Skip to content

ปรับปรุง เว็บไซต์ เยอะแยะเลย ลองกดเข้าไปเล่นดูสิ ตอนนี้ มีหมอตั้ม มาประจำที่ โรงพยาบาลแล้วนะครับ ใครมีปัญหาปลาป่วย ปรึกษาได้ครับ

ปลาทอง ปลาสวยงาม ชนิดแรกๆ ที่ เชื่อว่า หลายคน คงมีโอกาสได้สัมผัส ได้เลี้ยงดู ได้หลงเสน่ห์ ความน่ารัก ความอุ้ยอ้าย ของปลาชนิดนี้ กว่าร้อย สายพันธุ์ ที่เกิดจาก ความพากเพียร พยายาม ของมนุษย์ เรา

0002494

เอาเรื่องการรักษาโรคปลามาให้เพื่อนๆๆครับ

laker
laker [2006-04-01 13:40:19]
โรคแบ่งเป็น โรคพยาธิภายนอก โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
1.โรคพยาธิภายนอก
โรคจุดขาว เป็นโรคที่มีจุดสีขาวขุ่น ขนาดเท่าหัวเข็มหมุดเล็กๆ กระจายอยู่ตามลำตัวและครีบ สาเหตุเกิดจากโปโตซัวชนิดที่กินเซลล์ผิวหนังเป็นอาหาร เมื่อพยาธิโตเต็มที่จะออกจากตัวปลาโดยจมตัวเองลงสู่บริเวณก้นบ่อปลาและสร้างเกาะหุ้มตัว ต่อจากนั้นจะมีการแบ่งเซลล์เป็นตัวอ่อนจำนวนมากอยู่ภายในเกาะ เมื่อสภาวะแวดล้อมภายนอกเหมาะสมเกาะหุ้มตัวจะแตกออกและตัวอ่อนของพยาธิจะว่ายน้ำเข้าเกาะตามผิวหนังของปลาต่อไป
การป้องกันและรักษา
ควรทำลายตัวอ่อนในน้ำหรือตัวแก่ขณะว่ายน้ำอิสระโดยใช้สารเคมีดังนี้
1. ฟอร์มาลีน 150-200 ซีซี ต่อน้ำ 1000 ลิตร แช่นาน 1 ชม.(สำหรับปลาขนาดใหญ่) หรือ 25-50 ซีซี ต่อน้ำ 1000 ลิตร(ปลาขนาดเล็ก) นาน 24 ชม.
2. มาลาไค้ทกรีน 1.0-1.25 กรัม ต่อน้ำ 1000 ลิตร แช่นาน1-2 ชม. หรือเมททิลีนบูล 1-2 กรัม ต่อน้ำ 1000 ลิตร แช่ติดต่อกัน 7 วัน
3. มาลาไค้ทกรีนผสมฟอร์มาลีนในอัตราส่วน 0.15 กรัม และ 25 ซีซี ต่อน้ำ 1000 ลิตร นาน 24ชม. แช่ติดต่อกันประมาณ 7 วัน ควรเปลี่ยนน้ำทุกวันและแช่ยาวันเว้นวัน วิธีนี้จะให้ผลดีมาก

โรคพยาธิเห็บระฆัง
ปลาจะมีอาการระคายเคือง เพราะมีปรสิตเซลล์เดียวรูปร่างกลมๆ เกาะอยู่ตามลำตัว และเหงือกทำให้เกิดเป็นแผลตามตัวและเหงือก ถ้าพบมากก็ทำให้ปลาตายได้หมดบ่อหรือตู้
การป้องกันรักษา
ควรป้องกันโดยการตรวจปลาก่อนที่จะนำมาเลี้ยงว่ามรปรสิตนี้มาด้วยเหรอไม่ ควรขังปลา 2 -3 วัน ระวังการติดต่อระหว่างบ่อผ่านทางอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกันกำจัดโดยใช้ฟอร์มาลีน 150-200 ซีซี ต่อน้ำ 1000 ลิตร แช่นาน 1 ชม. หรือ 25-50 ซีซี ต่อน้ำ 1000 ลิตร นาน 24 ชม.

โรคเห็บปลา
ปลาเป้นโรคนี้จะสังเกตว่ามีพยาธิรูปร่างกลมๆ สีเขียวปนน้ำตาล ขนาดประมาณ 5-7 มิลลิเมตร เกาะตามลำตัว หัวและครีบ สังเกตเห็นเป็นแผลตกเลือดเล็กๆ กระจายอยู่ทั่วตัว ปลาจะว่ายทุรนทุรายและพยายามถูตัวเองกับข้างบ่อ หรือชอบตู้เพื่อให้พยาธิหลุด
การป้องกันรักษา
1. ใช้ดิพเทอเร็กซ์ 0.5-0.75 กรัม ต่อน้ำ 1000 ลิตร นาน 24 ชม.
2. ใช้ด่างทับทิม โดยแช่ปลาในสารละลายด่างทับทิม 1 กรัม ต่อน้ำ 10 ลิตร นานประมาณ 15-30 นาที แล้วจึงจะย้ายปลาไปใส่น้ำสะอาด
3. โดยการจับออกด้วยปากคีบ ควรหยดน้ำเกลือเข้มข้น 1-2 หยด หรือหยดด่างทับทิมเข้มข้น 1-2 หยด ลงบนตัวพยาธิ แล้วจึงใช้ปากคีบดึงออก

โรคหนอนสมอ
หนอนสมอมักพบเกาะอยู่ตามผิวหนังของปลาโดยเฉาะบริเวณโคนครีบ มีรูปร่างคล้ายสมอเรือ พยาธิชนิดนี้จะดูดกินเนื้อเยื่อของปลาทำให้เกิดเป็นแผลขนาดใหญ่ได้ และปลามักผอมลงจนผิดปกติ ถ้าเกิดโรคนี้ในปลาขนาดเล็กอาจจะทำให้ปลาตายได้
การป้องกันรักษา
1. ควรแยกปลาที่มีหนอนสมอเกาะอยู่ในตัวออกเลี้ยงไว้ต่างหากประมาณ 3-4 สัปดาห์ เพื่อกันไม่ให้ตัวอ่อนหนอนสมอที่เพิ่งออกเป็นตัวมีที่ยึดเกาะทำให้ตายได้
2. แช่ปลาในสารละลายดิพเทอร์เร็กซ์ 0.5 กรัม ต่อน้ำ 1000 ลิตร แช่นาน 24 ชม. แล้วเปลี่ยนน้ำเว้นระยะไป 5-7 วัน จึงแช่ซ้ำอีก 2-3 ครั้ง

โรคเชื้อรา
เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรามักจะเกิดร่วมกับโรคอื่นๆ หลังจากที่ปลาเป็นแผลแบบเรื้อรัง โดยจะเห็นบริเวณแผลมีเชื้อราเป็นปุยขาวๆ คล้ายๆสำลีปกคลุมอยู่ในการเพาะพันธุ์ปลาถ้าหากมีไข่เสียมากก็จะพบเข้าเกาะกินไข่เสียและลุกลามไปทำลายไข่ดีต่อไป ถ้าหากไม่ได้ทำการรักษาอย่างทันท่วงที
การป้องกันรักษา
1. ใช้มาลาไคท์กรีน 0.1-0.15 กรัม ต่อน้ำ 1000 ลิตร แชนาน 24ชม.

โรคเมือกขุ่น
ปลาที่เมือกสีขาวปกคลุมลำตัวเป็นหย่อมๆหรือขับเมือกออกมามากจนกระทั่งได้กลิ่นคาว ครีบหุบ ว่ายน้ำกระเสือกระสน บางครั้งจะลอยอยู่ตามผิวน้ำ จากการติดปรสิตเซลล์เดียวจำพวกคอสเตียซิโลโดเนลล่า และโบโคโมแนส
การป้องรักษา
1. ใช้ฟอร์มาลีน จำนวน 25-40 ซ๊ซ๊ ต่อน้ำ 1000 ลิตร แช่นาน 48 ชม.
2. ด่างทับทิม จำนวน 1-3 กรัม ต่อน้ำ 1000 ลิตร แช่นาน 24 ชม.
3. เกลือเม็ด จำนวน 5-10 กิโลกรัม ต่อน้ำ 1000 ลิตร แช่นาน 48 ชม.

โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
โรคตัวด่าง
ปลาที่เป้นโรคดังกล่าวจะมีแผลด่างตามลำตัว มักเกิดกับปลาหลังการลำเลียงหรือขนส่งเพื่อนำไปเลี้ยง ปลาที่ติดโรคนี้จะตายเป็นจำนวนมากอย่างรวดเร็ว
การป้องกันรักษา
1. แช่ยาเหลือง 2 มิลลิกรัม ต่อน้ำ 5 ลิตร นานประมาณ 30 นาที
2. ในขณะขนส่งลำลเยงปลา ควรใส่เกลือเม็ดปริมาณ 1 ช้อนชา ต่อน้ำ 1 ลิตร
3. ใช้ด่างทับทิมจำนวน 1-3 กรัม ต่อน้ำ 1000 ลิตร แช่นานประมาณ 24 ชม.
4. ใช้ฟอร์มาลีน จำนวน 40-50 ซ๊ซี ต่อน้ำ 1000 ลิตร แช่นาน 24 ชม.

โรคครีบ-หางกร่อน
ตามบริเวณปลาครีบและหางกร่อนและค่อยๆลามเข้าไปจนทำให้ดูเหมือนว่าครีบเล็กลง
การป้องกันรักษา
1. ใช้ยาปฏิชีวะนะจำพวก ไนโตรเจนฟูราซาน ในอัตรา 1-2 กรัมต่อน้ำ 1000 ลิตร แช่นาน 2-3 วัน

โรคท้องบวม
อาการของโรคนี้มี 2 แบบ คือ แบบแรกจะเห็นส่วนที่ท้องบวมมาก ส่วนแบบที่ 2 ผิวหนังจะเป็นรอยช้ำตกเลือดและอาจทำให้เกล็ดตั้งได้
การป้องกันรักษา
1. ใช้ออกซิเตตร้าซัยคลีน หรือเตตร้าซัยครีนในอัตรา 10-20 มิลลิกรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร
ต่อๆครับ
ข้อควรระวังในการใช้ยา
ฟอร์มาลีน
ควรใช้ในบ่อที่มีน้ำไม่เขียวจัดและควรใส่ยาชนิดนี้ตอนเช้าจะดีกว่าตอนเย็น ถ้าจำเป็นต้องใช้ฟอร์มาลีนในบ่อที่มีน้ำเขียวจัด ควรถ่ายน้ำออกจากพื้นบ่อ ประมาณหนึ่งในสามของระดับลึก เติมน้ำใหม่แล้วจึงใส่ยาเนื่องจากฟอร์มาลีนจะทำให้พืชน้ำเล็กๆตาย อาจจะทำให้เกิดภาวะขาดออกซิเจนในบ่อได้อย่างเฉียบพลัน และไม่ควรใช้ร่วมกับเกลือ
เกลือ
การใช้เกลืจะต้องระวังเกี่ยวกับความเค็มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างทันที ปลาอาจจะปรับตัวไม่ทัน ทั้งนี้เมื่อคำนวณได้ว่าจะต้องใช้เกลือเท่าใดแล้ว ให้แบ่งเกลือออกป็น 3 ส่วน แล้วเริ่มใส่เกลือส่วนแรกลงในบ่อหรือตู้ปลบารอดูอาการปลาสัก 1 ชั่วโมง จึงใส่ส่วนที่ 2 และ 3 ตามลำดับ
เมททิลินบูลและด่างทับทิม
ควรใช้กับปลาที่อยู่ในตู้กระจก หรือบ่อปูนเท่านั้น
มาลาไค้ท์กรีน
เป็นสารเคมีที่อาจกระตุ้นให้เกิดมะเร็งได้ จึงควรระวังอย่าสัมผัสกับยาชนิดนี้โดยตรง และไม่ควรใช้กับปลาที่เลี้ยงเพื่อเป็นอาหารของคน
ตัวอย่างการคำนวณปริมาตรน้ำในบ่อสี่เหลี่ยม
ถ้าบ่อมีขนาดกว้าง 1.5 เมตร ยาว 2 เมตร ระดับน้ำลึก 0.5 เมตร
สูตร
ปริมาตรน้ำ = กว้าง x ยาว x ความลึกของน้ำ(หน่วยวัดเป็นเมตร)
การคำนวณ = 1.5 x 2 x 0.5
= 1.5 ลูกบาศก์เมตร(1.5 คิว)
ดังนั้น บ่อนี้ถ้าต้องการใช้ฟอร์มาลีน จะใช้ = 1.5 x 25 ซ๊ซี. (ปริมาตรของน้ำ x จำนวน ซ๊ซ๊ของยาที่ต้องการใช้) = 37.5 ซีซี
ถ้าต้องต้องการใช้ออกซิเตตร้าซัยครีนจะใช้ 1.5 x 10 มิลลิกรัม(ปริมาตรของน้ำ x จำนวนน้ำหนักของยาที่ต้องการใช้) = 15 มิลลิกรัม
หวังว่าคงจะเป้นประโยชน์กับเพื่อนๆๆหลายๆๆท่านนะครับ

ความคิดเห็นที่ 1

Alcohol
Alcohol [2006-04-01 17:09:46]
ขอบคุณ มากเลยครับ

ความคิดเห็นที่ 2

SJADE
SJADE [2006-04-01 19:53:35]
ได้ประโยชน์ดีครับ

ความคิดเห็นที่ 3

Sompoch
Sompoch [2006-04-01 22:45:27]
(-/\\-) ขอบคุณครับ

ความคิดเห็นที่ 4

Khanoomjeen
Khanoomjeen [2006-04-02 18:37:34]
ขอบคุณคะ.........................ประโยชน์มากมายเลย จากน้องพลอย

ความคิดเห็นที่ 5

fatfish47
fatfish47 (203.147.11.10) [2006-04-03 16:07:54]
มีประโยชน์ดีมากเลยค่ะ
ด้านบน

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนทำรายการ

เข้าระบบ