Skip to content

ปรับปรุง เว็บไซต์ เยอะแยะเลย ลองกดเข้าไปเล่นดูสิ ตอนนี้ มีหมอตั้ม มาประจำที่ โรงพยาบาลแล้วนะครับ ใครมีปัญหาปลาป่วย ปรึกษาได้ครับ

โลกปลาหมอสีสายพันธุ์ แท้ๆ ทั้งจาก ทะเลสาบมาลาวี, ทังแกนยิกา, หรือ ปลาหมอสี สายพันธุ์ แท้ จาก ทวีปอเมริกา ตลอดจน ปลาหมอแคระ ชนิดต่างๆ อยากให้เว็บบอร์ด นี้ มีส่วนช่วยให้คนรักปลา รู้จัก ไม่ลืม ในสายพันธุ์ ดั้งเดิม ตามธรรมชาติของปลาในครอบครัว Cichlidae

0008904

"วงจรไนโตรเจน" เคล็ดลับสุดยอด ของการเลี้ยงปลาทุกชนิด

Chanin09
Chanin09
2080
[2012-01-28 12:38:00]

จริงๆ แล้ว ผมมีเรื่องหนึ่ง จะมาเผยให้เพื่อนๆ แปลกใจเล่นกัน นั่นก็คือ

เชื่อมั๊ยว่า ตั้งแต่ผมตั้งตู้ใบนี้มาร่วม 4 เดือน.......
ผมไม่เคยเปลี่ยนถ่ายน้ำในตู้ปลาเลยแม้แต่ครั้งเดียว
!!!
ปลาผม Happy แข็งแรงไม่มีป่วย มีตาย

โดยผมเริ่มการทดลอง "ระบบกรองผสมผสาน" ที่ผมประยุกต์ขึ้น
ตั้งแต่เมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว จนกระทั่งบัดนี้

โดยมีปลาที่ทั้งเลี้ยงอยู่ หรือเพื่อนสมาชิก อย่างป๋าโรม นำมาฝากช่วงวิกฤตน้ำท่วม และที่เลี้ยงอยู่ปัจจุบันร่วมๆ ช่วงละกว่า 50 ตัว

ความคิดเห็นที่ 1

Chanin09
Chanin09
2080
[2012-01-28 12:39:42]

อยากจะบอกว่า จริงๆ แล้วองค์ประกอบของ "น้ำ" นั้นมันมีคุณสมบัติพิเศษ คือ

มันคือตัวทำละลาย ทั้งก็าซ สารละลายต่างๆ สี กลิ่น ฯลฯ ทั้งที่ดีและไม่ดีต่อปลา
หากเราสามารถ ทำให้ "สิ่งแปลกปลอม" ที่เป็นโทษต่อปลา นั่นคือสารประกอบไนโตรเจน
อันได้แก่ แอมโมเนีย ไนไตร์ท์ ไนเตรต ถูกขจัดออกไปจากตู้ ไม่ว่าจะโดยขบวนการใดๆ
เราก็ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำ แต่จะทำเช่นนั้นได้ ก็ต้องเข้าใจวงจรไนโตรเจนให้ดีก่อน

โดยหลัก ตู้เลี้ยงปลาผมใบนี้ มีการจัดการคุณภาพน้ำด้วยกรองสามระบบหลักๆ

1. กรองชีวภาพ อันได้แก่กรองพื้นตู้ ที่ใช้กรวดปะการังเป็นที่ให้แบทีเรียใช้อ็อกซิเจน
ย่อยแอมโมเนีย และไนไตรท์ และมีการทำสภาวะน้ำกึ่งนิ่งที่ใต้พื้นล่างสุด เพื่อให้แบคทีเรีย
กลุ่มไม่ใช้อ็อกซิเจน แต่จะกินไนเตรต ที่เป็นอนุภัณฑ์สุดท้ายก่อนระเหยเป็นก๊าซ
ไนโตรเจนลอยออกจากน้ำไปแทน

จึงเป็นเหตุผลที่เพื่อนๆ มักถามว่า ทำไมตู้พี่ป้องปูกรวดหนาจัง

เพื่อนๆ ที่สนใจระบบกรองแบบผสมผสานที่ผมคิดค้นขึ้นนี้

สามารถตามไปดูการ Set up กรองพื้นตู้สองระบบผมได้ที่กระทู้นี้ครับ


http://www.ninekaow.com/wbs/?action=view&sub=05&id=0008414

ความคิดเห็นที่ 2

Chanin09
Chanin09
2080
[2012-01-28 12:43:53]



2. กรองกายภาพ โดยผมติดตั้งกรองถังนอกตู้ เพื่อไว้ดูดกับกากตะกอนขี้ปลา

ออกไปจากระบบเพื่อไม่ให้มีตะกอนสะสม และน้ำขุ่น ดังนั้น media กรองในถังกรอง

จึงเน้นพวกฟองน้ำ และใยกรองที่สามารถเก็บดักตะกอน เพื่อเอามาถอดล้างง่ายๆ

ความคิดเห็นที่ 3

Chanin09
Chanin09
2080
[2012-01-28 12:45:27]



3. กรองเคมี จริงๆ จะว่าเป็นการกรองก็ไม่ตรงนัก แต่ในที่นี้ผมหมายถึงการใช้อุปกรณ์บำบัดน้ำบางอย่างที่สามารถเปลี่ยนแปลง องค์ประกอบในน้ำเพื่อให้เหมาะกับการดำรงชีวิตของปลาได้ อย่างตู้ผมก็คือ Ozonizer หรือเครื่องทำโอโซน ที่จะสามารถ Oxidise ทำลายร้างพวกก็าซพิษ สี กลิ่น เชื้อโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแบทีเรียแขวนลอยในน้ำ เชื้อรา ไวรัส โปรโตซัวร์ ฯลฯ ออกไปจากน้ำได้ และยังเพิ่มอ็อกซิเจนปริมาณมากเพื่อไปเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของแบคทีเรีย ฝ่ายดีอีกด้วย



ความคิดเห็นที่ 4

Chanin09
Chanin09
2080
[2012-01-28 12:50:00]

นอกจากโอโซนแล้ว ล่าสุดผมได้นำเอาระบบกรองนาโนเทค ที่ชื่อว่า Hydra 30 ที่มีหลักการการทำงานโดยสามารถเปลี่ยนพวกสารประกอบไนโตรเจนในน้ำ ให้กลายเป็นก๊าซไนโตรเจนระเหยออกไปได้ มาช่วยเสริมอีกด้วย

ความคิดเห็นที่ 5

Chanin09
Chanin09
2080
[2012-01-28 13:22:59]

แต่ที่จริงแล้ว อยากจะบอกว่า เคล็ดสุดยอดของการดูแลรักษาคุณภาพน้ำ ให้ดีอยู่ตลอด
มันไม่มีระบบกรองอะไรจะวิเศษเท่าระบบ "ตัดไฟแต่ต้นลม" นั่นก็คือ การดูดขี้ปลาออกทิ้ง
ก่อนที่มันจะเปลี่ยนแปลงกลายเป็นสารตั้งต้นของพวกสารพิษต่างๆ นั่นเอง

บางที แค่สายยางกาลักน้ำ บวกความขยันอีกนิด ก็เพียงพอแล้วครับ
ว่าแต่ว่า จะยอมเหนื่อยกันมั๊ย เท่านั้นเอง อิ อิ

ความคิดเห็นที่ 6

uptooyou
uptooyou
169
[2012-01-28 14:57:28]

มาศึกษาครับผม สุดยอดครับ

ความคิดเห็นที่ 7

fttab
fttab
179
[2012-01-28 15:41:12]

ความคิดเห็นที่ 5
Chanin09

แต่ที่จริงแล้ว อยากจะบอกว่า เคล็ดสุดยอดของการดูแลรักษาคุณภาพน้ำ ให้ดีอยู่ตลอด
มันไม่มีระบบกรองอะไรจะวิเศษเท่าระบบ "ตัดไฟแต่ต้นลม" นั่นก็คือ การดูดขี้ปลาออกทิ้ง
ก่อนที่มันจะเปลี่ยนแปลงกลายเป็นสารตั้งต้นของพวกสารพิษต่างๆ นั่นเอง

บางที แค่สายยางกาลักน้ำ บวกความขยันอีกนิด ก็เพียงพอแล้วครับ
ว่าแต่ว่า จะยอมเหนื่อยกันมั๊ย เท่านั้นเอง อิ อิ

ใช่ครับยอมเหนื่อยนิดหน่อย

ความคิดเห็นที่ 8

1KRUB
1KRUB
83
[2012-01-28 16:30:46]

เห็นของเล่นคุณป้องแต่ละชิ้นแล้ว ผมถ่ายน้ำวันเว้นวันเหมือนเดิมดีกว่า (ไม่มีตังค์คร้าบ)

ความคิดเห็นที่ 9

natnazi
natnazi
855
[2012-01-28 17:57:21]

สุดยอดเลยพี่.......โปรเจ็คพี่นี่ เสี่ยงมากเลย แต่สำเร็จได้นี่สุดยอด

แต่ผมก็ขอใช้วิธีเดิมดีกว่าพี่ ^_^

ความคิดเห็นที่ 10

verdantleaf
verdantleaf
445
[2012-01-28 19:59:13]

เหนื่อยนิดหน่อยเอง อาทิตย์ละครั้งครับ

ความคิดเห็นที่ 11

Suatore3
Suatore3
71
[2012-01-28 20:57:55]

ระบบดีจริงๆครับ ได้ความรู้มากๆ เลี้ยงเยอะๆน้ำยังปิ๊ง

แต่เป็นผมคงเอาเงินมางอกตู้เลี้ยงหลวมๆ แล้วใช้กรองฟองน้ำธรรมดาๆดีกว่า

แค่กรองนอกตัวเดียวก็งอกตู้ได้หลายใบแล้ว

ความคิดเห็นที่ 12

chogun999
chogun999
803
[2012-01-28 21:00:16]

ออกกำลังกายบ่อยๆร่างกายแข็งแรง

ความคิดเห็นที่ 13

Keepmemory
Keepmemory
454
[2012-01-28 22:01:24]

ความคิดเห็นที่ 12
chogun999

ออกกำลังกายบ่อยๆร่างกายแข็งแรง


แล้วผมขอ สอบถามเพิ่มได้ไหมครับ ที่พี่กล่าวมาอะ

ถ้าเป็นระบบกรองล่างไปเลยจะดีกว่าไหมครับ หรือแบบนี้ดีกว่า

ขอข้อแตกต่างด้วยได้ไหมครับ

ความคิดเห็นที่ 14

Chanin09
Chanin09
2080
[2012-01-28 22:26:23]

อย่างที่ผมตั้งหัวข้อไว้อะครับ

ว่าระบบกรองทุกระบบ ต่างทำมาเพื่อการจัดการกับ "วงจรไนโตรเจน"
ดังนั้น ไม่ว่าเราจะเลือกให้ระบบไหน หากเราสามารถคำนวนได้ว่า ระบบที่เราเลือกจะมีความ
สามารถพอในการทำให้วงจรไนโตรเจนสมบูรณ์แบบ คือเปลี่ยนจากของเสีย จนกลายเป็น
สิ่งที่ไม่เป็นพิษได้ในอัตราที่สมดุล กรองอะไรก็ได้ทั้งนั้น


จริงๆ แล้วหากตู้ผมสั่งต่อไว้เดิมเป็นแบบกั้นกรองข้าง หรือกรองมุม ที่มีพื้นที่กรองไม่มาก
ผมก็จะเลือกใช้ระบบทั้งกายภาพ และชีวภาพ โดยเลือกวัสดุกรองที่สามารถให้แบคทีเรีย
ช่วยย่อยทำงานได้สูงสุดมาใช้ เช่นแทนที่จะใช้ไยกรอง + กรวดปะการัง หรือไบโอบอล
ผมก็เลือกเป็นไยกรอง + Moving Bed แทน


แต่ตู้ผมเป็นแบบฐานปูน ฝังผนังซึ่งสร้างมาตั้งแต่ยุคแรกๆ จะมาต่อท่อ เจาะช่องพื้นแท่นวางเพื่อทำระบบกรองตู้ล่าง ก็ไม่สามารถทำได้ ทางเดียวที่ผมจะเลือกได้ ก็คือกรองถังนอกตู้ แต่อย่างที่บอก กรองถังมันมีพื้นที่ไม่มากพอให้แบคทีเรียทำการกรองชีวภาพได้ ผมก็ต้องออกแบบเลือกใช้กรองพื้นตู้เป็นตัวช่วย และหากดูจากปริมาตรของพื้นปะการัง เพื่อนๆ คงพอจะเห็นภาพว่า ตู้ผมเกือบหนึ่งในสาม คือตัวระบบกรองชีวภาพเองเลยทีเดียว

มาถึงคำถามที่ว่า กรองล่างดีกว่ามั๊ย แน่นอน ดีกว่าแน่ หากตู้เราได้รับการออกแบบไว้ให้รองรับระบบดักล่าวตั้งแต่แรกสั่งทำ เพราะตู้กรองล่างย่อมมีพื้นที่เพื่อการกรองมากกว่า

เราจะสามารถกำหนดพื้นที่ให้แบคทีเรียช่วยกรองมีปริมาณมากพอให้รองรับกับของเสียที่เกิดขึ้นได้ โดยการเลือกตัววัสดุเกาะอาศัยให้แบคทีเรีย ขนาดปั๊มน้ำที่ใช้ และการจัดการกับของเสียที่ตกค้างในตู้เลี้ยงครับ

ความคิดเห็นที่ 15

Keepmemory
Keepmemory
454
[2012-01-28 23:00:34]

ความคิดเห็นที่ 14
Chanin09

อย่างที่ผมตั้งหัวข้อไว้อะครับ

ว่าระบบกรองทุกระบบ ต่างทำมาเพื่อการจัดการกับ "วงจรไนโตรเจน"
ดังนั้น ไม่ว่าเราจะเลือกให้ระบบไหน หากเราสามารถคำนวนได้ว่า ระบบที่เราเลือกจะมีความ
สามารถพอในการทำให้วงจรไนโตรเจนสมบูรณ์แบบ คือเปลี่ยนจากของเสีย จนกลายเป็น
สิ่งที่ไม่เป็นพิษได้ในอัตราที่สมดุล กรองอะไรก็ได้ทั้งนั้น


จริงๆ แล้วหากตู้ผมสั่งต่อไว้เดิมเป็นแบบกั้นกรองข้าง หรือกรองมุม ที่มีพื้นที่กรองไม่มาก
ผมก็จะเลือกใช้ระบบทั้งกายภาพ และชีวภาพ โดยเลือกวัสดุกรองที่สามารถให้แบคทีเรีย
ช่วยย่อยทำงานได้สูงสุดมาใช้ เช่นแทนที่จะใช้ไยกรอง + กรวดปะการัง หรือไบโอบอล
ผมก็เลือกเป็นไยกรอง + Moving Bed แทน


แต่ตู้ผมเป็นแบบฐานปูน ฝังผนังซึ่งสร้างมาตั้งแต่ยุคแรกๆ จะมาต่อท่อ เจาะช่องพื้นแท่นวางเพื่อทำระบบกรองตู้ล่าง ก็ไม่สามารถทำได้ ทางเดียวที่ผมจะเลือกได้ ก็คือกรองถังนอกตู้ แต่อย่างที่บอก กรองถังมันมีพื้นที่ไม่มากพอให้แบคทีเรียทำการกรองชีวภาพได้ ผมก็ต้องออกแบบเลือกใช้กรองพื้นตู้เป็นตัวช่วย และหากดูจากปริมาตรของพื้นปะการัง เพื่อนๆ คงพอจะเห็นภาพว่า ตู้ผมเกือบหนึ่งในสาม คือตัวระบบกรองชีวภาพเองเลยทีเดียว

มาถึงคำถามที่ว่า กรองล่างดีกว่ามั๊ย แน่นอน ดีกว่าแน่ หากตู้เราได้รับการออกแบบไว้ให้รองรับระบบดักล่าวตั้งแต่แรกสั่งทำ เพราะตู้กรองล่างย่อมมีพื้นที่เพื่อการกรองมากกว่า

เราจะสามารถกำหนดพื้นที่ให้แบคทีเรียช่วยกรองมีปริมาณมากพอให้รองรับกับของเสียที่เกิดขึ้นได้ โดยการเลือกตัววัสดุเกาะอาศัยให้แบคทีเรีย ขนาดปั๊มน้ำที่ใช้ และการจัดการกับของเสียที่ตกค้างในตู้เลี้ยงครับ


ขอบคุณพี่ป้องมากเลยนะครับสำหรับความรู้

ความคิดเห็นที่ 16

chogun999
chogun999
803
[2012-01-28 23:35:49]


ความคิดเห็นที่ 13
Keepmemory

ความคิดเห็นที่ 12
chogun999

ออกกำลังกายบ่อยๆร่างกายแข็งแรง


แล้วผมขอ สอบถามเพิ่มได้ไหมครับ ที่พี่กล่าวมาอะ

ถ้าเป็นระบบกรองล่างไปเลยจะดีกว่าไหมครับ หรือแบบนี้ดีกว่า

ขอข้อแตกต่างด้วยได้ไหมครับ

เฮียป้องตอบแทนผมแล้ว อย่างตู้ของผมก็เคยโพสไว้แล้ว หาดูได้ครับกระทู้ที่8815
ตู้กรองของผม ระบบกรองไล่ไปตามสเตป น้ำออกตู้>ใยแก้ว>movingbed>คิริก้า>ใยแก้ว>คิริก้า+ปะการัง>น้ำเข้าตู้ อุปกรณ์เสริม hydarF30ติดตั้งภายในตู้เลี้ยง/กรองฟองน้ำ2อัน
หลายสิ่งหลายอย่างเราสามารถประยุกต์ดัดแปลงปรับปรุงได้ตลอดจนกว่าเราจะพอใจหรือคิดว่าดีที่สุดแล้วก็พอ ไม่มีอะไรคงทนและดีเลิศตลอดโดยเฉพาะน้ำที่อยู่ในตู้ปลาของเรา ควรเปลี่ยนน้ำบ้างซักอย่างน้อยๆ10-20%เท่านี้ก็พอ

ความคิดเห็นที่ 17

mootoy
mootoy
1122
[2012-01-29 00:27:24]

สุดยอดเลยครับพี่ 4 เดือนกับปลาแน่นขนาดนี้แถมยังไม่เคยเปลี่ยนน้ำด้วยเลย

ความคิดเห็นที่ 18

ttdc
ttdc
470
[2012-01-29 09:52:57]

ขอบคุณมากครับพี่ เรื่องไม่ต้องเปลี่ยนน้ำนี่ ผมก็เคยลองหาข้อมูลมาอยู่เหมือนกันครับ แต่หลายวิธี บวกลบคูณหารดูแล้ว คิดว่า เปลี่ยนน้ำน่าจะประหยัดกว่า แต่ผมมันเป็นประเภทขี้เกียจ เลยใช้ระบบ Overflow แทนการดูดน้ำเปลี่ยนครับ

ความคิดเห็นที่ 19

nagatsuki
nagatsuki
142
[2012-01-29 12:14:32]

เฮียเทพมากครับ บทความยังน่าอ่านเหมือน เกือบ 20ปี ก่อน ไม่มีผิด ใครจะนึกว่าวันนึงจะได้เจอคนที่เขียนหนังสือให้เราอ่านตอนเด็กๆ

ความคิดเห็นที่ 20

fishforone
fishforone
53
[2012-01-29 21:35:48]

เคยลองวัดค่าไนเตรทไม๊ครับ ตอนนี้มีค่าเท่าไหร่ครับ น่าสนใจครับ

ความคิดเห็นที่ 21

Chanin09
Chanin09
2080
[2012-01-29 23:06:27]

มีเพื่อนกูรูฝรั่งคนนึง เคยให้เทคนิคการดูปริมาณไนเตรต โดยไม่ต้องพึ่งตัววัดเคมี
รู้มั๊ยครับ เค้าให้ดูอะไร "ตะไคร่น้ำ" ครับ คือถ้าตู้เราได้รับแสงพอประมาณ
และในตู้มีตะไคร่เกิด แสดงว่าเริ่มมีไนเตรตสะสมสูงขึ้นจนมันมากพอจะกลายเป็นปุ๋ย
ให้ตะไคร่นำมาใช้ในการเติบโต

ตู้ผมอยู่ใต้ช่องหลังคาใส มีแสงส่องเข้า ซึึ่งเพื่อนหลายคนคงยังจำได้
บางคนก็ทักว่า ตู้ผมเจ๊งบ๊งแน่ ไม่กินเดือน ตะไคร่ต้องมาตรึม

แต่จะบอกว่า ตั้งแต่ตั้งมาสี่เดือนนี่ เพิ่งขัดตะไคร่บางๆ ไปครั้งเดียว!

ที่สำคัญ แทนที่จะมีตะไคร่ กลับมีตัว Hydra มาเกาะอยุ่ตามกระจก
ว่ากันว่า Hydra เป็นสัตว์กลุ่มพิเศษที่ใช้เป็นตัวดัชนีวัดคุณภาพแหล่งน้ำ
คือเราจะพบพวกมันได้เฉพาะในสภาพน้ำดีสุดๆ เท่านั้นครับ

ความคิดเห็นที่ 22

northwind
northwind
960
[2012-01-30 11:46:29]

สุดยอดกระทู้เลยครับ ความรู้เพียบ

ความคิดเห็นที่ 23

saksiri
saksiri
3
[2012-01-30 11:50:26]

โอ้ย ไม่ได้เข้า web นายเก๋า นานมากๆๆๆ ไม่คิดจะได้เจอพี่ป้องที่นี้ แหม๋ คอเดี่ยวกันจริงๆ


ปลาคราฟ เป็นไงบ้างครับ ลอยไปกับน้ำหรือเปล่า ^_^

ความคิดเห็นที่ 24

Chanin09
Chanin09
2080
[2012-01-30 12:17:27]

ยินดีที่เจอกันครับ แถวบ้านผมโชคดีมาก เนื่องจากอยู่ติดคลองประปา เลยได้อานิสง
เค้ากันน้ำไว้ไม่ให้ท่วม ก็เลยรอดไปหวุดหวิด น้ำแค่มาให้เห็นปริ่มๆ ปากท่อระบายน้ำเท่านั้นครับ
ปลาคาร์ฟ ยังสบายดีทุกตัวครับ ตอนนี้ตัวเท่าน่องกันหมดแล้ว

ที่จริงอยากจะบอกเพื่อนๆ ว่า ช่วงที่เล่นปลาคาร์ฟนี่หล่ะครับ

ได้ประสพการ์เรื่องการจัดการคุณภาพน้ำมาเยอะมาก ๆ

และใครที่คิดว่าปลาคาร์ฟเลี้ยงง่าย.....คิดใหม่เลยครับ ปราบเซียนที่สุดแล้ว

ด้านบน

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนทำรายการ

เข้าระบบ