนข้างเล็กน้อย บริเวณโหนกหลังสูงชัน
มาก ทำให้ส่วนหัวดูแหลมเล็ก ครีบหลังใหญ่ยาวและตั้งสูง ครีบหางเว้าลึกเป็นพวง
+ ปลาทองเกล็ดแก้ว (Pearl scales goldfish)
ปลาทองพันธุ์เกล็ดแก้ว มีลำตัวอ้วนกลมสั้น ส่วนท้องป่องออกมาทั้ง 2 ด้าน เมื่อมอง
ด้านบนจะเห็นเป็นรูปทรงกลม หัวมีขนาดเล็ก ปากแหลม มีลักษณะเด่นที่เกล็ดคือ เกล็ดหนามาก และ
นูนขึ้นมาเห็นเป็นเม็ดกลม ๆ ซึ่งเกิดจากเกล็ดที่มีสารพวกกัวอานิน (guanine) มากนั่นเอง ลักษณะ
เกล็ดที่ดีต้องขึ้นครบนูนสม่ำเสมอและเรียงกันอย่างมีระเบียบ ครีบทุกครีบรวมทั้งหางสั้นและต้อง
กางแผ่ออกไม่หุบเข้าหรืองอ สีที่นิยมได้แก่ สีแดง ส้ม เหลือง ดำ ขาว ขาวแดง ปลาชนิดนี้เลี้ยงยาก
ปลาทองเกล็ดแก้วที่นิยมเลี้ยงในประเทศไทยมี 3 สายพันธุ์ ได้แก่ เกล็ดแก้ว หัวมงกุฎ เกล็ดแก้วหน้า
หนู และเกล็ดแก้วหัววุ้น
+ ปลาทองตาโปน (Telescope eyes goldfish)
มีลักษณะลำตัวสั้น และส่วนท้องกลมคล้าย ๆ กับพันธุ์ริวกิ้น มีลักษณะเด่นที่ตาทั้งสองข้าง
โดยตาจะยื่นโปนออกมาด้านข้างเห็นได้เด่นชัด ถือกันว่าตายิ่งโปนมากยิ่งเป็นลักษณะที่ดี และ
เมื่อมองจากด้านบนจะต้องมีลักษณะกลมยื่นออกมาเท่ากันทั้งตาซ้ายและตาขวา ครีบทุกครีบและ
หางจะต้องแผ่กว้าง ปลายไม่หุบเข้า หรืองอไปทางด้านใดด้านหนึ่ง ครีบที่เป็นครีบคู่จะต้องเท่ากัน
และชี้ไปในทิศทางเดียวกัน (ขนานกัน) ปลาทองพันธุ์นี้ยังแบ่งออกเป็นพันธุ์ย่อย ๆ ได้อีกตามลักษณะ
สีบนลำตัวและครีบ ได้แก่
+ ปลาทองตาโปนสีแดง หรือขาวแดง (Red telescope-eyes goldfish) ลำตัวและครีบจะ
ต้องมีสีแดงเข้ม หรืออาจมีสีขาวสลับสีแดง และสีขาวจะต้องขาวบริสุทธิ์ไม่อมเหลือง จึงจะถือว่าเป็น
ลักษณะที่ดี
+ ปลาทองตาโปน 3 สี หรือ 5 สี (Calico telescope-eyes goldfish) ลำตัวและครีบมีหลาย
สีในปลาตัวเดียวกัน
+ ปลาทองพันธุ์เล่ห์ (Black telescope-eyes goldfish หรือ Black moor) ซึ่งได้แก่
ปลาทองที่เรียกว่า รักเล่ห์ หรือเล่ห์นั่นเอง ลักษณะที่ดีของปลาพันธุ์นี้คือ ลำตัวและครีบจะต้องดำสนิท
และไม่เปลี่ยนสีไปจนตลอดชีวิต
+ ปลาทองแพนด้า (Panda)
ปลาทองสายพันธุ์นี้นิยมมากในประเทศจีน เป็นปลาทองพันธุ์เล่ห์ที่ได้มีการลอกสีที่ลำตัวจนกลาย
เป็นสีขาวหรือสีเงิน ส่วนครีบต่าง ๆ จะมีสีดำมีลักษณะคล้ายหมีแพนด้า ซึ่งสายพันธุ์นี้จะมีลักษณะ
ไม่คงที่เพราะมีการลอกสีไปเรื่อย ๆ
+ ปลาทองปอมปอน (Pompon)
ประเทศญี่ปุ่น เป็นประเทศแรกที่เพาะพันธุ์ได้ มีลักษณะลำตัวสั้น มองจากด้านบนจะมีลักษณะเป็น
รูปสี่เหลี่ยมคล้ายปลาทองหัวสิงห์แต่แตกต่างกันตรงส่วนหัว โดยผนังกั้นจมูกของปลาทองปอมปอน
จะขยายเจริญเติบโตออกมาข้างนอกเป็นพู่ 2 ข้างทำให้แลดูแปลกตาออกไป มีช่วงลำตัวยาวและเพรียว
กว่าปลาทองหัวสิงห์สายพันธุ์อื่น ๆ ปลาทองปอมปอนที่นิยมมากที่สุดคือพันธุ์สีแดงไม่มีครีบหลัง
สายพันธุ์ปอมปอนแบ่งออกเป็นปอมปอนหัวสิงห์ ปอมปอนออแรนดา ปลาทองสายพันธุ์นี้บ้านเราไม่ค่อย
ได้รับความนิยมแพร่หลายมากเท่าใดนัก สาเหตุอาจเป็นเพราะปลาสายพันธุ์นี้โดยมากมีทรวดทรง
ที่ไม่สวยงามเท่าปลาทองหัวสิงห์สายพันธุ์อื่นขณะเดียวกันเป็นปลาที่แพร่พันธุ์ได้ยาก และปลาที่เพาะ
พันธุ์ได้โดยมากเป็นปลาพิการเสียเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นจึงทำให้ปลาชนิดนี้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมในหมู่นัก
เพาะพันธุ์ปลาระดับมืออาชีพ เนื่องจากเพาะแล้วไม่ค่อยคุ้ม
* พวกที่ไม่มีครีบหลัง มีรูปร่างกลมและไม่มีครีบหลังปลาทองในกลุ่มนี้จะว่ายน้ำได้ไม่ดี เทียบเท่า
กับกลุ่มที่มีครีบหลังได้แก่
+ ปลาทองหัวสิงห์จีน (Chinese lion head)
จีนเป็นประเทศแรกที่เพาะพันธุ์ปลาทองสายพันธุ์นี้ ชาวตะวันตกเรียกปลาทองสายพันธุ์นี้ว่า
Lionhead ในประเทศไทยเรียกว่า ปลาทองหัวสิงห์จีน (Chinese lionhead) ลักษณะโดย
ทั่วไปจะมองคล้ายสิงห์ญี่ปุ่นแต่ลำตัวค่อนข้างยาวไม่สั้นกลมอย่างสิงห์ญี่ปุ่น และส่วนหลังก็จะโค้ง
น้อยกว่าสิงห์ญี่ปุ่น หางใหญ่ยาวกว่าวุ้นบนหัวจะมีมากกว่าสิงห์ญี่ปุ่น วุ้นขึ้นปกคลุมส่วนหัวทั้งหมด
และวุ้นที่ดีจะต้องมีลักษณะเป็นเม็ดละเอียด สีลำตัวและครีบ มักจะมีสีอ่อนกว่าสิงห์ญี่ปุ่น เมื่อโตเต็ม
ที่มีขนาดเฉลี่ยประมาณ 15 เซนติเมตร แต่ก็เคยพบบางตัวมีขนาดใหญ่ถึง 25 เซนติเมตร อายุเฉลี่ย
ประมาณ 5-7 ปี
+ ปลาทองหัวสิงห์ญี่ปุ่น (Ranchu หรือ Japanese lion head)
เป็นปลาทองที่คัดพันธุ์ได้ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งญี่ปุ่นเรียก Ranchu เป็นปลาทองพันธุ์ที่ได้รับ
ความนิยมมากที่สุด ในบรรดาปลาทองหัวสิงห์ ทั้งหมด ราคาค่อนข้างสูง ลักษณะที่ดีของปลาทอง
พันธุ์นี้คือ ลำตัวสั้นค่อนข้างกลม ถ้ามองจากด้านบนท้องทั้งสองด้านจะต้องป่องออกเท่ากัน สันหลัง
โค้งเรียบเป็นรูปไข่ ไม่มีรอยหยักขึ้น ๆ ลง ๆ ไม่มีครีบหลัง ครีบทุกครีบสั้น ครีบคู่ทุกครีบต้องมี
ขนาดเท่ากัน และอยู่ในทิศทางเดียวกัน (ขนานกัน) ครีบหางสั้นและตั้งแข็งแผ่กว้าง วุ้นจะต้องขึ้น
ทั่วทั้งหัว เช่น บริเวณรอบปาก รอบดวงตาและใต้คาง โดยเฉพาะวุ้นใต้คางควรจะมีมากเป็นพิเศษ
จนมองดูจากด้านบนหัวจะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม ขณะว่ายน้ำต้องทรงตัวได้ดีและว่ายน้ำใน
ลักษณะหัวก้มต่ำเล็กน้อย สีของปลาทองพันธุ์นี้มีหลายสี เช่น แดง แดงและขาว ส้ม ดำ ขาว และ
ห้าสี สีแดงเป็นสีที่ได้รับความนิยมมาก ปลาชนิดนี้ค่อนข้างอ่อนแอเลี้ยงยาก เนื่องจากการผสมเลือด
ชิด (inbreed) ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 20-25 เซนติเมตร
+ ปลาทองหัวสิงห์ลูกผสม (Hybrid lionhead, Ranchu x Chinese lionhead)
ปลาทองสายพันธุ์นี้เป็นลูกผสมเพาะพันธุ์ได้ในประเทศไทย ซึ่งนำจุดเด่นของปลาทองหัว
สิงห์จีนและสิงห์ญี่ปุ่นมารวมกันไว้ในปลาตัวเดียวกัน สาเหตุของการผสมข้ามพันธุ์ เนื่องมาจาก
ปลาทองหัวสิงห์ญี่ปุ่น จะผสมพันธุ์ได้ค่อนข้างยาก ดังนั้นการนำปลาทองหัวสิงห์จีนมาผสมด้วย
จะช่วยให้ปลาแพร่พันธุ์ได้ง่ายและได้จำนวนลูกปลาเพิ่มมากขึ้น ลักษณะเด่นของปลาทองหัวสิงห์
ลูกผสมคือ วุ้นบนหัวของปลาจะมีขนาดปานกลาง ไม่ใหญ่เท่าปลาทองหัวสิงห์จีน แต่ใหญ่กว่า
ปลาทองหัวสิงห์ญี่ปุ่น หลังโค้งมนมากกว่าปลาทองหัวสิงห์จีน แต่ไม่โค้งและสั้นเท่าปลาทอง
หัวสิงห์ญี่ปุ่น ครีบหางสั้นกว่าปลาทองหัวสิงห์จีน แต่จะยาวกว่าปลาทองหัวสิงห์ญี่ปุ่น
+ ปลาทองพันธุ์สิงห์ตามิดหรือสิงห์สยาม (Siamese lionhead)
เป็นปลาที่คัดพันธุ์ได้ในประเทศไทย ลักษณะลำตัวทั่ว ๆ ไปคล้ายสิงห์ญี่ปุ่นแต่หัวมีวุ้นมากกว่า
วุ้นจะขึ้นคลุมทุก ๆ ส่วนบนหัวแม้กระทั่งส่วนของตาจะมองไม่เห็นเลยจึงทำให้ได้ชื่อว่าสิงห์ตามิด
ครีบหางมีขนาดใหญ่กว่าสิงห์ญี่ปุ่นเล็กน้อย ทุกส่วนของลำตัวต้องดำสนิท
+ ปลาทองพันธุ์ตากลับ (Celestial goldfish)
ปลาทองพันธุ์หัวสิงห์ตากลับ เป็นปลาทองที่มีต้นกำเนิดอยู่ในประเทศจีน ชาวจีนเรียกว่าโชเตนงัน
(Chotengan) ซึ่งมีความหมายว่า ปลาตาดูฟ้าดูดาว หรือตามุ่งสวรรค์ ญี่ปุ่นเรียกปลาชนิดนี้ว่า
เดเมรันชู (Deme- ranchu) ลักษณะเด่นคือ มีตาหงายกลับขึ้นข้างบน ผิดจากปลาทองชนิดอื่น ๆ
ตาใหญ่สดใสทั้งสองข้าง ส่วนหัวไม่มีวุ้นหรือมีเคลือบเล็กน้อย ไม่มีครีบหลัง ลำตัวยาว หลังตรง
หรือโค้งลาดเล็กน้อย ครีบหางยาว
+ ปลาทองพันธุ์ตาลูกโป่ง (Bubble eyes goldfish)
มีลักษณะลำตัวคล้ายพันธุ์หัวสิงห์แต่ค่อนข้างยาวกว่า ไม่มีครีบหลัง ลักษณะเด่นของปลาชนิดนี้คือ
บริเวณใต้ตาจะมีถุงโป่งออกมาลักษณะคล้ายลูกโป่ง และถือกันว่าถุงลูกโป่งยิ่งมีขนาดใหญ่ยิ่งเป็น
ลักษณะที่ดี และถุงทั้งสองข้างจะต้องมีขนาดเท่ากัน ปลาพันธุ์นี้ที่พบมากมีสีแดง ส้ม หรือสีผสม
ระหว่างสีแดงและสีขาว หรือส้มและขาว จัดเป็นปลาที่เลี้ยงยากและเพาะพันธุ์ได้ยาก ขนาดโตเต็ม
ที่ยาวประมาณ 20-25 เซนติเมตร

ความคิดเห็นที่ 4

มี่
มี่ (203.170.135.40) [2005-06-12 20:51:39]
จริง ๆ ถ้าคุณทอง ขยัน ๆ นะ เข้ากูเกิ้ล เสิร์ช คำว่า goldfish มี่อาศัยศึกษาจากพวกนั้นแหล่ะค่ะ แต่ยังไงก็ไม่จบ เพราะข้อมูลเยอะมาก

ความคิดเห็นที่ 5

cat
cat
362
[2005-06-12 22:08:34]
เริ่มจากปลาใน ที่กลายพันธุ์ เป็นสีทองๆครับ ฮุฮุ

ความคิดเห็นที่ 6

cat
cat
362
[2005-06-12 22:09:30]
ปลาในสีทอง

ความคิดเห็นที่ 7

cat
cat
362
[2005-06-12 22:09:57]
ปลาในสีธรรมดาครับ

ความคิดเห็นที่ 8

JoieGirl25
JoieGirl25
2
[2005-06-13 09:37:43]
อันนี้ไปได้มาจาก GFPP ค่ะ พยายามทำความเข้าใจอยู่เหมือนกัน

ปลาในตัวใหญ่จังเน๊าะพี่แมว

ความคิดเห็นที่ 9

et
et (202.176.121.151) [2005-06-14 18:14:37]
พี่แมวแอบเอาออกมาหรอ
ด้านบน

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนทำรายการ

เข้าระบบ