0000218 2021-04-15 20:54:45

ปลากะโห้ (Giant Barb) (Catlocarpio siamensis)

ปลากะโห้ (Giant Barb)

Catlocarpio siamensis

แหล่งที่อยู่อาศัย
แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำโขง
ขนาดโตเต็มที่
3 m. น้ำหนัก 300 kg.
อาหาร
แพลงตอน อาหารจำพวกพืช และ แป้ง อาหารสำเร็จรูป
การสังเกตุเพศ
ฤดูผสมพันธุ์เพศผู้แก้มและเกล็ดจะสาก เพศเมียลื่นๆ
วิธีการสืบพันธุ์
วางไข่ ไข่จะฟุ้งกระจายไปติดกับวัตถุใต้น้ำ
ปลากะโห้ เป็นปลามีเกล็ดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และอยู่อันดับต้นๆ ของโลก มีพละกำลังมาก ในช่วงวัยขนาดตัวสัก 20 - 50 cm. จะเป็นช่วงที่สวยที่สุดเพราะ ผิวจะไม่คล้ำมาก ครีบในบางตัวจะเป็นสีแดงสดใสเห็นได้ชัดเจน ปลากะโห้มีสัดส่วนของส่วนหัว 1/4 ของความยาวทั้งหมด หัวมีความกว้างพอๆกับความกว้างของลำตัว ปากกว้างอ้าได้กว้าง พังผืดปากยืดหดได้ดี เพราะมีการกินอาหารโดยการใช้ปากสูบน้ำเข้าไปมากๆแล้วกรองด้วยเหงือก มีตาขนาดเล็กใกล้มุมปาก ลำตัวกลม ค่อยข้างสั้นมีเกล็ดนับตามเส้นข้างลำตัวได้ 90-110 เกล็ด ลำตัวสีเทาเงินในขนาดเล็กสีจะคล้ำขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุ ครีบทุกครีบ มีขนาดใหญ่ ในปลาขนาดเล็กจะมีสีเทาอมแดง ถึงแดงสดใส และจะคล้ำขึ้นเรื่อยๆตามอายุ ในขนาดเล็กจะพบว่าปลากะโห้กินทุกอย่าง ลูกน้ำ ไรทะเล หนอนแดง ไส้เดือนน้ำ รำข้าว อาหารสำเร็จรูป เมื่อโตขึ้นปลากะโห้จึงจะกินอาหารมังสวิรัติ ในปลาขนาดใหญ่สามารถให้อาหารสำเร็จรูปสำหรับปลากินพืชได้ เป็นปลาที่กินอาหารได้ตลอดเวลา จากประสบการณ์ที่เลี้ยง จะนำอาหารสำเร็จรูปผสมสาหร่าย 10% มาแช่น้ำให้พองแล้วนำมาบีบปล่อยจมลงก้นตู้ ปลาจะชอบกินมากกว่า

ภาพอื่นๆ

ปลากะโห้ (Giant Barb)
เม็ดแข็งๆ ลอยน้ำ การจัดตู้ ควรจัดให้มีพื้นที่โล่งสักหน่อย ถึงแม่ว่าประกะโห้จะไม่ค่อยว่ายพลุกพล่าน แต่ปลากะโห้เป็นปลาที่มีแรงมากเวลาตกใจอาจว่ายพุ่งชนอย่างรุนแรง ปลากะโห้เป็นปลาที่ไม่ก้าวร้าว จึงเลี้ยงรวมกับปลาอื่นๆได้ดีมาก โดยอาจเลี้ยงกับปลากินพืชด้วยกันเพื่อความสะดวกในการให้อาหาร ปลากะโห้เป็นปลาที่ชอบน้ำสะอาด มีอ๊อกซิเจนสูง และควรเป็นน้ำที่มีการไหลเวียนตลอดเวลา ในบางครั้งพบว่าปลามีความอดทนต่อสภาพเน่าเสียของน้ำได้พอใช้เลยทีเดียว แต่ปลาจะเป็นโรคเหงือกพลิก(แบบปลาอะโรวาน่า) ในเวลาต่อมา ซึ่งการรักษาจะลำบากมาก เพราะฝาปิดเหงือกปลากะโห้จะอ่อนและเยื่อหุ้มเหงือกจะใหญ่มาก ถึงรักษาหายปลาก็จะไม่สวยปกติดังเดิม ดั้งนั้นควรถ่ายน้ำอย่างสม่ำเสมอ ในปลาขนาดเล็กการถ่ายน้ำบ่อยๆทำให้ปลาโตเร็วมากและมีสีสันสดใสสวยงามปลากะโห้ จะมีการผสมพันธุ์แบบเดียวกับปลาในกลุ่มปลาตะเพียนทั่วไป เช่น ปลาซิว ปลาตะเพียน ปลาทอง คือ ปลาเพศผู้จะว่ายไล่รัดปลาตัวเมียไปมา ไข่จะฟุ้งกระจายปลิวไปตามน้ำ แล้วจะค่อยๆ จมลงยึดติดกับวัตถุใต้น้ำ เมื่อลูกปลาเป็นตัว จะมีลักษณะผอมยาว อยู่รวมกัน กินแพลงค์ตอนเล็กๆ เป็นอาหาร จนปลาโตพอควรจึงแยกย้ายกันไปหากิน ในปัจจุบันสามารถเพาะพันธุ์ได้แล้ว ทั้งวิธีธรรมชาติแล้วผสมเทียม โดยหน่วยงานราชการและเอกชน ทำให้รอดพ้นจากภาวะสูญพันธุ์ และคาดว่าจะเป็นปลาเศรษฐกิจในอนาคต เนื่องจาก เป็นปลาที่พบในประเทศไทยแถบภาคกลางเป็นส่วนใหญ่ ในพม่า ลาวเขมร เป็นส่วนน้อยเท่านั้น และกรมประมงได้แพร่กระจายพันธุ์ตามอ่างเก็บน้ำใหญ่ๆ ทั่วประเทศ ซึ่งสมกับชื่อทางวิทยาศาสตร์ที่แปลว่าพบได้ในประเทศไทยเท่านั้น ในบางครั้งเราจะพบว่ามีปลากะโห้เทศ มาขายในตลาดปลาสวยงามเป็นบางครั้ง แต่ว่าความสวยงามและรูปร่างจะเป็นรองปลาบ้านเราพอควร ปลากะโห้ในธรรมชาติ จะชอบกินอาหารจำพวกแป้งมาก จะพบว่ามักชอบมาขอกินเส้นขนมจีนกับเส้นก๋วยเตี๋ยวตามหน้าวัด นักตกปลามักใช้ข้าวสุกหรือมันต้มเส้นก๋วยเตี๋ยวเป็นเหยื่อล่อมัน แถวๆโรงสีริมแม่น้ำมันก็ชอบมาอาศัยอยู่ ปลากะโห้เคยเกือบสูญพันธุ์จากประเทศไทย เนื่องจากกล่าวกันว่า เนื้อเพดานปากอร่อยมาก เป็นปลาที่พระเจ้าเสือในสมัยอยุธยาทรงโปรดเลยทีเดียว ในปลาขนาดใหญ่เป็นปลาที่สู้เบ็ดรุนแรงมาก หาพรานเบ็ดที่จะต่อกรล่าตัวยาก ในปลาขนาดยักษ์บางครั้งลากเรือที่มันติดเบ็ดทวนน้ำขึ้นไปทีหลายคุ้งน้ำได้ ถึงแม้ปัจจุบันหาปลาขนาดยักษ์ได้ยากแต่คาดว่าลูกปลาที่เพาะได้ต่อๆไป จะใหญ่เป็นปลายักษ์ต่อไปได้ หรือท่านใดที่เลี้ยงลูกปลาจนใหญ่มากไม่มีที่เลี้ยงลองติดต่อกรมประมง เพื่อที่ปลาเราจะได้เป็นพ่อแม่พันธุ์ หรือได้ไปอยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ เป็นการอนุรักษ์ปลากะโห้ไทยของเรา
ผู้ใช้ตกลงที่จะผูกพันตามข้อกำหนดในการให้บริการของ YouTube ด้วย Terms of Services | Privacy policy