0000414 2021-04-10 20:04:11

ฟีโนชิลัส ยิ่งแก่ยิ่งเก๋า (Placidochromis sp.)

ฟีโนชิลัส ยิ่งแก่ยิ่งเก๋า

Placidochromis sp.

แหล่งที่อยู่อาศัย
ทะเลสาบมาลาวี
ขนาดโตเต็มที่
25 ซ.ม.
อาหาร
อาหารสำเร็จรูป อาหารสด
การสังเกตุเพศ
สัง เกตุได้เมื่อปลาขนาดประมาณ 3 นิ้ว ตัวผู้จะมีจุดกระสีขาวกระจายทั่วทั้งตัว และจะมีมากขึ้นเมื่อปลาเจริญเติบโตเต็มที่ ตัวเมียไม่มีจุดกระ จะมีเพียงเส้นสีดำพาดจากบนลงล่างบริเวณลำตัวเป็นแถบๆ และลำตัวจะออกสีเทาๆ อาจมีสีฟ้าบ้างเล็กน้อย
วิธีการสืบพันธุ์
ตัวเมียอมไข่
Placidochromis sp. "Phenochilus Tanzania" หรือที่เรานิยมเรียกกันว่า ฟีโนชิลัส ส่วนในต่างประเทศจะเรียกปลาตัวนี้ว่า Star Sapphire เป็นชื่อสามัญ มีถิ่นกำเนิดมาจากทางตอนเหนือของทะเลสาบมาลาวี ระหว่าง Makonde ถึง Lupingu ในประเทศแทนซาเนีย และพบอีกที่ Kasinda ประเทศมาลาวี ซึ่งบริเวณดังกล่าวนั้นจะมีตะกอนที่เต็มไปด้วยแร่ธาตุอันอุดมสมบูรณ์และระดับความลึกของน้ำไม่มาก การ

ภาพแสดงความแตกต่างระหว่าง เพศผู้ และ เพศเมีย

เพศผู้เพศผู้
เพศเมียเพศเมีย
เลี้ยง ฟีโนชิลัส นั้นเป็นการท้าทายความอดทนของผู้เลี้ยงได้ดีพอสมควร เพราะปลาตัวนี้กว่าที่จะเห็นความสวยงามอย่างเต็มที่นั้นต้องใช้เวลากว่าที่ จุดกระสีเงินจะกระจายขึ้นทั่วตัว(เฉพาะตัวผู้) เรียกได้ว่ายิ่งโตยิ่งขลังมากๆ ส่วน มากปลาชนิดนี้นิยมเลี้ยงเดี่ยวในตู้ฟอร์ม แต่ถ้าจะให้สวยและได้บรรยากาศมากขึ้น น่าจะเลี้ยงในตู้ที่มีขนาดใหญ่ซัก 60 นิ้วขึ้นไปสำหรับ ฟิโนชิลัส 5-7 ตัว เพราะปลาตัวนี้เมื่อโตเต็มวัยนั้นจะมีขนาดเกือบ 1 ฟุตเลยทีเดียว อาจ จะมีการกัดกันบ้างตามนิสัยของปลาหมอ แต่ถ้าขนาดตู้ใหญ่ และการเลือกชนิดปลาในการเลี้ยงร่วมตู้ที่เหมาะสมก็จะช่วยลดความรุนแรงลงได้ บ้าง หรืออาจจะเลี้ยงแบบระบบฮาเร็มก็ย่อมได้โดยมีตัวผู้ซัก 1 ตัว กับตัวเมียซัก 3-4 ตัว ฟีโนชิลัส เป็นปลาที่เลี้ยงง่ายมาก กินอาหารได้หลายอย่าง แต่ในธรรมชาตินั้นเป็นปลากินเนื้อ ดังนั้นควรให้อาหารที่มีส่วนผสมของโปรตีนเป็นหลัก
ผู้ใช้ตกลงที่จะผูกพันตามข้อกำหนดในการให้บริการของ YouTube ด้วย Terms of Services | Privacy policy