0000411 2021-04-11 18:21:19

ฮอนเด้ ปลาหมอหัวปูดจอมอึด (Geophagus steindachneri)

ฮอนเด้ ปลาหมอหัวปูดจอมอึด

Geophagus steindachneri

แหล่งที่อยู่อาศัย
ทวีปอเมริกาใต้
ขนาดโตเต็มที่
6-7 นิ้ว
อาหาร
อาหารสำเร็จรูป สลับอาหารสด
การสังเกตุเพศ
ตัวผู้จะมีหัวโหนก ลำตัวมีสีสันหลากหลาย
วิธีการสืบพันธุ์
ตัวเมียวางไข่ จากนั้นตัวผู้ฉีดน้ำเชื้อ และตัวเมียจะอมไข่แล้วฟักไว้ในปาก
Geophagus steindachneri ชื่อนี้หลายๆ ท่านอาจจะสงสัยว่ามันคือปลาอะไร แต่ถ้าพูดถึงปลาที่มีชื่อว่า “ฮอนเด้” คงจะร้องอ๋อไปตามๆกัน ต่างประเทศจะเรียกปลาตัวนี้สั้นๆกันว่า Steiney คราวนี้จะขอพูดถึงชื่อวิทยาศาสตร์ของปลาตัวนี้กันหน่อย สกุล Geophagus คือปลาในกลุ่ม Eartheater หรือ ปลากินดินนั่นเอง ตามธรรมชาติปลากลุ่มนี้จะอมกรวดหรือดินเข้าทางปาก จากนั้นจะกรองเอาสิ่งที่เป็นอาหารกลืนลงท้องส่วนกรวดจะถูกพ่นออกมาทางเหงือก อาหารในธรรมชาติ คือ พวกสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น ตัวอ่อนแมลง หนอน ไร เป็นต้น ส่วนชื่อ spicies คือ steindachneri ชื่อนี้เป็นชื่อของ Mr. Franz Steindachner ประวัติสั้นๆมีอยู่ว่า เป็นนักมีนวิทยาชาวออสเตรียซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วง
ค.ศ. 1834-1919 เขาเริ่มจากการศึกษาประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ โดยเริ่มจากการเก็บฟอสซิลปลา คุณ Steindachner ได้เข้ามามีบทบาทเกี่ยวกับปลาอย่างจริงจังในปี 1860 เขาได้รับตำแหน่งผู้อำนวยการด้านการเก็บสายพันธุ์ปลาที่พิพิธภัณ์ Naturhistorisches แทนที่ของ Johann Jakob Heckel (ผู้ค้นพบปลาเทวดา, ปอมปาดัวร์ ฯลฯ) ที่เสียชีวิตลง ต่อมาชื่อเสียงของเขาเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น จึงทำให้ Louis Agassiz (ชื่อนี้เกี่ยวโยงกับปลาหมอแคระApistogramma agazizi) เชิญเขาไปเป็นผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์สัตววิทยาเปรียบเทียบที่ Havard University ฮอนเด้ เป็นปลาหมอที่ เลี้ยงง่ายมากๆ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสภาพน้ำที่หลากหลาย มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ ในธรรมชาติจะอาศัยตามแหล่งน้ำเปิด พบมากในประเทศโคลัมเบีย และตามแม่น้ำสาขาของอเมซอน โตเต็มที่ 6 นิ้ว สืบพันธุ์เหมือน Geophagus ทั่วไป คือ ตัว เมียวางไข่ จากนั้นตัวผู้ฉีดน้ำเชื้อ และตัวเมียจะอมไข่แล้วฟักไว้ในปาก การแยกเพศทำได้เมื่อปลาขนาดประมาณ 2 นิ้ว ตัวผู้จะเริ่มหัวโหนก และมีสีสันหลากที่ลำตัว ส่วนในปลาเต็มวัยนั้นตัวผู้หัวจะโหนกยกสงเป็นลูกขึ้นด้านบนอย่างเห็นได้ชัด ฮอนเด้เป็นปลาที่กินทุกอย่าง ในที่เลี้ยงกินอาหารเม็ดได้สบาย สลับกับหนอนแดงซึ่งเป็นอาหารโปรดของปลาสกุลนี้ แต่ควรระวังอย่าให้ปลากินมากเกินไปจะทำให้ท้องอืดได้ ตู้ที่ใช้เลี้ยงควรมีขนาด 30-36 นิ้วขึ้นไป สามารถเลี้ยงรวมกับปลาหมอสกุล Geophagus ชนิดอื่นๆได้ดี ส่วน เรื่องโรคประจำตัว คือโรคจุดขาว และหัวเป็นรู ผู้เลี้ยงควรหมั่นสังเกตอาการของปลา ฮอนเด้ค่อนข้างอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิที่เปลี่ยนอย่างฉับพลัน และควรจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมเพื่อไม่ให้ปลาเครียดซึ่งจะมีผลต่อภูมิต้าน ทานโรคได้
ผู้ใช้ตกลงที่จะผูกพันตามข้อกำหนดในการให้บริการของ YouTube ด้วย Terms of Services | Privacy policy