Skip to content

ปรับปรุง เว็บไซต์ เยอะแยะเลย ลองกดเข้าไปเล่นดูสิ ตอนนี้ มีหมอตั้ม มาประจำที่ โรงพยาบาลแล้วนะครับ ใครมีปัญหาปลาป่วย ปรึกษาได้ครับ

โลกปลาหมอสีสายพันธุ์ แท้ๆ ทั้งจาก ทะเลสาบมาลาวี, ทังแกนยิกา, หรือ ปลาหมอสี สายพันธุ์ แท้ จาก ทวีปอเมริกา ตลอดจน ปลาหมอแคระ ชนิดต่างๆ อยากให้เว็บบอร์ด นี้ มีส่วนช่วยให้คนรักปลา รู้จัก ไม่ลืม ในสายพันธุ์ ดั้งเดิม ตามธรรมชาติของปลาในครอบครัว Cichlidae

0009517

เกรียนแปลบทความ การเลี้ยงโทรเฟียสรวมกันหลายชนิด

KRIEN
KRIEN
198
[2012-07-03 21:34:21]

ผมอยากจะเอาไปเก็บในห้องบทความครับ แต่ผมทำไม่เป็น
บทความนี้อ่านแล้วถูกจริตผมตรงที่ว่าสถานที่เลี้ยงไม่อำนวยนัก ต้องเลี้ยงโทรเฟียสรวมกันหลายชนิด
ซึ่งมันก็น่าจะสวยดี แต่ในขณะเดียวกัน มันก็อาจเกิดลูกผสมข้ามสายพันธุ์ที่เราไม่ต้องการขึ้นมาได้ และยังมีเรื่องอื่นๆอีกที่ควรทราบเกี่ยวกับพฤติกรรมของโทรเฟียสเวลาที่มาอยู่ร่วมกันหลายชนิด

พร้อมแล้ว ลองอ่านกันดูนะครับ

การเลี้ยงโทรเฟียสรวมกันหลายชนิด
แปลงมาจาก

Mixing Tropheus: Which Fish Can I Put Together?

by John N. Davidson


คำถามที่เจอบ่อยในการเลี้ยงโทรเฟียสคือ โทรเฟียสชนิดใดที่สามารถเลี้ยงรวมกันได้ โดยที่ไม่เกิดการผสมข้ามสายพันธุ์ หรือไม่มีการข่มกันในระหว่างชนิด และมีจำนวนปลาที่เหมาะสม
เราทุกคนอยากจะมีตู้ปลาที่สวย และโทรฟียสสวยๆก็มีหลายชนิด แล้วจะมีวิธีไหนบ้างที่เราจะมีตู้โทรเฟียสที่สวยงามโดยที่หลีกเลี่ยงปัญหาที่จะเกิดตามมา
ขอออกตัวก่อนนะครับว่าบทความนี้ไม่ใช่บทความทางวิทยาศาสตร์ แต่มาจากการรวบรวมประสปการณ์การเลี้ยงโทรเฟียสของตัวผมเอง และนักเลี้ยงโทรเฟียสท่านอื่นๆ

สิ่งแรกที่จะต้องตระหนักจากการเลี้ยงโทรเฟียสหลายชนิดรวมกันก็คือ ปลาจะไม่แสดงสีที่ดีเท่าที่ควรเลย หรือจะมีเพียงโทรเฟียสชนิดเดียวที่มีสีสดใสกว่าชนิดอื่นๆ
โทรเฟียสจำแนกออกเป็นหลายชนิดย่อยๆดังนี้
1. Tropheus annectens

2. Tropheus duboisi ที่ในบ้านเราเรียก ดูบอยซี่ มีหลายตัวเช่น ดูบอยซี่คาดเหลืองหรือ Maswa, ดูบอยซี่คาดขาวแถบแคบหรือ Karilani, ดูบอยซี่คาดขาวแถบกว้างหรือ Kigoma

3. Tropheus brichardi เช่น Mpimbwe, Kipili, Ulwile หรือลายเสือ, Ujiji ปลาชนิดนี้ตอนเด็กมันมีลายแถบพาดเหมือนเสือ ซึ่งจะหายไปตอนโตในบางชนิด

4. Tropheus sp. ‘Black’ เช่น Bemba, Kiriza, Ikola, Bulu point, Caramba

5. Tropheus moorii เช่น Chaitika ,Red rainbow, Ilangi, Mpulungu, Lufubu, Kala Murago, Linangu ปลาพวกนี้ตอนเด็กๆดูคล้ายกันมาก เมื่อตอนโตจะมีลายแถบ หรือมีสีเหลือง ส้ม แดงผสมกัน ปลากลุ่มนี้มักมาจากทางตอนใต้ของทะเลสาบ

6. Tropheus sp. ‘Red’ เช่น Moliro, Chimba, Kachese, Chisanse โดยทั่วไปปลากลุ่มนี้เมื่อโตเต็มวัยจะไม่มีลายแถบ แต่จะมีพื้นสีแดงหรือแดงเข้มแทน ครีบต่างๆจะเป็นสีแดงเข้มอ่อนต่างกันไป ปลากลุ่มนี้มักมาจากส่วนตะวันตกเฉียงใต้ของทะเลสาบ


โดยทั่วไปแล้ว เพื่อที่จะลดความเสี่ยงการเกิดการผสมข้ามสายพันธุ์ เราสามารถเลี้ยงรวมโทรเฟียสที่อยู่คนละกลุ่มข้างต้นด้วยกันได้ อย่างไรก็ดี โทรเฟียสสามารถผสมข้ามสายพันธุ์ได้ในสภาพที่เหมาะสม การเลี้ยงโทรเฟียสคนละชนิดรวมกันก็สามารถหลีกเลี่ยงได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถป้องกันได้ทั้งหมด (ถ้าจะป้องกันการข้ามสายพันธุ์ให้ได้ทั้งหมดควรแยกตู้ไปเลยดีกว่า) เช่น การเลี้ยง Duboisi กับ Moorii หรือ Sp. ‘Black’ กับ Brichardi ปนกันนั้นสามารถทำได้ แต่ถ้าเลี้ยง Mpulungu และ Ilangi (ซึ่งเป็น Moorii ทั้งคู่) ปนกันคงไม่ใช่ความคิดที่ดีนัก


โทรเฟียสเป็นปลาที่มีการจัดลำดับชั้นทางสังคมโดยตัวผู้จ่าฝูงจะคอยดูแลอาณาเขตของตน (น้อยครั้งพบว่าตัวเมียทำหน้าที่นี้แทน) หากสถานที่เลี้ยงใหญ่พอ เมื่อปลาจัดลำดับชั้นเสร็จแล้ว คุณจะพบว่าตัวผู้จ่าฝูงของโทรเฟียสแต่ละชนิดยึดมุมตู้คนละด้าน ในขณะที่ปลาตัวอื่นๆจะจับกลุ่มกันอยู่ช่วงกลางตู้

เมื่อเราเลี้ยงโทรเฟียสรวมตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป จะพบว่าจะมีเพียงชนิดเดียวที่มีอำนาจมากกว่า นั่นก็หมายความว่าโทรเฟียสชนิดนั้นจะผสมพันธุ์บ่อยกว่าโทรเฟียสอีกชนิดที่อยู่ตู้เดียวกันด้วย

Tropheus sp. ‘Black’ และ Tropheus brichardi ดูจะเป็นชนิดที่มักจะข่ม Tropheus moorii เมื่อเลี้ยงรวมกัน ในขณะที่ Tropheus duboisi ดูจะไม่ค่อยไปยุ่งเกี่ยวกับโทรเฟียสชนิดอื่นๆนัก Tropheus duboisi จึงเป็นตัวเลือกที่ดีในการนำไปเลี้ยงรวมกับโทรเฟียสชนิดอื่นๆ

การเลี้ยง Tropheus brichardi ปนกับ Tropheus sp.’Black’ ก็ดูจะมีผลต่อการผสมพันธุ์น้อยกว่าการเลี้ยงชนิดอื่นๆรวมกัน

ส่วน Tropheus sp. ‘Red’ ที่เป็นกังวลว่าอาจจะผสมข้ามกับ Tropheus moorii ได้โดยง่ายนั้น จากการทดลองเลี้ยงของผู้เขียนพบว่ากรณีดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นง่ายเหมือนกับการเลี้ยง Tropheus moorii หลายชนิดปนกัน

จากประสบการณ์ของผู้เขียน (John N. Davidson) ซึ่งเลี้ยงโทรเฟียสรวมกันหลายชนิดได้อย่างประสปความสำเร็จ พบว่าการให้อาหารสามารถทำได้ตามปกติ และการทำร้ายกันระหว่างชนิดพบได้น้อยมาก ซึ่งปกติแล้วโทรเฟียสจะก้าวร้าวกับชนิดเดียวกันเองเท่านั้น


ขอให้เลี้ยงโทรเฟียสอย่างมีความสุขนะครับ

ความคิดเห็นที่ 1

rome
rome
2515
[2012-07-03 23:57:35]

ขอบคุณมากเลย ภาษาอังกฤษผมไม่ค่อยแข็งแรง แปลให้อ่านได้ง่าย สบายเลย

ความคิดเห็นที่ 2

modifycom
modifycom
3125
[2012-07-04 08:11:45]

เยี่ยมเลยครับ อ่านเเล้วเข้าใจง่ายจริงๆ
ผมเคยเลี้ยง_morilo กับ bamba เเล้วจับคู่ผสมพันธ์กันจนตัวเมียอมไข่เเต่ปลาตัวเมียที่เป็นmoriloไม่สามารถอมไข่จนเป็นตัวได้ครับ ส่วน KirzaกับBambaก็เคยจับคู่กันจนได้ลูกออกมาสีอมเหลืองออกส้มไม่สวยงามเลย บางตัวก็ออกน้ำตาลเเทนที่จะเป็นส้มหรือเหลืองเเละมีนิสัยที่กร้าวร้าวกว่าตอนโตเเถมยังมีปลาพิการอีกด้วย Duboisi สามารถเลี้ยงปนกับโทรเฟียสได้ทุกชนิดเพราะจะไม่ยุ่งกับโทรเฟียสสายพันธ์อื่นๆเลย มีอยู่ช่วงหนึ่งผมเลี้ยงปลาสามชนิดนี้รวมกันคือ Bamba Kirizaเเละ Ikolaปรากฎว่า ปลาตัวเมียที่เป็นIkolaเลือกจับคู่กับBambaเเทนที่จะเป็นKirizaทีมีสีเหลืองเหมือนกันการจับคู่ครั้งนี้ไม่เป็นผลสำเร็จเพราะผมจับเเยกก่อนครับ

ความคิดเห็นที่ 3

TomCM
TomCM
903
[2012-07-04 09:16:53]

เขียนบทความ ไม่ยากครับ
จิ้ม 1 My account
ในช่อง My Blog Beta

จิ้ม 2 Write article

ความคิดเห็นที่ 4

TomCM
TomCM
903
[2012-07-04 09:18:59]

จากนั้นก็ลุยได้เลย

ความคิดเห็นที่ 5

northwind
northwind
960
[2012-07-04 11:15:44]

ขอบคุณครับ สำหรับบทความที่มีประโยชน์

ความคิดเห็นที่ 6

Patriot
Patriot
115
[2012-07-04 20:10:29]

ว้าว ขอบคุณมากครับ

ความคิดเห็นที่ 7

POOMAR
POOMAR
119
[2012-07-04 20:36:53]

สุดยอดครับ อ่านสบายเลยคราวนี้

ความคิดเห็นที่ 8

KRIEN
KRIEN
198
[2012-07-04 21:53:25]

ขอบคุณครับ จะลองเอาไปลงตามที่แนะนำไว้นะครับ

ความคิดเห็นที่ 9

TaClassicalGuitar
TaClassicalGuitar
288
[2012-07-05 01:29:45]

บ้าโทรเฟียสไปอีกคนแล้ว แถมบ้าได้สร้างสรรค์มาก 55

ความคิดเห็นที่ 10

SANDMAN
SANDMAN
53
[2012-07-08 10:55:12]

เคยเจอที่บ้านอาจารย์ท่านนึง เรดเรนโบว์ X ลูฟูบู = ได้ ลูฟูบู ติด เหลืองเยอะสีหวานมาก
แต่ ลูฟูบู X ไอแลนกิ = สีเหลืองด้านๆไม่สดใสแดงออกคล้ำ

ความคิดเห็นที่ 11

modifycom
modifycom
3125
[2012-07-08 11:02:34]

คุณSANDMANเรดเรนโบว์ X ไอลังกิ เดี๋ยวผมจะทดลองดู

ความคิดเห็นที่ 12

verdantleaf
verdantleaf
445
[2012-07-08 18:17:00]

ชอบบทความมากครับ อ่านแล้วเข้าใจง่ายดี:D

ด้านบน

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนทำรายการ

เข้าระบบ