Skip to content

ปรับปรุง เว็บไซต์ เยอะแยะเลย ลองกดเข้าไปเล่นดูสิ ตอนนี้ มีหมอตั้ม มาประจำที่ โรงพยาบาลแล้วนะครับ ใครมีปัญหาปลาป่วย ปรึกษาได้ครับ

ปลาทอง ปลาสวยงาม ชนิดแรกๆ ที่ เชื่อว่า หลายคน คงมีโอกาสได้สัมผัส ได้เลี้ยงดู ได้หลงเสน่ห์ ความน่ารัก ความอุ้ยอ้าย ของปลาชนิดนี้ กว่าร้อย สายพันธุ์ ที่เกิดจาก ความพากเพียร พยายาม ของมนุษย์ เรา

0006885

ตะไคร่น้ำเกาะตู้คะ

eed
eed (58.11.74.114) [2010-04-11 12:42:54]

เลี้ยงปลาทอง 4 ตัว ในตู้ไม่มีต้นไม้ค่ะ แต่ทำไมตะไคร่น้ำสีเขียวจึงเกาะที่กระจก และเช็ดออกยากมากเลย เช็ดแล้วก็มีอีกค่ะ ไม่รู้จะทำยังไงแล้วค่ะ เกาะเต็มตู้เลย ช่วยบอกวิธี
ให้หน่อยนะค่ะ

ความคิดเห็นที่ 1

sahingsa
sahingsa [2010-04-11 18:49:18]

จริงๆแล้วสาเหตุมันมีหลายข้อนะครับ ลองอ่านดูตรงกับข้อไหนก็แก้ตรงนั้นนะ

1.ตู้โดนแสงแดดไหม ถ้าโดนเต็มๆเลือนมาอยู่ตรงที่แดดรำไร ก้ได้ จะช่วยลดการเกิดตะไคร่ไปพอสมควรเรย
2.การให้อาหารปลาสวยงามมากหรือน้อยเกินไปจะมีผลกับการเกิดตะไคร่น้ำ แร่ธาตุบางตัวถ้าให้มากเกินไปก็มีผลเร่งการเจริญเติบโตของตะไคร่
3.ปริมาณปลาสวยงามมีมากเกินกว่าระบบกรอง (ตู้ขนาดเท่าไหน ควรเลี้ยงปลากี่ตัว ควรมีกรองขนาดไหน พวกนี้ต้องสัมพันธุ์กันครับ)
4. ลองเลี้ยงปลาดูดพวกตะไคร่ดูนะครับ เช่นแพะแพนด้า นะ พวกนี้ช่วยได้ดี
5.การขาดการดูแลเปลี่ยนถ่ายน้ำถ้าไม่ได้เปลี่ยนแล้วอาหารปลาที่เหลือเกิดการสะสมก็จะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดตะไคร่น้ำนตู้ปลาสวยงามได้ (น้ำควรเปลี่ยน 100% / 1เดือน 20%/2-3 วัน 50%/1 อาทิตย์ครับ )
6.พวกซัปเสตรของกรอง(ไม่รู้เรียกถูกไหม555 ) พวกนี้บางชนิดจะช่วยสะสมอ่ะไรซักอย่าง ซึ่งจะช่วยในการเจริญเติบโตของตะไคร่ด้วย ผมรู้เท่านี้นะข้อนี้ ต้องลองไปดูต่อนะครับ
7.ดูอัตราการหมุนเวียน การไหลของน้ำ ความแรงของเครื่องปั้มพอไหมด้วยนะครับ เพราะถ้าน้ำไหลเวียนตลอดจะช่วยได้อีกทางนึง

ตะใคร่น้ำมีหลายแบบคือ
1. ตะใคร่เมือกสีเขียวแกมน้ำเงิน - มักพบสภาพน้ำที่มีไนเตรทต่ำมาก ๆ
ควบคุม - ถ้าพบเล็กน้อย ให้คีบหรือดูดออก
- แต่ถ้าลุกลาม ให้ใช้ยา Erythromycin sulfate (มีขายตามร้านขายยา)
ในขนาด 400 มก/น้ำ 100 ลิตร (โดยประมาณ) เนื่องจากยาปฏิชีวนะจะมีผลกับ แบคทีเรียในระบบกรอง และในตู้บางส่วน แนะนำให้นำวัสดุกรองบางส่วนไปใส่ตู้อื่นไว้ในช่วงใส่ยา และงดให้อาหารปลา ในช่วงทำการรักษาตะใคร่ เพื่อลด Nitrogen load แก่ระบบ หลังจากแช่ยาหนึ่งถึงสองวัน จะพบว่าตะใคร่จะเริ่มสลายตัว ให้ดูดออก และถ่ายน้ำใหม่ นำวัสดุกรองมาใส่คืน ช่วงนี้ควรเฝ้าระวังภาวะไนเตรท และแอมโมเนียสูงเกินไปด้วย

2. ตะใคร่สีน้ำตาล - มักพบในตู้ที่ตั้งใหม่ๆ มีแสงน้อย หรือมีซิลิก้าในน้ำมากเกินไป
ควบคุม - ทำได้โดยขัดออกจากกระจก และใบไม้ เพิ่มแสงสว่างให้พอเพียงสำหรับต้นไม้ และใช้ปลากินตะใคร่ ในการกำจัดได้ไม่ยาก

3. ตะใคร่จุดเขียว
ควบคุม - สำหรับไม้ชอบร่ม พยายามอย่าให้โดนแสงโดยตรงเข้มเกินไป ให้อยู่ในร่มเงาของไม้ข้อ ขอนไม้หรือไม้โตเร็วอื่นๆ ส่วนตะใคร่ที่ผิวกระจกสามารถขัดออกได้ด้วยใยขัด หรือใช้มีดโกน หรือบัตรพลาสติกค่อยๆขูดออก

4. ตะใคร่เส้นผม - มักพบว่ามาธาตุอาหารในน้ำมากเกินไป จากการรื้อถอนต้นไม้ ใส่ปุ๋ยน้ำมากเกินไป ขาดการเปลี่ยนน้ำ และแสงจัดเกินไป

5. ตะใคร่ขน - มักพบในตู้ที่ขาดการดูแล มีสารอาหารมากเกินไป ธาตุเหล็กในน้ำก็เป็นตัวกระตุ้นให้ตะใคร่ชนิดนี้ลุกลามได้
ควบคุม - ตะใคร่ชนิดนี้กำจัดได้ค่อนข้างยาก การปรับปรุงสภาพน้ำให้ดีอยู่เสมอ นำสิ่งที่โดนตะใคร่ปกคลุมออกไปเป็นวิธีที่ดีที่สุด มีรายงานว่าปลาเล็บมือนาง Siamese Algae Eaters (Crossocheilus siamensis) สามารถกินตะใคร่ชนิดนี้ได้บ้างแต่ถ้ามีจำนวนมากก็คงไม่สามารถควบคุมได้ การน้ำวัสดุที่มีตะใคร่ขึ้นมาแช่ในน้ำผสมน้ำยาฟอกขาวเจือจาง (1 ส่วนในน้ำ 3 ส่วน) และการใช้ยากำจัดตะใคร่ที่มีทองแดง เป็นองค์ประกอบสามารถกำจัดตะใคร่ชนิดนี้ได้ แต่ควรเป็นทางเลือกสุดท้าย

ผมตอบเท่าที่รู้นะครับ บางอย่างไปหาตามเว็บมาให้ อย่างอื่นรอผู้รู้มาตอบต่อนะครับ.

(ผมไม่แนะนำการใช้ยานะครับ ผมกลัวจะไปกระทบตัวปลา (เป็นความคิดเห็นส่วนตัวนะ.) )

ความคิดเห็นที่ 2

bobov4
bobov4
252
[2010-04-11 19:39:22]

แต่จริงๆ ตะไคร่หน่อยๆ ก็ดีกับปลานะ ช่วยในการบำบัดน้ำด้วย น้ำใส

ถ้าตะไคร่นั้นเกิดจากแสงแดดอ่ะนะ เป็นอาหารเสริมให้ปลาได้ด้วย

ตะก่อนผมเลี้ยงปลาทอง มันก็จะตอดๆตะไคร่นะ แต่ใช่ที่ว่าถ้าเยอะเกินไปคงไม่ดี

เราอาจจะไม่ค่อยเห็นตัวปลาด้วย เมื่อเกิดการ หมักมม เราอาจจะไม่สังเกตเห็น

ดังนั้นผมว่า เลี้ยงปลากำจัดตะไคร่ไว้ เพื่อลดปริมาณลง ก็คงเป็นทางออกที่ดี

ตะก่อนนี้ผมอยากให้ขึ้น จะตาย แต่พอดีอ่างไม่ค่อยโดนแสง

ด้านบน

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนทำรายการ

เข้าระบบ