0000281 2021-04-12 07:44:58

อะโรวาน่าทองมาเลย์ (Malaysian Golden Arowana) (Scleropages formosus)

อะโรวาน่าทองมาเลย์ (Malaysian Golden Arowana)

Scleropages formosus

แหล่งที่อยู่อาศัย
พบได้ในหลายพื้นที่ ในรัฐเปรัฐ, เตรังกานู
ขนาดโตเต็มที่
24 นิ้ว
อาหาร
อาหารสด กุ้งฝอย จิ้งหรีด หนอนนก
การสังเกตุเพศ
สังเกตไม่ได้จากภายนอก
วิธีการสืบพันธุ์
ออกลูกเป็นไข่ เพศผู้จะอมไข่ไว้ในปาก
อะโรวาน่าทองมาเลย์ หรือ Malaysian Golden Arowana จัดเป็นสายพันธุ์ของปลามังกร ที่มีค่าตัว สูงสุด เนื่องจาก สีทอง อันเหลือง อร่าม สีทองของปลาชนิดนี้ เมื่อมีอายุมากขึ้น จะเงาแวววับ จับตา ข้ามหลังจนมี ชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่ง ว่า "Crossback" ทองมาเลย์เป็น สายพันธุ์ของอะโรวาน่าที่มาจาก ประเทศมาเลเซีย ในธรรมชาติ พบได้ใน กิ่งน้ำสาขาต่างๆ ในรัฐต่างๆ ของประเทศมาเลเซีย จนเป็นที่มาของชื่อเรียกต่างๆ เช่น Bukit Merah Blue Base, Pahang Gold ชื่อเหล่านี้ เป็นผลจากการตลาด ที่ตั้งชื่อให้ ตัวปลามีความแตกต่าง ซึ่ง ถ้าเราจะแบ่ง ทองมาเลย์ ออกตามลักษณะเหลือบสี ของปลานั้น เราจะแบ่งออกได้เป็น สองเฉดสี

ภาพอื่นๆ

อะโรวาน่าทองมาเลย์ (Malaysian Golden Arowana)
หลักๆ คือ แบบ Blue Based และ แบบ Gold Based บูสเบสนั้น จะเป็นสายพันธุ์ของทองมาเลย์ ที่ฐานเกล็ดด้านใน ยามต้องกับ แสง ได้องศากำลังดีจะส่องประกาย ออกมาเป็นเหลือบสีน้ำเงิน อมม่วง ซึ่งเป็นลักษณะที่ ครั้งหนึ่ง เคยเป็นที่นิยม และ เสาะแสวงหา แต่ในปัจจุบันนั้น แนวโน้ม กระแสตลาด ได้หันมาเล่น ทองมาเลย์ในรูปแบบ ที่ เป็นสีทอง ทั้งตัว ซึ่ง การที่ปลาจะออกทองทั้งตัวได้ ฐานเกล็ด จะต้องเป็นสีทอง Gold Based และ สีทองของปลาจะต้องข้ามหลัง รวมทั้ง ลามไปยังหัว และ แก้มปลา ซึ่งลักษณะที่ว่า นี้หาได้ยากมาก ที่จะได้มาเลย์ ครบเครื่อง แบบทองทั้งตัว ( Full Gold )สนนราคา สำหรับปลาว่าที่ แบบ Full Gold ก็จะอยู่ในระดับ เรือนแสนบาท สำหรับลูกปลา ขนาด ไม่เกิน 1 ฟุต ฟังราคาแล้ว ก็อย่าพึ่ง ถอดใจ หากงบไม่ถึง แต่ถ้าอยากสัมผัส ความเป็นมาเลย์ ก็ลอง เกรดของทองมาเลย์ธรรมดา ปัจจุบันก็จะอยู่ ในระดับราคา ประมาณ 50,000-55,000 บาท สำหรับลูกปลา ไม่เกิน 6 นิ้ว ส่วนน้องๆ ที่ยังหาตังค์ ไม่ได้ แนะนำว่าให้ ห่าง ๆ จาก ทองมาเลย์ ไว้เป็นดีที่สุดครับ หันไปมอง พวก ทองไทย ทองอ่อน ไปก่อนหล่ะกันนะครับ ทองมาเลย์ ดั้งเดิม แท้ๆ นั้น ว่ากันว่า ในปัจจุบันหาดูได้ยากเต็มที เนื่องจาก จำนวนประชากร ปลาในธรรมชาติ ที่เหลือน้อย ลูกปลาที่เห็น ซื้อขาย กันในท้องตลาด ล้วนมาจาก ฟาร์มเพาะพันธุ์ ที่ได้รับการรับรอง จาก CITES ทั้งนั้น รวมทั้งในหลายๆ ฟาร์ม มีการผสมข้ามสายพันธุ์ ระหว่าง ทองอินโด และ มาเลย์ ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆ ตั้งใจ หรือ จำเป็น ก็ตาม จนเกิดเป็น สายพันธุ์ ลูกผสม กึ่งมาเลย์ (High Back)
ผู้ใช้ตกลงที่จะผูกพันตามข้อกำหนดในการให้บริการของ YouTube ด้วย Terms of Services | Privacy policy