Skip to content

ปรับปรุง เว็บไซต์ เยอะแยะเลย ลองกดเข้าไปเล่นดูสิ ตอนนี้ มีหมอตั้ม มาประจำที่ โรงพยาบาลแล้วนะครับ ใครมีปัญหาปลาป่วย ปรึกษาได้ครับ

โลกปลาหมอสีสายพันธุ์ แท้ๆ ทั้งจาก ทะเลสาบมาลาวี, ทังแกนยิกา, หรือ ปลาหมอสี สายพันธุ์ แท้ จาก ทวีปอเมริกา ตลอดจน ปลาหมอแคระ ชนิดต่างๆ อยากให้เว็บบอร์ด นี้ มีส่วนช่วยให้คนรักปลา รู้จัก ไม่ลืม ในสายพันธุ์ ดั้งเดิม ตามธรรมชาติของปลาในครอบครัว Cichlidae

0008692

เครื่องทำโอโซน O3

chogun999
chogun999
803
[2011-12-23 21:53:11]

1 หากต้องการจะติดตั้งเครื่อง03แบบถาวรกับตู้ปลา ควรจะให้หัวทราย03อยู่ในส่วนไหนของตู้ปลาถึงจะปลอดภัยที่สุด ในกรณีนี้เป็นตู้กรองล่าง(ตู้นิศาชล) (กลัวกรองล่มหากฟอง03สัมผัสกับมีเดียและกลัวฟอง03สัมผัสกับเนื้อเยื่อในเหงือกปลาซึ่งอันตรายมาก)
2 มีเครื่องตั้งเวลาแบบดิจิตอลกำหนดการทำงานเปิดและปิดของเครื่อง03 สามารถตั้งเวลาได้24ชม.ตลอดปี ควรจะกำหนดการทำงานของเครื่อง03กี่ครั้งต่อวันและครั้งละกี่นาที ถึงจะเหมาะสมคับ

ปล.เครื่อง03 หมุนไปที่ONไม่ได้ตั้งเวลาบนเครื่อง03 แต่ใช้เครื่องตั้งเวลาดิจิตอลกำหนดการทำงานแทนเครื่อง03 ตู้72นิ้ว ปลาเลคแทง

อันนี้รูปเครื่องตั้งเวลาดิจิตอล

ความคิดเห็นที่ 1

chogun999
chogun999
803
[2011-12-23 21:54:40]

อันนี้เครื่องทำโอโซนO3

ความคิดเห็นที่ 2

Chanin09
Chanin09
2080
[2011-12-23 23:10:19]

โห จัดเต็มเลยป๋าเซ็ง
เครื่องทำโอโซนรุ่นนี้ มันจะเปิดทำงานได้ครั้งละไม่เกิน 30 นาทีครับ

ด้วยการบิดตั้งเวลาการทำงานบนตัวเครื่องเท่านั้นครับ เราไม่สามารถไปบิดให้มันเปิดค้างไว้ได้ตลอดได้ มันทำเหมือนลานนาฬิกา คือจริงๆ มันออกแบบการเปิดทำงานแค่ระยะสั้นๆ ก็เพื่อไว้ให้เซฟทั้งตัวปลา ตัวคนใช้ และตัวอุปกรณ์ เพราะหากเปิดนานๆๆๆ ไม่ปิด ก๊าซโอโซนก็จะโอเวอร์โดซ มีความเข้มข้นสูงเกินจนฆ่าปลาทั้งตู้ได้ด้วยการสร้างสารที่เป็นอันตรายในรูปแบบของกรด hypochloric และ hypobromic ในน้ำ

อีกทั้งตัวกระบอกสร้างโอโซน ที่อาศัยหลักการดึงอากาศห้องธรรมดาๆ ที่มีอ็อกซิเจนแบบสองอะตอม (O2) ไปผ่านสนามไฟฟ้าแรงสูง (ที่คล้ายการสร้างภาวะฟ้าผ่า จึงเป็นสาเหตุที่เราได้กลิ่นอากาศบริสุทธิหลังพายุฝนตกฟ้าคะนอง นั่นหล่ะกลิ่นโอโซนเจือจาง!) ให้อ็อกซิเจนบางอะตอมแตกออกจากกัน และพอตัวที่แตกออกไปจับรวมตัวใหม่กับ O2 ปรกติก็กลายเป็น โอโซน O3

โอโซนนี้มันจะคงตัวอยู่ได้เพียงระยะสั้นๆ เท่านั้น ก่อนที่มันจะรีบแตกตัวออกเพื่อคืนสภาพเป็น O2 ตามเดิม และไอ้เจ้ากระบวนการแตกตัวกลับสู่สภาพเดิมด้วยการไปหา O อีกตัวจับจากสิ่งต่างๆ รอบตัวมันนี้เอง มันคือการ Oxidation ที่สูงมาก มันจึงสามารถทำปฏิกิริยากัดกร่อน ทั้งฆ่าทำลายเชื้อโรค เชื้อรา โปรโตซัวทุกชนิด และยังสลายสารละลายต่างๆ ที่เป็นพิษในน้ำ รวมทั้งขจัดสีจากสารออแกนิค ให้หายไปเกลี้ยง รวมทั้งทำให้แอมโมเนีย ไนไตรท์ที่เป็นพิษ สลายกลายเป็นไนโตรเจนละเหยออกสู่อากาศซึ่งที่ไม่เป็นพิษต่อปลาเราอีกด้วย แต่กระบวนการทำฟ้าผ่าในกระบอกสร้างโอโซนที่ว่านั้น มันจะสร้างความร้อนให้เกิดขึ้นในกระบอกด้วย หากเปิดตลอดคงไม่ดีแน่ครับ

จริงๆ แล้วการใช้โอโซนให้ปลอดภัยนั้น เค้าจะมีเครื่องควบคุมโอโซน ด้วยเครื่องมือตรวจวัดค่า ORP (ค่าอ็อกซิเดชั่น) ที่ปรกติอย่างในเคสปลาน้ำเค็มปรกติที่มีคุณภาพเหมาะที่ปลาจะอยู่อย่างมีความสุขคือราวๆ 350-400 mV แต่หากน้ำเริ่มแย่ มีของเสียหรือสารละลายปนเปือนมากเกินจนทำให้ระดับระดับ ORP ตกลงไปที่ 200 หรือน้อยกว่า ก็หมายถึงว่าน้ำต้องการการบำบัดเพื่อให้ค่า ORP เด้งกลับขึ้นไปที่ราวๆ ระหว่าง 250 - 350mV

แต่ไอ้เครื่องตรวจวัด ORP ดีๆ ก็ราคาแพงกว่าเครื่องทำโอโซนราวๆ สิบเท่าได้มั๊ง แถมหายากอีก ต้องตามร้านอุปกรณ์ปลาทะเลเทพๆ ถึงจะมีขาย แต่ก็ไม่ต้องกังวลไป เพราะพวกกูรูฝรั่งคนต้นคิดเครื่องทำโอโซน มันก็ได้แนะนำปริมาณการใช้ที่ค่อนข้างปลอดภัยไว้ที่
ระหว่าง 5 - 15mg ต่อชั่วโมงต่อ 100 ลิตร

ข้อควรระวังนอกเหนือจากการไม่ใช้เกินปริมาณที่กำหนด และไม่ให้ฟองโอโซนโดนตัวปลาหรือเหงือโดยตรงเพราะมันจะไปกัดเนื้อเยื่อปลาแล้ว เรื่องความชื้นในอากาศ บริเวณเครื่องกำเนิดโอโซนก็สำคัญ เพราะเมื่อความชื่นถูกดูดเข้าไปในเครื่องสันดาบโอโซน มันจะสามารถทำปฏิกิริยากับโอโซนในการสร้างกรดไนตริกซึ่งจะก่อความเสียหายให้อุปกรณ์ สายยางพลาสติกแบบธรรมดาจึงใช้ไม่ได้กับเครื่องนี้ ต้องใช้สายแบบยางซิลิโคน ไม่งั้นมันมักโดนกัดกร่อนเป็นรู รั่วออกมาเหม็นคาวทั่วห้อง! และยังอาจทำให้และค่า pH ต่ำลงอีกจากกรดที่ว่า

ความคิดเห็นที่ 3

Chanin09
Chanin09
2080
[2011-12-23 23:29:45]

อิอิ ลืมบอกไป วิธีการใช้โอโซนที่ปลอดภัยสุดสำหรับปลาในตู้ ก็คือการใ้ช้คู่ไปกับตัวฟอกเมือก หรือไอเจ้า Protein Skimmer นั่นเองครับ เพราะปฎิกิริยาที่ฟองโอโซนจะฟอกน้ำได้นั้น ต้องอยู่ในพื้นที่จำกัด ซึ่งก็คือในกระบอกของโปรตีนสกีมเมอร์นั้นเอง

อีกอย่างเครื่องโปรตีนสกีมเมอร์นี้ ก็จะรับน้ำเข้ามา โดยอาจจะต้องต่อเข้ากับปั๊ม หรือไม่ก็ท่อน้ำออกจากกรองถังขาส่งกลับมาเข้ากระบอกโอโวนก่อน และถูกปั่นฟอกโดยฟองโอโซนจนสะอาดและมีปริมาณอ็อกซิเจนสูงมากก่อนจะไหลออกไปสู่ระบบเลี้ยง โดยที่ฟองโอโซนก็จะไม่สามารถเล็ดรอดออกไปจากตัวกระบอกได้ หรือหลุดไหลออกไปบ้างก็น้อจนไม่ก่ออันตราย

ในเครื่องโปรตีนแบบเทพๆ บางรุ่น ก็จะมีกลักใส่ Activated Carbon ไว้ที่เหนือปากกระบอก เหนือช่องเก็บเมือก เพื่อไว้ดูดซับโอโซนที่อาจเล็ดลอดออกไปอีกด้วย

ความคิดเห็นที่ 4

chogun999
chogun999
803
[2011-12-23 23:40:01]

จริงๆแล้วผมยังไม่ได้ซื้อเครื่องเหล่านี้มาครับไปดึงรูปเขามาแค่อยากศึกษาให้ถ่องแท้เสียก่อน

ผมคิดว่านักเลี้ยงปลาหากเราสามารถควบคุมปริมาณการให้อาหารต่อจำนวนปลาที่อยู่ในตู้ได้ดี ของเสียที่เกิดขึ้นจากขี้ปลาและเศษอาหารตกค้างก็จะถูกควบคุมทำลายโดยแบททีเรียชนิดดีได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยที่ยังคงคุณภาพน้ำได้ดีอยู่ ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องรวมถึงการเปลี่ยนถ่ายน้ำในระยะเวลานั้นๆได้เหมาะสมด้วย และความสะอาดของใยกรองต้องหมั่นเปลี่ยนเสมอ อีกหลายอย่างจิปาถะ
ทุกวันนี้ผมเพียงแต่คิดจะหาเครื่องมือที่จะอำนวยความสะดวกต่างๆที่มีประสิทธิภาพที่ไม่เกินความจำเป็นในการเลี้ยงปลาและจะมีสิ่งใดๆที่จะช่วยให้ปลาที่รักของเราอยู่ได้อย่างปลอดภัยและเจริญพันธุ์ได้ดีมีความสุขในเมื่อเรานำมาอยู่ในตู้ปลา และสามารถทำให้ผมไม่ต้องกังวลเรื่องคุณภาพน้ำในตู้อีกต่อไปหากต้องออกจากบ้านไปนานๆหลายๆวัน

ความคิดเห็นที่ 5

Keepmemory
Keepmemory
454
[2011-12-24 06:18:52]

มาสูบความรู้ดีๆครับ

ความคิดเห็นที่ 6

pingly
pingly
339
[2011-12-24 15:56:28]

สูบความรู้กันจนอ้วนเลยครับ สูบด้วยคน ชอบๆ

ความคิดเห็นที่ 7

phatphon
phatphon (110.77.164.195) [2011-12-26 15:16:21]

ด้านบน

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนทำรายการ

เข้าระบบ