Skip to content

ปรับปรุง เว็บไซต์ เยอะแยะเลย ลองกดเข้าไปเล่นดูสิ ตอนนี้ มีหมอตั้ม มาประจำที่ โรงพยาบาลแล้วนะครับ ใครมีปัญหาปลาป่วย ปรึกษาได้ครับ

ปลาทอง ปลาสวยงาม ชนิดแรกๆ ที่ เชื่อว่า หลายคน คงมีโอกาสได้สัมผัส ได้เลี้ยงดู ได้หลงเสน่ห์ ความน่ารัก ความอุ้ยอ้าย ของปลาชนิดนี้ กว่าร้อย สายพันธุ์ ที่เกิดจาก ความพากเพียร พยายาม ของมนุษย์ เรา

0006181

มีบทความมาฝากฮับ สีดำ... บนตัวปลา ราดำหรือเมลานิน?

faiikaa
faiikaa [2008-08-17 02:02:36]
พอดีเปิดเจอเลยเอามาฝากค่ะ เผื่ออาจจะมีประโยชน์มั่งค่ะ

สีดำ... บนตัวปลา ราดำหรือเมลานิน? โดย หมอแก้ว (ผศ. น. สพ. สมโภชน์ วีระกุล)


มักจะพบคำถามเสมอว่า "ปลามีอาการตัวเป็นสีดำ เกิดจากอะไร"

และมักจะมีคำตอบว่า เกิดจาก “ราดำ” เกือบจะทุกกระทู้ ทุกเว็บของคนรักปลาทั้งหลาย

แต่ความเป็นจริงจะใช่หรือไม่?!

ราที่มักพบก่อโรคในปลาน้ำจืดนั้น ส่วนใหญ่จะพบเป็นก้อนปุยขาวด้านนอกผิว ส่วนใหญ่เป็นพวกฉวยโอกาส เมื่อมีบาดแผล เช่น Achya spp. แต่ก็มีบางตัวที่แทรกเข้าไปในตัว พบเส้นใยในเนื้อเยื่อชั้นลึก เช่น Aphanomyces spp. ราดำนั้นแทบจะไม่พบมีรายงานในปลาน้ำจืด ที่พบส่วนใหญ่ในปลาน้ำเค็ม ปู และกุ้ง เป็นเชื้อราพวก Imperfect fungi และมีลักษณะสีดำเมื่อเพาะเลี้ยงบนอาหารเลี้ยงเชื้อ จึงมักจะเรียกกันว่าราดำ



การเกิดสีดำบนตัวปลา

ร่าง กายสัตว์น้ำส่วนใหญ่ หมายถึงปลาด้วย จะมีระบบภูมิคุ้มกัน เมื่อเกิดสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย เช่น เชื้อโรค ปาราสิต บาดแผล ความเครียด ก็จะมีการขนส่งเม็ดเลือดขาวชนิดแมคโครฟาสจ์ออกมาต่อต้าน เม็ดเลือดขาวชนิดนี้มีอยู่แล้วในกระแสเลือด (ร่างกายคนเราก็เหมือนกัน) และต้องสร้างมาให้พอเพียงที่จะต่อต้านความผิด ปกตินั้นๆ มันจะทำหน้าที่เขมือบกินสิ่งแปลกปลอม หรือแม้กระทั่งเม็ดเลือดแดงหรือเนื้อเยื่อของสัตว์ที่มีสิ่งแปลกปลอมนั้นๆ ติดอยู่ แต่เม็ดเลือดขาวชนิดนี้ไม่ได้มาอย่างโดดเดี่ยว ภายในตัวมันจะมีองค์ประกอบของเม็ดสี “Pigment” หลายชนิด จึงมักเรียกเม็ดเลือดขาวชนิดนี้ในบางครั้งว่า “Pigment-containing cells” ได้แก่ ไลโปฟุสซิน ฮีโมซิเดอริน และเมลานิน แต่ส่วนมากจะเป็นเม็ดสีเมลานิน ซึ่งเป็นเม็ดสีดำ จึงมีเรียกชือใหม่ที่เหมาะสมในปลาว่า “เมลาโน-แมคโครฟาสจ์ เซนเตอร์”



เมื่อ ร่างกายมีบาดแผลหรือจุดเลือดออก จึงมักจะพบเมลานินเข้ามาเกาะที่บริเวณรอยโรคอยู่เสมอ จึงมักพบอาการตัวดำ จุดดำ อาจจะร่วมหรือไม่ร่วมกับตัวเปื่อย พบได้ทุกส่วนของปลา เช่นลำตัว ครีบต่างๆ แม้กระทั่งหัววุ้น จะมากหรือน้อยขึ้นกับความรุนแรงของโรค หรือบาดแผลที่เกิดขึ้น จริงๆ แล้วในอวัยวะภายใน เช่น ม้าม ไต ก็มีเม็ดสีพวกนี้เช่นกันเมื่อเกิดโรค แต่เรามองไม่เห็น



เมื่อรักษาปลาหายเป็นปกติแล้ว เม็ดสีเหล่านี้จะค่อยๆ เลือนหายไปอย่างช้าๆ บางตัวก็จะยังคงอยู่ได้นาน

การ จะเอาออกในกรณีเม็ดสีที่คงอยู่ ไม่ยอมเลือน ทำได้โดยการทำศัลยกรรม หรือแคะออกในกรณีขนาดเล็ก โดยวิธีปลอดเชื้อ เพื่อลดขบวนการอักเสบ และการเข้ามาใหม่ของเม็ดเลือดขาวเจ้าปัญหา



การป้องกันและรักษา...

เพราะ ไม่อยากให้ปลาป่วยต้องเป็นสีดำตามมา ในกรณีเป็นโรคตัวด่าง ตัวเปื่อย หางกร่อนต่างๆ ที่รุนแรงแล้ว ยอมรับว่ายาก แต่ไม่ใช่จะไม่มีวิธี เป้าหมายในการรักษาคือ กำจัดเชื้อก่อโรคให้เร็วที่สุด หยุดยั้งความรุนแรงของโรค ลดการรุกล้ำของมาโครฟาสจ์และเมลานินที่ก่อให้เกิดการอักเสบ และเม็ดสีดำตกค้าง โดยการใช้ยาปฏิชีวนะแช่น้ำ หากพบบาดแผล ใช้ยาหรือเบตาดีนป้ายโดยตรงที่บาดแผล ร่วมกับป้องกันการเกิดเชื้อราฉวยโอกาส โดยการป้ายมาลาไคท์กรีน โดยไม่จำเป็นต้องแช่น้ำอีกให้ปลาเวียนหัว ทำต่อเนื่องอย่างน้อย 5 วัน เปลี่ยนถ่ายน้ำทุกวัน ร่วมกับปรับคุณภาพน้ำและสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม

ใน บางกรณี หมออาจพิจารณาฉีดยาแทนการให้แช่ (ปลาตัวใหญ่ และโรครุนแรง) ให้ยาปฏิชีวนะ ยาต้านการอักเสบพวกสเตียรอยด์ (ในรายที่รุนแรงมาก ป้องกันสภาวะ septic shock) การให้สารน้ำเข้าช่องท้องร่วมกับการรักษาแผลภายนอก



หนังสือประกอบ... Fish Immunology




สำหรับ www.epofclinic.com -- คลินิกออนไลน์สำหรับสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนทำรายการ

เข้าระบบ