Skip to content

ปรับปรุง เว็บไซต์ เยอะแยะเลย ลองกดเข้าไปเล่นดูสิ ตอนนี้ มีหมอตั้ม มาประจำที่ โรงพยาบาลแล้วนะครับ ใครมีปัญหาปลาป่วย ปรึกษาได้ครับ

โลกปลาหมอสีสายพันธุ์ แท้ๆ ทั้งจาก ทะเลสาบมาลาวี, ทังแกนยิกา, หรือ ปลาหมอสี สายพันธุ์ แท้ จาก ทวีปอเมริกา ตลอดจน ปลาหมอแคระ ชนิดต่างๆ อยากให้เว็บบอร์ด นี้ มีส่วนช่วยให้คนรักปลา รู้จัก ไม่ลืม ในสายพันธุ์ ดั้งเดิม ตามธรรมชาติของปลาในครอบครัว Cichlidae

0000240

อยากเลี้ยงมาลาวี

tyong
tyong
20
[2006-08-01 14:09:51]
มีตู้ 48นิ้วอยู่ใบหนึ่งครับ อยากเลี้ยงมาลาวีแบบรวมๆกันสักฝูงหนึ่ง แบบหลากหลายสีหน่อยครับ จะเอาแบบไหนดีที่ไม่ทะเลาะกันหนักเกินไป แล้วได้สักกี่ตัว
พอดีไปเจอเวปนี้มา มันแบ่งมาลาวีออกเป็นอีก 3แบบ อยากทราบความแตกต่างกันหน่อยครับ
http://www.cichlid-forum.com/profiles/category.php?cat=1
http://www.cichlid-forum.com/profiles/category.php?cat=2
http://www.cichlid-forum.com/profiles/category.php?cat=3

ความคิดเห็นที่ 1

tengkung
tengkung [2006-08-01 17:48:55]
ผมเลี้ยง

บลูดอฟฟิน 2 ตัว 4-4.5 นิ้ว
คาดันโก้ 1 ตัว 5.5 - 6 นิ้ว
กล้วยหอม 19 ตัว2 นิ้ว
เรดพีค๊อก 1 3 นิ้ว

ในตู้ 36*18 หลากสีดีครับ มีทั้ง น้ำเงิน เหลือง แดง ฟ้า

เปนชุมชนแออัดไปเลย ตอนนี้...
ต้องขยันเปลี่ยนน้ำหน่อย

ยังไง เรื่องการแบ่งการแยก รอท่านอื่นนะครับ

ความคิดเห็นที่ 2

offba
offba
29
[2006-08-01 19:23:38]
ขออนุญาติตอบครับ

AULONOCARA

สกุล Aulonocara มีความหลากหลายทั้งชนิดและสายพันธุ์ ชื่อสกุลมาจากลักษณะพิเศษของรูที่ปรากฎอยู่ตรงหน้าผาก แก้มและขากรรไกรล่าง รูเหล่านี้จะเลียงเป็นแถวเช่นเดียวกับรูของเส้นข้างตัว ซึ่งมีเส้นประสาทเชื่อมโยงติดต่อกันเป็นระบบ นักเลี้ยงปลาแบ่งปลานี้ออกเป็น 2 กลุ่ม

1. อาศัยอยู่ตามพื้นทราย ขนาดใหญ่ ความยาว 15-20 ซม. ชนิดที่เลี้ยงในประเทศไทย เช่นมาลาวีคอแดง, มาลาวีน้ำเงิน, มาลาวีอาปาเช่
2. อาศัยอยู่ตามพื้นทราบริเวณใกล้โขดหิน เรียกว่า “ร็อกฟิคอก” มีสีสันสดสวยเป็นที่นิยมในหมู่นักเลี้ยงปลาสวยงาม มีขนาดเล็กกว่าปลากลุ่มแรก มีความหลากหลายสายพันธุ์ พบประมาณ 20 ชนิด เช่น มาลาวีเหลือง, มาลาวีสีน้ำเงินคอแดง, มาลาวีห้าสี มาลาวีแดง
มาลาวีเหลือง พื้นลำตัวมีสีเหลืองและแถบสีน้ำขวางลำตัวประมาณ 5-7 แถบ แก้มมีสีน้ำเงินกระโดงสีเหลือง ครีบก้นมีแถบสีน้ำเงินแซบและมีจุดไข่ ปลาขนาดเล็ก

มาลาวีสีน้ำเงินคอแดง มีสีน้ำเงินเป็นประกายคล้ายสีของโลหะ ครีบกระโดงส่วนตัวเป็นสีน้ำเงิน

มาลาวีห้าสี เป็นปลาลูกผสมที่เกิดจากนักเลี้ยงปลาหมอสีในประเทศไทย คล้ายมาลาวีน้ำเงิน แต่โตกว่า

มาลาวีแดง มีสีส้มแดง บริเวณส่วนตัวของลำตัวตั้งแต่ช่วงตา ถึงฐานครีบกระโดงหลังลำตัวมีพื้นสีฟ้าสลับเกล็ดสีส้ม และมีแถบสีดำพาดขวางลำตัว

มาลาวีน้ำเงิน มีการแพร่กระจายตามแนวชายฝั่งระหว่างหมู่บ้าน ซิ ซี ซี่ จนถึงเอ็นการโดยเฉพาะที่จับได้จากแหล่งเอ็มเบ็นจี มีสีน้ำเงินของกษัตริย์ ซึ่งมีชื่อทางการค้าว่า “บลูซิกัล” ครีบกระโดงมีขอบสีขาวและปลายครีบมีสีเหลืองอมฟ้า ครีบหางมื้นสีเหลืองปนขาวเงินประดับด้วยจุดและประสีแดงเข้ม ดูคล้ายหางนกยูง นักเลี้ยงปลาจึงมักเรียกว่า “นกยูงเอ็ม-เบ็นจี” ขนาดตัวผู้มีความยาวสุด 11 ซม. ตัวเมียยาวสุด 8.5 ซม.

ความคิดเห็นที่ 3

offba
offba
29
[2006-08-01 19:32:47]
NIMBOCHROMIS

สกุล Nimbochromis ถิ่นกำเนิดในทะเลสาบมาลาวี เป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ประมาณ 25-30 ซม. เป็นปลากินเนื้อ จึงปรับสีสันของลำตัวให้กลมกลืนเข้ากับสภาพแวดล้อมเพื่อช่วยในการล่า มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด เช่น
ปลาหมอสีฟัสโก fuscotaenlatus พื้นลำตัวสีฟ้าขอบเกล็ดสีแดง มีสีน้ำตาลปนน้ำเงินขนาดใหญ่กลางลำตัว
ปลาหมอสิฟวิ่งสโตน living stonii ตามความหมายของภาษาอังกฤษ คือ “ก้อนหินที่มีชีวิต” ลำตัวนั้นจะมีสีขาวเป็นพื้นและจะประดับสีน้ำตาลอมสีฟ้า
ปลาหมอเก๋า Polystigma ลำตัวส่วนต่าง ๆ คล้ายลิฟวิ่งสโตน มีจุดสีดำกระจายอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของหัวและลำตัว และครีบทุกครีบ ลำตัวมีพื้นของลายน้ำเงินเข้มอมน้ำตาล
ปลาหมอวีนัส Venustus หรือปลาหมอลายเมฆ มีรูปร่างและสัดส่วนใกล้เคียงกับปลาหมอเก๋า ลักษณะเด่น สันหัวและลำตัวมีลายดำประดับ พื้นลำตัวมีสีเหลืองอมเขียว สีทั้งสองตัดกันทำให้ลายนั้นเด่นชัดยิ่งขึ้น
ปลาหมอลินลาย ลวดลายตามลำตัวคล้ายกับปลาหมอเก๋า ลักษณะเป็นลายทางตามแนวนอนไม่คมชัด สีน้ำตาล 3 แถบ และมีจุดสีน้ำตาลกระจายทั่วทั้งตัว โดยเฉพาะส่วนหัวและใบหน้า แปลกตรงที่มีส่วนของปากยื่นยาวออกมาก่อนข้างมาก

ความคิดเห็นที่ 4

offba
offba
29
[2006-08-01 19:52:59]
MBUNA

กลุ่ม Mbuna - มบูนาเป็นภาษาท้องถิ่นอัฟริกา แปลว่าปลาที่อยู่ตามกองหิน Mbuna ออกเสียงตามจริงเป็น อึม-บู-นา (um-boo-na) เสียงอึมจะออกเพียง ในลำคอไม่เน้นเสียง การออกเสียงแบบ
นี้ไม่คุ้นลิ้นทั้งคนไทยและชาวฝรั่ง หลาย ๆ ประเทศทางยุโรปและอเมริกาเรียกมบูนา
(ma-boo-na) ส่วนในประเทศไทยเรามักเรียว่าเอ็มบูน่า (em-boona) ซึ่งก็นับว่าใกล้เคียงกับภาษาเดิมมากที่สุดมบูนา มีขนาดตั้งแต่ 6 ซ.ม. จนถึง เกือบ 20 ซ.ม. ขนิดของมบูนาที่มี
การเลี้ยงในบ้านเราได้แก่ปลาหมอกล้วยหมอ (Labidochromis caeruleus),
ปลาหมอชิโพกี (Melanochromis chipokae), ปลาหมอพาราเลลล (Melano chromis paralellus), ปลาหมอลิลลี (maylandia lombadol), ปลาหมอไอซ์ บลู (Maylandia greshakel), ปลาหมอดีมาสัน (Pseudotropheus demasoni), ปลาหมอกล้วยหอมเผือก (Pseudotropheus socolofi) เป็นต้น

ความคิดเห็นที่ 5

offba
offba
29
[2006-08-01 19:55:58]
โทษนะครับดูบรรทัดนี้ - //ป ล า ห มอฮ อ ง กิ (L a b i d o c h r o m i s h o n g i), ปลาหมอแ ต งไ ท ย (M e l a n o c h r o m i s a u l a t u s) ปลาหมอ โ ย ฮั น นี (M e l a n o c h r o m i s j o h a n n i), // มีคำหยาบตรงไหนรึปล่าวครับ ผมโพสไม่ได้เพราะบรรทัดนี้อ่ะ เลยตัดออกมาเลย

ความคิดเห็นที่ 6

tengkung
tengkung [2006-08-01 22:00:41]
ครบเลย อิอิ ตามมาอ่านอีกรอบ...

ความคิดเห็นที่ 7

1111111
1111111
1
[2006-08-01 22:06:11]
เสริมจากพี่ ofba นะครับ ตระกูล Protomalus ก็น่าสนใจอยู่เหมือนกันครับ

ความคิดเห็นที่ 8

offba
offba
29
[2006-08-01 23:07:18]
. สกุล Protomelas มีหลายชนิดด้วยกันโดยใช้แพทเทิร์นของสีเป็นหลัก ในการจำแนกชนิด คือปลาทุกชนิดในสกุลนี้จะต้องมีแถบสีดำสองแถบพาดตามความยาวของลำตัว แถบสีดำอันแรกอยู่ตามแนวหลัง ส่วนแถบที่ 2 อยู่บริเวณกึ่งกลางของลำตัวและแถบสำดำอีกลักษณะหนึ่งจะอยู่ในแนวดิ่งมีขนาดและความเข้มของสีแตกต่างกันไปตามชนิดของปลา เช่น

ปลาหมอฟิเนสตราตัส fenestratus
ลำตัวเป็นสีฟ้า กึ่งกลางของลำตัวแต่ละข้างมีแถบสีน้ำเงินเข้มพาดตามยาวและตามแนวดิ่ง มีแถบสีน้ำเงินพาดขวางลำตัว 9-10 แถบ ท้องสีเหลือง ตัวผู้ยาวสุดประมาณ 18 ซม. ตัวเมียยาวสุด 12 ซม.

ปลาหมอใต้หวันฟิเนสตราตัส Protomelas sp. “fenestratus taiwan”
รูปทางใกล้เคียงกับปลาหมอฟิเนสตราตัส ผู้ที่ตั้งชื่อยังไม่แน่ใจว่าเป็นชนิดใหม่จึงใส่ sp. ไว้หลังสุด แต่เมื่อนำปลาทั้งสองชนิดมาเปรียบเทียบกันพบว่าปลาหมอใต้หวันมีลำตัวแบนข้างมากและแถบสีดำที่อยู่ในแนวดิ่ง มีขนาดใหญ่กว่า ท้องสีเหลืองส้ม ครีบกระโดงมีขอบขาวขนาดใหญ่ หัวมีแถบยาวผ่า ครีก้นแถว

ปลาหมอชิมิลิส similes
แถบสีดำขนาดใหญ่พาดตามความยาวของลำตัว เริ่มต้นจากบริเวณช่องเปิดเหงือกไปสิ้นสุดที่ปลายกระดูกหาง หัวและลำตัวสีฟ้าอมเขียว แนวสันหลังเหลือง ลายดำที่ขวางลำตัวเห็นเป็นเงา ๆ ไม่ชัดเจน มีความยาวสุดประมาณ 17 ซม.

ปลาหมอซัลเฟอร์เฮด, โอวาตัส Protomelas spilonotus หรือ Ovatus
มีสีที่แตกต่างจากปลาในสกุลเดียวกันคือ บริเวณหัวมีสีฟ้าอ่อน และสีจะเข้มเพิ่มมากขึ้นเมื่อถึงครีบหาง มีสีเหลืองเข้มที่อยู่บนหัว จนถึงหน้าครีบกระโดง ลักษณะแพทเทิร์นของสีประจำสกุล ปรากฎให้เห็นอย่างชัดเจน แถบสีดำมีทั้งแนวนอนและแนวตั้งครบถ้วน เป็นปลาค่อนข้างใหญ่ ตัวผู้ยาวสุด 25 ซม. ตัวเมียขนาดเล็กกว่ามาก เมื่อโตเต็มวัยยาวสุด 16 ซม.

ปลาหมอเฮดเอ็มเพรสบอดซูลู Protomelas taeniolatus
ชื่อการค้า Haplochromis Boadzulu สีของปลาตัวนี้เมื่อโตเต็มวัย ลำตัวบริเวณท้องและฐานครีบก้นเป็นสีแดงเข้ม กลางตัวส่วนเหนือขึ้นไป เป็นสีน้ำเงินและหลังดำ ขอบเกล็ดแดง โตเต็มที่ยาวไม่เกิน 19 ซม.
"เอารูปไปตัวเดียวพอ ขี้เกียจทำแล้วค๊าบ"

ความคิดเห็นที่ 9

offba
offba
29
[2006-08-01 23:11:01]
สภาพความเป็นอยู่ที่แตกต่างของ mbuna กะ non-mbuna

non mbuna - อาศัยอยู่ตามผิวน้ำพื้นทราย และมีก้อนหินปะปนอยู่บ้าง เป็นพวกนอนเอ็มบูนา

mbuna - พวกเอ็มบูนา (mbuna) อาศัยอยู่ตามโขดหิน เกาะหิน หินใต้น้ำและชายฝั่งที่เป็นหน้าผา

ข้อมูลที่แปะไปผิดถูกยังไงอภัยด้วยนะคับ ไม่ค่อยได้เช็คดูคำผิดด้วยอ่ะ

ความคิดเห็นที่ 10

offba
offba
29
[2006-08-02 00:43:09]
ปลาหมอ Nimbochromis Livingstonii ตามจริงแล้วชื่อนี้มาจากชื่อของ เดวิด ลิฟวิงสโตน Devid Livingstone ไม่ได้เป็นปลาหินมีชีวิตเหมือนอย่างชื่อครับ ถึงแม้จะมีอุปนิสัยพรางตัวนิ่งเพื่อล่าเหยื่อก็ตาม ซึ่งตามหลักการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์นั้นต้องเติมตัว i ตามหลังชื่อหากเป็นชื่อของเพศชาย และชื่อนี้มีตัว e ตามหลังซึ่งเป็นสระ จึงต้องเปลี่ยนสระเป็น i เพิ่มอีกหนึ่งตัวกลายเป็น ii การอ่านชื่อปลาหมอตัวนี้ออกเสียงว่า ลิฟวิงสตันนิอาย หรือ ลิฟวิงสโตนนิอาย -- ขอบคุณพี่ Antonchecov ที่ให้ข้อมูลครับผม

ความคิดเห็นที่ 11

tyong
tyong
20
[2006-08-02 08:29:01]
โอ้โฮ....ข้อมูลยอดเยี่ยมครับ มีหลากหลายดี ขอบคุณทุกท่านมากๆครับผม

ความคิดเห็นที่ 12

speedman
speedman
1
[2008-03-28 10:32:31]

ความคิดเห็นที่ 13

mootoy
mootoy
1122
[2008-03-29 01:28:01]
เชียร์ ออโลโนคาร่า ครับ ตัวไม่ใหญ่เกินไป หลากหลายสีดี หาปลาสวยง่ายกว่า
ด้านบน

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนทำรายการ

เข้าระบบ