Skip to content

ปรับปรุง เว็บไซต์ เยอะแยะเลย ลองกดเข้าไปเล่นดูสิ ตอนนี้ มีหมอตั้ม มาประจำที่ โรงพยาบาลแล้วนะครับ ใครมีปัญหาปลาป่วย ปรึกษาได้ครับ

ปลาทอง ปลาสวยงาม ชนิดแรกๆ ที่ เชื่อว่า หลายคน คงมีโอกาสได้สัมผัส ได้เลี้ยงดู ได้หลงเสน่ห์ ความน่ารัก ความอุ้ยอ้าย ของปลาชนิดนี้ กว่าร้อย สายพันธุ์ ที่เกิดจาก ความพากเพียร พยายาม ของมนุษย์ เรา

0003595

ระหว่างที่รอระบบกรองเซ็ตตัว... ต้องทำอย่างไรบ้างค่ะ

ปิ๊ก
ปิ๊ก (124.120.40.201) [2006-10-23 19:42:28]
คือว่าต้องถ่ายน้ำประมาณเท่าไหร่ดีค่ะ ตู้36อ่ะค่ะ ตอนนี้กรองชั้นบนเป็นใยแก้ว กลางเป็นหิน พัมมิส ล่างเปงคาร์บอน เลี้ยงปลาอยู่ 2 ตัวค่ะหัวถึงหางประมาณ2นิ้วครึ่ง วันเดียวใยก็ดำแล้วอ่ะค่ะ ขอบคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 1

basaraman
basaraman
2
[2006-10-23 19:52:07]
ระบบจะเซ็ทตัวต้องใช้เวลาประมาณ5-7 วันครับ...ส่วนเรื่องใยดำนั้นเป็นเรื่องปกติครับเนื่องจากปลาทองเป็นปลาที่ขับถ่ายออกมาเยอะครับ..ดูจากจำนวนแล้วเปลี่ยน 2 อาทิตย์ครั้งก็ได้ครับ...หุหุหุ

ความคิดเห็นที่ 2

Polapat
Polapat [2006-10-24 00:13:21]
http://aquariathailand.pantown.com/

มาทำความรู้จักกับการกรองน้ำก่อน

กรองกายภาพ จับพวกตะกอน ฝุ่น ทำให้น้ำใส เช่นใยกรองต่างๆ

กรองเคมีจับสารที่เราไม่ต้องการเช่น แอมโมเนีย ฟอสเฟต หรือโลหะหนัก ความกระด้าง พวกนี้เราใช้ คาร์บอน เรซิ่น หรือซีโอไลท์ เป็นวัสดุกรอง

กรองชีวภาพใช้แบคทีเรียที่อยู่บนพื้นผิววัสดุกรองที่มีรูพรุนสูง คอยย่อนสลายของเสีย พวกแอมโมเนียไนไตรท์ให้อยู่ในรูปที่ไม่เป็นพิษและพืชนำไปใช้ได้ วัสดุกรองทุกอย่างที่แบคทีเรียเกาะได้จะเป็นกรองแบบนี้แต่ประสิทธิภาพขึ้นกับ พื้นที่ผิวที่น้ำไหลผ่าน

แต่มีข้อแตกต่างจากกรองของตู้ปลาทั่วไปคือ
1 ระบบกรองต้องไม่มีส่วนแห้งที่น้ำจะตกมาสัมผัสอากาศเพราะจะทำให้ คาร์บอนไดออกไซด์ หนีหายไป ต้องปรับให้น้ำท่วมกรองทุกช่อง
2 วัสดุกรองไม่ควรใช้ปะการังจะทำให้น้ำกระด้างไม่เหมาะในการเลี้ยงไม้น้ำ ไม่ควรมีถ่านกัมมันต์(activated carbon) เพราะจะดูดแร่ธาตุในน้ำที่พืชจะใช้ไปหมด(นอกจากใช้ในช่วงแรกเพื่อป้องกันตะใคร่ และในการดูดสีของขอนไม้ชั่วคราว)
3 การไหลออกของน้ำจากกรอง ไม่ควรให้น้ำตกลงกระทบผิวน้ำจนเกิดฟองเพราะจะทำให้คาร์บอนไดออกไซด์หลุดไปจาก ผิวน้ำได้ควร จัดทิศทางน้ำออกให้อยู่ใต้น้ำและหมุนเวียนเอาคาร์บอนและธาตุอาหารไปได้ทั่วตู้
4 ระบบกรองแบบใต้กรวดไม่เหมาะสมในการเลี้ยงไม้น้ำเพราะขัดขวางการเดินของระบบรากและ ทำให้ปุ๋ยฝัง กรวดฟุ้งกระจายในชั้นน้ำทำให้เกิดปัญหาตะใคร่ได้





วัสดุสำหรับปลูกไม้น้ำ ตามธรรมชาติไม้น้ำจะขึ้นอยู่ในดินและทรายใต้ท้องน้ำซึ่งอุดมไปด้วยธาตุอาหารจากการ สลายของ อินทรีย์วัตถุและแร่ธาตุต่างๆ แต่ในตู้เราคงจะเอาดินหรือโคลนมาใส่ไม่ได้แน่เพราะจะทำให้น้ำขุ่นจนมองอะไรไม่เห็น วัสดุปลูกที่ดีต้องสามารถเป็นที่อยู่ของแบคที่เรียทั้งที่ใช้ออกซิเจนและไม่ใช้ออกซิเจนใน การย่อย สลายของเสียในชั้นปลูกให้เป็นธาตุอาหารที่พืชดูดซึมได้ง่าย ต้องมีขนาดพอเหมาะให้รากพืชชอนไชไปได้ดีไม่หยาบหรือละเอียดเกินไป ไม่เปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของน้ำให้ไม่เหมาะกับการเจริญของพืชเช่นทรายจากทะเลหรือกรวด ปะการังซึ่งจะปล่อยแคลเซี่ยมออกมาในน้ำทำให้น้ำกระด้าง
และต้องมีความหนาของชั้นปลูกที่พอเพียงให้ต้นพืชยึดลำต้นอยู่ได้โดยไม่หลุด โดยประมาณจะอยู่ที่ความหนา 4-6 นิ้ว
วัสดุปลูกที่นิยมใช้กันมากที่สุดคือกรวดแม่น้ำขนาด 2-3 มม ล้างสะอาด แต่ตัวกรวดเองไม่ได้มีธาตุอาหารอะไรการรองพื้นด้วยปุ๋ยเม็ดสำหรับไม้น้ำชนิดละลายช้า เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าและเห็นผลดีในระยะยาว โดยโรยปุ๋ยบนชั้นกรวดบางๆเว้นบริเวณที่จะวางหินหรือขอนไม้แล้วทับด้วยกรวดหนาอีก 3-5 นิ้วเพื่อป้องกันปุ๋ยฟุ้งกระจาย
ดินภูเขาไฟ มีข้อดีคือมีรูพรุนมากมีความอ่อนนิ่มกว่ากรวดรากต้นไม้สามารถชอนใชได้ดี ทำให้น้ำใสและตัววัสดุปลูกเองมีธาตุอาหารบางชนิดอยู่ในตัวช่วยสงเสริมการเจริญของพืช ได้ดีขึ้น แต่ข้อเสียคือมีราคาสูงมาก และข้อเสียอีกประการคือความอ่อนนิ่มของมันเมื่อใช้ไปนานๆจะเกิดการอัดตัวทำให้วัสดุ ปลูกมีจุดอับได้ บางท่านแนะนำให้ผสม Vermiculiteซึ่งเป็นหินที่มีความแข็งและพรุน ในชั้นล่างๆจะช่วยลดการยุบตัวและลดการเกิดจุดอับได้ http://www.thekrib.com/Plants/Fertilizer/laterama.html
เรื่องตะใคร่ ป้องกันได้ถ้ารู้ทัน
อันนี้เป็นบทความจากเวป http://www.vectrapoint.com/main/manual/bm36.html ซึ่งเป็น review จาก Aqua journal ของ ADA เป็น บทความที่ดีมากๆครับ ใครคิดจะเริ่มเลี้ยงไม้น้ำหรือกำลังจะเลี้ยง ควรจะอ่านให้หมดก่อน ไม่ยาวมากครับ

มาเข้าเรื่องกันดีกว่า เวลาตั้งตู้ใหม่ๆ ต้นไม้ยังไม่ทันตั้งตัว บางคนก็โดนตะใคร่บุกซะแล้วว เอ..เราทำอะไรผิดพลาดไปรึเปล่าหว่า มาดูมาตรการต่างๆ ในการป้องกันตะใคร่กันดีกว่าครับ ถึงจะกันไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ก็คงจะทำให้เราปวดหัวกะมันน้อยลงครับ
1 อย่าเพิ่งใส่ปลา(ยกเว้นปลาและกุ้งกินตะใคร่) เนื่องจากของเสียจากปลาและอาหารปลาจะเป็นอาหารอย่างดีของตะใคร่ครับ แนะนำให้ใส่ตอนต้นไม้แตกใบใหม่ หรือตั้งตัวได้ซะก่อน และค่อยๆใส่ที่ละน้อยนะครับ อย่าใส่ยกฝูง เดี่ยวตะใคร่บุกอีกเหมือนกัน

2ถ้าคุณทำกรวดฟุ้งและไม่แน่ใจว่าทำปุ๋ยฝังฟุ้งหรือเปล่าให้เปลี่ยนน้ำทันทีครับและ เติมน้ำเบาๆหาอะไรมารองกรวดอย่าให้ฟุ้งอีกครับ

3 ใช้กรองที่มีขนาดใหญ่เหมาะสมกับตู้ และในระยะแรกให้ใช้ คาร์บอนเป็นวัสดุกรองร่วมด้วยครับ เพื่อจะได้ดักจับปุ๋ยที่ฟุ้งขึ้นมาและของเสียจากปลา พอตู้ตั้งตัวได้แล้วค่อยๆเอาวัสดุกรองไบโอมาแทนทีละน้อยครับ เพราะในตัวคาร์บอนเองก็มีแบคที่เรียมาเกาะ ถ้าเอาออกไปเยอะอาจจะทำให้ระบบมีแบคที่เรียไม่พอ ของเสียจะเพิ่มได้ครับ

4 เพิ่ม CO2 ให้เยอะพอที่จะลด pH พืชจะได้ดึงไปใช้และดึงธาตุอาหารจากปุ๋ยที่ละลายอยู่ไปใช้ แย่งกับตะใคร่ที่กำลังจะเกิดได้ครับ

5 พยายามรักษาอุณหภูมิให้ต่ำๆไว้ (ในบทความบอกประมาณ 22-23 บ้านเราคงยากถ้าไม่มี ชิลเลอร์ครับ ตะใคร่จะเกิดช้าลง เมื่อตู้เข้าที่แล้วค่อยให้อุณหภูมิประมาณ 24-25 ครับ (ก็ยังเย็นอยู่ดิ แหะๆ)

6 อย่าเพื่งให้ปุ๋ยน้ำจนกว่าจะมีการแตกรากและเห็นการแตกใบหรือหน่อใหม่เกิดขึ้นครับ

7ใช้พืชพวกไม้ข้อโตเร็วหรือพวกเทปในการช่วยดูดปุ๋ยในระยะแรกๆก่อนครับ พอปลูกไม้อื่นได้ที่แล้วค่อยๆเอาออกทีหลังได้

8 ใส่ปลาและกุ้งกินตะใคร่ตั้งแต่แรกๆ จะดีที่สุด เพราะมันจะกินตะใคร่ตั้งแต่เริ่มเกิดไม่ใช่ไปใส่ตอนตะใคร่บุกแล้วจะแก้ยากครับ ในบทความแนะนำให้ใส่เยอะจริงๆ ออตโต 20 กุ้งยามาโตะ 50 ตัว ต่อน้ำร้อยลิตรครับ

เรื่องของธาตุอาหาร คาร์บอนและ ออกซิเจน
อาการขาด Carbon Dioxide (CO2)
ต้นไม้มีอาการแคระแกรนโตช้า มีแคลเซี่ยมจับเป็นคราบขาวบนผิวใบ(โดยเฉพาะพืชใบหนาๆเช่นคริป) pH ของระบบสูงขึ้น
สาเหตุ
ปลูกพืชหนาแน่นเกินไป ให้ CO2 หรือ ตัวละลายไม่มีประสิทธิภาพ มีการรบกวนผิวน้ำทำให้ก๊าซระเหยหายไปเช่น มีการเติมอากาศ ปล่อยให้มีส่วนแห้งในระบบกรอง หรือน้ำจากกรองที่กลับเข้าตู้ไหลลงกระทบผิวน้ำ ค่า kH ของน้ำสูงเกินไปทำให้พืชดึง CO2 ไปใช้ลำบาก
การแก้ไข
ให้ CO2 อย่างพอเพียงและมีประสิทธิภาพในการละลายและการไหลเวียน ของน้ำที่ทั่วถึงและไม่ก่อให้เกิดฟองอากาศ เปลี่ยนน้ำใหม่เพื่อลดความกระด้างของน้ำหรือใช้วัสดุกรองที่ลดความกระด้างของน้ำเช่น peatmoss หรือ resin กรองน้ำ

ด้านบน

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนทำรายการ

เข้าระบบ