Skip to content

ปรับปรุง เว็บไซต์ เยอะแยะเลย ลองกดเข้าไปเล่นดูสิ ตอนนี้ มีหมอตั้ม มาประจำที่ โรงพยาบาลแล้วนะครับ ใครมีปัญหาปลาป่วย ปรึกษาได้ครับ

โลกปลาหมอสีสายพันธุ์ แท้ๆ ทั้งจาก ทะเลสาบมาลาวี, ทังแกนยิกา, หรือ ปลาหมอสี สายพันธุ์ แท้ จาก ทวีปอเมริกา ตลอดจน ปลาหมอแคระ ชนิดต่างๆ อยากให้เว็บบอร์ด นี้ มีส่วนช่วยให้คนรักปลา รู้จัก ไม่ลืม ในสายพันธุ์ ดั้งเดิม ตามธรรมชาติของปลาในครอบครัว Cichlidae

0008457

วิธีเตรียมน้ำดื่ม"ปลอดภัย" ในภาวะวิกฤตน้ำท่วม

modifycom
modifycom
3125
[2011-10-10 12:14:06]

สิ่งที่ต้องเตรียม

1.ขวดน้ำพลาสติคใส ที่ดื่มน้ำหมดแล้วพร้อมฝาที่ปิดได้แน่นสนิท ขนาดไม่เกินสองลิตร เมื่อวางนอนแล้วความหนาที่แสงอาทิตย์ผ่านไม่เกิน 10 ซม. ขวดยิ่งชลูดยิ่งดี รังสีดวงอาทิตย์จะได้ทะลุทะลวงได้มาก พลาสติคไม่เก่าหรือมีรอยขีดข่วนมากเกินไป เพราะรังสีจะผ่านได้ไม่ดี ภายในขวดสะอาด แกะพลาสติคภายนอกออกหมด

2. แหล่งน้ำสะอาดที่สุดเท่าที่จะหาได้ วิธีนี้ใช้ฆ่าเชื้อโรคได้ดี แต่ไม่สามารถแก้ปัญหาสารเคมีปนเปื้อนในภาวะปกติ ครัวเรือนที่ดื่มน้ำฝน ถ้าต้องการประหยัดพลังงานและทุกคนในบ้านแข็งแรงดี อาจจะใช้วิธีนี้แทนการต้มก็ได้

3. ถ้าน้ำขุ่นควรมีผ้ากรองตะกอนดิน เช่น ผ้าขาวบาง หรือผ้าขาวม้าสะอาดหลายๆ ชั้น เมื่อกรองได้ที่บรรจุน้ำเต็มขวด เปิดฝาวางทับหนังสือพิมพ์รายวันหน้าแรก ควรจะสามารถมองลงไปก้นขวด อ่านพาดหัวข้อข่าวรองได้ (ตัวอักษรในแนวหลักขนาด 3.5 ซม.)

4. บริเวณที่จะวางขวดตากแดดที่ร้อน โดยเฉพาะถ้ามีโลหะเช่นแผ่นสังกะสีลูกฟูก หรือ อะลูมิเนียมจะดีมาก

วิธีการเตรียม

1.กรองน้ำที่หาได้ กรอกลงขวดให้ได้ประมาณ 3 ใน 4 ขวด

2.เขย่าแรงๆ อย่างน้ำ 20 ครั้ง ให้อากาศ (ออกซิเจน) ผสมกับน้ำให้ทั่ว

3.เติมน้ำให้เต็มขวด ปิดฝาแน่นสนิท

4.วางขวดในแนวนอน ตากแดดตามข้อ 4 ข้างบนทิ้งไว้ อย่าพยายามขยับขวดโดยไม่จำเป็น เพื่อให้ออกซิเจนไม่แยกตัวจากน้ำ ตากแดดโดยใช้เวลา

- 2 ชั่วโมงถ้าแดดจัด พื้นที่วางเป็นโลหะและน้ำค่อนข้างใส

- 6 ชั่วโมงบนพื้นกระเบื้องหรือซีเมนต์

- 2 วันถ้ามีเมฆมาก

ถ้าฝนตกตลอดแดดไม่ออกเลย ให้รองน้ำฝนดื่มแทน

น้ำในขวดดังกล่าวนำไปดื่มได้เลย หรือจะเก็บไว้ดื่มในภายหลังก็ได้ แสงแดด ความร้อน และออกซิเจนจะทำปฏิกิริยากันฆ่าเชื้อโรคทั้งแบคทีเรีย ไวรัส และพยาธิ 99.9% แต่อาจจะมีสาหร่ายเซลเดียวซึ่งทนรังสียูวีและความร้อนซึ่งอาจจะจับตัวเป็นตะไคร่น้ำในขวดได้ถ้าเก็บขวดไว้นาน แต่น้ำที่มีสาหร่ายเหล่าไม่มีอันตรายต่อผู้ดื่มทั่วไปที่มีภูมิคุ้มกันปกติ

หมายเหตุ

1.เทคโนโลยีง่ายๆ ที่วิจัยและพัฒนาโดยองค์การนานาชาติ www.sodis.ch นี้ ฆ่าเชื้อโรคโดยพลังแสงแดด ซึ่งมี รังสียูวี + รังสีความร้อน + อนุมูลออกซิเจนและโอโซน ซึ่งเกิดจากการทำปฏิกิริยาระหว่างออกซิเจนที่เราผสมน้ำระหว่างเขย่าขวด เหมือนน้ำบรรจุขวดขายซึ่งผ่านรังยูวี หรือ โอโซน ในระดับที่เข้มข้น

2.ขวดน้ำใส PET หรือ Poly Ethylene Terephthalate (โพลีเอทธิลีนเทเรฟทาเลต) ที่ตากแดดในระดับนี้ ปลดปล่อยสารเคมีน้อยมาก ได้รับการยอมรับจากองค์การอนามัยโลกว่าอยู่ในระดับที่ปลอดภัย ไม่เหมือนวัสดุประเภท PVC ทุกวันนี้เราก็ดื่มน้ำบรรจุขวด PET กันอยู่แล้ว

ความคิดเห็นที่ 1

modifycom
modifycom
3125
[2011-10-10 12:18:25]


เรียบเรียงสำหรับชาวบ้านโดย ศ.นพ.ดร.วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ หัวหน้าหน่วยระบาดวิทยา และผู้อำนวยการสถาบันและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ความคิดเห็นที่ 2

kajib
kajib
1388
[2011-10-10 12:24:55]

ความคิดเห็นที่ 3

modifycom
modifycom
3125
[2011-10-10 12:29:35]

การรับมือสำหรับน้ำท่วม
1. คาดคะเนความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับทรัพย์สินของคุณเมื่อเกิดน้ำท่วม
2. ทำความคุ้นเคยกับระบบการเตือนภัยของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและขี้นตอนการอพยพ
3. เรียนรู้เส้นทางการเดินทางที่ปลอดภัยที่สุด จากบ้านไปยังที่สูงหรือพื้นที่ปลอดภัย
4. เตรียมเครื่องมือรับวิทยุแบบพกพา อุปกรณ์ทำอาหารฉุกเฉินแหล่งอาหารและไฟฉาย รวมทั้งแบตเตอร์รี่สำรอง
5. ผู้คนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงต่อภัยน้ำท่วม ควรจะเตรียมวัสดุ เช่น กระสอบทราย แผ่นพลาสติก ไม้แผ่น ตะปู กาวซิลิโคน เพื่อใช้ป้องกันบ้านเรือน และควรทราบแหล่งวัตถุที่จะนำมาใช้
6. นำรถยนต์และพาหนะไปเก็บไว้ในพื้นที่ซึ่งน้ำไม่ท่วมถึง
7. ปรึกษาและทำข้อตกลงกับบริษัทประกันภัย เกี่ยวกับการประกันความเสียหาย
8. บันทึกหมายเลขโทรศัพท์สำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉินและเก็บไว้ตามที่จำง่าย
9. รวบรวมของใช้จำเป็นและเสบียงอาหารที่ต้องการใช้ ถายหลังน้ำท่วมไว้ในที่ปลอดภัยและสูงกว่าระดับที่คาดว่าน้ำจะท่วมถึง
10. ทำบันทึกรายการทรัพย์สินมีค่างทั้งหมด ถ่ายรูปหรือวีดีโอเก็บไว้เป็นหลักฐาน
11. เก็บ บันทึกรายการทรัพย์สิน เอกสารสำคัญและของมีค่าอื่นๆ ในสถานที่ปลอดภัยห่างจากบ้านหรือห่างไกลจากที่น้ำท่วมถึง เช่น ตู้เซฟที่ธนาคาร หรือไปรษณีย์
12. ทำแผนการรับมือน้ำท่วม และถ่ายเอกสารเก็บไว้เป็นหลักฐานที่สังเกตุได้ง่าย และติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วมที่เหมาะสมกับบ้านของคุณ
ถ้าคุณคือพ่อแม่

- ทำหารซักซ้อมและให้ข้อมูลแก่บุตรหลานของคุณ ขณะเกิดน้ำท่วม เช่น ไม่สัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้า ปลั๊กไฟ หลีกเลี่ยงการเล่นน้ำและอยู่ใกล้เส้นทางน้ำ
- ต้องการทราบหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินของหน่วยงานท้องถิ่น
- ต้องการทราบแผนฉุกเฉินสำหรับ โรงเรียนที่บุตรหลานเรียนอยู่
- เตรีมแผนการอพยพสำหรับครอบครัวของคุณ
- จัดเตรียมกระสอบทราย เพื่อกันน้ำไม่ให้เข้าสู่บ้านเรือน
- ต้องมั่นใจว่าเด็กๆ ได้รับทราบแผนการรับสถานการณ์น้ำท่วมของครอบครัวและของโรงเรียน

ความคิดเห็นที่ 4

phatphon
phatphon
1113
[2011-10-10 12:35:02]

เข้ากับสถานการณ์บ้านเมืองมากครับ

ความคิดเห็นที่ 5

kaioons
kaioons
173
[2011-10-10 12:40:58]

ปีนี้น้ำท่วมโหดมาก เพื่อนผมที่ยุดยาท่วมหลังคาไปแล้ว

ความคิดเห็นที่ 6

LiTTLeEnG
LiTTLeEnG
178
[2011-10-10 16:34:39]

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ

ยอดเยี่ยมครับ














ความคิดเห็นที่ 7

modifycom
modifycom
3125
[2011-10-11 13:40:44]

น้ำท่วมที่ระยองหน้าที่ทำงานเช้านี้ครับ เซงเลย

ความคิดเห็นที่ 8

chogun999
chogun999
803
[2011-10-11 16:17:39]

เป็นห่วงพี่น้องเหมือนกันครับ สู้ต่อไปทาเคชิ

ความคิดเห็นที่ 9

fonns
fonns
344
[2011-10-11 19:21:31]

ขอบคุณมากครับ

ความคิดเห็นที่ 10

soi
soi
551
[2011-10-11 20:15:44]

ขอบคุณครับพี่เทพ

ความคิดเห็นที่ 11

mootoy
mootoy
1122
[2011-10-12 00:34:13]

ขอบคุณครับพี่เทพ

ความคิดเห็นที่ 12

northwind
northwind
960
[2011-10-12 10:18:43]

ขอบคุณครับ

ความคิดเห็นที่ 13

modifycom
modifycom
3125
[2011-10-12 14:22:14]

สื่อต่างประเทศประโคมข่าวน้ำท่วมไทย

ความคิดเห็นที่ 14

modifycom
modifycom
3125
[2011-10-12 14:23:34]

กลายเป็นประเด็นที่ปรากฎให้เห็นแทบจะทุกตารางนิ้วของหน้าหนังสือพิมพ์และสื่อต่าง ๆ เลยทีเดียว สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมไทย ที่นับว่าหนักมากในรอบหลายปีที่ผ่านมา และความเสียหายเดือดร้อนจากน้ำท่วมในครั้งนี้ ถือว่าอยู่ในระดับที่รุนแรงมาก จนในขณะนี้ไม่ใช่แค่เพียงสื่อมวลชนไทยเท่านั้นที่เฝ้าติดตามสถานการณ์น้ำท่วมอย่างใกล้ชิด แต่สื่อมวลชนทั่วโลกต่างติดตามสถานการณ์บ้านเราและรายงานข่าวกันอย่างต่อเนื่องเช่นกัน สำนักข่าวยักษ์ใหญ่ของโลกอย่างรอยเตอร์ส, ซีเอ็นเอ็น, เอเอฟพี และบีบีซี ต่างรายงานสถานการณ์น้ำท่วมในประเทศไทยกันทุกวัน นับตั้งแต่ที่น้ำเริ่มท่วมในพื้นที่ต่าง ๆ เรื่อยมาจนถึงวันนี้ โดยระบุว่าประเทศไทยเป็นประเทศล่าสุดในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ เผชิญกับสถานการณ์น้ำท่วม ซึ่งสถานการณ์น้ำท่วมในไทยขณะนี้ เป็นน้ำท่วมครั้งรุนแรงที่สุดในรอบ 10 ปี และสร้างความเสียหายหนักครอบคลุมในหลายพื้นที่ รวมแล้วส่งผลกระทบมากกว่า 33 จังหวัด แม้แต่เมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ ก็กำลังจะได้รับผลกระทบในเร็ววันนี้ หลังจากรัฐบาลได้ออกมาเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ลุ่มต่ำให้เตรียม ตัวรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วมและเตรียมอพยพออกจากพื้นที่เสี่ยงแล้ว โดยน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาจะเพิ่มระดับขึ้นสูงในช่วงวันที่ 15-18 ตุลาคมนี้ ขณะที่บางพื้นที่ในกรุงเทพฯ ก็ถูกน้ำท่วมไปแล้ว อย่างไรก็ดี ทางรัฐบาลไทยกำลังพยายามอย่างสุดกำลังเพื่อระบายน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาลงสู่ ทะเล

ความคิดเห็นที่ 15

modifycom
modifycom
3125
[2011-10-13 12:19:00]

ที่จังหวัดฉะเชิงเทราหน่วยงงานราชการบอกกับประชาชนว่าในพื้นที่ว่า ให้ไปรับกระสอบทรายเพื่อจะได้เอาไปกันทางเดินน้ำป้องกันน้ำท่วมเข้าบ้านเรื่อน ที่หน่วยงานบรรณเทาสาธารณะภัย พอชาวบ้านไปรับกระสอบทราย กับเจอเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานบรรณเทาสาธารณะภัยทำหน้าตาไม่พอใจ เเถมบอกกับชาวบ้านว่าเป็นพวกกระต่ายตื่นตูม น้ำยังไม่ท่วมจะเอาไปทำไมกัน ก็ไม่เข้าใจว่าจะเก็บกระสอบทรายไว้ทำอะไรครับ (เเล้วจะประกาศให้ไปรับกระสอบทรายทำไมกัน)

ความคิดเห็นที่ 16

modifycom
modifycom
3125
[2011-10-15 00:28:56]

พายุฝนในประทศไทยนะครับ

ความคิดเห็นที่ 17

kajib
kajib
1388
[2011-10-15 08:30:28]

ปีนี้หนักจริงๆ

ความคิดเห็นที่ 18

modifycom
modifycom
3125
[2011-10-15 11:12:27]

พายุ "บันยัน" (Banyan(1120)) วันที่ 14 ต.ค. 54 เวลา 13:00 น. 14 ตุลาคม 2554, 13:00:00 | กรมอุตุนิยมวิทยา วันที่: 14 ตุลาคม 2554
เวลา: 13:00 น. (ประเทศไทย)
ระดับความรุนแรง: หย่อมความกดอากาศต่ำ
ความเร็วใกล้ศูนย์กลาง: 0 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ละติจูด: 19° 00' 00'' เหนือ
ลองจิจูด: 117° 30' 00'' ตะวันออก

ด้านบน

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนทำรายการ

เข้าระบบ